“ขวัญฤทัย” ควรแก้ไขในสิ่งที่ผิดพลาด? | 📌 ความรู้เรื่อง “ธงประจำพระองค์” 📌

ซ้าย - ธงประจำพระองค์ ตราพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. (รัชกาลที่ 9)
ขวา - ธงประจำพระองค์ ตราพระปรมาภิไธยย่อ ว.ป.ร. (รัชกาลที่ 10)
พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง



คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

teaser  ดวงใจเทวพรหม  “ขวัญฤทัย”  (นาทีที่ 0.46-0.50)

สำหรับ  ละคร  “ดวงใจเทวพรหม”  เป็นภาคต่อจาก  ละคร  “สุภาพบุรุษจุฑาเทพ”  เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับราชสกุล  “จุฑาเทพ”  ราชสกุล  “เทวพรหม”  และดำเนินเรื่องราวของ  ราชสกุล  (สกุลวงศ์ที่สืบเนื่องมาจากพระมหากษัตริย์)  และราชนิกุล  (ผู้สืบสายราชสกุล)

ในละคร  “ดวงใจเทวพรหม”  ดำเนินเรื่องราว  ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2534 - 2540  (ซึ่งอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 9)  และ  เริ่มถ่ายทำละคร  ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2565 - 2566  (ซึ่งอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 10)

ละคร  “ลออจันทร์”  ซึ่งออนแอร์เป็นเรื่องแรก แต่มีการใช้ คำราชาศัพท์ ผิดพลาดในหลายครั้งหลายตอน 

ละคร  “ขวัญฤทัย”  ต้องขอชื่นชมและประทับใจ ที่ฉากแรกของละครเปิดด้วย พระราชดำรัส ในหลวง รัชกาลที่ 9 และพระราชดำรัส พระราชบิดา (สมเด็จพระบรมราชชนก)

ละคร  “ขวัญฤทัย”  3  ตอนแรก  ในบางฉาก  มีการประดับ ตราพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร.  และประดับ พระบรมฉายาลักษณ์ ในหลวง รัชกาลที่ 9 และ พระราชินี ในรัชกาลที่ 9 (พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) 

ละคร  “ขวัญฤทัย”  ในฉากที่สำคัญฉากหนึ่งของ  “ขวัญฤทัย”  ซึ่งยังไม่ออกอากาศ (แต่มีปรากฏอยู่ในทีเซอร์ตัวเต็มของละคร) ในฉากที่นักแสดงอยู่ในห้องประชุมแห่งหนึ่ง ซึ่งมีการตั้งประดับ ธงชาติไทย และธงประจำพระองค์ ตราพระปรมาภิไธยย่อ ว.ป.ร. (รัชกาลที่ 10) แต่แท้ที่จริงแล้ว ที่ถูกต้อง ควรจะเป็น ธงประจำพระองค์ ตราพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. (รัชกาลที่ 9)


ดังนั้น กระทู้นี้ จะเป็นบทความ ความรู้เรื่อง “ธงประจำพระองค์” รวมทั้งพระปรมาภิไธยและพระนามาภิไธย  



📌 ความรู้เรื่อง “พระปรมาภิไธยและพระนามาภิไธย” 📌

พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย คำอ่าน และสรรพนาม คำขึ้นต้น คำลงท้าย ในการกราบบังคมทูล กราบทูล
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://phralan.in.th/coronation//hilightdetail.php?id=728



📌 ความรู้เรื่อง “ธงประจำพระองค์” 📌
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ธงสีเหลือง ตราพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. (มหาภูมิพลอดุลยเดช ปรมราชาธิราช) ภายใต้อุณาโลมเลข ๙ และพระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี
โดยอักษรพระปรมาภิไธยย่อ "ภ" สีเหลืองทอง (หมายถึง สีประจำราชวงศ์จักรี) "ป" สีน้ำเงิน (หมายถึง สีประจำพระบรมราชอิสริยยศ พระมหากษัตริย์) และ "ร" สีขาว (หมายถึง สีประจำพระชนมวารตามคติมหาทักษา; วันจันทร์)
พระราชสมภพวันจันทร์ จึงใช้สีเหลืองเป็นสีพื้นธง
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ธงสีฟ้า ตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. (สิริกิติ์) ภายใต้พระมหามงกุฎ
อักษรพระนามาภิไธยย่อ "ส" เป็นสีฟ้าเข้ม (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันพระราชสมภพ; วันศุกร์) และ "ก" เป็นสีขาว
พระราชสมภพวันศุกร์ จึงใช้สีฟ้าเป็นสีพื้นธง
 
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ธงสีเหลือง ตราพระปรมาภิไธยย่อ ว.ป.ร. (มหาวชิราลงกรณ ปรมราชาธิราช) มีอุณาโลมเลข ๑๐ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี
โดยรูปอักษร "ว" เป็นสีขาว (หมายถึง สีประจำพระชนมวารตามคติมหาทักษา; วันจันทร์) "ป" สีเหลือง (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร; วันจันทร์) และ "ร" สีฟ้า (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง; วันศุกร์)
พระราชสมภพวันจันทร์ จึงใช้สีเหลืองเป็นสีพื้นธง
 
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
ซ้าย พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2559 (แบบที่ 2)
 ธงสีเหลือง ตราพระนามาภิไธยย่อ ม.ว.ก. (มหาวชิราลงกรณ) ภายใต้ตราจักรีและพระอนุราชมงกุฎ
ขวา พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2542 (แบบที่ 1)
 ธงสีเหลือง ตราพระนามาภิไธยย่อ ม.ว.ก. (มหาวชิราลงกรณ) ภายใต้พระจุลมงกุฎเปล่งรัศมีสายฟ้า
ธงตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ซ้าย - ธงตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562
ขวา - ธงตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
ธงสีม่วง ตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ท. (สุทิดา) ภายใต้มงกุฎขัตติยนารี
อักษรพระนามาภิไธยย่อ "ส" เป็นสีม่วง (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันพระราชสมภพ; วันเสาร์) และ "ท" เป็นสีเหลือง (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระราชสวามี; วันจันทร์)
พระราชสมภพวันเสาร์ จึงใช้สีม่วงเป็นสีพื้นธง
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ธงสีม่วง ตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ธ. (สิรินธร) ภายใต้พระชฎาไม่มีกรรเจียกจร
อักษรพระนามาภิไธยย่อ "ส" เป็นสีม่วง (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันพระราชสมภพ; วันเสาร์) และ "ธ" เป็นสีขาว
พระราชสมภพวันเสาร์ จึงใช้สีม่วงเป็นสีพื้นธง
 
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
ธงสีแสด ตราพระนามาภิไธยย่อ จ.ภ. (จุฬาภรณวลัยลักษณ์) พันรอบโดยพระภูษาสีน้ำเงิน ภายใต้พระจุลมงกุฎ
อักษรพระนามาภิไธยย่อ "จ" เป็นสีแสด (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันประสูติ; วันพฤหัสบดี) และ "ภ" เป็นสีขาว
ประสูติวันพฤหัสบดี จึงใช้สีแสดเป็นสีพื้นธง
 
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
ธงสีแสด ตราพระนามาภิไธยย่อ พ.ภ. (พัชรกิติยาภา) ภายใต้พระจุลมงกุฎ
 อักษรพระนามาภิไธยย่อ "พ" เป็นสีแสด (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันประสูติ; วันพฤหัสบดี) และ "ภ" เป็นสีเหลือง (หมายถึง สีประจำวันพระบรมราชสมภพของพระบรมชนกนาถ; วันจันทร์)
ประสูติวันพฤหัสบดี จึงใช้สีแสดเป็นสีพื้นธง
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ
ธงสีม่วง ตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ส. (โสมสวลี) ยอดพระนามาภิไธยย่อเป็นรูปอุณาโลม
อักษรพระนามาภิไธยย่อ "ส" เป็นสีม่วง (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันประสูติ; วันเสาร์) และ "ส" เป็นสีขาว
ประสูติวันเสาร์ จึงใช้สีม่วงเป็นสีพื้นธง


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

https://th.wikipedia.org/wiki/ธงประจำพระองค์
https://th.wikipedia.org/wiki/ตราประจำพระองค์ในประเทศไทย

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่