แรงดันน้ำมากขึ้นเกิดจากมวลน้ำในท่อใหญ่ช่วยดึงน้ำลงหรือเกิดจากไม่มีการสูญเสียจากความฝืดในระบบท่อ (Pipe friction losses)

ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร กับการต่อขยายเป็นท่อใหญ่เพื่อดึงน้ำลงจากถังบนหอสูง
1. แรงดันน้ำสูงขึ้น เพราะมวลน้ำในท่อใหญ่ช่วยดึงน้ำลง
2. Flow rate ของน้ำมากขึ้น เพราะแทบไม่มีการสูญเสียจากความฝืดในระบบท่อ (Pipe friction losses)


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
หลักข้อเท็จจริงคือ

- แรงดันน้ำขึ้นอยู่กับความสูง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดท่อ

- อัตราการไหลของน้ำ ขึ้นอยู่กับขนาดของท่อและความเร็วเนื่องจากแรงดันของน้ำ (โดยที่ขนาดท่อในทุกช่วงใดๆนั้นต้องไม่เล็กเกินไปหรือไม่เป็นสภาพต้านทานการไหลเกินไป)

- การขยายขนาดท่อบางช่วงให้ใหญ่มากขึ้น ไม่ได้ช่วยดึงน้ำลงได้มากแล้วมีแรงดันมากขึ้น  แต่จะช่วยลดแรงเสียดทานในท่อแล้วช่วยให้มีอัตราการไหลแบบที่ควรจะมี ตามแรงดันน้ำที่ระดับความสูงดังกล่าว

- กรณีที่ต้นทางเป็นท่อเล็กแล้วปลายทางเป็นท่อใหญ่ หรือต้นทางเป็นท่อใหญ่แล้วปลายทางเป็นท่อเล็ก  นั้นจะมีความเร็วของน้ำในท่อเล็กที่พุ่งเร็วเป็นธรรมดา แต่อัตราการไหลเท่าเดิมนะ Q = (Aท่อใหญ่)(Vท่อใหญ่) = (Aท่อเล็ก)(Vท่อเล็ก)

- กรณีตามกระทู้นั้นหากต้องการ Q มากขึ้นอีก ต้องเพิ่มแรงดันน้ำเป็นสำคัญ เช่น เพิ่มความสูงของแทงค์ หรือใช้ปั๊มมาช่วย

- กรณีถ้าแทงค์สูงขึ้นมาก หรือมีปั๊มต้นทางหรือปลายทางมาเพิ่มอัตราการไหล Q มากกว่าเดิมเยอะ นั้นก็ควรเปลี่ยนท่อช่วงบนให้มีขนาดใหญ่เท่าช่วงล่าง(ในทางปฏิบัติคงต้องเปลี่ยนแทงค์เลยล่ะมั้ง555) เพื่อสามารถรองรับ Q ได้มากพอหรือดีพอ

- โดยทั่วไปนั้นขนาดท่อและขนาดรูวาล์วน้ำในทุกๆช่วง ต้องไม่เล็กจนเป็นสภาพต้านทานการไหลจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิด Q น้อยกว่าที่ควรจะเป็น พลอยทำให้ได้ V ของน้ำน้อยกว่าที่ควรจะได้

พาพันรดน้ำต้นไม้พาพันอาบน้ำ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่