เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย
https://www.thaipbs.or.th/now/content/897
เป็นข่าวที่อยู่ในความสนใจของผู้คนในสังคม กรณีคู่รักคนดัง ประกาศ “หย่าร้าง” ก่อนจะตามมาด้วยประเด็นที่ฝ่ายหนึ่งขอมี “โลก 2 ใบ” แม้จะเป็นประโยคร่วมสมัย แต่ความหมายที่แท้จริง คือการขอมีคู่ครอง 2 คน หรือเรียกว่า การคบซ้อน
นี่อาจะไม่ข่าวรักร้าวข่าวแรกในแวดวงบันเทิงไทย แต่ประเด็นเรื่อง “โลก 2 ใบ” เกิดขึ้นมาในสังคมไทยมายาวนาน เราจึงชวนตั้งคำถามว่า “เหตุใดมนุษย์ถึงคิดนอกใจ ?” แรงจูงใจนั้นคืออะไร ? และปัญหาการคบซ้อนในมุมจิตวิทยา แก้ไข หรือหาทางออกอย่างไร?
นิยาม “โลก 2 ใบ” คืออะไร ?
“โลก 2 ใบ” กลายเป็นคำร่วมสมัยในยุคปัจจุบัน คำนี้ถูกแผลงมาจากพฤติกรรม “การคบซ้อน” เป็นการสร้างความสัมพันธ์ในความรักที่มากกว่าคนสองคนขึ้นไป หรือเรียกว่า “สร้างโลกอีกใบ” และในบางคู่ บางกรณี อาจมีความสัมพันธ์เชิงซ้อนที่มากกว่าสอง สาม สี่ หรือมากกว่านั้น จึงอาจจะเรียกได้ว่าเป็น “การสร้างโลกหลายใบ” ขึ้นมาในคราวเดียวกัน
“คบซ้อน” หรือ “นอกใจ” ไม่ใช่เรื่องใหม่เสียทีเดียว
ย้อนกลับไปในยุคโบราณ ความเชื่อเรื่องการผลิต “คน” ส่งผลให้ผู้ชายมี “ภรรยา” หลายคน ตลอดจนวิถีของบุรุษเพศในยุคก่อน ต้องออกจากบ้านเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ขณะที่สุภาพสตรีส่วนใหญ่ทำงานบ้าน ดูแลลูก ๆ เป็นที่มาของคำโบราณ “ช้างเท้าหน้า - ช้างเท้าหลัง”ทำให้เกิดค่านิยมการมีบ้านเล็กบ้านน้อย
ในสังคมไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา เคยมีการเขียนกฎหมายลักษณะผัวเมีย กำหนดประเภทของเมียเอาไว้หลายแบบ อาทิ
เมียพระราชทาน หรือ เมียนาง คือเมียที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานเป็นบำเหน็จ
เมียกลางเมือง คือ เมียที่พ่อแม่ผู้ชายไปสู่ขออย่างถูกต้องตามขนบประเพณี
เมียกลางนอก คือ อนุภรรยา หรือเมียน้อย
เมียกลางทาสี เมียที่เป็นทาส เกิดจากการไถ่ตัว
ทั้งหมดล้วนเป็นภาพสะท้อนถึงวิถีความสัมพันธ์ที่มากกว่าหนึ่ง จนวิวัฒนาการมาสู่ การคบซ้อน ดังเช่นในปัจจุบัน
อธิบายความรักและความสัมพันธ์ของมนุษย์ในมุมจิตวิทยา
Thai PBS พูดคุยกับ ผศ.ดร. รัก ชุณหกาญจน์ หัวหน้าสาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ มหาวิทยาเกษตรศาสตร์ ถึงมุมมองเรื่องความสัมพันธ์ของมนุษย์ โดยกล่าวถึง “ทฤษฎีสามเหลี่ยมแห่งความรัก” หรือ Triangular theory of love ของ Sternberg นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกา ซึ่งอธิบายองค์ประกอบของความรัก ที่เกิดจาก 3 ปัจจัย คือ
ความใกล้ชิด (intimacy) หากมนุษย์ใช้ชีวิตด้วยกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง ทำให้เกิดความสัมพันธ์ลักษณะนี้ขึ้นมา
ความเสน่หา (passion) คือความสนใจรูปลักษณ์ภายนอก เห็นแล้วใจเต้น หวั่นไหว
พันธะทางใจ (Commitment) กล่าวคือ หลังจากมีความสัมพันธ์ในระดับที่มีองค์ประกอบของความใกล้ชิดต่อกัน และความเสน่หาต่อกัน ความสัมพันธ์จะดำเนินมาถึงจุดที่ต่างฝ่ายมี Commitment หรือพูดง่าย ๆ ว่า มีความคิดที่จะใช้ชีวิตด้วยกันเป็นเวลานาน โดยผ่านวิธีปฏิบัติ อาทิ การปรับตัวเข้าหากัน การสื่อสารกัน การศึกษากันและกัน
“แต่ประเด็นสำคัญคือ หลายครั้งความใกล้ชิดกัน ทำให้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อนของกันและกัน ทำให้เกิดการปรับตัว สิ่งสำคัญคือ ต่างฝ่ายต่างยังคงมี Commitment ที่ยังดำเนินไปร่วมกันอีกหรือไม่ ?” ผศ.ดร. รัก ตั้งข้อสังเกต
ดังนั้น หัวใจสำคัญของการรักษาความสัมพันธ์ จึงอยู่ที่ Commitment ซึ่ง Commitment ที่ดีนั้นควรจะเป็นอย่างไร ?
“พันธะทางใจที่ดีไม่ใช่สิ่งที่ตายตัว เป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับแต่ละคู่จะเลือกยึดคุณค่าในความสัมพันธ์แบบไหน สิ่งสำคัญที่สุดคือการซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกของตัวเอง” ผศ.ดร.รัก กล่าว
ปัญหาของการมี “โลก 2 ใบ” ในมุมจิตวิทยา แท้จริงคืออะไร ?
กับคำถามที่ว่า ทำไมมนุษย์ถึงได้คิดคบซ้อน หรือมีโลก 2 ใบ ผศ.ดร. รัก กล่าวว่า พฤติกรรมการมีโลก 2 ใบ หรือการนอกใจต่อคนรัก ในทางจิตวิทยาความสัมพันธ์ มาจากความสัมพันธ์รักที่ไม่ครบองค์ประกอบทั้ง 3 อย่าง
นอกจากนี้ ปัจจัยเรื่องสิ่งแวดล้อมที่หล่อหลอมคน ๆ นั้นขึ้นมา เป็นอีกตัวแปรให้เกิดพฤติกรรมด้านความรักที่แตกต่างกัน
“การหล่อหลอมจากคนรอบตัว รวมถึงสังคม ล้วนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น เติบโตมาในครอบครัวหรือสังคมที่ให้ความสำคัญกับการซื่อสัตย์ต่อความรัก คน ๆ นั้นก็จะเติบโตขึ้นมา และให้คุณค่ากับเรื่องนั้นเช่นกัน แต่กลับกัน หากครอบครัวหรือสังคมมีลักษณะของสังคมชายเป็นใหญ่ จะส่งผลต่อพฤติกรรม รวมถึงคุณค่าในชีวิตที่คน ๆ นั้นยึดถือด้วยเช่นกัน”
ข้อสังเกตเพิ่มเติมกับพฤติกรรมการคบซ้อน กล่าวคือ หากสังคมมีลักษณะเปิดมากขึ้น การยึดโยงกับคุณค่าใดอาจไม่ใช่สิ่งสำคัญ ยกตัวอย่าง หากการมีโลก 2 ใบ แต่สามารถดูแลโลก 2 ใบนั้นได้ดี สังคมให้การยอมรับ แนวโน้มที่คนจะมีพฤติกรรมมีโลก 2 ใบจะมีมากขึ้น
หากต้องพบกับปัญหา “ความสัมพันธ์เชิงซ้อน” ควรทำอย่างไร ?
เกิดเป็นมนุษย์ ย่อมมีความรัก แต่ความรักของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน ดูจะมีความซับซ้อนและเงื่อนไขมากมายอยู่เบื้องหลัง ซึ่งท้ายที่สุด เป็นเรื่องของคน 2 คนที่มี Commitment ร่วมกัน แบบไหน อย่างไร
ผศ.ดร. รัก ให้มุมมองในเชิงจิตวิทยาความสัมพันธ์ หากเผชิญกับสถานการณ์ความรักแบบ “โลก 2 ใบ” คือ
เลือกที่จะถอยออกมา หากคุณถามใจตัวเองแล้วรู้สึกรับไม่ได้กับพฤติกรรมการมีโลก 2 ใบ การออกมาจากความสัมพันธ์คือสิ่งที่ดีที่สุด เจ็บแต่จบ และดำเนินชีวิตต่อไป
เลือกอยู่เป็นโลก 2 ใบ หากคุณถามใจตัวเองอย่างถี่ถ้วน หรือมีเงื่อนไขชีวิตที่ท้ายที่สุดต้องยอมรับกับการมีโลก 2 ใบได้ อาจเพราะอีกฝ่ายทำดีทุกอย่าง มีฐานความคิดคุณค่าบางอย่างที่คุณให้การยอมรับได้ การเลือกอยู่ในรักที่มีโลก 2 ใบ และใช้ชีวิตต่อก็เป็น Commitment อย่างหนึ่งของความรัก ที่สังคมภายนอกก็ไม่สามารถตัดสินถูกผิดได้
เลือกคงความสัมพันธ์เป็นโลกใบเดียว โดยใช้วิธีเอาชนะ ไม่ว่าจะเป็นการชนะใจอีกฝ่าย หรือจับผิด เพื่อคงความสัมพันธ์แบบรักเดียวเอาไว้ ทางเลือกนี้อาจทำให้รู้สึกเหนื่อย หลายคนอาจรู้สึกเจ็บ แต่หากถามใจตัวเองแล้วรู้สึกโอเค ชอบและรู้สึกท้าทาย ทางเลือกนี้ก็ไม่ใช่เรื่องผิดอันใด
ผศ.ดร. รัก ทิ้งท้ายข้อคิดเกี่ยวกับความรักและความสัมพันธ์ แม้โลกจะเดินมาไกลจนนิยามความรักได้หลายแบบ แต่สิ่งสำคัญยังคงเป็นการสื่อสารกับตัวเองอยู่เสมอว่า คุณมีความสุขอยู่หรือเปล่า ?
ความรักท้ายที่สุดเป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคน ไม่ว่าจะเลือกด้านใดต้องทบทวนให้ดีกับผลที่ตามมา ถามใจตัวเองเสมอว่าตรงไหนคือพื้นที่ที่เรามีความสุขที่สุด”
อ้างอิง
-Triangular theory of love – ทฤษฎีสามเหลี่ยมของความรัก
-ภรรยาพระราชทาน” นโยบายใช้ผู้หญิงเพื่อความมั่นคง สู่กฎหมายที่ “เมียหลวง” ต้องหลบ
ทำไมมนุษย์ถึง “นอกใจ” ? เปิดนิยาม “โลก 2 ใบ” และแรงจูงใจปัญหาการคบซ้อน
https://www.thaipbs.or.th/now/content/897
เป็นข่าวที่อยู่ในความสนใจของผู้คนในสังคม กรณีคู่รักคนดัง ประกาศ “หย่าร้าง” ก่อนจะตามมาด้วยประเด็นที่ฝ่ายหนึ่งขอมี “โลก 2 ใบ” แม้จะเป็นประโยคร่วมสมัย แต่ความหมายที่แท้จริง คือการขอมีคู่ครอง 2 คน หรือเรียกว่า การคบซ้อน
นี่อาจะไม่ข่าวรักร้าวข่าวแรกในแวดวงบันเทิงไทย แต่ประเด็นเรื่อง “โลก 2 ใบ” เกิดขึ้นมาในสังคมไทยมายาวนาน เราจึงชวนตั้งคำถามว่า “เหตุใดมนุษย์ถึงคิดนอกใจ ?” แรงจูงใจนั้นคืออะไร ? และปัญหาการคบซ้อนในมุมจิตวิทยา แก้ไข หรือหาทางออกอย่างไร?
นิยาม “โลก 2 ใบ” คืออะไร ?
“โลก 2 ใบ” กลายเป็นคำร่วมสมัยในยุคปัจจุบัน คำนี้ถูกแผลงมาจากพฤติกรรม “การคบซ้อน” เป็นการสร้างความสัมพันธ์ในความรักที่มากกว่าคนสองคนขึ้นไป หรือเรียกว่า “สร้างโลกอีกใบ” และในบางคู่ บางกรณี อาจมีความสัมพันธ์เชิงซ้อนที่มากกว่าสอง สาม สี่ หรือมากกว่านั้น จึงอาจจะเรียกได้ว่าเป็น “การสร้างโลกหลายใบ” ขึ้นมาในคราวเดียวกัน
“คบซ้อน” หรือ “นอกใจ” ไม่ใช่เรื่องใหม่เสียทีเดียว
ย้อนกลับไปในยุคโบราณ ความเชื่อเรื่องการผลิต “คน” ส่งผลให้ผู้ชายมี “ภรรยา” หลายคน ตลอดจนวิถีของบุรุษเพศในยุคก่อน ต้องออกจากบ้านเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ขณะที่สุภาพสตรีส่วนใหญ่ทำงานบ้าน ดูแลลูก ๆ เป็นที่มาของคำโบราณ “ช้างเท้าหน้า - ช้างเท้าหลัง”ทำให้เกิดค่านิยมการมีบ้านเล็กบ้านน้อย
ในสังคมไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา เคยมีการเขียนกฎหมายลักษณะผัวเมีย กำหนดประเภทของเมียเอาไว้หลายแบบ อาทิ
เมียพระราชทาน หรือ เมียนาง คือเมียที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานเป็นบำเหน็จ
เมียกลางเมือง คือ เมียที่พ่อแม่ผู้ชายไปสู่ขออย่างถูกต้องตามขนบประเพณี
เมียกลางนอก คือ อนุภรรยา หรือเมียน้อย
เมียกลางทาสี เมียที่เป็นทาส เกิดจากการไถ่ตัว
ทั้งหมดล้วนเป็นภาพสะท้อนถึงวิถีความสัมพันธ์ที่มากกว่าหนึ่ง จนวิวัฒนาการมาสู่ การคบซ้อน ดังเช่นในปัจจุบัน
อธิบายความรักและความสัมพันธ์ของมนุษย์ในมุมจิตวิทยา
Thai PBS พูดคุยกับ ผศ.ดร. รัก ชุณหกาญจน์ หัวหน้าสาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ มหาวิทยาเกษตรศาสตร์ ถึงมุมมองเรื่องความสัมพันธ์ของมนุษย์ โดยกล่าวถึง “ทฤษฎีสามเหลี่ยมแห่งความรัก” หรือ Triangular theory of love ของ Sternberg นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกา ซึ่งอธิบายองค์ประกอบของความรัก ที่เกิดจาก 3 ปัจจัย คือ
ความใกล้ชิด (intimacy) หากมนุษย์ใช้ชีวิตด้วยกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง ทำให้เกิดความสัมพันธ์ลักษณะนี้ขึ้นมา
ความเสน่หา (passion) คือความสนใจรูปลักษณ์ภายนอก เห็นแล้วใจเต้น หวั่นไหว
พันธะทางใจ (Commitment) กล่าวคือ หลังจากมีความสัมพันธ์ในระดับที่มีองค์ประกอบของความใกล้ชิดต่อกัน และความเสน่หาต่อกัน ความสัมพันธ์จะดำเนินมาถึงจุดที่ต่างฝ่ายมี Commitment หรือพูดง่าย ๆ ว่า มีความคิดที่จะใช้ชีวิตด้วยกันเป็นเวลานาน โดยผ่านวิธีปฏิบัติ อาทิ การปรับตัวเข้าหากัน การสื่อสารกัน การศึกษากันและกัน
“แต่ประเด็นสำคัญคือ หลายครั้งความใกล้ชิดกัน ทำให้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อนของกันและกัน ทำให้เกิดการปรับตัว สิ่งสำคัญคือ ต่างฝ่ายต่างยังคงมี Commitment ที่ยังดำเนินไปร่วมกันอีกหรือไม่ ?” ผศ.ดร. รัก ตั้งข้อสังเกต
ดังนั้น หัวใจสำคัญของการรักษาความสัมพันธ์ จึงอยู่ที่ Commitment ซึ่ง Commitment ที่ดีนั้นควรจะเป็นอย่างไร ?
“พันธะทางใจที่ดีไม่ใช่สิ่งที่ตายตัว เป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับแต่ละคู่จะเลือกยึดคุณค่าในความสัมพันธ์แบบไหน สิ่งสำคัญที่สุดคือการซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกของตัวเอง” ผศ.ดร.รัก กล่าว
ปัญหาของการมี “โลก 2 ใบ” ในมุมจิตวิทยา แท้จริงคืออะไร ?
กับคำถามที่ว่า ทำไมมนุษย์ถึงได้คิดคบซ้อน หรือมีโลก 2 ใบ ผศ.ดร. รัก กล่าวว่า พฤติกรรมการมีโลก 2 ใบ หรือการนอกใจต่อคนรัก ในทางจิตวิทยาความสัมพันธ์ มาจากความสัมพันธ์รักที่ไม่ครบองค์ประกอบทั้ง 3 อย่าง
นอกจากนี้ ปัจจัยเรื่องสิ่งแวดล้อมที่หล่อหลอมคน ๆ นั้นขึ้นมา เป็นอีกตัวแปรให้เกิดพฤติกรรมด้านความรักที่แตกต่างกัน
“การหล่อหลอมจากคนรอบตัว รวมถึงสังคม ล้วนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น เติบโตมาในครอบครัวหรือสังคมที่ให้ความสำคัญกับการซื่อสัตย์ต่อความรัก คน ๆ นั้นก็จะเติบโตขึ้นมา และให้คุณค่ากับเรื่องนั้นเช่นกัน แต่กลับกัน หากครอบครัวหรือสังคมมีลักษณะของสังคมชายเป็นใหญ่ จะส่งผลต่อพฤติกรรม รวมถึงคุณค่าในชีวิตที่คน ๆ นั้นยึดถือด้วยเช่นกัน”
ข้อสังเกตเพิ่มเติมกับพฤติกรรมการคบซ้อน กล่าวคือ หากสังคมมีลักษณะเปิดมากขึ้น การยึดโยงกับคุณค่าใดอาจไม่ใช่สิ่งสำคัญ ยกตัวอย่าง หากการมีโลก 2 ใบ แต่สามารถดูแลโลก 2 ใบนั้นได้ดี สังคมให้การยอมรับ แนวโน้มที่คนจะมีพฤติกรรมมีโลก 2 ใบจะมีมากขึ้น
หากต้องพบกับปัญหา “ความสัมพันธ์เชิงซ้อน” ควรทำอย่างไร ?
เกิดเป็นมนุษย์ ย่อมมีความรัก แต่ความรักของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน ดูจะมีความซับซ้อนและเงื่อนไขมากมายอยู่เบื้องหลัง ซึ่งท้ายที่สุด เป็นเรื่องของคน 2 คนที่มี Commitment ร่วมกัน แบบไหน อย่างไร
ผศ.ดร. รัก ให้มุมมองในเชิงจิตวิทยาความสัมพันธ์ หากเผชิญกับสถานการณ์ความรักแบบ “โลก 2 ใบ” คือ
เลือกที่จะถอยออกมา หากคุณถามใจตัวเองแล้วรู้สึกรับไม่ได้กับพฤติกรรมการมีโลก 2 ใบ การออกมาจากความสัมพันธ์คือสิ่งที่ดีที่สุด เจ็บแต่จบ และดำเนินชีวิตต่อไป
เลือกอยู่เป็นโลก 2 ใบ หากคุณถามใจตัวเองอย่างถี่ถ้วน หรือมีเงื่อนไขชีวิตที่ท้ายที่สุดต้องยอมรับกับการมีโลก 2 ใบได้ อาจเพราะอีกฝ่ายทำดีทุกอย่าง มีฐานความคิดคุณค่าบางอย่างที่คุณให้การยอมรับได้ การเลือกอยู่ในรักที่มีโลก 2 ใบ และใช้ชีวิตต่อก็เป็น Commitment อย่างหนึ่งของความรัก ที่สังคมภายนอกก็ไม่สามารถตัดสินถูกผิดได้
เลือกคงความสัมพันธ์เป็นโลกใบเดียว โดยใช้วิธีเอาชนะ ไม่ว่าจะเป็นการชนะใจอีกฝ่าย หรือจับผิด เพื่อคงความสัมพันธ์แบบรักเดียวเอาไว้ ทางเลือกนี้อาจทำให้รู้สึกเหนื่อย หลายคนอาจรู้สึกเจ็บ แต่หากถามใจตัวเองแล้วรู้สึกโอเค ชอบและรู้สึกท้าทาย ทางเลือกนี้ก็ไม่ใช่เรื่องผิดอันใด
ผศ.ดร. รัก ทิ้งท้ายข้อคิดเกี่ยวกับความรักและความสัมพันธ์ แม้โลกจะเดินมาไกลจนนิยามความรักได้หลายแบบ แต่สิ่งสำคัญยังคงเป็นการสื่อสารกับตัวเองอยู่เสมอว่า คุณมีความสุขอยู่หรือเปล่า ?
ความรักท้ายที่สุดเป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคน ไม่ว่าจะเลือกด้านใดต้องทบทวนให้ดีกับผลที่ตามมา ถามใจตัวเองเสมอว่าตรงไหนคือพื้นที่ที่เรามีความสุขที่สุด”
อ้างอิง
-Triangular theory of love – ทฤษฎีสามเหลี่ยมของความรัก
-ภรรยาพระราชทาน” นโยบายใช้ผู้หญิงเพื่อความมั่นคง สู่กฎหมายที่ “เมียหลวง” ต้องหลบ