จักรวาลแห่งความโสด (The universe of singleness) และโอกาสทางธุรกิจก้อนโตที่ไม่ควรมองข้าม

คนทั่วโลกมีแนวโน้มใช้ชีวิตตัวคนเดียว และเลือกที่จะอยู่เป็นโสดมากขึ้นเรื่อย ๆ  ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากค่านิยมและทัศนคติของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการใช้ชีวิตที่อิสระ มีโลกส่วนตัวมากขึ้น รวมไปถึงเหตุผลด้านความไม่พร้อมทางเศรษฐกิจและความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงด้านหน้าที่การงาน

นอกจากคนโสดจะเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่กำลังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกแล้ว ประชากรกลุ่มนี้ยังมีอำนาจในการจับจ่ายสินค้าและบริการสูง รวมทั้งยังมีแนวโน้มปรนเปรอตัวเอง (Self indulgence) และกล้าใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อความสุขให้ตัวเองมากกว่าผู้บริโภคกลุ่มอื่นอีกด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น คนโสดยัง “สุขและสนุก” กับชีวิตได้มากกว่า โดยมีเหตุผลสนับสนุนหลายประการ

ประการแรกคือ คนโสดส่วนใหญ่เป็นคนที่รักตัวเองและเห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้น

ประการที่สองคือ คนโสดส่วนใหญ่เป็นคนอารมณ์ดี

และประการสุดท้ายคือ คนโสดจะมีเวลาโฟกัสกับตัวเองและได้มีโอกาสทาสิ่งที่ตัวเองรักหรือสนใจมากกว่าคนที่มีครอบครัวแล้ว

ผู้ประกอบการที่ต้องการคว้าโอกาสจากเทรนด์นี้ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดและโมเดลธุรกิจเพื่อนาเสนอสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์และตรงใจผู้บริโภคกลุ่มนี้  รวมไปถึงารปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้มีความเฉพาะเจาะจงและเหมาะสมมากยิ่งขึ้นเพื่อให้โดนใจลูกค้ากลุ่มนี้ ท่ามกลางจำนวนคนโสด
ทั่วโลกที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกขณะ

“Table for one” โมเดลธุรกิจร้านอาหารที่กาลังมาแรงในหลายประเทศ
ปฎิเสธไม่ได้ว่าเทรนด์ร้านอาหารสาหรับรับประทานคนเดียวกาลังมาแรงในหลายประเทศ ซึ่งความจริงแล้วเทรนด์ “Solo dining” นี้ มีจุดเริ่มต้นมาระยะหนึ่งแล้ว
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากวิถีชีวิตอันรีบเร่งของสังคมเมืองที่ทาให้หลายคนไม่สามารถรอไปทานข้าวพร้อมกับเพื่อนได้ หรือในบางครั้งคนโสดก็ไม่ต้องรอ
ทานข้าวพร้อมกับใคร เพราะตอบโจทย์การใช้ชีวิตได้ดีกว่า

ในเกาหลีใต้ วัฒนธรรม “ฮนบัพ” (Honbap) หรือการทานข้าวคนเดียวไม่ใช่เรื่องที่แปลกอีกต่อไป

เช่นเดียวกับในญี่ปุ่น กระแส Ohitorisama ยังได้สร้างแรงกระเพื่อมมายังธุรกิจร้านอาหารเพื่อตอบโจทย์ บริบททางสังคมและทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไปโดยหันมาเน้นความเป็นปัจเจกนิยมมากขึ้น 

สำหรับในไทย ก็เริ่มมีโมเดลธุรกิจร้านอาหารในรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อเกาะกระแส Solo dining ในลักษณะ“New concept store” เพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการคนเดียวมากขึ้น 

โดยมีอุปกรณ์ต่าง ๆ บนโต๊ะอาหาร เช่น หม้อต้มชาบูหรือกระทะปิ้งย่างส่วนตัว รวมทั้งเมนูอาหารสำหรับทานคนเดียว (Solo-friendly menus) ที่มีการปรับ Portion-sized ให้เป็นอาหารจานเดียวที่ทานพออิ่ม ปริมาณไม่เยอะเกินไปและราคาสมเหตุสมผล 

ซึ่งรูปแบบร้านอาหารในลักษณะนี้ได้รับผลตอบรับค่อนข้างดี เพราะตอบโจทย์ Pain points ในเรื่องการทำอาหารเพื่อทานคนเดียวที่บ้าน ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เสียเวลาและไม่คุ้มเหนื่อย โดยพบว่าปัจจุบันเริ่มมีหลายแบรนด์ที่มีโมเดลธุรกิจในลักษณะนี้เพื่อเกาะกระแสการนั่งทานข้าวคนเดียวในไทย

Meal kits delivery อีกหนึ่งธุรกิจที่ตอบโจทย์ความสะดวกสบายสาหรับวิถี Solo living

นอกจากเราจะเริ่มเห็นการปรับตัวในธุรกิจร้านอาหารประเภท Full service แล้ว ผู้ประกอบการในกลุ่ม Food delivery service ก็มีการปรับตัวเพื่อตอบโจทย์กลุ่มคนโสดที่อาศัยอยู่คนเดียวมากขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งหนึ่งในโมเดลธุรกิจที่มีความน่าสนใจและกำลังมาแรงในหลายประเทศคือ ธุรกิจจัดส่งวัตถุดิบอาหาร
พร้อมปรุง หรือ “Meal kits delivery” เพราะนอกจากจะเป็นทางเลือกที่ประหยัดเงิน ประหยัดเวลา และสะดวกสบาย มากขึ้นแล้ว ยังตอบโจทย์ในเรื่องโภชนาการและการได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน อีกทั้ง ยังมีตัวเลือกที่หลากหลายส าหรับผู้บริโภคทั่วไปและผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มอีกด้วย เช่น Dairy-free, Low carb หรือ Plant-based meal kits เป็นต้น

ที่มา : https://www.scbeic.com
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่