ชอบ
1. ชอบวังเทวพรหม สวยคลาสสิค อลังการห์ โทนน้ำตาล ขลัง+หรู
2. ชอบซีนที่เจ้าเทวพันธ์อ่านจดหมาย ตัดสลับ โซฟาเดียวกับที่เคยอ่านในวัยเด็ก ชื่นชม มีความเป็นอาร์ต
3. ชอบคอสตูม ลงรายละเอียดเครื่องแต่งกายยุค 90 ยกเว้นชุดนางร้าย เป็นแฟชั่นยุคนี้
4. นักแสดงรุ่นใหญ่ทำให้เรื่องดูมีพลัง คุณทวดอ่อน คุณชายเทวพันธ์และชอบคนที่เล่นเป็นเจ้านางจันทา เจ้าแม่เจ้าชายศตรัศมี ไม่มีในตอนจบ แต่พี่เขาเป๊ะอยู่นะ ดูเป็น queen เล่นน้อยแต่มาก บุคลิกเป็นผู้ดี
5. การคลี่ปมเฟื่องเพชร ดีอยู่นะ มาหาถึงกรุงเทพ แต่เจอเมียหลวง คนรักไม่เคยเล่าว่ามีครอบครัว มัน make sense ที่จะยอมรับการแต่งงานเพื่อหนุนอำนาจของพ่อให้เชื่อมกับบ้านพี่เมืองน้องในเวลาต่อมา และบทที่คุณชายจักรรินทร์พูดกับลูกชาย ก็ดีเช่นกัน เรื่องความรักกับความเหมาะสม
รู้สึกว่าเปิดไพ่ครบทุกใบ ได้ความกระจ่าง ว่าอะไรเป็นอะไร ความรี้ลับทั้งหมด อาจจะไม่ต้องโยงไกลไปถึงไสยศาสตร์ แค่เรื่อง
secret love & secret political conflicts ก็มากพอแล้วสำหรับเส้นเรื่องที่นางเอก ต้องไขปริศนาเรื่องราวในอดีต เพื่อตอบว่า ตัวเองมาจากไหน
ไม่ชอบ
1.จีน่าเล่นเป็นสาวหนองคาย แอ็คติ้งดูไว คล่องตัวไปหน่อย ทำให้บุคลิกดูร่วมสมัย แต่น้องร้องไห้เก่งนะ
จริงๆ เจ้าเฟื่องเพชร อาจจะไม่ต้องเล่นโดยจีน่า เพราะลออจันทร์ คือ ลูกครึ่งฝรั่งเศส แต่เจ้าเฟื่องเพชร
คือผู้หญิงพื้นเมือง ลูกข้าหลวงที่หนองคาย ดังนั้น ความเป็นลูกครึ่งจึงหักมุม ว่าไม่น่าจะเกี่ยว แต่ปริศนาก็เปิดเผยว่าเกี่ยวทางประวัติศาสตร์ชาติตระกูล
2. บทสนทนาเกี่ยวกับความรัก ฟังแล้วไม่ค่อยกัดหมอน พระเอกอาจจะต้องคมชัดลึก มีเสน่ห์ในการแสดงออกเรื่องความรัก "แบบนักบริหารหนุ่ม" ที่ถูกเลี้ยงดูในครอบครัวชนชั้นสูง ตัวอย่างในชีวิตจริง เช่น คุณปลื้ม เชื้อสายตระกูลเทวกุลร่วมสมัย บุคลิกไม่ดัด แต่ความรู้เพียบ รสนิยมดี มีการศึกษาสูง
เป็นเรื่องทางอินเน่อร์ที่นักแสดงควรได้รับการติวเข้ม เพื่อไม่ให้เล่นออกมาแบบหนุ่มธรรมดาที่เข้าถึงง่ายจนเกินไป
3. เสียดายที่เรื่องไม่ได้เล่าด้วยการแสดง แต่เล่าด้วยบทพูด ในตอนที่เจ้าสีวิไลยอมรับลูกที่ติดท้องมา และต้องพาครอบครัวลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ ส่วนนี้ คือ สถานการณ์ที่ไม่ธรรมดาที่ล้อไปกับประวัติศาสตร์ ควรจะเล่า เรื่องไปให้ความสำคัญกับออฟฟิศพระเอกและพญานาค ทั้งที่ sub-plots ของลออจันทร์มี 4 ปม
3.1 แม่เป็นดารา มีลูกลับๆ แต่จำเป็นต้องแต่งกับนักการเมืองฝรั่งเศส พ่อของลออจันทร์ ต้องเลี้ยงลูกที่กำเนิดอย่างลับๆ กับผู้หญิงที่บนหน้าหนังสือพิมพ์คือ ดาราและกลายเป็นภริยาของนักการเมืองฝรั่งเศสระดับวุฒิสมาชิก
3. 2 ย่า/ย่าทวดเฟื่องเพชร มีลูกติดท้องแล้วต้องสารภาพต่อผู้ชายที่แต่งงานด้วย ด้วยเหตุผลทางการเมือง พ่อยกให้ชนชั้นสูงในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อความปลอดภัยของหัวเมืองในสมัยนั้น ซึ่งผู้ชายต้องรักผู้หญิงคนนี้ และนิสัยดีมาก ถึงยอมรับลูกติดท้องได้ นี่คือ จุดที่ควรขยี้ เรื่องราวไม่ธรรมดา
3.3 เจ้าสีวิไล ควรขยี้ ทั้งฉากที่ต้องลี้ภัยทางการเมืองและการยอมรับว่าผู้หญิงที่แต่งงานด้วย มีลูกติดท้อง เจ้าสีวิไล คือ ปู่ทวดเชิงนิตินัย
ซึ่งครอบครัวถูกตามล่าโดยกลุ่มกบฎที่ต้องการยึดอำนาจ แก้วพญานาคซึ่งมีคำสาป เป็นสิ่งเครื่องมือในการใส่ร้ายสมัยนั้นว่าเป็นกบฎ
3.4 เจ้าจักรรินทร์ ฝั่งไทย คือ ปู่ทวดเชิงสายเลือด พบรักกับย่าทวดของลออจันทร์ แต่ไม่อาจแต่งงาน เพราะมีครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบ
ความบีบคั้นของคนเหล่านี้ น่าสนใจ ที่มาของลออจันทร์ เราว่าเขียนได้สมาร์ทมากๆ เกี่ยวกับสายเลือดที่ถูกซุกซ่อนภายในความอ่อนไหวทางการเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สัมพันธ์กับฝรั่งเศส และนึกถึงประวัติเพลงลาวดวงเดือน ซึ่งเป็นเพลงที่ประพันธ์โดยเชื้อพระวงศ์ไทยที่เล่ากันว่าตกหลุมรักสาวพื้นเมือง "โอ้ละหนอดวงเดือนเอย พี่มา
เว้ารักเจ้าสาวคำดวง...หอมกลิ่นกรุ่นครัน หอมนั้นยัง
บ่เลย " มีคำว่า เว้า, บ่ ... ใช้ภาษาพื้นเมืองในเนื้อเพลงเพื่อสื่อสารไปถึงผู้หญิงด้วย
การเล่า story ต้องคุมโทนว่ากำลังเล่าเรื่องเชื้อพระวงศ์ ที่สมมุติขึ้นมาสองสามตระกูล ไม่น่าจะย้อนไปไกลถึงขั้นเจอพญานาค แต่มีเล่าตำนานพอได้ เพราะเป็นความเชื่อร่วมกันของชาติพันธุ์แถบคาบสมุทรอินโดจีน ก่อนแบ่งเป็นรัฐต่างๆ
หากนักแสดงสามคนที่เล่นช่วงตำนานพญานาค มาแสดงตอน หม่อมเจ้าจักรรินทร์ เทวพรหม พบรักกับหญิงลูกสาวคณบดีหัวเมือง และตอนที่พ่อลออจันทร์ ต้องเลี้ยงลูกที่เกิดจากดาราสาวชาวฝรั่งเศสโดยลำพัง มองดูภรรยามีตัวตนในสื่อฝรั่งเศส เป็นมาดามของนักการเมืองวุฒิสมาชิกฝรั่งเศส โดยไม่สามารถจะใช้ชีวิตกับลูกที่กำเนิดแบบลับๆได้ เรื่องราวเหล่านี้น่าจะได้อารมณ์
พญานาค คือ เรื่องเล่า ที่ลออจันทร์ไม่จำเป็นต้องเจอตัวจริง
แต่เป็นการใช้ความเชื่อความกลัวของคนในสังคมยุคนั้น เป็นเครื่องมือเชิงวาทกรรมในการกล่าวหาอีกฝ่าย เช่น บอกว่า เลือกพรรคนี้แล้วทักษิณจะไม่กลับมา เลือกพรรคนี้คือไม่รักชาติ เป็นต้น ในเรื่องเป็นการกล่าวหาว่านำแก้วพญานาคมาจงใจจะให้บ้านเมืองต้องคำสาป ดังนั้นเจ้าสีวิไลจึงเป็นกบฎโดยถูกใส่ร้าย ในประเทศตะวันออกกลาง เล่ากันว่า ใช้วาทกรรมให้ชาวตะวันตกดูเป็นผู้ร้าย เพื่อให้บ่อน้ำมันครอบครองโดยชนชั้นนำในประเทศเท่านั้น
ทั้งหมดนี้ เป็น feedback เป็นกำลังใจให้การสร้างละครเรื่องถัดไปค่ะ
ชอบ-ไม่ชอบอะไร… ส่งท้ายลออจันทร์
1. ชอบวังเทวพรหม สวยคลาสสิค อลังการห์ โทนน้ำตาล ขลัง+หรู
2. ชอบซีนที่เจ้าเทวพันธ์อ่านจดหมาย ตัดสลับ โซฟาเดียวกับที่เคยอ่านในวัยเด็ก ชื่นชม มีความเป็นอาร์ต
3. ชอบคอสตูม ลงรายละเอียดเครื่องแต่งกายยุค 90 ยกเว้นชุดนางร้าย เป็นแฟชั่นยุคนี้
4. นักแสดงรุ่นใหญ่ทำให้เรื่องดูมีพลัง คุณทวดอ่อน คุณชายเทวพันธ์และชอบคนที่เล่นเป็นเจ้านางจันทา เจ้าแม่เจ้าชายศตรัศมี ไม่มีในตอนจบ แต่พี่เขาเป๊ะอยู่นะ ดูเป็น queen เล่นน้อยแต่มาก บุคลิกเป็นผู้ดี
5. การคลี่ปมเฟื่องเพชร ดีอยู่นะ มาหาถึงกรุงเทพ แต่เจอเมียหลวง คนรักไม่เคยเล่าว่ามีครอบครัว มัน make sense ที่จะยอมรับการแต่งงานเพื่อหนุนอำนาจของพ่อให้เชื่อมกับบ้านพี่เมืองน้องในเวลาต่อมา และบทที่คุณชายจักรรินทร์พูดกับลูกชาย ก็ดีเช่นกัน เรื่องความรักกับความเหมาะสม
รู้สึกว่าเปิดไพ่ครบทุกใบ ได้ความกระจ่าง ว่าอะไรเป็นอะไร ความรี้ลับทั้งหมด อาจจะไม่ต้องโยงไกลไปถึงไสยศาสตร์ แค่เรื่อง
secret love & secret political conflicts ก็มากพอแล้วสำหรับเส้นเรื่องที่นางเอก ต้องไขปริศนาเรื่องราวในอดีต เพื่อตอบว่า ตัวเองมาจากไหน
ไม่ชอบ
1.จีน่าเล่นเป็นสาวหนองคาย แอ็คติ้งดูไว คล่องตัวไปหน่อย ทำให้บุคลิกดูร่วมสมัย แต่น้องร้องไห้เก่งนะ
จริงๆ เจ้าเฟื่องเพชร อาจจะไม่ต้องเล่นโดยจีน่า เพราะลออจันทร์ คือ ลูกครึ่งฝรั่งเศส แต่เจ้าเฟื่องเพชร
คือผู้หญิงพื้นเมือง ลูกข้าหลวงที่หนองคาย ดังนั้น ความเป็นลูกครึ่งจึงหักมุม ว่าไม่น่าจะเกี่ยว แต่ปริศนาก็เปิดเผยว่าเกี่ยวทางประวัติศาสตร์ชาติตระกูล
2. บทสนทนาเกี่ยวกับความรัก ฟังแล้วไม่ค่อยกัดหมอน พระเอกอาจจะต้องคมชัดลึก มีเสน่ห์ในการแสดงออกเรื่องความรัก "แบบนักบริหารหนุ่ม" ที่ถูกเลี้ยงดูในครอบครัวชนชั้นสูง ตัวอย่างในชีวิตจริง เช่น คุณปลื้ม เชื้อสายตระกูลเทวกุลร่วมสมัย บุคลิกไม่ดัด แต่ความรู้เพียบ รสนิยมดี มีการศึกษาสูง
เป็นเรื่องทางอินเน่อร์ที่นักแสดงควรได้รับการติวเข้ม เพื่อไม่ให้เล่นออกมาแบบหนุ่มธรรมดาที่เข้าถึงง่ายจนเกินไป
3. เสียดายที่เรื่องไม่ได้เล่าด้วยการแสดง แต่เล่าด้วยบทพูด ในตอนที่เจ้าสีวิไลยอมรับลูกที่ติดท้องมา และต้องพาครอบครัวลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ ส่วนนี้ คือ สถานการณ์ที่ไม่ธรรมดาที่ล้อไปกับประวัติศาสตร์ ควรจะเล่า เรื่องไปให้ความสำคัญกับออฟฟิศพระเอกและพญานาค ทั้งที่ sub-plots ของลออจันทร์มี 4 ปม
3.1 แม่เป็นดารา มีลูกลับๆ แต่จำเป็นต้องแต่งกับนักการเมืองฝรั่งเศส พ่อของลออจันทร์ ต้องเลี้ยงลูกที่กำเนิดอย่างลับๆ กับผู้หญิงที่บนหน้าหนังสือพิมพ์คือ ดาราและกลายเป็นภริยาของนักการเมืองฝรั่งเศสระดับวุฒิสมาชิก
3. 2 ย่า/ย่าทวดเฟื่องเพชร มีลูกติดท้องแล้วต้องสารภาพต่อผู้ชายที่แต่งงานด้วย ด้วยเหตุผลทางการเมือง พ่อยกให้ชนชั้นสูงในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อความปลอดภัยของหัวเมืองในสมัยนั้น ซึ่งผู้ชายต้องรักผู้หญิงคนนี้ และนิสัยดีมาก ถึงยอมรับลูกติดท้องได้ นี่คือ จุดที่ควรขยี้ เรื่องราวไม่ธรรมดา
3.3 เจ้าสีวิไล ควรขยี้ ทั้งฉากที่ต้องลี้ภัยทางการเมืองและการยอมรับว่าผู้หญิงที่แต่งงานด้วย มีลูกติดท้อง เจ้าสีวิไล คือ ปู่ทวดเชิงนิตินัย
ซึ่งครอบครัวถูกตามล่าโดยกลุ่มกบฎที่ต้องการยึดอำนาจ แก้วพญานาคซึ่งมีคำสาป เป็นสิ่งเครื่องมือในการใส่ร้ายสมัยนั้นว่าเป็นกบฎ
3.4 เจ้าจักรรินทร์ ฝั่งไทย คือ ปู่ทวดเชิงสายเลือด พบรักกับย่าทวดของลออจันทร์ แต่ไม่อาจแต่งงาน เพราะมีครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบ
ความบีบคั้นของคนเหล่านี้ น่าสนใจ ที่มาของลออจันทร์ เราว่าเขียนได้สมาร์ทมากๆ เกี่ยวกับสายเลือดที่ถูกซุกซ่อนภายในความอ่อนไหวทางการเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สัมพันธ์กับฝรั่งเศส และนึกถึงประวัติเพลงลาวดวงเดือน ซึ่งเป็นเพลงที่ประพันธ์โดยเชื้อพระวงศ์ไทยที่เล่ากันว่าตกหลุมรักสาวพื้นเมือง "โอ้ละหนอดวงเดือนเอย พี่มาเว้ารักเจ้าสาวคำดวง...หอมกลิ่นกรุ่นครัน หอมนั้นยังบ่เลย " มีคำว่า เว้า, บ่ ... ใช้ภาษาพื้นเมืองในเนื้อเพลงเพื่อสื่อสารไปถึงผู้หญิงด้วย
การเล่า story ต้องคุมโทนว่ากำลังเล่าเรื่องเชื้อพระวงศ์ ที่สมมุติขึ้นมาสองสามตระกูล ไม่น่าจะย้อนไปไกลถึงขั้นเจอพญานาค แต่มีเล่าตำนานพอได้ เพราะเป็นความเชื่อร่วมกันของชาติพันธุ์แถบคาบสมุทรอินโดจีน ก่อนแบ่งเป็นรัฐต่างๆ
หากนักแสดงสามคนที่เล่นช่วงตำนานพญานาค มาแสดงตอน หม่อมเจ้าจักรรินทร์ เทวพรหม พบรักกับหญิงลูกสาวคณบดีหัวเมือง และตอนที่พ่อลออจันทร์ ต้องเลี้ยงลูกที่เกิดจากดาราสาวชาวฝรั่งเศสโดยลำพัง มองดูภรรยามีตัวตนในสื่อฝรั่งเศส เป็นมาดามของนักการเมืองวุฒิสมาชิกฝรั่งเศส โดยไม่สามารถจะใช้ชีวิตกับลูกที่กำเนิดแบบลับๆได้ เรื่องราวเหล่านี้น่าจะได้อารมณ์
พญานาค คือ เรื่องเล่า ที่ลออจันทร์ไม่จำเป็นต้องเจอตัวจริง
แต่เป็นการใช้ความเชื่อความกลัวของคนในสังคมยุคนั้น เป็นเครื่องมือเชิงวาทกรรมในการกล่าวหาอีกฝ่าย เช่น บอกว่า เลือกพรรคนี้แล้วทักษิณจะไม่กลับมา เลือกพรรคนี้คือไม่รักชาติ เป็นต้น ในเรื่องเป็นการกล่าวหาว่านำแก้วพญานาคมาจงใจจะให้บ้านเมืองต้องคำสาป ดังนั้นเจ้าสีวิไลจึงเป็นกบฎโดยถูกใส่ร้าย ในประเทศตะวันออกกลาง เล่ากันว่า ใช้วาทกรรมให้ชาวตะวันตกดูเป็นผู้ร้าย เพื่อให้บ่อน้ำมันครอบครองโดยชนชั้นนำในประเทศเท่านั้น
ทั้งหมดนี้ เป็น feedback เป็นกำลังใจให้การสร้างละครเรื่องถัดไปค่ะ