ยัน “กางเกงแมวโคราช” แค่ออกแบบให้ไปต่อยอด ไม่คิดลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์
จากกรณีที่ทางเพจ Korat Daily ได้มีการนำเสนอความคิดเห็นของประชาชนชาวโคราชบางส่วนที่ได้มีการแสดงความคิดเห็นแสดงความไม่สบายใจเกี่ยวกับลายบนกางเกงแมวที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ โดยได้มีการแสดงความคิดเห็นเอาไว้ว่า "ขออนุญาตนำเรียนสักเรื่องนะครับ พอดีน้องๆ ที่กรุงเทพฯ ไปซื้อกางเกง ที่ผลิตโดย อปท.แห่งหนึ่ง (ระบุชื่อชัดเจน) ซึ่งเป็น Soft Power กางเกงแมว แต่ดูจากลวดลาย ไม่ใช่แมวอย่างเดียว มีลายปราสาทหินพิมายและประตูชุมพลด้วย ซึ่งเห็นแล้วไม่สบายใจครับ เพราะทั้งสองสถานที่เป็นที่เคารพสักการะของชาวโคราช ไม่เหมาะที่จะเอามาทำไว้บนกางเกง ถ้าทำบนเสื้อไม่มีปัญหาอะไร ไม่ทราบว่าผ่านการพิจารณาออกมาได้อย่างไร ยังไงฝากช่วยเป็นสื่อช่วยเป็นกระบอกเสียงไปทาง อปท. ด้วยนะครับว่า อย่าทำลวดลายแบบนี้เลย เห็นแล้วมันรู้สึกไม่สบายใจครับ ขอบคุณครับ" และ "ผมคงเป็นส่วนหนึ่งของคนที่คิดเยอะ เพราะมีความเคารพศรัทธาในย่าโมและประตูชุมพลซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์"
ล่าสุด วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 เพจเฟซบุ๊ก “KORAT Monogram” ซึ่งเป็นเพจของทีมผู้จัดประกวดออกแบบลายโคราชโมโนแกรม ที่ถูกนำมาต่อยอดทำเป็นกางเกงแมว ไม่ได้โต้ตอบกระทู้ดังกล่าวโดยตรง แต่ได้โพสต์ข้อความของผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับเจตนารมณ์ของการออกแบบโคราชโมโนแกรม
โดยนายธงไชย ขอเพิ่มทรัพย์ คณะกรรมการจัดงาน โคราชโมโนแกรม (KORAT Monogram) กรรมการหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา (YEC KORAT) ชี้แจงว่า แนวคิดในการออกแบบต่อยอดจากโครงการประกวดลวดลายโคราชโมโนแกรม (KORAT Monogram) ผู้สร้างสรรค์วางลวดลาย KORAT Monogram บนสินค้า/ ผลิตภัณฑ์ต้นแบบในงานมามูย่า (MaMuYa) โดยแนวคิดการออกแบบสินค้าอิงกับกระแสของกางเกงช้างที่กำลังเป็นที่นิยม จึงออกมาเป็นกางเกงลายแมว ถ่ายทอดเรื่องราวของโคราชวางลงไปในกางเกง ออกแบบให้ตัวแมวโดดเด่น และได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับโคราช ผ่านลายโคราชโมโนแกรม
ด้านนายวีรวัฒน์ เจาวัฒนา คณะกรรมการจัดงาน โคราชโมโนแกรม (KORAT Monogram) อนุกรรมการฝ่ายท่องเที่ยวและการลงทุน หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา (YEC KORAT) ระบุว่า แนวคิดมาจากการต่อยอด โครงการ KORAT Monogram เพื่อให้เป็นสินค้าตัวอย่างว่า ลายอัตลักษณ์โคราช ที่ประกวด มีความสามารถที่จะไปอยู่บนผลิตภัณฑ์อะไรได้บ้าง โดยตัวผมเองเลือกที่จะลองวางลายไว้บนกระเป๋า Mini Tote bag และกระติกน้ำ ให้ดูทันสมัยมากขึ้น โดยจุดประสงค์คือเป็นต้นแบบสินค้า ให้ผู้ประกอบการจังหวัดนครราชสีมาได้เอาไปพัฒนาต่อยอดเป็นสินค้าของตัวเอง หรือเอาไปประยุกต์เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าตัวเอง เพิ่มโอกาสในการค้าขายต่อไป.
ขอบคุณข่าวจาก : ไทยรัฐออนไลน์
https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/2766552
ยัน “กางเกงแมวโคราช” แค่ออกแบบให้ไปต่อยอด ไม่คิดลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์
จากกรณีที่ทางเพจ Korat Daily ได้มีการนำเสนอความคิดเห็นของประชาชนชาวโคราชบางส่วนที่ได้มีการแสดงความคิดเห็นแสดงความไม่สบายใจเกี่ยวกับลายบนกางเกงแมวที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ โดยได้มีการแสดงความคิดเห็นเอาไว้ว่า "ขออนุญาตนำเรียนสักเรื่องนะครับ พอดีน้องๆ ที่กรุงเทพฯ ไปซื้อกางเกง ที่ผลิตโดย อปท.แห่งหนึ่ง (ระบุชื่อชัดเจน) ซึ่งเป็น Soft Power กางเกงแมว แต่ดูจากลวดลาย ไม่ใช่แมวอย่างเดียว มีลายปราสาทหินพิมายและประตูชุมพลด้วย ซึ่งเห็นแล้วไม่สบายใจครับ เพราะทั้งสองสถานที่เป็นที่เคารพสักการะของชาวโคราช ไม่เหมาะที่จะเอามาทำไว้บนกางเกง ถ้าทำบนเสื้อไม่มีปัญหาอะไร ไม่ทราบว่าผ่านการพิจารณาออกมาได้อย่างไร ยังไงฝากช่วยเป็นสื่อช่วยเป็นกระบอกเสียงไปทาง อปท. ด้วยนะครับว่า อย่าทำลวดลายแบบนี้เลย เห็นแล้วมันรู้สึกไม่สบายใจครับ ขอบคุณครับ" และ "ผมคงเป็นส่วนหนึ่งของคนที่คิดเยอะ เพราะมีความเคารพศรัทธาในย่าโมและประตูชุมพลซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์"
ล่าสุด วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 เพจเฟซบุ๊ก “KORAT Monogram” ซึ่งเป็นเพจของทีมผู้จัดประกวดออกแบบลายโคราชโมโนแกรม ที่ถูกนำมาต่อยอดทำเป็นกางเกงแมว ไม่ได้โต้ตอบกระทู้ดังกล่าวโดยตรง แต่ได้โพสต์ข้อความของผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับเจตนารมณ์ของการออกแบบโคราชโมโนแกรม
โดยนายธงไชย ขอเพิ่มทรัพย์ คณะกรรมการจัดงาน โคราชโมโนแกรม (KORAT Monogram) กรรมการหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา (YEC KORAT) ชี้แจงว่า แนวคิดในการออกแบบต่อยอดจากโครงการประกวดลวดลายโคราชโมโนแกรม (KORAT Monogram) ผู้สร้างสรรค์วางลวดลาย KORAT Monogram บนสินค้า/ ผลิตภัณฑ์ต้นแบบในงานมามูย่า (MaMuYa) โดยแนวคิดการออกแบบสินค้าอิงกับกระแสของกางเกงช้างที่กำลังเป็นที่นิยม จึงออกมาเป็นกางเกงลายแมว ถ่ายทอดเรื่องราวของโคราชวางลงไปในกางเกง ออกแบบให้ตัวแมวโดดเด่น และได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับโคราช ผ่านลายโคราชโมโนแกรม
ด้านนายวีรวัฒน์ เจาวัฒนา คณะกรรมการจัดงาน โคราชโมโนแกรม (KORAT Monogram) อนุกรรมการฝ่ายท่องเที่ยวและการลงทุน หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา (YEC KORAT) ระบุว่า แนวคิดมาจากการต่อยอด โครงการ KORAT Monogram เพื่อให้เป็นสินค้าตัวอย่างว่า ลายอัตลักษณ์โคราช ที่ประกวด มีความสามารถที่จะไปอยู่บนผลิตภัณฑ์อะไรได้บ้าง โดยตัวผมเองเลือกที่จะลองวางลายไว้บนกระเป๋า Mini Tote bag และกระติกน้ำ ให้ดูทันสมัยมากขึ้น โดยจุดประสงค์คือเป็นต้นแบบสินค้า ให้ผู้ประกอบการจังหวัดนครราชสีมาได้เอาไปพัฒนาต่อยอดเป็นสินค้าของตัวเอง หรือเอาไปประยุกต์เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าตัวเอง เพิ่มโอกาสในการค้าขายต่อไป.
ขอบคุณข่าวจาก : ไทยรัฐออนไลน์
https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/2766552