อีก 500 ปี ญี่ปุ่นจะมีแต่คนนามสกุล “ซาโต” ทั้งประเทศ!
ผลการศึกษาวิจัยใหม่ระบุว่า หากญี่ปุ่นไม่แก้กฎหมายเกี่ยวกับนามสกุลหลังแต่งงาน ในอีก 500 ปี ทุกคนในประเทศจะมีนามสกุลเดียวกันหมด
การศึกษาวิจัยใหม่เปิดเผยว่า พลเมืองญี่ปุ่นทุกคนทั้งประเทศจะมีนามสกุลเดียวกันในอีก 500 ปีข้างหน้า เว้นแต่คู่สมรสจะได้รับอนุญาตให้ใช้นามสกุลแยกกัน และแนะว่าญี่ปุ่นควรปรับปรุงประมวลกฎหมายที่มีอายุย้อนกลับไปตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1800
การศึกษานี้นำโดย โยชิดะ ฮิโรชิ ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโทโฮกุ คาดการณ์ว่า หากญี่ปุ่นยังคงยืนกรานให้คู่รักเลือกใช้แค่นามสกุลเดียวตามกฎหมาย คนญี่ปุ่นทุกคนจะถูกเรียกว่า “คุณซาโต” ภายในปี ค.ศ. 2531
โยชิดะยอมรับว่า การคาดการณ์ของเขามีพื้นฐานอยู่บนสมมติฐานหลายประการ แต่กล่าวว่า แนวคิดนี้คือการใช้ตัวเลขเพื่ออธิบายผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นของระบบกฎหมายปัจจุบันต่อสังคมญี่ปุ่นในอนาคต
กฎหมายญี่ปุ่นกำหนดว่า คู่รักที่จดทะเบียนสมรสกันต้องเลือกว่าจะใช้นามสกุลฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง แต่ใน 95% ของกรณี ผู้หญิงจะเป็นฝ่ายเปลี่ยนไปใช้นามสกุลสามี
ทั้งนี้ คนญี่ปุ่นมักมีธรรมเนียมการเรียกกันด้วยนามสกุลมากกว่าชื่อ ทำให้โยชิดะมองว่า “ถ้าทุกคนกลายเป็นคุณซาโต เราอาจต้องเรียกกันด้วยชื่อหรือตัวเลข ผมไม่คิดว่านั่นจะเป็นโลกที่ดีที่จะอยู่”
จากการสำรวจเมื่อเดือน มี.ค. 2023 ซาโตเป็นนามสกุลที่มีคนใช้มากที่สุดของญี่ปุ่น คิดเป็น 1.5% ของประชากรทั้งหมด อันดับ 2 คือ ซูซูกิ
โยชิดะบอกว่า ประเทศที่ทุกคนถูกเรียกว่าซาโต “ไม่เพียงแต่จะไม่สะดวกเท่านั้น แต่ยังบ่อนทำลายศักดิ์ศรีของแต่ละบุคคลด้วย” และเสริมว่า แนวโน้มดังกล่าวจะนำไปสู่การสูญเสียครอบครัวและมรดกในภูมิภาคด้วย
จากการคำนวณของโยชิดะ สัดส่วนของคนญี่ปุ่นที่นามสกุลซาโตเพิ่มขึ้น 1.0083 เท่าในช่วงปี 2022-2023 โดยสมมติว่าอัตรายังคงที่และกฎหมายนามสกุลไม่มีการเปลี่ยนแปลง ประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรญี่ปุ่นจะใช้นามสกุลนี้ในปี ค.ศ. 2446 และเพิ่มขึ้นเป็น 100% ในปี ค.ศ. 2531
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์จะแตกต่างออกไปหากรัฐบาลญี่ปุ่นแก้กฎหมายให้คู่สมรสใช้นามสกุลแยกกันได้ โดยในปี ค.ศ. 2531 จะมีประชากรญี่ปุ่นเพียง 7.96% เท่านั้นที่จะต้องใช้นามสกุลซาโต
จากการสำรวจในปี 2022 โดยสมาพันธ์สหภาพแรงงานญี่ปุ่น 39.3% ของพนักงาน 1,000 คนที่มีอายุระหว่าง 20-59 ปีกล่าวว่า พวกเขาต้องการแยกกันใช้นามสกุล
กลุ่มที่เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับนามสกุลหลังแต่งงานหวังว่า การรณรงค์ของพวกเขาจะได้รับการส่งเสริม จากโอกาสที่นามสกุลอื่น ๆ ในญี่ปุ่นอาจจะหายไปในสักวันหนึ่ง
แม้ว่ารัฐบาลจะอนุญาตให้นามสกุลเดิมปรากฏข้างชื่อในหนังสือเดินทาง ใบขับขี่ และทะเบียนบ้าน แต่ญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศเดียวในโลกที่กำหนดให้คู่สมรสต้องใช้นามสกุลเดียวกัน
อย่างไรก็ดี สมาชิกอนุรักษ์นิยมของพรรคเสรีนิยมประชาธิปไตย (LDP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลปัจจุบันกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงกฎหมายจะ “บ่อนทำลาย” ความเป็นหนึ่งเดียวกันในครอบครัว และทำให้เกิดความสับสนในหมู่เด็ก ๆ
เรียบเรียงจาก The Guardian
ขอบคุณข่าวจาก : PPTV HD36
https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/220817
อีก 500 ปี ญี่ปุ่นจะมีแต่คนนามสกุล “ซาโต” ทั้งประเทศ!
ผลการศึกษาวิจัยใหม่ระบุว่า หากญี่ปุ่นไม่แก้กฎหมายเกี่ยวกับนามสกุลหลังแต่งงาน ในอีก 500 ปี ทุกคนในประเทศจะมีนามสกุลเดียวกันหมด
การศึกษาวิจัยใหม่เปิดเผยว่า พลเมืองญี่ปุ่นทุกคนทั้งประเทศจะมีนามสกุลเดียวกันในอีก 500 ปีข้างหน้า เว้นแต่คู่สมรสจะได้รับอนุญาตให้ใช้นามสกุลแยกกัน และแนะว่าญี่ปุ่นควรปรับปรุงประมวลกฎหมายที่มีอายุย้อนกลับไปตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1800
การศึกษานี้นำโดย โยชิดะ ฮิโรชิ ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโทโฮกุ คาดการณ์ว่า หากญี่ปุ่นยังคงยืนกรานให้คู่รักเลือกใช้แค่นามสกุลเดียวตามกฎหมาย คนญี่ปุ่นทุกคนจะถูกเรียกว่า “คุณซาโต” ภายในปี ค.ศ. 2531
โยชิดะยอมรับว่า การคาดการณ์ของเขามีพื้นฐานอยู่บนสมมติฐานหลายประการ แต่กล่าวว่า แนวคิดนี้คือการใช้ตัวเลขเพื่ออธิบายผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นของระบบกฎหมายปัจจุบันต่อสังคมญี่ปุ่นในอนาคต
กฎหมายญี่ปุ่นกำหนดว่า คู่รักที่จดทะเบียนสมรสกันต้องเลือกว่าจะใช้นามสกุลฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง แต่ใน 95% ของกรณี ผู้หญิงจะเป็นฝ่ายเปลี่ยนไปใช้นามสกุลสามี
ทั้งนี้ คนญี่ปุ่นมักมีธรรมเนียมการเรียกกันด้วยนามสกุลมากกว่าชื่อ ทำให้โยชิดะมองว่า “ถ้าทุกคนกลายเป็นคุณซาโต เราอาจต้องเรียกกันด้วยชื่อหรือตัวเลข ผมไม่คิดว่านั่นจะเป็นโลกที่ดีที่จะอยู่”
จากการสำรวจเมื่อเดือน มี.ค. 2023 ซาโตเป็นนามสกุลที่มีคนใช้มากที่สุดของญี่ปุ่น คิดเป็น 1.5% ของประชากรทั้งหมด อันดับ 2 คือ ซูซูกิ
โยชิดะบอกว่า ประเทศที่ทุกคนถูกเรียกว่าซาโต “ไม่เพียงแต่จะไม่สะดวกเท่านั้น แต่ยังบ่อนทำลายศักดิ์ศรีของแต่ละบุคคลด้วย” และเสริมว่า แนวโน้มดังกล่าวจะนำไปสู่การสูญเสียครอบครัวและมรดกในภูมิภาคด้วย
จากการคำนวณของโยชิดะ สัดส่วนของคนญี่ปุ่นที่นามสกุลซาโตเพิ่มขึ้น 1.0083 เท่าในช่วงปี 2022-2023 โดยสมมติว่าอัตรายังคงที่และกฎหมายนามสกุลไม่มีการเปลี่ยนแปลง ประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรญี่ปุ่นจะใช้นามสกุลนี้ในปี ค.ศ. 2446 และเพิ่มขึ้นเป็น 100% ในปี ค.ศ. 2531
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์จะแตกต่างออกไปหากรัฐบาลญี่ปุ่นแก้กฎหมายให้คู่สมรสใช้นามสกุลแยกกันได้ โดยในปี ค.ศ. 2531 จะมีประชากรญี่ปุ่นเพียง 7.96% เท่านั้นที่จะต้องใช้นามสกุลซาโต
จากการสำรวจในปี 2022 โดยสมาพันธ์สหภาพแรงงานญี่ปุ่น 39.3% ของพนักงาน 1,000 คนที่มีอายุระหว่าง 20-59 ปีกล่าวว่า พวกเขาต้องการแยกกันใช้นามสกุล
กลุ่มที่เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับนามสกุลหลังแต่งงานหวังว่า การรณรงค์ของพวกเขาจะได้รับการส่งเสริม จากโอกาสที่นามสกุลอื่น ๆ ในญี่ปุ่นอาจจะหายไปในสักวันหนึ่ง
แม้ว่ารัฐบาลจะอนุญาตให้นามสกุลเดิมปรากฏข้างชื่อในหนังสือเดินทาง ใบขับขี่ และทะเบียนบ้าน แต่ญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศเดียวในโลกที่กำหนดให้คู่สมรสต้องใช้นามสกุลเดียวกัน
อย่างไรก็ดี สมาชิกอนุรักษ์นิยมของพรรคเสรีนิยมประชาธิปไตย (LDP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลปัจจุบันกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงกฎหมายจะ “บ่อนทำลาย” ความเป็นหนึ่งเดียวกันในครอบครัว และทำให้เกิดความสับสนในหมู่เด็ก ๆ
เรียบเรียงจาก The Guardian
ขอบคุณข่าวจาก : PPTV HD36
https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/220817