มองย้อนไปตอนที่เราเรียนหนังสือ จนจบออกมาทำงานนานมากแล้ว หลายครั้งเราคิดว่าบางวิชาเราเรียนไปทำไมนะ เราไม่ได้สนใจและไม่ได้ใช้งานในชีวิตจริงเลย สำหรับเราวิชานาฏศิลป์ ดนตรี เรียนแล้วรู้สึกไม่ได้อะไรเลยจริงๆ แต่เรื่องนี้เป็นเพราะตัวเราเองเป็นคนไม่เข้าใจจังหวะ ไม่มีทำนอง ตัวโน๊ตอะไรฟังไม่ออก
หรือเนื้อหาบางอย่างที่รู้สึกว่าน่าจะย้ายไปสอนในระดับที่เหมาะสม ให้นักเรียนเลือกความสนใจตัวเองได้ หรือควรยกเลิกไป เช่น ตรีโกณมิติ(ม.3) ส่วนตัวเรารู้สึกว่าควรยกไปเรียน ม.4 สำหรับแผนการเรียนเลข วรรณคดีเช่น ขุนช้างขุนแผนควรไปสอนตอนมัธยม(ความเห็นส่วนตัวเราว่าควรยกเลิกไปด้วยซ้ำ เนื้อเรื่องมันไม่เข้ากับยุคสมัย ค่านิยม วัฒนธรรมปัจจุบันแล้ว หรือถ้าสอนก้อใช้สอนในระดับมหาวิทยาลัยไป)
ยิ่งเห็นเนื้อหาที่เด็กๆสมัยนี้เรียนแล้ว รู้สึกยากกว่าเดิม เร่งเรียนมากกว่า แต่เนื้อหาส่วนใหญ่ยังคงแบบเดิมๆ เราคิดว่า จริงๆกระทรวงควรปรับปรุงหลักสูตร วิชาต่างๆให้เหมาะสมกับปัจจุบัน เนื้อหาวิชาต่างๆควรเน้นให้ใช้งานในชีวิตประจำวันได้จริง เช่น วิชาภาษาต่างๆ ควรเน้นให้เด็กฟัง พูด อ่าน เขียนได้จริงๆ มากกว่ามานั่งท่องจำแกรมม่า วิชาสังคม ควรเน้นให้ฝึกวิเคราะห์ ส่งเสริมให้สังเกตุ เรียนรู้จากประวัติศาสตร์ แทนที่จะนั่งท่องจำว่าสงครามเกิดปีไหน ใครชื่ออะไร ควรสอนให้เด็กวิเคราะห์ว่าสงกรามเกิดขึ้นเพราะอะไร มีกลยุทธไหนถูกใช้ คนไหนมีหน้าที่อะไร และอะไรทำให้เขามีความสำคัญ
ส่วนเนื้อหาที่ซับซ้อน ไม่ได้ใช้งานจริงสำหรับคนทั่วไปควรยกไปไว้เรียนตอนมัธยมปลาย หรือมหาวิทยาลัยแทน
วิชาที่เราคิดว่าควรมีเพิ่มเติม เช่น
วิชาการเงิน
สอนตั้งแต่อนุบาลยาวไปเลย อนุบาล: เรียนรู้เรื่องเงิน การออมเงินหยอดกระปุก ประถม: เรียนทำบัญชีรายรับรายจ่ายส่วนตัว การออมเงิน การจัดการการเงิน การลงทุนเบื้องต้น มัธยม: การลงทุน ฝึกคิดไอเดียธุรกิจ เขียนแผน เรียนรู้ทักษะสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ พัฒนาธุรกิจเบื้องต้น
วิชาแนวทักษะชีวิต เช่น การใช้อินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัย ทักษะเอาตัวรอดจากภัยต่างๆ เช่น การกราดยิง ฝึกทักษะสังเกตุที่ไหนปลอดภัย/อันตราย เกิดอันตรายควรปฏิบัติตัวอย่างไร ควรมีสอนทุกระดับตั้งแต่ประถม-มัธยม เนื้อหาไปตามความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นกับช่วงอายุนั้นๆ
วิชาสร้างเสริมความเข้าใจ และประสบการณ์อาชีพต่างๆตามแต่ละพื้นที่ ความสนใจของเด็ก เช่น ประถม: เรียนรู้อาชีพต่างๆจากผู้ปกครอง/ผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง ให้เด็กได้รู้จักอาชีพต่างๆได้มากขึ้น มัธยม: เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงไป ทัศนศึกษาดูงานว่า อาชีพนั้นๆทำงานยังไง ให้เห็นสภาพแวดล้อม หน้างานจริงๆ ปัญหา (วิชานี้ทำได้ยากหน่อย เพราะต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลภายนอกเยอะ)
วิชาที่เรายกมา บางโรงเรียนมีแล้วแต่ไม่ได้เป็นวิชาหลัก หรือมีแต่ไม่ต่อเนื่อง ส่วนใหญ่ผู้ปกครองต้องจ่ายเงินซื้อคอร์สส่งเด็กไปเรียนกับสถาบันภายนอก แต่เรากลับเห็นว่าวิชาเหล่านี้สามารถสร้างทักษะที่จำเป็น และควรจะถูกบรรจุเป็นวิชาหลักในการเรียนของเด็กรุ่นใหม่ได้แล้ว
สำหรับคุณ คุณคิดว่า มีวิชาไหน เนื้อหาไหน ควรเอาออก และมีวิชาไหน เนื้อหาไหนที่ควรบรรจุเป็นวิชาหลักบ้าง
คุณคิดว่า มีวิชาอะไรควรเพิ่มมาให้ทันยุคสมัย วิชาอะไรควรเอาออกบ้าง
หรือเนื้อหาบางอย่างที่รู้สึกว่าน่าจะย้ายไปสอนในระดับที่เหมาะสม ให้นักเรียนเลือกความสนใจตัวเองได้ หรือควรยกเลิกไป เช่น ตรีโกณมิติ(ม.3) ส่วนตัวเรารู้สึกว่าควรยกไปเรียน ม.4 สำหรับแผนการเรียนเลข วรรณคดีเช่น ขุนช้างขุนแผนควรไปสอนตอนมัธยม(ความเห็นส่วนตัวเราว่าควรยกเลิกไปด้วยซ้ำ เนื้อเรื่องมันไม่เข้ากับยุคสมัย ค่านิยม วัฒนธรรมปัจจุบันแล้ว หรือถ้าสอนก้อใช้สอนในระดับมหาวิทยาลัยไป)
ยิ่งเห็นเนื้อหาที่เด็กๆสมัยนี้เรียนแล้ว รู้สึกยากกว่าเดิม เร่งเรียนมากกว่า แต่เนื้อหาส่วนใหญ่ยังคงแบบเดิมๆ เราคิดว่า จริงๆกระทรวงควรปรับปรุงหลักสูตร วิชาต่างๆให้เหมาะสมกับปัจจุบัน เนื้อหาวิชาต่างๆควรเน้นให้ใช้งานในชีวิตประจำวันได้จริง เช่น วิชาภาษาต่างๆ ควรเน้นให้เด็กฟัง พูด อ่าน เขียนได้จริงๆ มากกว่ามานั่งท่องจำแกรมม่า วิชาสังคม ควรเน้นให้ฝึกวิเคราะห์ ส่งเสริมให้สังเกตุ เรียนรู้จากประวัติศาสตร์ แทนที่จะนั่งท่องจำว่าสงครามเกิดปีไหน ใครชื่ออะไร ควรสอนให้เด็กวิเคราะห์ว่าสงกรามเกิดขึ้นเพราะอะไร มีกลยุทธไหนถูกใช้ คนไหนมีหน้าที่อะไร และอะไรทำให้เขามีความสำคัญ
ส่วนเนื้อหาที่ซับซ้อน ไม่ได้ใช้งานจริงสำหรับคนทั่วไปควรยกไปไว้เรียนตอนมัธยมปลาย หรือมหาวิทยาลัยแทน
วิชาที่เราคิดว่าควรมีเพิ่มเติม เช่น
วิชาการเงิน
สอนตั้งแต่อนุบาลยาวไปเลย อนุบาล: เรียนรู้เรื่องเงิน การออมเงินหยอดกระปุก ประถม: เรียนทำบัญชีรายรับรายจ่ายส่วนตัว การออมเงิน การจัดการการเงิน การลงทุนเบื้องต้น มัธยม: การลงทุน ฝึกคิดไอเดียธุรกิจ เขียนแผน เรียนรู้ทักษะสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ พัฒนาธุรกิจเบื้องต้น
วิชาแนวทักษะชีวิต เช่น การใช้อินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัย ทักษะเอาตัวรอดจากภัยต่างๆ เช่น การกราดยิง ฝึกทักษะสังเกตุที่ไหนปลอดภัย/อันตราย เกิดอันตรายควรปฏิบัติตัวอย่างไร ควรมีสอนทุกระดับตั้งแต่ประถม-มัธยม เนื้อหาไปตามความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นกับช่วงอายุนั้นๆ
วิชาสร้างเสริมความเข้าใจ และประสบการณ์อาชีพต่างๆตามแต่ละพื้นที่ ความสนใจของเด็ก เช่น ประถม: เรียนรู้อาชีพต่างๆจากผู้ปกครอง/ผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง ให้เด็กได้รู้จักอาชีพต่างๆได้มากขึ้น มัธยม: เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงไป ทัศนศึกษาดูงานว่า อาชีพนั้นๆทำงานยังไง ให้เห็นสภาพแวดล้อม หน้างานจริงๆ ปัญหา (วิชานี้ทำได้ยากหน่อย เพราะต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลภายนอกเยอะ)
วิชาที่เรายกมา บางโรงเรียนมีแล้วแต่ไม่ได้เป็นวิชาหลัก หรือมีแต่ไม่ต่อเนื่อง ส่วนใหญ่ผู้ปกครองต้องจ่ายเงินซื้อคอร์สส่งเด็กไปเรียนกับสถาบันภายนอก แต่เรากลับเห็นว่าวิชาเหล่านี้สามารถสร้างทักษะที่จำเป็น และควรจะถูกบรรจุเป็นวิชาหลักในการเรียนของเด็กรุ่นใหม่ได้แล้ว
สำหรับคุณ คุณคิดว่า มีวิชาไหน เนื้อหาไหน ควรเอาออก และมีวิชาไหน เนื้อหาไหนที่ควรบรรจุเป็นวิชาหลักบ้าง