ทำไมแนวคิด romanticize เรื่อง "ลาออกจากงานประจำ ฉันจะเป็นชาวนา" จึงได้รับความนิยมในหมู่ชนชั้นกลางในสังคมเมือง???

ทำไมแนวคิด โรแมนติไซส์ (romanticize) เรื่อง "ลาออกจากงานประจำ ฉันจะเป็นชาวนา" จึงได้รับความนิยมในหมู่ชนชั้นกลางที่ทำงานประจำในสังคมเมือง ???
คือ กำลัง โรแมนติไซส์ (romanticize) เกินจริงรึป่าว ถ้ามันดีจริง...
- ทำไม ชาวนา+เกษตรกรยังยากจนอยู่
- ทำไม คนจนจะดิ้นรนเข้ามาทำงานในเมือง
- ทำไม ต้องส่งให้ลูกได้เรียนสูง เพื่อเจ้าคนนายคน

อุตสาห์เรียนหนังสือจนจบปริญญาตรี+โท+เอก ถ้าที่บ้านไม่มีฐานะ จะมีสักกี่คนที่อยากกลับไปเป็นเกษตรกร กลับไปเป็นนา ไปใช้ชีวิตลำบาก คอยภาวนาลมฝนดินฟ้าอากาศ ล้มๆแล้งๆแบบสมัยก่อน

หรือมันคือ คำพูดปลอบใจตัวเองหลังผิดหวังกับชีวิตเพราะความไม่เอาไหนของชีวิต ถูกบีบออกจากงาน โรงงานห้างร้านปิดตัว ???

ในโลกความเป็นจริง สังคมชนบทจริงๆ มีเฉพาะคนแก่และเด็กน้อยเท่านั้นนะ คนเหล่านี้อยู่ได้เพราะลูกหลานที่เข้าทำงานส่งเงินไปให้ใช้ กินเท่าที่มีตามกำลังเงินที่มีอยู่

อยู่บนโลกความเป็นจริง ชีวิตจริงไม่ง่าย ลืมเรื่องโรแมนติไซส์ (romanticize) แบบเกินจริงไปก่อนนะพวกเรา

ปล.ไม่นับคนที่ทางบ้านมีฐานะอยู่แล้ว/ข้าราชการเกษียณ stakeholderกลุ่มนี้ไม่ลำบากเพราะมีบำนาญและทางบ้านก็มีฐานะอยู่แล้ว



แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่