ทุจริตคือมะเร็งร้าย ความเสียหายต่อประเทศชาติมหาศาล
“การทุจริตคอร์รัปชัน ในภาคอสังหาริมทรัพย์ เปรียบเหมือนมะเร็งร้าย หากป้องกันได้ มีโอกาสรอดชีวิต
แม้ความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจมีเพียง 5% แต่หากไม่แก้ไขจะส่งผลเสียต่อประเทศชาติมหาศาล”
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย เปิดเผยถึงการทุจริตคอร์รัปชันในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย โดยพบว่าจากผลสำรวจผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรม พบการทุจริตคอร์รัปชันเกิดจากกระบวนการขอใบอนุญาติจัดสรร โดยมีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 5% ของมูลค่าการก่อสร้าง ซึ่งรวม ๆ ทั่วประเทศ เป็นเงินจำนวนมหาศาล อาทิเช่น โครงการในกรุงเทพมหานคร หากมีมูลค่า 5 แสนล้าน และโครงการต่างจังหวัดมูลค่า 5 แสนล้าน รวมทั้งมูลค่าสิ้น 1 ล้านล้านบาท เมื่อมีการทุจริต 5 % คิดเป็นความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจสูงถึง 5 หมื่นล้านบาท
โดยรากเหง้าของการทุจริตคอรัปชัน เกิดขึ้นจากระบบการจ่ายเงินใต้โต๊ะภายใต้กระบวนการประมูลและก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ไทยในหลายรูปแบบ ผ่านการขอใบอนุญาตจัดสรร ใบอนุญาตก่อสร้าง กรณีศึกษาที่พบเจอ คือ ผู้ประกอบการไม่ยอมจ่ายเงินใต้โต๊ะ จะเกิดการล่าช้าในการอนุมติโครงการต่าง ๆ ก่อให้เกิดความล่าช้าในการก่อสร้าง ในขณะที่ผู้ประกอบการแบกรับต้นทุนการก่อสร้างทั้งค่าใช้จ่ายและภาระดอกเบี้ยที่สูง
ผลกระทบจากการคอร์รัปชันต่อผู้บริโภค
และหากการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ยิ่งล่าช้า ยิ่งเป็นภาระต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นทุกวัน จากอัตราดอกเบี้ยเงินลงทุน จนสุดท้ายต้นทุนการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์สูง ผลักดันในราคาบ้านและอสังหาฯ แพงขึ้น เป็นภาระต่อผู้บริโภคโดยตรงที่ต้องซื้อบ้านและอาคารในราคาแพงขึ้น นี่คือผลกระทบเป็นลูกโซ่อย่างเป็นรูปธรรมในปัจจุบัน
ในปัจจุบันพบว่าการทุจริตคอร์รัปชัน ในภาคอสังหาริมทรัพย์มี 3 ระดับ
1. ภาคเอกชนไม่จ่ายใต้โต๊ะ จะได้รับผลกระทบคือใช้เวลานานในการออกใบอนุญาตต่าง ๆ
2. ภาคเอกชนไม่จ่ายใต้โต๊ะ จะไม่ได้รับงานประมูล
3. จะไม่ได้เปรียบคู่แข่ง ไม่ได้รับงานใหญ่ระดับสัมปทาน ส่งผลให้ไม่มีโอกาสเติบโตในธุรกิจ
ซึ่งการประมูลที่ไม่โปร่งใสเพื่อให้ได้งานมา เป็นการเอาเปรียบสังคมและสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ดังนั้น ภาคประชาชนสามารถมีส่วนร่วมช่วยกันตรวจสอบไม่เห็นแก่พวกพ้อง ช่วยกันรายงานการทุจริตคอร์รัปชันที่พบเจอ ต่อภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการตรวจสอบและมีบทลงโทษอย่างจริงจัง เป็นวิธีการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ในภาคอสังหาริมทรัพย์ไทยให้หมดสิ้นไป
สร้างความโปร่งใส ดึงดูดการลงทุน
ปัจจุบันประเทศไทยได้รับคะแนนความโปร่งใสในการทำธุรกิจ 3.5 % - 3.8 % ต่อปี ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำ หากสามารถยกระดับคะแนนขึ้นได้ ด้วยการปราบปรามการทุจริตคอรัปชัน จะช่วยดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้มาลงทุนใทยมากขึ้น ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยในระยะยาว เป็นการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย ในด้านการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ
ดังนั้น แนวทางการแก้ไขปัญหา ภาครัฐต้องเชือดไก่ให้ลิงดู ปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในระบบราชการให้หมดไป โดยปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ถือว่ามีบทบาทสำคัญมากในการช่วยแก้ไขปัญหาเชิงรุก เพื่อปราบปรามการทุจริตคอรัปชันในประเทศไทย
ซึ่งถ้าแก้ไขปัญหาได้จะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ ภาคเอกชนจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาคประชาชนจะมีต้นทุนในการซื้อบ้านและอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกลง ในขณะที่ประเทศไทยจะมีเม็ดเงินจากการทุจริต มาพัฒนาท้องถิ่น ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจไทย
https://www.tnnthailand.com/news/wealth/163764/
ทุจริตคือมะเร็งร้าย ความเสียหายต่อประเทศชาติมหาศาล
“การทุจริตคอร์รัปชัน ในภาคอสังหาริมทรัพย์ เปรียบเหมือนมะเร็งร้าย หากป้องกันได้ มีโอกาสรอดชีวิต
แม้ความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจมีเพียง 5% แต่หากไม่แก้ไขจะส่งผลเสียต่อประเทศชาติมหาศาล”
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย เปิดเผยถึงการทุจริตคอร์รัปชันในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย โดยพบว่าจากผลสำรวจผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรม พบการทุจริตคอร์รัปชันเกิดจากกระบวนการขอใบอนุญาติจัดสรร โดยมีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 5% ของมูลค่าการก่อสร้าง ซึ่งรวม ๆ ทั่วประเทศ เป็นเงินจำนวนมหาศาล อาทิเช่น โครงการในกรุงเทพมหานคร หากมีมูลค่า 5 แสนล้าน และโครงการต่างจังหวัดมูลค่า 5 แสนล้าน รวมทั้งมูลค่าสิ้น 1 ล้านล้านบาท เมื่อมีการทุจริต 5 % คิดเป็นความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจสูงถึง 5 หมื่นล้านบาท
โดยรากเหง้าของการทุจริตคอรัปชัน เกิดขึ้นจากระบบการจ่ายเงินใต้โต๊ะภายใต้กระบวนการประมูลและก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ไทยในหลายรูปแบบ ผ่านการขอใบอนุญาตจัดสรร ใบอนุญาตก่อสร้าง กรณีศึกษาที่พบเจอ คือ ผู้ประกอบการไม่ยอมจ่ายเงินใต้โต๊ะ จะเกิดการล่าช้าในการอนุมติโครงการต่าง ๆ ก่อให้เกิดความล่าช้าในการก่อสร้าง ในขณะที่ผู้ประกอบการแบกรับต้นทุนการก่อสร้างทั้งค่าใช้จ่ายและภาระดอกเบี้ยที่สูง
ผลกระทบจากการคอร์รัปชันต่อผู้บริโภค
และหากการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ยิ่งล่าช้า ยิ่งเป็นภาระต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นทุกวัน จากอัตราดอกเบี้ยเงินลงทุน จนสุดท้ายต้นทุนการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์สูง ผลักดันในราคาบ้านและอสังหาฯ แพงขึ้น เป็นภาระต่อผู้บริโภคโดยตรงที่ต้องซื้อบ้านและอาคารในราคาแพงขึ้น นี่คือผลกระทบเป็นลูกโซ่อย่างเป็นรูปธรรมในปัจจุบัน
ในปัจจุบันพบว่าการทุจริตคอร์รัปชัน ในภาคอสังหาริมทรัพย์มี 3 ระดับ
1. ภาคเอกชนไม่จ่ายใต้โต๊ะ จะได้รับผลกระทบคือใช้เวลานานในการออกใบอนุญาตต่าง ๆ
2. ภาคเอกชนไม่จ่ายใต้โต๊ะ จะไม่ได้รับงานประมูล
3. จะไม่ได้เปรียบคู่แข่ง ไม่ได้รับงานใหญ่ระดับสัมปทาน ส่งผลให้ไม่มีโอกาสเติบโตในธุรกิจ
ซึ่งการประมูลที่ไม่โปร่งใสเพื่อให้ได้งานมา เป็นการเอาเปรียบสังคมและสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ดังนั้น ภาคประชาชนสามารถมีส่วนร่วมช่วยกันตรวจสอบไม่เห็นแก่พวกพ้อง ช่วยกันรายงานการทุจริตคอร์รัปชันที่พบเจอ ต่อภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการตรวจสอบและมีบทลงโทษอย่างจริงจัง เป็นวิธีการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ในภาคอสังหาริมทรัพย์ไทยให้หมดสิ้นไป
สร้างความโปร่งใส ดึงดูดการลงทุน
ปัจจุบันประเทศไทยได้รับคะแนนความโปร่งใสในการทำธุรกิจ 3.5 % - 3.8 % ต่อปี ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำ หากสามารถยกระดับคะแนนขึ้นได้ ด้วยการปราบปรามการทุจริตคอรัปชัน จะช่วยดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้มาลงทุนใทยมากขึ้น ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยในระยะยาว เป็นการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย ในด้านการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ
ดังนั้น แนวทางการแก้ไขปัญหา ภาครัฐต้องเชือดไก่ให้ลิงดู ปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในระบบราชการให้หมดไป โดยปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ถือว่ามีบทบาทสำคัญมากในการช่วยแก้ไขปัญหาเชิงรุก เพื่อปราบปรามการทุจริตคอรัปชันในประเทศไทย
ซึ่งถ้าแก้ไขปัญหาได้จะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ ภาคเอกชนจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาคประชาชนจะมีต้นทุนในการซื้อบ้านและอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกลง ในขณะที่ประเทศไทยจะมีเม็ดเงินจากการทุจริต มาพัฒนาท้องถิ่น ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจไทย
https://www.tnnthailand.com/news/wealth/163764/