การเดินทางที่ยาวไกล กับ 3 หัวใจ ที่พร้อมเผชิญกับความหนาว ที่ spiti winter 2024 เป็นการเดินทางไปอินเดียครั้งแรกด้วยตนเองที่คิดว่า มีการวางแผนและการเตรียมตัวระดับนึง เนื่องจากเป็นประเทศที่ใหม่มากสำหรับผู้เขียนกระทู้ การเดินทางครั้งนี้ ไม่ผ่าน agency ไทยแต่อย่างใด เราไปเอง 555 ด้วยความที่ พี่ที่ไปเดินป่า แคชเมียร์ด้วยกัน เค้าอยากไปเที่ยวอินเดียอีก ส่วนเรา ก็มีเป้าหมายว่าอยากไปที่นี่ spiti valley เหตุผลง่ายๆคือ ไม่ค่อยเห็นเค้าไปกันหน้าหนาวเท่าไหร่ เลยอยากลองไปหน้าหนาวดู แล้วดูแล้ว รีวิวทางเพจหรือเว็บไซค์ต่างๆของไทย ค่อนข้างน้อย ทำให้เราคิดว่า ... อืม ยังไงซะ เราก็น่าจะลองไปดู
เราก็เลยเริ่มวางแผนในการจองทัวร์ กับทางอินเดียโดยตรง และ จองเที่ยวบินที่คิดว่าจำเป็น และวางแผนในการลางาน ซึ่งตอนแรก เราคิดว่า เวลา 9 วันน่าจะเพียงพอต่อการเดินทางในครั้งนี้ ซึ่งเอาจริงแล้วมันผิดคาดจากที่เราคิดไว้เป็นอย่างมาก สอบถามกับทางทัวร์ เค้าบอกว่า ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10 วันเพื่อจะได้มี Buffer day เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆขึ้น ... เอาวะ 10 วันก็ได้ สรุป เห้ยยย!! เป็น 10 วันที่ยังไม่ได้รวมวันเดินทาง จึงเป็นสาเหตุให้วันเดินทางทั้งหมดตั้งแต่เริ่มออกจากไทย ไปที่อินเดีย ใช้เวลาทั้งหมด 12 วัน
วางแผนการเดินทางได้แล้ว ก็ตกลงใจกัน 2 คนกับพี่ก้อยว่าจะเลือกวันไหน ยังไง สรุปได้วันเป็นวันที่ 23 ก.พ.- 3 มี.ค. 67 ซึ่งหมายความว่า เราต้องไปถึงอินเดียแล้ว พอคิดได้ว่า ไปกัน 2 คน มันน้อยไป เราก็เลยลองโพสต์และหาเพื่อนไปด้วยเพิ่ม ผลปรากฎว่า ตกพี่นัทมาได้ 1 ท่านถ้วน จากช่องทางพันทิปเนี่ยล่ะ รวม มี 3 คนไทย ที่พร้อมจะไปทัวร์อินเดีย แล้วก็ติดต่อกับไกด์เดิมที่เคยไปเดินป่าด้วย ตกลงแผนการเดินทางเอง ว่าเราอยากไปที่ไหนบ้าง ซึ่ง เราก็มีส่วนในการวางแผนการเดินทางร่วมกับไกด์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก
แผนการเดินทางของเรา คือ winter spiti valley shimla to shimla Road trip
22 Feb. BKK - DEL - IXC (chandigarh)
23 Feb. chandigarh - shimla - Narkanda
24 Feb. Narkanda - sungla - rakcham
25 Feb. sungla - chitkul - sungla - kalpa
26 Feb. kalpa - suiside point - kaza
27 Feb. kaza - chichum bridge - kibber village - key monastery-kaza
28 Feb. kaza - langza - komik village - kaza
29 Feb. Kaza - pin valley - sagnam bridge - dunkar monastery - tabo
1 Mar. tabo - nako lake - nakanda
2 Mar. nakanda-shimla
3 Mar. shimla - chandigarh-DEL
4 Mar. DEL-BKK
และนี่ก็คือแผนทั้ง 12 วันของเรา ที่เมื่อใกล้วัน ก็พบว่า เราได้สมาชิกเพิ่ม จากการหา นักท่องเที่ยวเพิ่ม ได้เป็นนักท่องเที่ยวชาวอินเดียเพิ่มมาอีก 2 คน ค่ะ
ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ตลอดทั้งทริป
ตั๋วการบินไทย ไปกลับ 14,061 บาท
ตั๋ว indigo ไป-กลับ 2,937 บาท
ค่าวีซ่าอินเดีย 40 USD = 1,400 บาท
ค่าทริป จ่ายให้กับทัวร์ท้องถิ่น 55,000 รูปี ซึ่งตอนนั้นคิดเป็นเงินไทย (rate .415) 22,825 บาท กับจำนวน ผู้เข้าร่วมทริป ทั้งหมด 5 คน ซึ่งเป็น private trip จริง ด้วยความต้องการของพี่ที่ไปด้วย เค้าอยากได้ ความรู้เรื่องเหมือนไปเที่ยวไปเยี่ยมญาติ ฟิวเที่ยวบ้านเพื่อนไรงี้ ... เอาจริง ก็คนน้อยเกิ๊นนน ถ้าได้คนเยอะกว่านี้ ค่าทริปก็จะถูกลงไปอีก ตามแต่ที่สามารถดิวกับทัวร์ที่นี่ได้ค่ะ
ราคาทริป ที่ซื้อกับ ทัวร์อินเดีย รวมค่าที่พัก อาหารเช้าเย็น ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานแห่งชาติ ไม่รวมอาหารเที่ยง ที่ต้องจ่ายเอง
รวมทั้งทริป ที่ไม่รวมค่ากินจิปาถะเล็กๆน้อยๆต่อคน ตลอดระยะเวลา 12 วัน คิดเป็นเงินไทย ก็ 41,300 บาท
#### อาจจะต้องบอกว่า การรีวิวครั้งนี้ ค่อยๆ ทะยอยเขียน ภาพและการเดินทางต่างๆ อาจจะยาวไปถึงความเห็นหลังๆเลย อยากให้เพื่อนๆได้ชมรูปสวยๆ ยังไง ก็ตามอ่านให้ถึงด้วยนะคะ ##### ราคาทริปถูกมาก เมื่อเทียบกับประสบการณ์ต่างๆที่ได้รับ ยังไงก็ลองแพลนไปเที่ยวกันดูนะคะ สำหรับคนที่มีเวลา และมีใจให้กับอินเดีย^^
pin valley
sagnum bridge
hikkim post office
langsar monastery
การเดินทางวันแรก BKK -DEL- chandigarh - shimla - narkanda
ออกจาก กทม. เวลา 23.40 น.ตามเวลาไทย ถึงอินเดียไวกว่าปกติที่สนามบิน DEL พวกเราลงที่ terminal 3 หลังจากออกจาก terminal 3 ได้แล้ว ก็เลี้ยวซ้าย เดินไปที่ terminal 2 ไม่ไกลมาก ใช้เวลา ประมาณ 10 กว่านาทีก็สามารถเข้ามาที่ terminal 2 เพื่อเปลี่ยนสายการบิน indigo เพื่อเดินทางต่อไปที่ chandigarh เพื่อขึ้นรถ กับ ไกด์ที่ได้ติดต่อไว้
เครื่อง indigo ออกจากสนามบิน DEL เวลาประมาณ 07.40 น. ถึงที่สนามบิน chandigarh เวลาประมาณ 08.30 คนขับรถที่มารอรับเราชื่อ อนิล ขอเคลมว่าเป็นคนขับรถที่ดีมาก ขับได้ปลอดภัยและสุภาพมาก เส้นทางส่วนใหญ่ก็เป็นเส้นทางเลียบเขา คดเคี้ยวไปเรื่อยๆ เอาจริงตอนแรกมี 2ทางเลือกว่าจะพากันขึ้นรถไฟ toy train ไปที่ชิมลา แต่ด้วยไกด์ของเราบอกว่า เพื่อความปลอดภัยและความสะดวกในการเดินทางแนะนำ ให้นั่งรถเนี่ยแหละดีที่สุดแล้ว ก็ถือว่าตัดสินใจไม่ผิด และ ได้ชมวิวข้างทางไปด้วย การเดินทาง ก็จะมีพักทานอาหารเรื่อยๆ ส่วนใหญ่อาหารที่นี่ เค้าก็จะเป็นอาหารท้องถิ่น ซึ่งเราก็ไม่ค่อยอินกับ อาหารอินเดียเท่าไหร่ ที่พอทานได้ก็น่าจะเป็น พวก แม็กกี้ แล้วก็ผัดเส้นต่างๆ แต่สำหรับคนที่ชอบอาหารอินเดีย คิดว่าอาหารที่นี่ น่าจะถูกปากทีเดียวเพราะว่า ชิมลาเป็นเมืองตากอากาศ ที่เป็นเมืองใหญ่
เรามาถึงชิมลา ตอนเย็นๆ ตามแพลนที่วางไว้แต่เราไม่ได้พักที่นี่ค่ะ เราได้แวะเดินเที่ยวที่ mall road ซึ่งเป็นถนน ชอปปิ้งที่ขึ้นชื่อของที่นี่ มีขนมอร่อย และของขายมากมาย
จากนั้น เราก็ขึ้นรถ ขับต่อมาเรื่อยๆ เพื่อมาพักที่ดินแดนแห่งแอปเปิ้ล Narkanda ที่นี่ขึ้นชื่อเรื่องเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยแอปเปิ้ล แต่ว่าหน้าที่เรามาเป็นหน้าหนาวทำให้เห็นแต่ต้นแอปเปิ้ลที่กำลังออกดอก แต่ไม่มี แอปเปิ้ลสักลูกเลยค่า เจอต้นส้มบ้างเป็นระยะๆ เป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยผลไม้จริงๆ
เรานัดเจอกับไกด์ท้องถิ่นของเราที่นี่ เพื่อเริ่มต้นทริป winter spiti กันที่นี่ค่ะ
narkanda เมืองแห่งสายหมอก และดินแดนแห่งผลไม้ ผลไม้ขึ้นชื่อของเค้า คือ แอปเปิ้ล วันที่กลับมาที่นี่ฝนตกหนักเลย ได้เห็นดอกแอปเปิ้ลกำลังออกดอกเยอะมาก และได้เดินเล่นในตลาด พอได้ซื้อขนม ซื้อของต่างๆ
winter spiti 2024 (spiti valley ) india เที่ยวไม่เหงา เราสองสามคน
การเดินทางที่ยาวไกล กับ 3 หัวใจ ที่พร้อมเผชิญกับความหนาว ที่ spiti winter 2024 เป็นการเดินทางไปอินเดียครั้งแรกด้วยตนเองที่คิดว่า มีการวางแผนและการเตรียมตัวระดับนึง เนื่องจากเป็นประเทศที่ใหม่มากสำหรับผู้เขียนกระทู้ การเดินทางครั้งนี้ ไม่ผ่าน agency ไทยแต่อย่างใด เราไปเอง 555 ด้วยความที่ พี่ที่ไปเดินป่า แคชเมียร์ด้วยกัน เค้าอยากไปเที่ยวอินเดียอีก ส่วนเรา ก็มีเป้าหมายว่าอยากไปที่นี่ spiti valley เหตุผลง่ายๆคือ ไม่ค่อยเห็นเค้าไปกันหน้าหนาวเท่าไหร่ เลยอยากลองไปหน้าหนาวดู แล้วดูแล้ว รีวิวทางเพจหรือเว็บไซค์ต่างๆของไทย ค่อนข้างน้อย ทำให้เราคิดว่า ... อืม ยังไงซะ เราก็น่าจะลองไปดู
เราก็เลยเริ่มวางแผนในการจองทัวร์ กับทางอินเดียโดยตรง และ จองเที่ยวบินที่คิดว่าจำเป็น และวางแผนในการลางาน ซึ่งตอนแรก เราคิดว่า เวลา 9 วันน่าจะเพียงพอต่อการเดินทางในครั้งนี้ ซึ่งเอาจริงแล้วมันผิดคาดจากที่เราคิดไว้เป็นอย่างมาก สอบถามกับทางทัวร์ เค้าบอกว่า ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10 วันเพื่อจะได้มี Buffer day เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆขึ้น ... เอาวะ 10 วันก็ได้ สรุป เห้ยยย!! เป็น 10 วันที่ยังไม่ได้รวมวันเดินทาง จึงเป็นสาเหตุให้วันเดินทางทั้งหมดตั้งแต่เริ่มออกจากไทย ไปที่อินเดีย ใช้เวลาทั้งหมด 12 วัน
วางแผนการเดินทางได้แล้ว ก็ตกลงใจกัน 2 คนกับพี่ก้อยว่าจะเลือกวันไหน ยังไง สรุปได้วันเป็นวันที่ 23 ก.พ.- 3 มี.ค. 67 ซึ่งหมายความว่า เราต้องไปถึงอินเดียแล้ว พอคิดได้ว่า ไปกัน 2 คน มันน้อยไป เราก็เลยลองโพสต์และหาเพื่อนไปด้วยเพิ่ม ผลปรากฎว่า ตกพี่นัทมาได้ 1 ท่านถ้วน จากช่องทางพันทิปเนี่ยล่ะ รวม มี 3 คนไทย ที่พร้อมจะไปทัวร์อินเดีย แล้วก็ติดต่อกับไกด์เดิมที่เคยไปเดินป่าด้วย ตกลงแผนการเดินทางเอง ว่าเราอยากไปที่ไหนบ้าง ซึ่ง เราก็มีส่วนในการวางแผนการเดินทางร่วมกับไกด์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก
แผนการเดินทางของเรา คือ winter spiti valley shimla to shimla Road trip
22 Feb. BKK - DEL - IXC (chandigarh)
23 Feb. chandigarh - shimla - Narkanda
24 Feb. Narkanda - sungla - rakcham
25 Feb. sungla - chitkul - sungla - kalpa
26 Feb. kalpa - suiside point - kaza
27 Feb. kaza - chichum bridge - kibber village - key monastery-kaza
28 Feb. kaza - langza - komik village - kaza
29 Feb. Kaza - pin valley - sagnam bridge - dunkar monastery - tabo
1 Mar. tabo - nako lake - nakanda
2 Mar. nakanda-shimla
3 Mar. shimla - chandigarh-DEL
4 Mar. DEL-BKK
และนี่ก็คือแผนทั้ง 12 วันของเรา ที่เมื่อใกล้วัน ก็พบว่า เราได้สมาชิกเพิ่ม จากการหา นักท่องเที่ยวเพิ่ม ได้เป็นนักท่องเที่ยวชาวอินเดียเพิ่มมาอีก 2 คน ค่ะ
ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ตลอดทั้งทริป
ตั๋วการบินไทย ไปกลับ 14,061 บาท
ตั๋ว indigo ไป-กลับ 2,937 บาท
ค่าวีซ่าอินเดีย 40 USD = 1,400 บาท
ค่าทริป จ่ายให้กับทัวร์ท้องถิ่น 55,000 รูปี ซึ่งตอนนั้นคิดเป็นเงินไทย (rate .415) 22,825 บาท กับจำนวน ผู้เข้าร่วมทริป ทั้งหมด 5 คน ซึ่งเป็น private trip จริง ด้วยความต้องการของพี่ที่ไปด้วย เค้าอยากได้ ความรู้เรื่องเหมือนไปเที่ยวไปเยี่ยมญาติ ฟิวเที่ยวบ้านเพื่อนไรงี้ ... เอาจริง ก็คนน้อยเกิ๊นนน ถ้าได้คนเยอะกว่านี้ ค่าทริปก็จะถูกลงไปอีก ตามแต่ที่สามารถดิวกับทัวร์ที่นี่ได้ค่ะ
ราคาทริป ที่ซื้อกับ ทัวร์อินเดีย รวมค่าที่พัก อาหารเช้าเย็น ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานแห่งชาติ ไม่รวมอาหารเที่ยง ที่ต้องจ่ายเอง
รวมทั้งทริป ที่ไม่รวมค่ากินจิปาถะเล็กๆน้อยๆต่อคน ตลอดระยะเวลา 12 วัน คิดเป็นเงินไทย ก็ 41,300 บาท
#### อาจจะต้องบอกว่า การรีวิวครั้งนี้ ค่อยๆ ทะยอยเขียน ภาพและการเดินทางต่างๆ อาจจะยาวไปถึงความเห็นหลังๆเลย อยากให้เพื่อนๆได้ชมรูปสวยๆ ยังไง ก็ตามอ่านให้ถึงด้วยนะคะ ##### ราคาทริปถูกมาก เมื่อเทียบกับประสบการณ์ต่างๆที่ได้รับ ยังไงก็ลองแพลนไปเที่ยวกันดูนะคะ สำหรับคนที่มีเวลา และมีใจให้กับอินเดีย^^
pin valley
sagnum bridge
hikkim post office
langsar monastery
การเดินทางวันแรก BKK -DEL- chandigarh - shimla - narkanda
ออกจาก กทม. เวลา 23.40 น.ตามเวลาไทย ถึงอินเดียไวกว่าปกติที่สนามบิน DEL พวกเราลงที่ terminal 3 หลังจากออกจาก terminal 3 ได้แล้ว ก็เลี้ยวซ้าย เดินไปที่ terminal 2 ไม่ไกลมาก ใช้เวลา ประมาณ 10 กว่านาทีก็สามารถเข้ามาที่ terminal 2 เพื่อเปลี่ยนสายการบิน indigo เพื่อเดินทางต่อไปที่ chandigarh เพื่อขึ้นรถ กับ ไกด์ที่ได้ติดต่อไว้
เครื่อง indigo ออกจากสนามบิน DEL เวลาประมาณ 07.40 น. ถึงที่สนามบิน chandigarh เวลาประมาณ 08.30 คนขับรถที่มารอรับเราชื่อ อนิล ขอเคลมว่าเป็นคนขับรถที่ดีมาก ขับได้ปลอดภัยและสุภาพมาก เส้นทางส่วนใหญ่ก็เป็นเส้นทางเลียบเขา คดเคี้ยวไปเรื่อยๆ เอาจริงตอนแรกมี 2ทางเลือกว่าจะพากันขึ้นรถไฟ toy train ไปที่ชิมลา แต่ด้วยไกด์ของเราบอกว่า เพื่อความปลอดภัยและความสะดวกในการเดินทางแนะนำ ให้นั่งรถเนี่ยแหละดีที่สุดแล้ว ก็ถือว่าตัดสินใจไม่ผิด และ ได้ชมวิวข้างทางไปด้วย การเดินทาง ก็จะมีพักทานอาหารเรื่อยๆ ส่วนใหญ่อาหารที่นี่ เค้าก็จะเป็นอาหารท้องถิ่น ซึ่งเราก็ไม่ค่อยอินกับ อาหารอินเดียเท่าไหร่ ที่พอทานได้ก็น่าจะเป็น พวก แม็กกี้ แล้วก็ผัดเส้นต่างๆ แต่สำหรับคนที่ชอบอาหารอินเดีย คิดว่าอาหารที่นี่ น่าจะถูกปากทีเดียวเพราะว่า ชิมลาเป็นเมืองตากอากาศ ที่เป็นเมืองใหญ่
เรามาถึงชิมลา ตอนเย็นๆ ตามแพลนที่วางไว้แต่เราไม่ได้พักที่นี่ค่ะ เราได้แวะเดินเที่ยวที่ mall road ซึ่งเป็นถนน ชอปปิ้งที่ขึ้นชื่อของที่นี่ มีขนมอร่อย และของขายมากมาย
จากนั้น เราก็ขึ้นรถ ขับต่อมาเรื่อยๆ เพื่อมาพักที่ดินแดนแห่งแอปเปิ้ล Narkanda ที่นี่ขึ้นชื่อเรื่องเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยแอปเปิ้ล แต่ว่าหน้าที่เรามาเป็นหน้าหนาวทำให้เห็นแต่ต้นแอปเปิ้ลที่กำลังออกดอก แต่ไม่มี แอปเปิ้ลสักลูกเลยค่า เจอต้นส้มบ้างเป็นระยะๆ เป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยผลไม้จริงๆ
เรานัดเจอกับไกด์ท้องถิ่นของเราที่นี่ เพื่อเริ่มต้นทริป winter spiti กันที่นี่ค่ะ
narkanda เมืองแห่งสายหมอก และดินแดนแห่งผลไม้ ผลไม้ขึ้นชื่อของเค้า คือ แอปเปิ้ล วันที่กลับมาที่นี่ฝนตกหนักเลย ได้เห็นดอกแอปเปิ้ลกำลังออกดอกเยอะมาก และได้เดินเล่นในตลาด พอได้ซื้อขนม ซื้อของต่างๆ