การวิเคราะห์วิจารณ์วรรณกรรม เรื่อง อิสรภาพ ศิลา โคมฉาย และ เรื่อง สังคมไทย จากบทความออนไลน์

วิจารณ์บทร้อยแก้ว
เรื่องครอบครัวกลางถนนตอนอิสรภาพ
ชื่อบทวิจารณ์ : อิสรภาพภายในจิตใจ

      อิสรภาพเป็นหนึ่งในเรื่องสั้นจำนวณ13 ตอนในเรื่องครอบครัวกลางถนนซึ่งได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์ )ในปี  พ.ศ.้ 2536 โดยศิลา โคมฉาย เป็นเรื่องสั้นที่สะท้อนชีวิตของคนในวัยของการทำงานที่มักจะพบเจอปัญหาอุปสรรคต่าง ๆไม่ว่าจะเป็นปัญหาในระหว่างการทำงานปัญหาระหว่างเจ้านายและลูกจ้างแต่เรื่องสั้นเรื่องนี้ยังคงสะท้อนถึงชีวิตในช่วงวัยของการทำงานอีกทั้งยังสอดแทรกแนวคิดให้ผู้อ่านได้วิเคราะห์และตระหนักถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงวัยของการทำงานและเป็นเรื่องที่สะท้อนถึงสภาพสังคมได้ดีสมกับที่ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์ )

       อิสรภาพมีการดำเนินเรื่องโดยตัวละครหลักความคิดของตัวละครหลักและมีตัวประกอบอื่น ๆ เช่นเพื่อนร่วมงานเจ้านาย เป็นต้น ซึ่งในความคิดที่ตัวละครหลักได้คิดแสดงให้เห็นถึงปัญหาระหว่างความคิดและจิตใจของตนเองที่เกี่ยวกับการทำงานจนกลายเป็นความกลัวในจิตใจไม่มีความกล้าที่จะเผชิญกับผลที่จะเกิดขึ้นจึงทำให้จิตใจไม่เป็นอิสระ เรื่องสั้นครอบครัวกลางถนนตอนอิสรภาพจึงมีแก่นเรื่องแสดงถึงความกลัวภายในจิตใจของตัวละครหลักจนทำให้จิตใจของเขาเกิดความทุกข์ไม่มีอิสรภาพ ชื่อตอนอิสรภาพนับเป็นลักษณะหนึ่งในการตั้งชื่อตอนของเรื่องสั้นที่บ่งชี้ถึงลักษณะนิสัยของตัวละคร

       เรื่องสั้นครอบครัวกลางถนนตอนอิสรภาพในตอนจบผู้เขียนยังทิ้งท้ายให้ผู้อ่านได้คิดวิเคราะห์ถึงเหตุการณ์ หลังจากที่ตัวละครหลักได้เข้าไปคุยกับเจ้านายและผลที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น  เป็นเช่นไร้และการใช้ภาษาในเรื่องสั้นเรื่องนี้เป็นการใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย้ไม่ซับซ้อน

       จากเรื่องสั้นครอบครัวกลางถนนตอนอิสรภาพแสดงให้เห็นถึงทฤษฎีรื้อสร้างในเรื่องของความกล้าและความกังวล ซึ่งความกลัวอาจเป็นข้อด้อยเพราะความกลัวทำให้ตนเองเกิดความไม่มั่นใจไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าลงมือทำ แต่ในทางกลับกันความกลัวเหล่านั้นทำให้เราได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและหาทางที่จะแก้ไขให้ดีขึ้น อีกทั้งความกลัวยังเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนเราได้คิดทบทวนและลงมือทำด้วยความมั่นใจได้หากผ่านการคิดซ้ำ ๆ 

ผู้วิจารณ์ นางสาวฟิรดาว์ส   ซาแม รหัสนักศึกษา6511010081 คณะครุศาสตร์ สาขาภาษาไทย 
http://164.115.43.80/eBooks/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%99.pdf

วิจารณ์บทประพันธุ์ประเภทร้อยกรอง
เรื่องสังคมไทย
ชื่อบทวิจารณ์ : ข้อดีของปัญหาก่อให้เกิดความสามัคคี

        “สังคมไทย” เป็นบทร้อยกรองออนไลน์ ผู้ประพันธ์ได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของสังคมไทยในปัจจุบันในหลาย ๆ ด้าน มีทั้งการแย่งอำนาจกัน การชิงดีชิงเด่นกัน ใส่ร้ายซึ่งกันและกัน จนทำให้สังคมขาดความสามัคคีกัน คนส่วนใหญ่มักเอาแต่ตัวเองเป็นหลักจนทำผู้อื่นเดือดร้อน สังคมมีแต่ความวุ่นวายและไม่ปลอดภัย ในตอนท้ายเรื่องก็ได้มีการเชิญชวนขอร้องอ้อนวอนให้ทุกคนช่วยกันแก้ปัญหาและรักกัน สามัคคีช่วยเหลือกันและไม่เอาเปรียบกันและกัน

        หลังจากอ่านบทประพันธ์จบแล้วในการแต่งบทประพันธุ์นี้ดิฉันคิดว่าผู้แต่งใช้น้ำเสียงอ้อนวอนในการประพันธ์ เพราะว่าในตอนเริ่มเป็นการพรรณนาปัญหาต่าง ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย แล้วตอนจบก็ได้มีการประพันธ์ถึงการอ้อนวอนให้คนไทยหันมาร่วมมือร่วมใจกัน สามัคคีกันเพื่อให้สังคมไม่เกิดความวุ่นวายและมีความปลอดภัย

       ในส่วนของจุดประสงค์ของผู้แต่งในการนำเสนอบทประพันธ์นี้ ดิฉันคิดว่าผู้แต่งต้องการให้คนในสังคมไทยมีความสามัคคีกัน รักกันและไม่สร้างความวุ่นวายให้แก่สังคมไทย

        สำหรับข้อคิดที่ดิฉันได้รับจากบทประพันธ์นี้คือความเห็นแก่ตัวของคนสามารถทำร้ายผู้อื่นได้  การที่คนเราเห็นแก่ตัวเองเอาแต่ตัวเองเป็นหลักคิดว่าตัวเองต้องดีและสูงกว่าผู้อื่นจนไปฆ่าผู้อื่นทำร้ายผู้อื่นทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนได้ จนถึงขั้นคิดสั้น ทำสิ่งไม่ดีออกไป คือการเสพยาเสพติดที่เขาคิดว่าเป็นการคลายเครียดได้ แต่ถ้าเสพไปมาก ๆ ก็มีแต่ผลเสียตามมาจนมีการไปสร้างความวุ่นวายในสังคมได้

       คู่ตรงข้าม เด่น-การไม่มีอุปสรรค     ด้อย-การมีอุปสรรค

       จากการอ่านบทประพันธ์เรื่องสังคมไทย ในการวิจารณ์เรื่องสังคมไทยประเด็นแรกที่ดิฉันได้วิเคราะห์จากคู่ตรงข้าม คือการมีอุปสรรคที่ขาดความสามัคคีเป็นด้อยและการไม่มีอุปสรรคซึ่งมีความสามัคคีเป็นเด่น สรุปว่า คนส่วนใหญ่อาจคิดว่าอุปสรรคปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ไม่ดี ทำให้คนในสังคมไทยขาดความสามัคคีกัน ในความคิดเห็นของดิฉันมีความคิดเห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้นก็มีข้อดีอยู่ไม่ใช่มีแต่สิ่งไม่ดี ดิฉันมองว่าการมีปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเปรียบเสมือนการมีอุปสรรค ส่วนการไม่มีปัญหานั้นคือการไม่มีอุปสรรค การมีปัญหาที่เกิดขึ้นในบทประพันธ์นี้ คือการแย่งงาน การชิงดีชิงเด่น การแย่งอำนาจกันจนทำให้ผู้ที่ถูกกระทำเจอแต่ปัญหาและประเทศก็ขาดความสามัคคี ข้อดีของปัญหาอุปสรรคนี้คือจะทำให้คนในสังคมได้มองเห็นภาพของปัญหาที่ทำให้เกิดความวุ่นวายและตระหนักได้ว่าหากเราทำตัวแบบนี้จะทำให้เราพบเจอกับปัญหาเหล่านี้แล้วผลลัพธ์ที่ได้ก็คือสังคมวุ่นวายและน่ากลัวเพราะขาดความสามัคคีกัน สรุปได้ว่าการมีปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นก็มีข้อดีของตัวเองทำให้คนในสังคมไทยได้ตระหนักถึงสิ่งที่เกิดขึ้นปัญหาที่เกิดขึ้นและมีการช่วยกันแก้ปัญหาแล้วจะก่อให้เกิดความสามัคคีได้ซึ่งดูได้จากบทประพันธ์ว่า “วอนพี่น้องผองชนคนรากหญ้า จงหันหน้ามาร่วมแรงอย่างแข็งขัน อุปสรรคนานาสู้ฝ่าฟัน สังคมนั้นจึงจะรอดและปลอดภัย” จะเห็นได้ว่าหากคนในสังคมไทยมีจิตสำนึกแล้วมองเห็นปัญหาที่เกิดในสังคมไทยแล้วหันมาช่วยกันแก้ปัญหามีความสามัคคีกันก็จะไม่เกิดความวุ่นวายในสังคมและสังคมจะมีความปลอดภัยไม่เหมือนอย่างในบทประพันธ์

       นอกจากประเด็นแรกแล้วอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ การเอาตัวรอดในสังคม ดูได้จากบทประพันธ์จะเห็นได้ว่าทุกคนต่างก็แย่งกันในทุก ๆ ด้าน เช่นการแย่งงาน ต้องการมีอำนาจ เพราะจะทำให้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างสบาย ไม่ถูกใครรังแก หรือเอาเปรียบ หากเรามีอำนาจเราจะใช้ชีวิตในสงคมได้ง่ายขึ้นหากเราไม่มีอำนาจเราจะเจอแต่การถูกรังแก การเอาเปรียบจนเราไม่มีความสุขในสังคมและสังคมวุ่นวาย สะท้อนให้เห็นว่าสังคมมีงานที่ขาดแคลน หรือไม่เพียงพอทำให้ผู้คนต้องแย่งกันเพื่อให้ได้งานทำทุกวิถีทางให้อยู่รอดได้ ผู้แต่งจึงได้บอกตอนท้ายบทความให้ทุกคนรักกันสามัคคีกันเพื่อให้สังคมมีแต่ความสุขและไม่ให้สังคมมีความวุ่นวาย

ผู้วิจารณ์นางสาวสุภาพร   วงแสนสุข รหัสนักศึกษา 6511010055 คณะครุศาสตร์สาขาภาษาไทย
https://nagglon.wordpress.com/2012/02/22/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่