เลี้ยงสัตว์เหมือนลูกไทยโตต่อเนื่อง สวนทางการเกิดประชากรไทยที่ลดลงทุกปี



เจาะลึกเทรนด์ Pet Parent ในไทยล่าสุด 2567 พบภาพรวมตัวเลขการเลี้ยงสัตว์ในบ้านมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตั้งแต่ยุคหลังโควิดเป็นต้นมา สวนทางกับอัตราการเกิดของประชากรไทยที่ลดลงในทุกๆ ปี เผยยอดขายผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยงมีการเติบโตเลข 2 หลักต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 ล่าสุดเติบโต 14% ในปี 2566

สำรวจพฤติกรรมคนไทยกับการเลี้ยงสัตว์ในบ้าน 

65% เลี้ยงสัตว์เหมือนลูกหรือสมาชิกในครอบครัว (Pet Parent)
33% เลี้ยงสัตว์เป็นเพื่อนคลายเหงา 
2% เลี้ยงสัตว์เพื่อการบำบัดเยียวยาจิตใจ 
สำหรับอันดับสัตว์เลี้ยงยอดนิยม ผู้ตอบแบบสอบถาม 63% เลือกเลี้ยงสุนัข 49% เลือกเลี้ยงแมว 12% เลือกเลี้ยงสัตว์ Exotic โดยสัตว์เลี้ยง Exotic ที่เป็นที่นิยม 3 อันดับแรก ได้แก่ ปลา กระต่าย และนก
 
นอกจากนั้น ยังพบว่าผู้เลี้ยงในไทยยังคงได้สัตว์เลี้ยงมาจากการซื้อจากร้านหรือฟาร์ม ยกเว้นเหล่าทาสแมว ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 50% ที่ได้สัตว์เลี้ยงมาจากการรับอุปการะแมวจรจัด การเปลี่ยนแปลงนี้สอดคล้องกับเทรนด์ "Adopt, Don't Shop" ซึ่งเป็นแคมเปญระดับโลกที่ทั้งองค์กรและคนดังต่างร่วมกันรณรงค์ให้คนรับเลี้ยงสัตว์จรจัดมากกว่าการซื้อจากฟาร์ม

ช่วงวัยกับพฤติกรรมการเลี้ยงสัตว์ 
เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละช่วงวัยกับพฤติกรรมการเลี้ยงสัตว์ ผลสำรวจพบว่า
Gen Z เลี้ยงสุนัขมากที่สุด
Gen Y เลี้ยงแมวมากที่สุด
Gen X เลี้ยงปลาและนกมากที่สุด
Baby Boomer เลี้ยงสัตว์น้อยที่สุด

สำหรับพฤติกรรมการเลี้ยงสัตว์ของชาว Gen Y ที่มีสัดส่วนเลี้ยงแมวสูงสุดจากสัตว์ทุกชนิด เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่ใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบและนิยมในการอาศัยอยู่คอนโด การเลี้ยงแมวจึงเป็นทางเลือกที่ลงตัวสำหรับคนรักสัตว์ในวัยสร้างตัว
ขณะที่ส่วนของ Gen X มีสัดส่วนผู้เลี้ยงปลาและนกสูงสุดจากสัตว์เลี้ยงทุกชนิด เพราะเป็นสัตว์เลี้ยงที่เสริมให้บ้านมีชีวิตชีวาได้โดยไม่สร้างภาระให้ผู้เลี้ยงมากนัก ทั้งยังอาจช่วยเสริมความสิริมงคลตามความเชื่อได้อีกด้วย 
ทั้งนี้ กลุ่ม Pet Parent ที่มีพฤติกรรมเลี้ยงสัตว์เหมือนลูก มีค่าใช้จ่ายรายเดือนต่อสัตว์เลี้ยงแต่ละตัวเฉลี่ยถึง 10,000 - 20,000 บาท/ปี โดยบริการที่ Pet Parent ให้ความนิยมสูงสุด 3 อันดับได้แก่ บริการอาบน้ำ-ตัดขน-สปา บริการรับฝากเลี้ยง บริการสระว่ายน้ำและสถานที่ออกกำลังกาย

https://www.infoquest.co.th/2024/382665
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่