เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย
https://www.matichon.co.th/economy/news_4470507
อีกไม่กี่เดือนข้างหน้า อภิมหาโปรเจ็กต์ 2 โครงการ มูลค่าการลงทุนกว่า 1.5 แสนล้านบาท กำลังทยอยนับถอยหลังอวดโฉม เปิดบริการ หลังเดินเครื่องมานานแรมปี มีโครงการ “วัน แบงค็อก” มูลค่า 113,370 ล้านบาท บนเนื้อที่ 108 ไร่ พัฒนาโดยบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) ซึ่งโครงการตั้งอยู่หัวมุมถนนวิทยุตัดกับพระราม 4 ที่การเดินทางสะดวก เชื่อมกับ MRT สถานีลุมพินี ยังมีทางเข้าออกรอบโครงการถึง 6 จุด และทางเชื่อมตัดตรงเข้าสู่ทางด่วนเป็นแห่งแรกในประเทศไทย
ภายในโครงการ ประกอบด้วย อาคารสำนักงานเกรดเอ 5 อาคาร มีพื้นที่เช่ารวมกว่า 500,000 ตารางเมตร (ตร.ม.) พื้นที่รีเทล 4 โซน โรงแรมลักชัวรี่และไลฟ์สไตล์ 5 แห่ง ที่พักอาศัยระดับลักชัวรี่อีก 3 อาคาร ตั้งเป้าให้เป็นต้นแบบ “กรีนสมาร์ทซิตี้” ที่ครบทุกมิติ ภายใต้แนวคิด The Heart of Bangkok
พร้อมเปิดเฟสแรกในเดือนตุลาคม 2567 ในส่วนอาคารสำนักงาน หลังประเดิมเปิดให้เช่าพื้นที่ 3 อาคาร ได้รับตอบรับเป็นอย่างดีจากบริษัทชั้นนำทั้งไทยและระดับโลก โดยอาคารสำนักงานแรกมีพื้นที่กว่า 95,000 ตร.ม. จำนวน 50 ชั้น คาดปิดยอดจองไตรมาส 2 ปี 2567 รวมถึงอาคารสำนักงานที่ 2 มีพื้นที่ให้เช่ารวม 97,000 ตร.ม. จำนวน 48 ชั้น และอาคารสำนักงานที่ 3 มีพื้นที่ให้เช่ารวม 97,000 ตร.ม. จำนวน 35 ชั้น
ไฮไลต์ของโปรเจ็กต์นี้ มี “ซิกเนเจอร์ ทาวเวอร์” ตึกที่สูงที่สุด 430 เมตร ว่ากันว่าจะเป็น 1 ใน 10 ตึกที่สูงที่สุดของอาเซียนด้วย ยังมีพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ 50 ไร่ เมื่อเปิดเต็มรูปแบบทั้งโครงการจะกลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของโลก และมีผู้มาใช้บริการถึง 200,000 คนต่อวัน
อีกโครงการ “ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค” ของกลุ่มเซ็นทรัลและดุสิตธานี ที่ร่วมกันพลิกโฉมที่ดิน 23 ไร่ ของโรงแรมดุสิตเดิม บริเวณหัวมุมถนนสีลม-พระราม 4 ฝั่งตรงข้าม “สวนลุมพินี” เนรมิตเป็นเมกะมิกซ์ยูส มูลค่ากว่า 46,000 ล้านบาท
ประกอบด้วยโรงแรมดุสิตธานีแบงค็อก จำนวน 39 ชั้น 257 ห้อง พร้อมเปิดกลางปี 2567, อาคารสำนักงานเซ็นทรัลพาร์ค ออฟฟิศเซส สูง 43 ชั้น พื้นที่ 130,000 ตร.ม. เปิดไตรมาส 2 ปี 2568, ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพาร์ค ขนาด 8 ชั้น พื้นที่ 130,000 ตร.ม. เปิดไตรมาส 3 ปี 2568 และที่พักอาศัยซุปเปอร์อัลตราลักชัวรี่ สูง 69 ชั้น 399 ยูนิต พื้นที่ 50,500 ตร.ม. แบ่งเป็นดุสิต เรสซิเดนเซส ราคา 40-300 ล้านบาท และ ดุสิต พาร์คไซด์ ราคา 12-90 ล้านบาท ทยอยส่งมอบห้องให้ลูกค้าปลายปี 2568
ปฏิเสธไม่ได้ทั้งสองเมกะโปรเจ็กต์ นอกจากเปลี่ยนแลนด์สเคปเมืองกรุงแล้ว ยังได้จุดพลุตลาดอาคารสำนักงานให้เช่าคึกคักมากขึ้น เริ่มมีหลายค่ายที่ทุ่มเม็ดเงินปรับโฉมใหม่
ล่าสุดบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ทุ่มงบ 200 ล้านบาท ปรับปรุงอาคารสาทร สแควร์และปาร์คเวนเชอร์ นำเทคโนโลยีอาคารอัจฉริยะที่ล้ำสมัยเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบอาคารและผู้ใช้อาคาร ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นการรับมือสภาวะตลาดอาคารสำนักงานในปัจจุบันที่แข่งขันสูงนั่นเอง
ภัทรชัย ทวีวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและการสื่อสาร บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จำกัด ฉายภาพว่า สิ้นไตรมาสที่ 4 ปี 2566 อุปทานพื้นที่สำนักงานในกรุงเทพฯ ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 9.891 ล้าน ตร.ม. คิดเป็น 1.02% จากในช่วงไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นเป็น 2.59% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
จากการเปิดตัวอาคารสำนักงานใหม่ 5 โครงการ ด้วยพื้นที่เช่ารวม 99,911 ตร.ม. ได้แก่ อาคารควอนท์-สุขุมวิท 25 พื้นที่ 6,000 ตร.ม. อาคารสยามปทุมวัน เฮ้าส์ พื้นที่ 46,915 ตร.ม. อาคารพี 23 ออฟฟิศ บิ้วดิ้ง พื้นที่ 5,325 ตร.ม. อาคารเอนโก้ เทอร์มินอล พื้นที่ 10,715 ตร.ม. อาคารเจแอลเค ทาวเวอร์ พื้นที่ 30,956 ตร.ม.
ยังมีอาคารสำนักงานอยู่ระหว่างการก่อสร้างและคาดแล้วเสร็จในอีก 3 ปีข้างหน้า ด้วยพื้นที่ขายรวมอีกกว่า 1 ล้าน ตร.ม. โดยเฉพาะในปี 2567 อาจมีอุปทานพื้นที่สำนักงานก่อสร้างแล้วเสร็จเข้าสู่ตลาดอีกมากกว่า 570,000 ตร.ม. เนื่องจากอาคารสำนักงานบางส่วนเลื่อนการเปิดตัวออกไปจากปี 2566 สาเหตุการก่อสร้างล่าช้ากว่ากำหนด และยังมียอดการจองล่วงหน้าที่ยังต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
สำหรับปี 2567 “ภัทรชัย” ระบุว่า อุปทานของโครงการอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ในพื้นที่รอบสวนลุมพินีจะก่อสร้างแล้วเสร็จด้วยพื้นที่ให้เช่ากว่า 200,000 ตร.ม. และเป็นโครงการที่ได้รับความสนใจจากผู้เช่าเป็นอย่างมาก สามารถปิดยอดการจองพื้นที่ล่วงหน้าในส่วนของพื้นที่ที่เปิดให้เช่าแล้วมากกว่า 50% ทำให้ราคาเสนอเช่าเฉลี่ยโดยภาพรวมในทุกระดับและพื้นที่ของอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.6% มาอยู่ที่ 767.65 บาทต่อ ตร.ม. จากในช่วงไตรมาสก่อนหน้าและปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.06% จากในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า
“เนื่องจากราคาเสนอเช่าของอาคารสำนักงานใหญ่ที่เพิ่งสร้างแล้วเสร็จยังมีระดับราคาค่าเช่าสูงกว่าราคาตลาดและอาคารสำนักงานเก่าในพื้นที่ ทำให้ราคาเสนอเช่าเฉลี่ยโดยภาพรวมของตลาดปรับตัวสูงขึ้น โดยราคาเสนอเช่าเฉลี่ยของอาคารสำนักงานเกรดเอในย่านศูนย์กลางธุรกิจอยู่ที่ 1,098 บาทต่อ ตร.ม. เพิ่มขึ้น 0.64%” ภัทรชัยกล่าว
ขณะเดียวกันยังมองว่ามีผู้พัฒนาหลายรายมีการปรับปรุงอาคารสำนักงานใหม่ เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับพื้นที่เช่าที่ว่างรอการเช่า โดยผู้พัฒนาบางรายเสนอค่าคอมมิสชั่นที่สูงขึ้นให้กับเอเยนซี่ รวมถึงการเสนอราคาค่าเช่าที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดลูกค้ารายใหม่และมอบส่วนลดพิเศษผู้เช่ารายใหญ่ที่สนใจพื้นที่เช่าขนาดใหญ่ เพื่อให้พื้นที่ที่เคยว่างลงมีผู้เช่าใหม่เข้ามาแทนที่ เช่น ลดราคา 20-30% โดยคาดการณ์ว่าการย้ายที่ตั้งไปยังอาคารสำนักงานที่ได้มาตรฐานที่ดีกว่านั้นอาจจะชัดเจนมากขึ้นในปี 2567
“ผู้พัฒนาควรพัฒนากลยุทธ์การขายที่แตกต่างมากขึ้น เช่น แนะนำเงื่อนไขการเช่าที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ในขณะเดียวกัน การพัฒนาโครงการใหม่ในอนาคตผู้พัฒนาควรให้ความสำคัญเรื่องของที่ตั้งโครงการ ที่สะดวกต่อการเดินทาง และเชื่อมต่อกับโครงสร้างพื้นฐานได้” ภัทรชัยกล่าว
“ภัทรชัย” บอกอีกว่า อาคารสำนักงานบางส่วนที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงภาพลักษณ์และปรับปรุงครั้งใหญ่เพื่อดึงดูดความสนใจลูกค้า อาจเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น ซึ่งเชื่อว่าการให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในพื้นที่สำนักงานจะเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นอัตราการเช่าให้สูงขึ้นในระยะยาว
ปัจจุบันพบว่าพื้นที่สุขุมวิทยังคงเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเช่าสูงสุดในย่านศูนย์กลางธุรกิจที่ 92.9% ขณะที่พื้นที่รอบเมืองฝั่งทิศตะวันตกมีอัตราการเช่าสูงสุดในพื้นที่นอกเขตศูนย์กลางธุรกิจที่ 95.5% ขณะที่อาคารสำนักงานในพื้นที่ย่านลุมพินียังคงเป็นพื้นที่ที่มีราคาเสนอเช่าที่สูงที่สุดอย่างต่อเนื่อง
โดยราคาเสนอเช่าเฉลี่ยในทุกช่วงระดับราคา ณ สิ้นไตรมาส 4 ปี 2566 อยู่ที่ 1,061 บาทต่อ ตร.ม. ตอกย้ำความโดดเด่นของตลาดพื้นที่สำนักงานบนทำเลย่านนี้โดยเฉพาะในย่านสำคัญ เช่น เพลินจิต ชิดลม และพระราม 4 เป็นต้น และคาดการณ์ว่าอาคารสำนักงานใหม่ที่จะเปิดใหม่ในปี 2567 บนทำเลย่านลุมพินีจะมีราคาเสนอเช่าสูงกว่า 1,400 บาทต่อ ตร.ม. และส่งผลให้ราคาเฉลี่ยของพื้นที่สำนักงานย่านนี้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2 บิ๊ก ‘วันแบงค็อก-ดุสิตเซ็นทรัลพาร์ค’ จุดพลุ ‘ออฟฟิศเช่า’ กลางกรุงแข่งเดือด
https://www.matichon.co.th/economy/news_4470507
อีกไม่กี่เดือนข้างหน้า อภิมหาโปรเจ็กต์ 2 โครงการ มูลค่าการลงทุนกว่า 1.5 แสนล้านบาท กำลังทยอยนับถอยหลังอวดโฉม เปิดบริการ หลังเดินเครื่องมานานแรมปี มีโครงการ “วัน แบงค็อก” มูลค่า 113,370 ล้านบาท บนเนื้อที่ 108 ไร่ พัฒนาโดยบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) ซึ่งโครงการตั้งอยู่หัวมุมถนนวิทยุตัดกับพระราม 4 ที่การเดินทางสะดวก เชื่อมกับ MRT สถานีลุมพินี ยังมีทางเข้าออกรอบโครงการถึง 6 จุด และทางเชื่อมตัดตรงเข้าสู่ทางด่วนเป็นแห่งแรกในประเทศไทย
ภายในโครงการ ประกอบด้วย อาคารสำนักงานเกรดเอ 5 อาคาร มีพื้นที่เช่ารวมกว่า 500,000 ตารางเมตร (ตร.ม.) พื้นที่รีเทล 4 โซน โรงแรมลักชัวรี่และไลฟ์สไตล์ 5 แห่ง ที่พักอาศัยระดับลักชัวรี่อีก 3 อาคาร ตั้งเป้าให้เป็นต้นแบบ “กรีนสมาร์ทซิตี้” ที่ครบทุกมิติ ภายใต้แนวคิด The Heart of Bangkok
พร้อมเปิดเฟสแรกในเดือนตุลาคม 2567 ในส่วนอาคารสำนักงาน หลังประเดิมเปิดให้เช่าพื้นที่ 3 อาคาร ได้รับตอบรับเป็นอย่างดีจากบริษัทชั้นนำทั้งไทยและระดับโลก โดยอาคารสำนักงานแรกมีพื้นที่กว่า 95,000 ตร.ม. จำนวน 50 ชั้น คาดปิดยอดจองไตรมาส 2 ปี 2567 รวมถึงอาคารสำนักงานที่ 2 มีพื้นที่ให้เช่ารวม 97,000 ตร.ม. จำนวน 48 ชั้น และอาคารสำนักงานที่ 3 มีพื้นที่ให้เช่ารวม 97,000 ตร.ม. จำนวน 35 ชั้น
ไฮไลต์ของโปรเจ็กต์นี้ มี “ซิกเนเจอร์ ทาวเวอร์” ตึกที่สูงที่สุด 430 เมตร ว่ากันว่าจะเป็น 1 ใน 10 ตึกที่สูงที่สุดของอาเซียนด้วย ยังมีพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ 50 ไร่ เมื่อเปิดเต็มรูปแบบทั้งโครงการจะกลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของโลก และมีผู้มาใช้บริการถึง 200,000 คนต่อวัน
อีกโครงการ “ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค” ของกลุ่มเซ็นทรัลและดุสิตธานี ที่ร่วมกันพลิกโฉมที่ดิน 23 ไร่ ของโรงแรมดุสิตเดิม บริเวณหัวมุมถนนสีลม-พระราม 4 ฝั่งตรงข้าม “สวนลุมพินี” เนรมิตเป็นเมกะมิกซ์ยูส มูลค่ากว่า 46,000 ล้านบาท
ประกอบด้วยโรงแรมดุสิตธานีแบงค็อก จำนวน 39 ชั้น 257 ห้อง พร้อมเปิดกลางปี 2567, อาคารสำนักงานเซ็นทรัลพาร์ค ออฟฟิศเซส สูง 43 ชั้น พื้นที่ 130,000 ตร.ม. เปิดไตรมาส 2 ปี 2568, ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพาร์ค ขนาด 8 ชั้น พื้นที่ 130,000 ตร.ม. เปิดไตรมาส 3 ปี 2568 และที่พักอาศัยซุปเปอร์อัลตราลักชัวรี่ สูง 69 ชั้น 399 ยูนิต พื้นที่ 50,500 ตร.ม. แบ่งเป็นดุสิต เรสซิเดนเซส ราคา 40-300 ล้านบาท และ ดุสิต พาร์คไซด์ ราคา 12-90 ล้านบาท ทยอยส่งมอบห้องให้ลูกค้าปลายปี 2568
ปฏิเสธไม่ได้ทั้งสองเมกะโปรเจ็กต์ นอกจากเปลี่ยนแลนด์สเคปเมืองกรุงแล้ว ยังได้จุดพลุตลาดอาคารสำนักงานให้เช่าคึกคักมากขึ้น เริ่มมีหลายค่ายที่ทุ่มเม็ดเงินปรับโฉมใหม่
ล่าสุดบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ทุ่มงบ 200 ล้านบาท ปรับปรุงอาคารสาทร สแควร์และปาร์คเวนเชอร์ นำเทคโนโลยีอาคารอัจฉริยะที่ล้ำสมัยเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบอาคารและผู้ใช้อาคาร ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นการรับมือสภาวะตลาดอาคารสำนักงานในปัจจุบันที่แข่งขันสูงนั่นเอง
ภัทรชัย ทวีวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและการสื่อสาร บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จำกัด ฉายภาพว่า สิ้นไตรมาสที่ 4 ปี 2566 อุปทานพื้นที่สำนักงานในกรุงเทพฯ ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 9.891 ล้าน ตร.ม. คิดเป็น 1.02% จากในช่วงไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นเป็น 2.59% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
จากการเปิดตัวอาคารสำนักงานใหม่ 5 โครงการ ด้วยพื้นที่เช่ารวม 99,911 ตร.ม. ได้แก่ อาคารควอนท์-สุขุมวิท 25 พื้นที่ 6,000 ตร.ม. อาคารสยามปทุมวัน เฮ้าส์ พื้นที่ 46,915 ตร.ม. อาคารพี 23 ออฟฟิศ บิ้วดิ้ง พื้นที่ 5,325 ตร.ม. อาคารเอนโก้ เทอร์มินอล พื้นที่ 10,715 ตร.ม. อาคารเจแอลเค ทาวเวอร์ พื้นที่ 30,956 ตร.ม.
ยังมีอาคารสำนักงานอยู่ระหว่างการก่อสร้างและคาดแล้วเสร็จในอีก 3 ปีข้างหน้า ด้วยพื้นที่ขายรวมอีกกว่า 1 ล้าน ตร.ม. โดยเฉพาะในปี 2567 อาจมีอุปทานพื้นที่สำนักงานก่อสร้างแล้วเสร็จเข้าสู่ตลาดอีกมากกว่า 570,000 ตร.ม. เนื่องจากอาคารสำนักงานบางส่วนเลื่อนการเปิดตัวออกไปจากปี 2566 สาเหตุการก่อสร้างล่าช้ากว่ากำหนด และยังมียอดการจองล่วงหน้าที่ยังต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
สำหรับปี 2567 “ภัทรชัย” ระบุว่า อุปทานของโครงการอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ในพื้นที่รอบสวนลุมพินีจะก่อสร้างแล้วเสร็จด้วยพื้นที่ให้เช่ากว่า 200,000 ตร.ม. และเป็นโครงการที่ได้รับความสนใจจากผู้เช่าเป็นอย่างมาก สามารถปิดยอดการจองพื้นที่ล่วงหน้าในส่วนของพื้นที่ที่เปิดให้เช่าแล้วมากกว่า 50% ทำให้ราคาเสนอเช่าเฉลี่ยโดยภาพรวมในทุกระดับและพื้นที่ของอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.6% มาอยู่ที่ 767.65 บาทต่อ ตร.ม. จากในช่วงไตรมาสก่อนหน้าและปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.06% จากในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า
“เนื่องจากราคาเสนอเช่าของอาคารสำนักงานใหญ่ที่เพิ่งสร้างแล้วเสร็จยังมีระดับราคาค่าเช่าสูงกว่าราคาตลาดและอาคารสำนักงานเก่าในพื้นที่ ทำให้ราคาเสนอเช่าเฉลี่ยโดยภาพรวมของตลาดปรับตัวสูงขึ้น โดยราคาเสนอเช่าเฉลี่ยของอาคารสำนักงานเกรดเอในย่านศูนย์กลางธุรกิจอยู่ที่ 1,098 บาทต่อ ตร.ม. เพิ่มขึ้น 0.64%” ภัทรชัยกล่าว
ขณะเดียวกันยังมองว่ามีผู้พัฒนาหลายรายมีการปรับปรุงอาคารสำนักงานใหม่ เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับพื้นที่เช่าที่ว่างรอการเช่า โดยผู้พัฒนาบางรายเสนอค่าคอมมิสชั่นที่สูงขึ้นให้กับเอเยนซี่ รวมถึงการเสนอราคาค่าเช่าที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดลูกค้ารายใหม่และมอบส่วนลดพิเศษผู้เช่ารายใหญ่ที่สนใจพื้นที่เช่าขนาดใหญ่ เพื่อให้พื้นที่ที่เคยว่างลงมีผู้เช่าใหม่เข้ามาแทนที่ เช่น ลดราคา 20-30% โดยคาดการณ์ว่าการย้ายที่ตั้งไปยังอาคารสำนักงานที่ได้มาตรฐานที่ดีกว่านั้นอาจจะชัดเจนมากขึ้นในปี 2567
“ผู้พัฒนาควรพัฒนากลยุทธ์การขายที่แตกต่างมากขึ้น เช่น แนะนำเงื่อนไขการเช่าที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ในขณะเดียวกัน การพัฒนาโครงการใหม่ในอนาคตผู้พัฒนาควรให้ความสำคัญเรื่องของที่ตั้งโครงการ ที่สะดวกต่อการเดินทาง และเชื่อมต่อกับโครงสร้างพื้นฐานได้” ภัทรชัยกล่าว
“ภัทรชัย” บอกอีกว่า อาคารสำนักงานบางส่วนที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงภาพลักษณ์และปรับปรุงครั้งใหญ่เพื่อดึงดูดความสนใจลูกค้า อาจเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น ซึ่งเชื่อว่าการให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในพื้นที่สำนักงานจะเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นอัตราการเช่าให้สูงขึ้นในระยะยาว
ปัจจุบันพบว่าพื้นที่สุขุมวิทยังคงเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเช่าสูงสุดในย่านศูนย์กลางธุรกิจที่ 92.9% ขณะที่พื้นที่รอบเมืองฝั่งทิศตะวันตกมีอัตราการเช่าสูงสุดในพื้นที่นอกเขตศูนย์กลางธุรกิจที่ 95.5% ขณะที่อาคารสำนักงานในพื้นที่ย่านลุมพินียังคงเป็นพื้นที่ที่มีราคาเสนอเช่าที่สูงที่สุดอย่างต่อเนื่อง
โดยราคาเสนอเช่าเฉลี่ยในทุกช่วงระดับราคา ณ สิ้นไตรมาส 4 ปี 2566 อยู่ที่ 1,061 บาทต่อ ตร.ม. ตอกย้ำความโดดเด่นของตลาดพื้นที่สำนักงานบนทำเลย่านนี้โดยเฉพาะในย่านสำคัญ เช่น เพลินจิต ชิดลม และพระราม 4 เป็นต้น และคาดการณ์ว่าอาคารสำนักงานใหม่ที่จะเปิดใหม่ในปี 2567 บนทำเลย่านลุมพินีจะมีราคาเสนอเช่าสูงกว่า 1,400 บาทต่อ ตร.ม. และส่งผลให้ราคาเฉลี่ยของพื้นที่สำนักงานย่านนี้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง