อัศจรรย์✨🐦นกปรอดสวน ปี2024 ✨ธรรมชาติของนก🐦 คนไทยอีสาน เอิ้น นกต่อ ให้ฉายาว่า ต่อเงินต่อทอง อย่างไรม่ะ🕊️🕊️🕊️





นกปรอดสวน คือชื่อที่ผู้คน หรือคนไทยใช้เรียกกัน เข้าใจง่ายๆ

ผู้เขียนให้ฉายา ต่อเงินต่อทอง คือ เลี้ยงน้องมานี้ งานเข้า เงินเข้า เพราะเสียงจากน้องร้องทุกวัน ไพเราะมาก เป็นมนต์ ชนิดหนึ่ง ที่ผู้เขียนที่เคยเจอมานะคะ (ความเชื่อส่วนบุคคล)

  นกต่อ นกคอด ชื่อที่คนอีสาน เรียกกันส่วนมาก และก็เห็นเยอะ หาจับตัวยากต้องหา อีกตัวที่ร้องเสียงเก่ง ไปร้อง ซึ่งเสียงที่นกร้อง มีเอกลักษณ์ของเสียง ใช้เรียกฝูง ก็มีมูล ผู้เขียนก็ยังไม่ชำนาญเสียงนก ซ่ะด้วยสิ เดียวขอไปฝึกให้เก่ง เดียวจะหามาเขียนให้นะคะ

ส่วนผู้เขียนได้น้องมาเลี้ยง ตอนยังไม่ลืมตา ตัวแดงอยู่เลย
ธรรมชาติของมนุษย์ คือชอบตัดต้นไม้คะ น้องเลยตกจากรัง เพราะกิ่งไม้หัก พูดง่ายญาติข้างบ้านตัดไม้เองคะ น้องแมวก็ไปคาบมาให้ ธรรมชาติของแมวลาย นิสัย ชอบคาบ ชอบเล่น ชอบกัด เห็นแล้วสงสารน้อง ถ้าโตแล้ว ก็จะปล่อย นึกเอาไว้น่ะ แต่รอดรอบแรกมาได้ เลี้ยงจนมีปีก มีขนปีกงอก โตเร็วมากๆ

  อาหาร ดักแด้ ไข่มดแดง น้องทานได้

นิสัย ขี้อ้อน ชอบมองตามเสียง จำเสียงได้เก่ง ประสาทไวมาก เรียกเก่ง

พฤติกรรม ชอบเรียนรู้ อยากเดิน อยากบิน อยากเกาะ

พ่อแม่น้องเคยเห็นอยู่คู่หนึ่ง ชอบมาเกาะกินน้ำหวาน ต้นปาริชาติ ที่ปลูกไว้หน้าบ้าน ช่วงดอกปาริชาติบาน กลิ่นตอนเช้ามืด นี้ได้เลย ถ้าว่าหอมนี้ นกปรอดชอบมาก นกอื่นๆ นี้ไม่ค่อยสนใจจะมาเกาะ แล้ว เสียงน้องไม่ต้องบอก ถ้าใครได้ยินแล้ว หลงเลยคะ เสียงร้อง ไพเราะเพลิน ต้องมนต์สะกด ถ้าป่าธรรมชาติเหมือนอยู่ในป่าหิมพานต์

ส่วนตอนนี้น้องเสียแล้ว เพราะตกจากรัง ก็สูงมาก อายุสั้นสังเกตจากรอบแรกที่รอดมาได้ ชีวิตนกเกิดมาใช้กรรมแค่นี้ หรือไปเกิดอีกจนครบ 500 ชาติ คะ ก็มีวิธีการดูจากสัตว์ สัตว์ตะรู้ภาษาคนคะ แล้วก็ทำบุญให้น้องจะได้มีบุญไปเกิดในที่ธรรมชาติต่อไปคะ หรือ อาจจะไปเกิดเป็นมนุษย์ ก็ได้ แต่รับรองได้บุญส่วนนี้ แน่นอนคะ







นกปรอดสวน/Streak-eared Bulbul (Pycnonotus blanfordi)

นกปรอดเป็นนกร้องเพลงขนาดกลาง บางชนิดมีสีสดใสด้วยสี เหลือง แดง หรือ ส้ม ที่แก้ม คอ หรือบริเวณตา แต่โดยมากแล้วมีขนสีน้ำตาลหรือดำ บางชนิดมีหงอน มี 130 ชนิดทั่วโลก พบ 36 ชนิดในประเทศไทย

นกปรอดสวนยังเป็น “นกเฉพาะถิ่น” หรือ Endemic species ของ mainland South-East Asia, แสดงถึงความเฉพาะเจาะจงของพวกนี้ในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การศึกษา DNA และการวิจัยที่ดำเนินการโดย WCS และ NUS ได้ค้นพบว่านกปรอดสวนทั้ง 2 ชนิดย่อยนี้มีลักษณะพันธุกรรมที่แตกต่างกัน แม้จะมีลักษณะที่คล้ายคลึง

การค้นพบใหม่ๆไม่ต้องไปไกล อาจพบนกปรอดสวนในบ้านเรา นกปรอดสวนมีสีของม่านตาสีเทาอมฟ้าในพื้นที่ไทย นกปรอดหัวโขน ในขณะที่ชนิดที่พบในพม่ามีม่านตาสีแดงเข้ม หลังจากการแยกชนิดแล้ว นกปรอดสวนที่พบในพม่าถูกนำมาใช้ชื่อว่า “นกปรอดอิรวดี” หรือ Ayeyawaddy Bulbul ตามพื้นที่กระจายพันธุ์

และการค้นพบทั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายและความสำคัญของนกปรอดสวนในท้องถิ่น พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในบริเวณนี้

ทุกวันนี้เสี่ยงสูญพันธุ์
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่