หัวแร้งไส้เซรามิค Goot ของผมที่ใช้งานมายาวนานได้พังไปตั้งแต่ก่อนปีใหม่ ตอนแรกตั้งใจว่าจะซื้อ Goot เหมือนเดิมหรือไม่ก็ Hakko เมื่อดูในเวปขายของแล้วพบว่าราคาแต่ละร้านแตกต่างกันมาก บางร้านเห็นราคาถูกๆ ก็รู้แล้วว่าเป็นของปลอม บางร้านตั้งราคาแพงแล้วจะมั่นใจได้แค่ไหนว่าเป็นของแท้ ถ้าได้ของปลอมราคาเท่าของแท้ก็คงเจ็บใจไปอีกนานก็เลยเปลี่ยนใจไปซื้อของจีนดีกว่าเพราะราคาถูกกว่ากันเกือบ 20 เท่า จากประสพการณ์ที่เคยใช้หัวแร้งจีนมาก็พบว่ามันใช้ได้นานประมาณ 2 ปี เมื่อเอา 20 เท่ามาคูณจ่ายเงินเท่ากันถ้าเป็นหัวแร้งจีนจะใช้ได้นาน 40 ปีกันเลย
เมื่อตัดสินใจได้ก็เลยสั่งจากร้านประเทศจีนในราคาด้ามละ 58฿ จึงสั่งไป 2 ด้าม เป็นหัวแร้งไส้เซรามิคขนาด 60W. ปรับความร้อนได้ ตอนสั่งผมไม่ได้อ่านรายละเอียดว่าถ้าเป็นรุ่นที่ใช้ปลั๊กขาแบนแบบญี่ปุ่นจะเป็นรุ่นที่ใช้กับไฟฟ้า 110V. ส่วนรุ่นที่ใช้ไฟฟ้า 220V. ต้องเป็นรุ่นปลั๊กขากลม ผมคิดว่าถ้าสั่งรุ่นขากลมจะเจอปัญหาเสียบไม่แน่นก็เลยสั่งขาแบนโดยไม่ได้อ่านข้อมูล เมื่อวานของมาถึงเปิดซองออกมาเจอเขาระบุแรงดันไว้ที่ด้ามว่า 110V. เนื่องจากเป็นหัวแร้งที่ปรับความร้อนได้ หัวแร้งพวกนี้จะใช้ Triacs ควบคุมแรงดันโดยการปลับลดแรงดันลงเราจึงใช้กับแรงดัน 220V. ได้ ผมก็เลยทดสอบทั้ง 2 ด้ามเมื่อใช้ก็เจอปัญหาความร้อนยังสูงเกินไปแม้จะปรับลงสุดก็ยังร้อนพอๆ กับหัวแร้งแช่ 35W. ซึ่งร้อนเกินไปสำหรับอุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ จึงเป็นที่มาของการแก้ไขแล้วตั้งกระทู้นี้
ภาพก่อนการแก้ไข เทียบกับ Hakko 503 หัวแร้งแช่ขนาด 60W. แล้วจะเล็กกว่าแต่มีกำลังวัตต์เท่ากัน วิธีการแก้ไขของผมจะทำง่ายๆ ใช้ Diode ที่ทนแรงดันสูงต่ออนุกรมเข้าไปกับไส้ความร้อนของหัวแร้ง วิธีนี้ผมไม่ได้คิดค้นเองแต่เขาใช้กันมานานกับหัวแร้งที่มีปุ่มเพิ่มวัตต์รุ่นราคาถูก เช่นหัวแร้งขนาด 30/60W. ภายในจะมีใส้ความร้อนอยู่ขดเดียวแต่ใช้ Diode ต่ออนุกรมกำลังวัตต์จะลดลงครึ่งหนึ่งเหลือ 30W. เมื่อกดสวิทช์จะกลายเป็นต่อตรงไม่ผ่าน Diode ก็จะได้กำลังไฟ 60W. ส่วนหัวแร้งที่ราคาแพงขึ้นมาเช่นรุ่น 30/130W. ภายในจะมีขดลวดความร้อน 2 ชุดแยกอิสระจากกันหากเราต่อ Diode เข้าไปกำลังไฟจะเหลือ 15/75W. ซึ่งอาจจะพอดีกับบางคนแต่บางคนจะบอกว่าความร้อนน้อยเกินไปด้วยเหตุนี้เขาจึงผลิตหัวแร้งที่ปรับอุณหภูมิให้เหมาะกับชิ้นงานได้ออกมาขาย
เมื่อถอดชิ้นส่วนหัวแร้งออกจะเจอชิ้นส่วนตามภาพ ภายในใช้ Triacs เบอร์ BT136S ทนแรงดันได้ 600V. จ่ายกระแสได้ 4A. เป็นตัวปรับแรงดัน Diode ที่จะต่อเพิ่มเข้าไปจะต่อที่ขาขดลวดความร้อน ผมได้ Diode แรงดันสูงมาโดยไม่ต้องซื้อโดยไปค้นหลังบ้านเจอไม้ตียุงเก่าที่พังแล้ว ภายในมี Diode เบอร์ 1N4007 อยู่หลายตัว Diode เบอร์นี้ทนแรงดันได้ 1000V. จ่ายกระแสได้ 1A. เบอร์นี้นิยมใช้ลดกำลังวัตต์ให้กับหัวแร้งแช่อยู่แล้วจึงบัดกรีออกมา 2 ตัวเพื่อใช้กับหัวแร้ง 2 ด้าม

ผมบัดกรีไส้หัวแร้งขั้ว H+ ออกแล้วบัดกรี Diode เข้าไปแทน จริงๆ แล้วแรงดันไฟฟ้าที่ผ่าน Triacs ลดแรงดันยังคงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับไม่มีขั้ว + - เราจึงต่อ Diode ขั้วใดก็ได้ ตามรูปผมบัดกรี Diode เข้าที่ขาของไส้ขดลวดความร้อนอีกด้านหนึ่งของ Diode ก็บัดกรีเข้าแผ่นปริ๊นตำแหน่งเดิม เมื่อบัดกรีเสร็จใช้ท่อหดสวมขาไส้ขดลวดความร้อนเอาไว้ไม่ตัดทิ้ง
เมื่อทำเสร็จดูภายนอกก็จะเหมือนเดิมทุกประการหากไม่บอกจะไม่รู้เลยว่าหัวแร้งนี้โดนแก้ไขมาแล้ว ผมทดสอบกำลังวัตต์ตอนเสียบปลั๊กใหม่ๆ เมื่อปรับความร้อนลงสุดกระแสไฟฟ้าจะไหลที่ 0.15A. คำนวณกำลังไฟได้ 33W. เมื่อหัวแร้งร้อนถึงระดับที่ตั้งไว้ในรูปผมตั้งไว้ที่ 200°C เมื่ออุณหภูมิถึงจุดที่ตั้งไว้หัวแร้งก็จะกินกระแสน้อยลงเหลือ 0.09A. คำนวณได้ 20W. กำลังวัตต์เท่านี้พอดีกับอุปกรณ์ขนาดเล็กใช้ตะกั่วเส้นเล็ก ถ้ากำลังไฟน้อยกว่านี้ตะกั่วจะไม่ละลาย
อย่างที่บอกไปตอนต้นหลักการใช้กับหัวแร้งได้ทุกประเภทโดยเฉพาะคนที่ใช้หัวแร้งแช่แล้วรู้สึกว่าหัวแร้งร้อนเกินไปก็สามารถนำไปใช้ได้ แต่หากจะซื้อหัวแร้งใหม่แบบเดียวกับของผมควรเลือกซื้อให้ตรงรุ่นจะได้ไม่ต้องมาแก้ไขให้ยุ่งยาก แต่ถ้าซื้อมาผิดแล้วก็ไม่ต้องทิ้งให้เสียของเอาวิธีนี้ไปใช้ได้เลยเมื่อต่อ Diode เข้าไปแรงดันที่ใส้ความร้อนจะหายไฟครึ่งหนึ่งเหลือ 110V. จึงใช้งานได้อย่างปลอดภัยได้ความร้อนตามค่าของโรงงานครับ
ซื้อหัวแร้งมาผิดแก้ไขหัวแร้ง 110V. ให้ใช้ไฟฟ้า 220V. ได้โดยตรง สะดวก ปลอดภัย ไม่ต้องใช้หม้อแปลง
เมื่อตัดสินใจได้ก็เลยสั่งจากร้านประเทศจีนในราคาด้ามละ 58฿ จึงสั่งไป 2 ด้าม เป็นหัวแร้งไส้เซรามิคขนาด 60W. ปรับความร้อนได้ ตอนสั่งผมไม่ได้อ่านรายละเอียดว่าถ้าเป็นรุ่นที่ใช้ปลั๊กขาแบนแบบญี่ปุ่นจะเป็นรุ่นที่ใช้กับไฟฟ้า 110V. ส่วนรุ่นที่ใช้ไฟฟ้า 220V. ต้องเป็นรุ่นปลั๊กขากลม ผมคิดว่าถ้าสั่งรุ่นขากลมจะเจอปัญหาเสียบไม่แน่นก็เลยสั่งขาแบนโดยไม่ได้อ่านข้อมูล เมื่อวานของมาถึงเปิดซองออกมาเจอเขาระบุแรงดันไว้ที่ด้ามว่า 110V. เนื่องจากเป็นหัวแร้งที่ปรับความร้อนได้ หัวแร้งพวกนี้จะใช้ Triacs ควบคุมแรงดันโดยการปลับลดแรงดันลงเราจึงใช้กับแรงดัน 220V. ได้ ผมก็เลยทดสอบทั้ง 2 ด้ามเมื่อใช้ก็เจอปัญหาความร้อนยังสูงเกินไปแม้จะปรับลงสุดก็ยังร้อนพอๆ กับหัวแร้งแช่ 35W. ซึ่งร้อนเกินไปสำหรับอุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ จึงเป็นที่มาของการแก้ไขแล้วตั้งกระทู้นี้
ภาพก่อนการแก้ไข เทียบกับ Hakko 503 หัวแร้งแช่ขนาด 60W. แล้วจะเล็กกว่าแต่มีกำลังวัตต์เท่ากัน วิธีการแก้ไขของผมจะทำง่ายๆ ใช้ Diode ที่ทนแรงดันสูงต่ออนุกรมเข้าไปกับไส้ความร้อนของหัวแร้ง วิธีนี้ผมไม่ได้คิดค้นเองแต่เขาใช้กันมานานกับหัวแร้งที่มีปุ่มเพิ่มวัตต์รุ่นราคาถูก เช่นหัวแร้งขนาด 30/60W. ภายในจะมีใส้ความร้อนอยู่ขดเดียวแต่ใช้ Diode ต่ออนุกรมกำลังวัตต์จะลดลงครึ่งหนึ่งเหลือ 30W. เมื่อกดสวิทช์จะกลายเป็นต่อตรงไม่ผ่าน Diode ก็จะได้กำลังไฟ 60W. ส่วนหัวแร้งที่ราคาแพงขึ้นมาเช่นรุ่น 30/130W. ภายในจะมีขดลวดความร้อน 2 ชุดแยกอิสระจากกันหากเราต่อ Diode เข้าไปกำลังไฟจะเหลือ 15/75W. ซึ่งอาจจะพอดีกับบางคนแต่บางคนจะบอกว่าความร้อนน้อยเกินไปด้วยเหตุนี้เขาจึงผลิตหัวแร้งที่ปรับอุณหภูมิให้เหมาะกับชิ้นงานได้ออกมาขาย
เมื่อถอดชิ้นส่วนหัวแร้งออกจะเจอชิ้นส่วนตามภาพ ภายในใช้ Triacs เบอร์ BT136S ทนแรงดันได้ 600V. จ่ายกระแสได้ 4A. เป็นตัวปรับแรงดัน Diode ที่จะต่อเพิ่มเข้าไปจะต่อที่ขาขดลวดความร้อน ผมได้ Diode แรงดันสูงมาโดยไม่ต้องซื้อโดยไปค้นหลังบ้านเจอไม้ตียุงเก่าที่พังแล้ว ภายในมี Diode เบอร์ 1N4007 อยู่หลายตัว Diode เบอร์นี้ทนแรงดันได้ 1000V. จ่ายกระแสได้ 1A. เบอร์นี้นิยมใช้ลดกำลังวัตต์ให้กับหัวแร้งแช่อยู่แล้วจึงบัดกรีออกมา 2 ตัวเพื่อใช้กับหัวแร้ง 2 ด้าม
ผมบัดกรีไส้หัวแร้งขั้ว H+ ออกแล้วบัดกรี Diode เข้าไปแทน จริงๆ แล้วแรงดันไฟฟ้าที่ผ่าน Triacs ลดแรงดันยังคงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับไม่มีขั้ว + - เราจึงต่อ Diode ขั้วใดก็ได้ ตามรูปผมบัดกรี Diode เข้าที่ขาของไส้ขดลวดความร้อนอีกด้านหนึ่งของ Diode ก็บัดกรีเข้าแผ่นปริ๊นตำแหน่งเดิม เมื่อบัดกรีเสร็จใช้ท่อหดสวมขาไส้ขดลวดความร้อนเอาไว้ไม่ตัดทิ้ง
เมื่อทำเสร็จดูภายนอกก็จะเหมือนเดิมทุกประการหากไม่บอกจะไม่รู้เลยว่าหัวแร้งนี้โดนแก้ไขมาแล้ว ผมทดสอบกำลังวัตต์ตอนเสียบปลั๊กใหม่ๆ เมื่อปรับความร้อนลงสุดกระแสไฟฟ้าจะไหลที่ 0.15A. คำนวณกำลังไฟได้ 33W. เมื่อหัวแร้งร้อนถึงระดับที่ตั้งไว้ในรูปผมตั้งไว้ที่ 200°C เมื่ออุณหภูมิถึงจุดที่ตั้งไว้หัวแร้งก็จะกินกระแสน้อยลงเหลือ 0.09A. คำนวณได้ 20W. กำลังวัตต์เท่านี้พอดีกับอุปกรณ์ขนาดเล็กใช้ตะกั่วเส้นเล็ก ถ้ากำลังไฟน้อยกว่านี้ตะกั่วจะไม่ละลาย
อย่างที่บอกไปตอนต้นหลักการใช้กับหัวแร้งได้ทุกประเภทโดยเฉพาะคนที่ใช้หัวแร้งแช่แล้วรู้สึกว่าหัวแร้งร้อนเกินไปก็สามารถนำไปใช้ได้ แต่หากจะซื้อหัวแร้งใหม่แบบเดียวกับของผมควรเลือกซื้อให้ตรงรุ่นจะได้ไม่ต้องมาแก้ไขให้ยุ่งยาก แต่ถ้าซื้อมาผิดแล้วก็ไม่ต้องทิ้งให้เสียของเอาวิธีนี้ไปใช้ได้เลยเมื่อต่อ Diode เข้าไปแรงดันที่ใส้ความร้อนจะหายไฟครึ่งหนึ่งเหลือ 110V. จึงใช้งานได้อย่างปลอดภัยได้ความร้อนตามค่าของโรงงานครับ