https://thestandard.co/city-newcastle-and-new-pl-rules/
โดย เมธา พันธุ์วราทร
06.03.2024
HIGHLIGHTS
3 MIN READ
หนึ่งในวิธีการที่รู้ทั้งรู้ว่าไม่โปร่งใสคือ การที่อาบูดาบีอัดฉีดเงินเข้าสโมสรผ่านสปอนเซอร์ที่อยู่ในเครือตัวเอง เช่น สายการบิน Etihad ฯลฯ สูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น
อีกเรื่องสำคัญคือ การโยกย้ายนักเตะจากสโมสรในเครือ จะต้องพิสูจน์ได้ว่าเป็นการย้ายทีมในราคาที่เหมาะสมจริงๆ ไม่ต่ำจนเกินไป
พรีเมียร์ลีกได้เปิดเผยหนังสือคู่มือสำหรับสโมสรในลีกระดับสูงสุดของประเทศใหม่ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ เพราะอาจเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของการแข่งขันในอนาคตได้เลยทีเดียว
การเปลี่ยนแปลงเรื่องที่ว่าคือ เรื่อง ‘ที่มาของสปอนเซอร์’ ซึ่งนับจากนี้ไปจะมีการตรวจสอบอย่างเข้มข้นว่าสปอนเซอร์ที่สโมสรได้มานั้นมีความเชื่อมโยงกับเจ้าของสโมสรฟุตบอลหรือไม่ และจำนวนเงินที่ได้รับจากสปอนเซอร์สอดคล้องกับท้องตลาดหรือเปล่า
รวมถึงการป้องกันเผื่อไม่ให้มีการเซ็นสัญญากับนักฟุตบอลที่อยู่ใน ‘เครือข่าย’ สโมสรฟุตบอลเดียวกันในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาด
นี่คือความพยายามครั้งใหม่ในการปฏิรูปฟุตบอลพรีเมียร์ลีกให้กลับมาเป็นลีกที่แข่งขันกันอย่างบริสุทธิ์และยุติธรรมมากขึ้น ซึ่งเป้าหมายชัดเจนว่าเป็นการต่อสู้กับสโมสรที่มี ‘รัฐ’ หนุนหลังอย่างแมนเชสเตอร์ ซิตี้ และนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด
แต่ก็มีคำถามตามมาเช่นกันว่า มันจะช่วยให้ทุกอย่างดีขึ้นหรือจะทำให้ทุกอย่างแย่ลง?
ย้อนหลังกลับไปเมื่อเดือนที่แล้ว พรีเมียร์ลีกได้มีการนัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น (ซึ่งก็คือ 20 สโมสรในลีก) โดยหนึ่งในวาระสำคัญที่มีการโหวตลงคะแนนคือ เรื่องของกฎการตรวจสอบที่มาของสปอนเซอร์ที่สโมสรแต่ละแห่งได้รับว่ามีความเชื่อมโยงกับเจ้าของสโมสรหรือไม่
เป้าหมายชัดเจนว่า เพื่อป้องกันไม่ให้สโมสรที่มีรัฐซึ่งมีอำนาจทางการเงินแบบไร้ขีดจำกัดอย่างแมนฯ ซิตี้ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และนิวคาสเซิลที่มีซาอุดีอาระเบียเป็นเจ้าของ อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสโมสรได้อย่างสะดวกเหมือนที่ผ่านมา
ในการโหวตครั้งนั้นเป็นการโหวตครั้งที่สูสีที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก
ตามระเบียบนั้นระบุเอาไว้ว่า หากต้องการมีการเปลี่ยนแปลงกฎเรื่องสำคัญของพรีเมียร์ลีกจะต้องมีการลงคะแนนโหวตร่วมกัน ซึ่งจะต้องได้เสียง 2 ใน 3 จึงจะถือว่ามติได้รับการรับรอง ปรากฏว่าในการโหวตเรื่องของการเปลี่ยนแปลงกฎสปอนเซอร์นั้นเป็นไปอย่างฉิวเฉียด
โดยมี 12 สโมสรที่เห็นชอบกับการเปลี่ยนแปลง อีก 6 สโมสรไม่เห็นชอบ และมี 2 สโมสรที่ของดออกเสียง
การที่มี 2 สโมสรที่ของดออกเสียงนั้นมีความสำคัญอย่างมาก เพราะทำให้ที่ประชุมถือว่าเสียงนั้นครบ 2 ใน 3 แล้ว กฎใหม่เรื่องนี้จึงได้รับการรับรอง
ว่ากันว่าการประชุมในวันนั้นได้ทำให้เกิด ‘รอยร้าวขนาดใหญ่’ ระหว่างความรู้สึกของสโมสรทั้งสองฝ่าย และสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เป็นเอกภาพภายในพรีเมียร์ลีก มีการแบ่งขั้วกันระหว่าง ‘The Old Guard’ หรือมหาอำนาจเก่าอย่างลิเวอร์พูล, แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด, อาร์เซนอล และท็อตแนม ฮอตสเปอร์ กับมหาอำนาจใหม่อย่างแมนฯ ซิตี้ รวมถึงนิวคาสเซิล ที่มีเป้าหมายจะยกระดับขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทีมต่อไป
อย่างไรก็ดี หากมองย้อนกลับมาที่ ‘เหตุ’ จะพบเหตุผลที่ทำให้มีความพยายามจะลุกฮือในการต่อต้านสโมสรที่มีรัฐหนุนหลัง (State Club)
ดังที่ทราบกันว่า แมนฯ ซิตี้ มีมลทินจากคดีทางการเงินมากมายตลอดระยะเวลา 15 ปีเศษที่กลุ่มทุนจากอาบูดาบีเข้ามาเทคโอเวอร์สโมสรต่อจาก ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทย เมื่อปี 2008 โดยเฉพาะล่าสุดถูกตั้งข้อหาถึง 115 ข้อหาเกี่ยวกับความผิดทางการเงิน
หนึ่งในวิธีการที่รู้ทั้งรู้ว่าไม่โปร่งใสคือ การที่อาบูดาบีอัดฉีดเงินเข้าสโมสรผ่านสปอนเซอร์ที่อยู่ในเครือตัวเอง เช่น สายการบิน Etihad ฯลฯ สูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น เพื่อให้ไม่มีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับผลประกอบการในบัญชี และทำให้สโมสรสามารถจ่ายเงินเท่าไรก็ได้ในการซื้อผู้เล่น หรือการจ่ายค่าเหนื่อยให้แก่นักฟุตบอล
ตัวเลขนี้สะท้อนผ่านรายได้จากการทำธุรกิจ (Commercial Income) ของแมนฯ ซิตี้ ในฤดูกาล 2022/23 ที่สูงถึง 341.4 ล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นจากในปี 2008 ที่เคยได้ 25 ล้านปอนด์ถึง 13.8 เท่า
ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน แมนฯ ยูไนเต็ด มีรายได้จากการทำธุรกิจ 302.9 ล้านปอนด์ เติบโต 4.7 เท่า ขณะที่ลิเวอร์พูลมีรายได้จากการทำธุรกิจ 272 ล้านปอนด์ เติบโต 5 เท่า
ทั้งๆ ที่ทั้งสองสโมสรนี้มีฐานแฟนฟุตบอลมากที่สุดในโลก มีสปอนเซอร์พร้อมตบเท้าเข้าสนับสนุนมากมาย แต่ตัวเลขที่ได้น้อยกว่าแมนฯ ซิตี้
จุดนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีความพยายามที่จะ ‘ควบคุม’ แมนฯ ซิตี้ รวมไปถึงนิวคาสเซิล ไม่ให้อยู่เหนือกฎเกณฑ์ ต้องลงมาเล่นในกติกาเดียวกับทุกทีม เพื่อการแข่งขันที่ยุติธรรม
ทั้งนี้ พรีเมียร์ลีกไม่ได้ห้าม ‘สปอนเซอร์’ รายใดแบบจำเพาะเจาะจง อยากจะรับสปอนเซอร์จากที่ใดก็ได้ทั้งนั้น แต่จะต้องเจอกับการตรวจสอบอย่างเข้มข้น
อีกเรื่องที่สำคัญคือ การโยกย้ายนักเตะจากสโมสรในเครือ จะต้องพิสูจน์ได้ว่าเป็นการย้ายทีมในราคาที่เหมาะสมจริงๆ ไม่ต่ำจนเกินไป
เพราะเริ่มมีกรณี เช่น City Football Group ของแมนฯ ซิตี้ ที่มีหลายสโมสรอยู่ในสังกัด และกำลังจะมีการย้ายทีมของซาวิโอ สตาร์จากคิโรนา สโมสรในลาลีกาที่อยู่ในเครือ และยังมีอีกหลายสโมสรในพรีเมียร์ลีกที่มีการดำเนินการในแบบที่คล้ายกัน
โดยที่หากสโมสรไม่ปฏิบัติตาม พรีเมียร์ลีกไม่ได้มีการระบุโทษที่ชัดเจนเอาไว้แต่อย่างใด แต่จะให้เป็นการพิจารณาของคณะกรรมการอิสระที่จะได้รับการแต่งตั้งขึ้น ซึ่งโทษนั้นเป็นไปได้ทุกอย่าง (ในความหมายคือ ตั้งแต่ตัดแต้ม ปรับเงิน ไปจนถึงปรับตกชั้น) ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความผิด
เพียงแต่เรื่องนี้ก็นำมาซึ่งคำถามเช่นกันว่า นี่จะเป็นกฎที่ช่วยทำให้การแข่งขันดีขึ้นกว่าที่ผ่านมาหรือไม่?
อย่าลืมว่าพรีเมียร์ลีกเองก็โดนวิพากษ์เกี่ยวกับกฎการเงิน Profit and Sustainability Rule (PSR) ที่ถูกมองว่าเหมือนการมัดแข้งมัดขาสโมสร ที่ต่อให้มีเจ้าของที่มีเงินมหาศาล แต่ก็ไม่สามารถที่จะดึงนักเตะเข้ามาเสริมทีมได้ เพราะกลัวเรื่องของการทำบัญชีให้สอดคล้อง ไม่ติดลบมากไปกว่ากฎที่มีการระบุไว้
การพยายามคุมกำเนิดแมนฯ ซิตี้ และนิวคาสเซิล ด้วยวิธีนี้ ไม่มีใครตอบได้ว่าจะช่วยได้จริงไหม และทั้งสองสโมสรจะหาทาง ‘ดิ้น’ อย่างไรได้อีกหรือเปล่า โดยเฉพาะแมนฯ ซิตี้ ที่ปัจจุบันรอบจัดอย่างมากในการบริหารกิจการ อีกทั้งยังมีอำนาจไม่น้อยในวงการฟุตบอลปัจจุบัน
ตรงนี้ให้เป็นเรื่องของอนาคตไป
เพราะสิ่งที่คนอยากรู้มากกว่าตอนนี้ก็คือ 115 ข้อหาจะตัดสินเมื่อไร และจะออกมาหน้าไหน
อ้างอิง:
https://www.thetimes.co.uk/article/premier-league-clubs-face-sanctions-for-inflating-sponsorship-deals-htzdwctnl
กฎใหม่พรีเมียร์ลีก เพื่อคุมกำเนิดแมนฯ ซิตี้-นิวคาสเซิล?
https://thestandard.co/city-newcastle-and-new-pl-rules/
โดย เมธา พันธุ์วราทร
06.03.2024
HIGHLIGHTS
3 MIN READ
หนึ่งในวิธีการที่รู้ทั้งรู้ว่าไม่โปร่งใสคือ การที่อาบูดาบีอัดฉีดเงินเข้าสโมสรผ่านสปอนเซอร์ที่อยู่ในเครือตัวเอง เช่น สายการบิน Etihad ฯลฯ สูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น
อีกเรื่องสำคัญคือ การโยกย้ายนักเตะจากสโมสรในเครือ จะต้องพิสูจน์ได้ว่าเป็นการย้ายทีมในราคาที่เหมาะสมจริงๆ ไม่ต่ำจนเกินไป
พรีเมียร์ลีกได้เปิดเผยหนังสือคู่มือสำหรับสโมสรในลีกระดับสูงสุดของประเทศใหม่ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ เพราะอาจเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของการแข่งขันในอนาคตได้เลยทีเดียว
การเปลี่ยนแปลงเรื่องที่ว่าคือ เรื่อง ‘ที่มาของสปอนเซอร์’ ซึ่งนับจากนี้ไปจะมีการตรวจสอบอย่างเข้มข้นว่าสปอนเซอร์ที่สโมสรได้มานั้นมีความเชื่อมโยงกับเจ้าของสโมสรฟุตบอลหรือไม่ และจำนวนเงินที่ได้รับจากสปอนเซอร์สอดคล้องกับท้องตลาดหรือเปล่า
รวมถึงการป้องกันเผื่อไม่ให้มีการเซ็นสัญญากับนักฟุตบอลที่อยู่ใน ‘เครือข่าย’ สโมสรฟุตบอลเดียวกันในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาด
นี่คือความพยายามครั้งใหม่ในการปฏิรูปฟุตบอลพรีเมียร์ลีกให้กลับมาเป็นลีกที่แข่งขันกันอย่างบริสุทธิ์และยุติธรรมมากขึ้น ซึ่งเป้าหมายชัดเจนว่าเป็นการต่อสู้กับสโมสรที่มี ‘รัฐ’ หนุนหลังอย่างแมนเชสเตอร์ ซิตี้ และนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด
แต่ก็มีคำถามตามมาเช่นกันว่า มันจะช่วยให้ทุกอย่างดีขึ้นหรือจะทำให้ทุกอย่างแย่ลง?
ย้อนหลังกลับไปเมื่อเดือนที่แล้ว พรีเมียร์ลีกได้มีการนัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น (ซึ่งก็คือ 20 สโมสรในลีก) โดยหนึ่งในวาระสำคัญที่มีการโหวตลงคะแนนคือ เรื่องของกฎการตรวจสอบที่มาของสปอนเซอร์ที่สโมสรแต่ละแห่งได้รับว่ามีความเชื่อมโยงกับเจ้าของสโมสรหรือไม่
เป้าหมายชัดเจนว่า เพื่อป้องกันไม่ให้สโมสรที่มีรัฐซึ่งมีอำนาจทางการเงินแบบไร้ขีดจำกัดอย่างแมนฯ ซิตี้ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และนิวคาสเซิลที่มีซาอุดีอาระเบียเป็นเจ้าของ อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสโมสรได้อย่างสะดวกเหมือนที่ผ่านมา
ในการโหวตครั้งนั้นเป็นการโหวตครั้งที่สูสีที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก
ตามระเบียบนั้นระบุเอาไว้ว่า หากต้องการมีการเปลี่ยนแปลงกฎเรื่องสำคัญของพรีเมียร์ลีกจะต้องมีการลงคะแนนโหวตร่วมกัน ซึ่งจะต้องได้เสียง 2 ใน 3 จึงจะถือว่ามติได้รับการรับรอง ปรากฏว่าในการโหวตเรื่องของการเปลี่ยนแปลงกฎสปอนเซอร์นั้นเป็นไปอย่างฉิวเฉียด
โดยมี 12 สโมสรที่เห็นชอบกับการเปลี่ยนแปลง อีก 6 สโมสรไม่เห็นชอบ และมี 2 สโมสรที่ของดออกเสียง
การที่มี 2 สโมสรที่ของดออกเสียงนั้นมีความสำคัญอย่างมาก เพราะทำให้ที่ประชุมถือว่าเสียงนั้นครบ 2 ใน 3 แล้ว กฎใหม่เรื่องนี้จึงได้รับการรับรอง
ว่ากันว่าการประชุมในวันนั้นได้ทำให้เกิด ‘รอยร้าวขนาดใหญ่’ ระหว่างความรู้สึกของสโมสรทั้งสองฝ่าย และสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เป็นเอกภาพภายในพรีเมียร์ลีก มีการแบ่งขั้วกันระหว่าง ‘The Old Guard’ หรือมหาอำนาจเก่าอย่างลิเวอร์พูล, แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด, อาร์เซนอล และท็อตแนม ฮอตสเปอร์ กับมหาอำนาจใหม่อย่างแมนฯ ซิตี้ รวมถึงนิวคาสเซิล ที่มีเป้าหมายจะยกระดับขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทีมต่อไป
อย่างไรก็ดี หากมองย้อนกลับมาที่ ‘เหตุ’ จะพบเหตุผลที่ทำให้มีความพยายามจะลุกฮือในการต่อต้านสโมสรที่มีรัฐหนุนหลัง (State Club)
ดังที่ทราบกันว่า แมนฯ ซิตี้ มีมลทินจากคดีทางการเงินมากมายตลอดระยะเวลา 15 ปีเศษที่กลุ่มทุนจากอาบูดาบีเข้ามาเทคโอเวอร์สโมสรต่อจาก ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทย เมื่อปี 2008 โดยเฉพาะล่าสุดถูกตั้งข้อหาถึง 115 ข้อหาเกี่ยวกับความผิดทางการเงิน
หนึ่งในวิธีการที่รู้ทั้งรู้ว่าไม่โปร่งใสคือ การที่อาบูดาบีอัดฉีดเงินเข้าสโมสรผ่านสปอนเซอร์ที่อยู่ในเครือตัวเอง เช่น สายการบิน Etihad ฯลฯ สูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น เพื่อให้ไม่มีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับผลประกอบการในบัญชี และทำให้สโมสรสามารถจ่ายเงินเท่าไรก็ได้ในการซื้อผู้เล่น หรือการจ่ายค่าเหนื่อยให้แก่นักฟุตบอล
ตัวเลขนี้สะท้อนผ่านรายได้จากการทำธุรกิจ (Commercial Income) ของแมนฯ ซิตี้ ในฤดูกาล 2022/23 ที่สูงถึง 341.4 ล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นจากในปี 2008 ที่เคยได้ 25 ล้านปอนด์ถึง 13.8 เท่า
ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน แมนฯ ยูไนเต็ด มีรายได้จากการทำธุรกิจ 302.9 ล้านปอนด์ เติบโต 4.7 เท่า ขณะที่ลิเวอร์พูลมีรายได้จากการทำธุรกิจ 272 ล้านปอนด์ เติบโต 5 เท่า
ทั้งๆ ที่ทั้งสองสโมสรนี้มีฐานแฟนฟุตบอลมากที่สุดในโลก มีสปอนเซอร์พร้อมตบเท้าเข้าสนับสนุนมากมาย แต่ตัวเลขที่ได้น้อยกว่าแมนฯ ซิตี้
จุดนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีความพยายามที่จะ ‘ควบคุม’ แมนฯ ซิตี้ รวมไปถึงนิวคาสเซิล ไม่ให้อยู่เหนือกฎเกณฑ์ ต้องลงมาเล่นในกติกาเดียวกับทุกทีม เพื่อการแข่งขันที่ยุติธรรม
ทั้งนี้ พรีเมียร์ลีกไม่ได้ห้าม ‘สปอนเซอร์’ รายใดแบบจำเพาะเจาะจง อยากจะรับสปอนเซอร์จากที่ใดก็ได้ทั้งนั้น แต่จะต้องเจอกับการตรวจสอบอย่างเข้มข้น
อีกเรื่องที่สำคัญคือ การโยกย้ายนักเตะจากสโมสรในเครือ จะต้องพิสูจน์ได้ว่าเป็นการย้ายทีมในราคาที่เหมาะสมจริงๆ ไม่ต่ำจนเกินไป
เพราะเริ่มมีกรณี เช่น City Football Group ของแมนฯ ซิตี้ ที่มีหลายสโมสรอยู่ในสังกัด และกำลังจะมีการย้ายทีมของซาวิโอ สตาร์จากคิโรนา สโมสรในลาลีกาที่อยู่ในเครือ และยังมีอีกหลายสโมสรในพรีเมียร์ลีกที่มีการดำเนินการในแบบที่คล้ายกัน
โดยที่หากสโมสรไม่ปฏิบัติตาม พรีเมียร์ลีกไม่ได้มีการระบุโทษที่ชัดเจนเอาไว้แต่อย่างใด แต่จะให้เป็นการพิจารณาของคณะกรรมการอิสระที่จะได้รับการแต่งตั้งขึ้น ซึ่งโทษนั้นเป็นไปได้ทุกอย่าง (ในความหมายคือ ตั้งแต่ตัดแต้ม ปรับเงิน ไปจนถึงปรับตกชั้น) ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความผิด
เพียงแต่เรื่องนี้ก็นำมาซึ่งคำถามเช่นกันว่า นี่จะเป็นกฎที่ช่วยทำให้การแข่งขันดีขึ้นกว่าที่ผ่านมาหรือไม่?
อย่าลืมว่าพรีเมียร์ลีกเองก็โดนวิพากษ์เกี่ยวกับกฎการเงิน Profit and Sustainability Rule (PSR) ที่ถูกมองว่าเหมือนการมัดแข้งมัดขาสโมสร ที่ต่อให้มีเจ้าของที่มีเงินมหาศาล แต่ก็ไม่สามารถที่จะดึงนักเตะเข้ามาเสริมทีมได้ เพราะกลัวเรื่องของการทำบัญชีให้สอดคล้อง ไม่ติดลบมากไปกว่ากฎที่มีการระบุไว้
การพยายามคุมกำเนิดแมนฯ ซิตี้ และนิวคาสเซิล ด้วยวิธีนี้ ไม่มีใครตอบได้ว่าจะช่วยได้จริงไหม และทั้งสองสโมสรจะหาทาง ‘ดิ้น’ อย่างไรได้อีกหรือเปล่า โดยเฉพาะแมนฯ ซิตี้ ที่ปัจจุบันรอบจัดอย่างมากในการบริหารกิจการ อีกทั้งยังมีอำนาจไม่น้อยในวงการฟุตบอลปัจจุบัน
ตรงนี้ให้เป็นเรื่องของอนาคตไป
เพราะสิ่งที่คนอยากรู้มากกว่าตอนนี้ก็คือ 115 ข้อหาจะตัดสินเมื่อไร และจะออกมาหน้าไหน
อ้างอิง:
https://www.thetimes.co.uk/article/premier-league-clubs-face-sanctions-for-inflating-sponsorship-deals-htzdwctnl