ชีวิตทุกคน มีต้นทุนที่ไม่เหมือนกัน
บางคนเกิดมามั่งมี บางคนเกิดมาพร้อมความรำบาก
แต่จงเชื่อเถอะว่า ตัวเราเองสามารถสร้างมันได้ในชั่วชีวิตเรา
เรื่องราวต่อไปนี้จขกท.แค่อยากแบ่งปันให้ใครก็ตามที่คิดว่าตัวเองต้นทุนน้อย
ไม่มีโอกาสจะมีเงินเก็บกับเขา แค่หาใช้ชีวิตไปวันๆก็ยากแล้ว
ลองเปิดใจซักครั้งดูครับ "ทุกการเริ่มต้น ไม่มีคำว่าสายไป"
ผมเองก็อยากบอกว่าตัวเองเริ่มต้นมีเงินเก็บตอนอายุ 30 คือก่อนหน้านั้นไม่ได้ลืมตาอ้าปากได้เลย
ชีวิตก็เหมือนเราๆท่านๆ มีรายได้มา ก็มีรายจ่ายเยอะตามไปด้วย
เหตุผลมากมายให้เราต้องจ่าย จะด้วยเพื่อตัวเองหรือเพื่อครอบครัว
ส่วนที่เราจ่ายเพื่อตัวเอง เช่น ผ่อนรถ กินใช้ทั่วไปตามการใช้ชีวิต
ส่วนที่เราจ่ายเพื่อครอบครัว ไม่ว่าจะเป็น ให้พ่อแม่ ส่งน้องเรียน ฯลฯ
แต่อยากจะบอกว่า อย่าเสียดายที่ผ่านมาครับ เราได้ทำหน้าที่ของเราเต็มที่แล้ว
ถึงผมจะเป็นคนวางแผนการเงินด้วยตัวเองมาตั้งแต่เด็ก แต่ก็ใช้ความรู้ตัวเองบริหารการเงินเพื่อเอาตัวเองรอดไปในแต่ละวันเท่านั้นเอง
ตอนเรียนประถม จำได้ว่าได้เงินไปโรงเรียนวันละ 2-3 บาท วันไหนได้ 5 บาทนี่ถือว่ารวยแล้ววันนั้น
ตอนเรียนก็เดินไปเรียน บ้านห่างโรงเรียนประมาณกิโลนึง โตมาหน่อยป.4 ป.5 พ่อไปได้โครงจักรยานเก่าของญาติมาซ่อมให้ขี่ไปโรงเรียน
ตอนเรียนมัธยมต้น เรียนโรงเรียนประจำตำบล ห่างจากบ้านประมาณ 4-5 กิโล ก็ยังปั่นจักรยานไปเรียน เพื่อนๆเขาขี่มอเตอร์ไซต์กันไปเรียน
พ่อก็มีมอไซต์เก่าๆคันนึง อยากสบายแต่ก็อายที่รถมันเก่า ก็เลยให้พ่อแม่ใช้งานเขาดีกว่า บางวันขี่ไป ก็ไม่กล้าขี่เข้าไปจอดในโรงเรียน อายสาว
เอาไปจอดบ้านเพื่อนข้างโรงเรียนแล้วเดินไป ตอนมัธยมได้เงินไปโรงเรียน น่าจะ 5 บาท ข้าวกลางวันคือห่อข้าวจากบ้านไปกิน วันไหนแม่ไม่มีกับข้าว
ก็ใช้วิธีซื้อขนมปังยาวที่เขาใส่ไอติม กินกับนมเย็นถุงนึง เพื่อประทังความหิว
ตอนเรียนปวช. จำได้ว่ากู้เงินกยศ. ได้เดือนละ 1500 ต้องกินและอยู่ให้พอ ค่าหอพักออกคนละ 500 อยู่กับเพื่อน 2 คน เหลือเงินกินอยู่วันละ 33 บาท
ไม่รู้จบมาได้ไง ที่จำได้แน่ๆคือ มาม่าต้องมีติดห้องไว้ตลอด มีร้านข้าวราดแกงร้านประจำอยู่ กับข้าวถุงละ 10 บาท ซื้อมาต้องแบ่งกิน 2 มื้อ เพื่อจะต้องสำรองเงินไว้ส่วนนึงไปเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆด้วย เคยมีบางครั้งมาม่า 1 ห่อ แบ่งต้ม 2 รอบ นึกกลับไปก็อึ่ม มันก็ผ่านมาได้เนาะ
ตอนเรียนมหาลัย มาเรียนในกทม.ดีหน่อย ได้เดือนละ 4000 จากกยศ. แต่ก็นะขึ้นชื่อว่ากรุงเทพ อะไรๆก็ต้องใช้เงิน เอาเป็นว่าการใช้ชิวิตก็ไม่ได้ดีกว่าตอนเดือนละ 1500 ตอนเรียนปวช.ที่ตจว.ซักเท่าไหร่ แต่ก็พอได้กินข้าวแกงในมหาลัยได้อยู่ ตอนนั้นก็ต้องบริหารทุกอย่างเองเหมือนกันในงบ 4000 ต่อเดือน
ต้องเก็บตังซื้อคอมพิวเตอร์เอง จำได้เครื่องคอมเครื่องแรก ไปซื้อคอมเก่าๆญี่ปุ่น เคสแบนๆแล้ววางจอข้างบ่น เขาขายเครื่องละ 3000( จอซื้อต่างหาก) แต่พอเอามาพิมพ์รายงานส่งอาจารย์ได้ ต้องใช้พลังในการบริหารเงินพอสมควรเลย แต่ก็จบมาได้
คิดว่าคงมีหลายๆท่านที่ชีวิตตั้งแต่เด็กจนโตมา ชีวิตอาจจะไม่ได้ลำบากเหมือนผม
แล้วถ้าตอนนี้อายุ 30 ขึ้นไปแล้วยังเก็บเงินไม่ได้ เก็บเงินไม่อยู่ ลองมาอ่านวิธีของผมดูนะครับ
ผมใช้วิธีแบ่งเงินเดือนออกมา 10% ทุกครั้งที่เงินเดือนเข้าบัญชีและนำไปเข้าบัญชีฝากประจำแบบปลอดภาษี 24 เดือน
ที่ทำแบบนี้ก็เพื่อบังคับตัวเอง เพราะต้องฝากเดือนละเท่าๆกัน ไม่จำเป็นแบบสุดๆห้ามถอนก่อน และจะได้ดอกเบี้ยค่อนข้างสูงกว่าบัญชีทั่วไป
ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ เมื่อครบ 2 ปี ก็นำไปฝากใหม่ เช่นฝากรอบแรกเดือนละ 1000 พอครบ 2 ปี ก็เปิดบัญชีฝากประจำแบบเดิมต่อ
โดยเอาเงินที่ได้ มาวนฝากและเอาเงินเดือนฝากเพิ่มเข้าไปเท่าเดิม จะทำให้เรามีเงินฝากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทบต้นทบดอก
แบบนี้
อายุ 30 ฝาก 1000 ฝาก 24 เดือนเท่ากับ 24,000 มีได้ดอกเบี้ยอีก
อายุ 32 ฝาก 1000+ 1500 (เงินเดือนเพิ่มเลยเพิ่มอีก 500 เป็น 1500) ฝาก 24 เดือนเท่ากับ 60,000 มีได้ดอกเบี้ยอีกต่างหาก
อายุ 34 ฝาก 2500+ 2000 (เงินเดือนเพิ่มเลยเพิ่มอีก 500 เป็น 2000) ฝาก 24 เดือนเท่ากับ 108,000 มีได้ดอกเบี้ยอีกต่างหาก
เห็นไหมว่าถ้าตอนเรามีอายุ 36 ปี จะมีเงินในบัญชีเป็นแสนแล้ว แค่เรามีวินัย หักฝากเหมือนเราจ่ายหนี้อะไรซักอย่าง
หลักการเบื้องต้นของผมเป็นแบบนี้ แต่ตัวผมเองเมื่อเงินเดือนมากขึ้น ผมอาจจะใช้ชีวิตเท่าเดิม รายจ่ายอาจจะไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก ผมจึงมีเงินเก็บมากขึ้นที่ไม่ใช่ 10%
เช่น
ถ้า 30 ผมเงินเดือน 20,000 ผมจะฝากได้เดือนละ 2,000 ใช้จ่ายส่วนตัวเดือนละ 18,000
แต่ถ้าตอนผมอายุ 34 ผมเงินเดือน 30,000 ถ้าผมใช้ชีวิตเท่าเดิม
ผมจะใช้จ่ายส่วนตัวแค่เดือนละ 18,000 เพื่อให้อีก 2000 เลย เป็น 20,000 งั้นผมจะเหลือเงินเก็บเดือนละ 10,000
ดังนั้นตอน 34 ผมจะมีเงินฝาก 2500+10,000 ไป 24 เดือน = 300,000
ตัวอย่างเหล่านี้เป็นแค่วิธีคิดนะครับ
พอเก็บไปถึงจุดนึงเรามีเงินก้อนใหญ่ เราก็อยากมองหาการลงทุนที่จะให้ผลตอบแทนมากกว่าเอาเงินไปฝากธนาคาร
ผมเริ่มด้วยการซื้อกองทุน LTF ในตอนนั้น ด้วยเงิน 20,000 ในปีแรก (ยุกนั้นถือแค่ 3 ปีขายได้แล้ว ตอนขายก็ยังกำไร)
เช่นกันผมก็ใช้วิธีเดิมคือ ค่อยๆซื้อเพิ่มไปเรื่อยๆ
เช่น ปีที่ 1 20,000
ปีที่ 2 30,000
ปีที่ 3 40,000
ปีที่ 4 50,000+20,000 ของปีแรกที่ขายแล้ววนมาซื้อใหม่
ปีที่ 5 50,000 (เท่าเดิม เพราะเงินเริ่มเก็บไม่ทัน) + 30,000 ปีที่ 2
อันนี้เป็นหลักการที่ใช้ครับ แต่รายละเอียดมันเปลี่ยนแปลงไปเพราะ LTF มีปรับเวลาถือครองนานขึ้นเรื่อยๆ แต่ผมก็ยังใช้หลักการเดิม
ปัจจุบันจขกท.ก็มีพอร์ตหุ้น กองทุน หุ้นกู้ พันธบัตร มีคอนโด ที่ดินที่ไปซื้อไว้พักผ่อนเสาร์ อาทิตย์
ตอนนี้ปั้นพอร์ตได้ปันผลปีละ 4 หมื่น เป้าหมายคือให้ปันผลครอบคลุมค่าใช้จ่าย คงอีกไม่ไกลเกินฝัน
ตอนนี้ถือว่าตัวเองสำเร็จเกินคาดมาเยอะพอสมควร
ล้านแรกยากเสมอ แต่ล้านต่อไปไวเหมือนโกหก พอร์ต 8 หลักคงอยู่ไม่ไกล
หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่อยากเริ่มเก็บเงิน
เป้าหมายตอนนี้คืออยากมีให้มาก เพื่อจะได้ช่วยเหลือคนอื่นได้มากขึ้น
ชีวิตนี้คงอยู่เพื่อสร้างประโยชน์ให้สังคม มันทำให้รู้สึกว่าตัวเองมีค่ามากกว่าจะทำเพื่อแค่ตัวเอง
ถ้าวันนี้ยังไม่มีเงินเก็บ ลองมาอ่านกระทู้นี้ดูนะครับ
บางคนเกิดมามั่งมี บางคนเกิดมาพร้อมความรำบาก
แต่จงเชื่อเถอะว่า ตัวเราเองสามารถสร้างมันได้ในชั่วชีวิตเรา
เรื่องราวต่อไปนี้จขกท.แค่อยากแบ่งปันให้ใครก็ตามที่คิดว่าตัวเองต้นทุนน้อย
ไม่มีโอกาสจะมีเงินเก็บกับเขา แค่หาใช้ชีวิตไปวันๆก็ยากแล้ว
ลองเปิดใจซักครั้งดูครับ "ทุกการเริ่มต้น ไม่มีคำว่าสายไป"
ผมเองก็อยากบอกว่าตัวเองเริ่มต้นมีเงินเก็บตอนอายุ 30 คือก่อนหน้านั้นไม่ได้ลืมตาอ้าปากได้เลย
ชีวิตก็เหมือนเราๆท่านๆ มีรายได้มา ก็มีรายจ่ายเยอะตามไปด้วย
เหตุผลมากมายให้เราต้องจ่าย จะด้วยเพื่อตัวเองหรือเพื่อครอบครัว
ส่วนที่เราจ่ายเพื่อตัวเอง เช่น ผ่อนรถ กินใช้ทั่วไปตามการใช้ชีวิต
ส่วนที่เราจ่ายเพื่อครอบครัว ไม่ว่าจะเป็น ให้พ่อแม่ ส่งน้องเรียน ฯลฯ
แต่อยากจะบอกว่า อย่าเสียดายที่ผ่านมาครับ เราได้ทำหน้าที่ของเราเต็มที่แล้ว
ถึงผมจะเป็นคนวางแผนการเงินด้วยตัวเองมาตั้งแต่เด็ก แต่ก็ใช้ความรู้ตัวเองบริหารการเงินเพื่อเอาตัวเองรอดไปในแต่ละวันเท่านั้นเอง
ตอนเรียนประถม จำได้ว่าได้เงินไปโรงเรียนวันละ 2-3 บาท วันไหนได้ 5 บาทนี่ถือว่ารวยแล้ววันนั้น
ตอนเรียนก็เดินไปเรียน บ้านห่างโรงเรียนประมาณกิโลนึง โตมาหน่อยป.4 ป.5 พ่อไปได้โครงจักรยานเก่าของญาติมาซ่อมให้ขี่ไปโรงเรียน
ตอนเรียนมัธยมต้น เรียนโรงเรียนประจำตำบล ห่างจากบ้านประมาณ 4-5 กิโล ก็ยังปั่นจักรยานไปเรียน เพื่อนๆเขาขี่มอเตอร์ไซต์กันไปเรียน
พ่อก็มีมอไซต์เก่าๆคันนึง อยากสบายแต่ก็อายที่รถมันเก่า ก็เลยให้พ่อแม่ใช้งานเขาดีกว่า บางวันขี่ไป ก็ไม่กล้าขี่เข้าไปจอดในโรงเรียน อายสาว
เอาไปจอดบ้านเพื่อนข้างโรงเรียนแล้วเดินไป ตอนมัธยมได้เงินไปโรงเรียน น่าจะ 5 บาท ข้าวกลางวันคือห่อข้าวจากบ้านไปกิน วันไหนแม่ไม่มีกับข้าว
ก็ใช้วิธีซื้อขนมปังยาวที่เขาใส่ไอติม กินกับนมเย็นถุงนึง เพื่อประทังความหิว
ตอนเรียนปวช. จำได้ว่ากู้เงินกยศ. ได้เดือนละ 1500 ต้องกินและอยู่ให้พอ ค่าหอพักออกคนละ 500 อยู่กับเพื่อน 2 คน เหลือเงินกินอยู่วันละ 33 บาท
ไม่รู้จบมาได้ไง ที่จำได้แน่ๆคือ มาม่าต้องมีติดห้องไว้ตลอด มีร้านข้าวราดแกงร้านประจำอยู่ กับข้าวถุงละ 10 บาท ซื้อมาต้องแบ่งกิน 2 มื้อ เพื่อจะต้องสำรองเงินไว้ส่วนนึงไปเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆด้วย เคยมีบางครั้งมาม่า 1 ห่อ แบ่งต้ม 2 รอบ นึกกลับไปก็อึ่ม มันก็ผ่านมาได้เนาะ
ตอนเรียนมหาลัย มาเรียนในกทม.ดีหน่อย ได้เดือนละ 4000 จากกยศ. แต่ก็นะขึ้นชื่อว่ากรุงเทพ อะไรๆก็ต้องใช้เงิน เอาเป็นว่าการใช้ชิวิตก็ไม่ได้ดีกว่าตอนเดือนละ 1500 ตอนเรียนปวช.ที่ตจว.ซักเท่าไหร่ แต่ก็พอได้กินข้าวแกงในมหาลัยได้อยู่ ตอนนั้นก็ต้องบริหารทุกอย่างเองเหมือนกันในงบ 4000 ต่อเดือน
ต้องเก็บตังซื้อคอมพิวเตอร์เอง จำได้เครื่องคอมเครื่องแรก ไปซื้อคอมเก่าๆญี่ปุ่น เคสแบนๆแล้ววางจอข้างบ่น เขาขายเครื่องละ 3000( จอซื้อต่างหาก) แต่พอเอามาพิมพ์รายงานส่งอาจารย์ได้ ต้องใช้พลังในการบริหารเงินพอสมควรเลย แต่ก็จบมาได้
คิดว่าคงมีหลายๆท่านที่ชีวิตตั้งแต่เด็กจนโตมา ชีวิตอาจจะไม่ได้ลำบากเหมือนผม
แล้วถ้าตอนนี้อายุ 30 ขึ้นไปแล้วยังเก็บเงินไม่ได้ เก็บเงินไม่อยู่ ลองมาอ่านวิธีของผมดูนะครับ
ผมใช้วิธีแบ่งเงินเดือนออกมา 10% ทุกครั้งที่เงินเดือนเข้าบัญชีและนำไปเข้าบัญชีฝากประจำแบบปลอดภาษี 24 เดือน
ที่ทำแบบนี้ก็เพื่อบังคับตัวเอง เพราะต้องฝากเดือนละเท่าๆกัน ไม่จำเป็นแบบสุดๆห้ามถอนก่อน และจะได้ดอกเบี้ยค่อนข้างสูงกว่าบัญชีทั่วไป
ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ เมื่อครบ 2 ปี ก็นำไปฝากใหม่ เช่นฝากรอบแรกเดือนละ 1000 พอครบ 2 ปี ก็เปิดบัญชีฝากประจำแบบเดิมต่อ
โดยเอาเงินที่ได้ มาวนฝากและเอาเงินเดือนฝากเพิ่มเข้าไปเท่าเดิม จะทำให้เรามีเงินฝากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทบต้นทบดอก
แบบนี้
อายุ 30 ฝาก 1000 ฝาก 24 เดือนเท่ากับ 24,000 มีได้ดอกเบี้ยอีก
อายุ 32 ฝาก 1000+ 1500 (เงินเดือนเพิ่มเลยเพิ่มอีก 500 เป็น 1500) ฝาก 24 เดือนเท่ากับ 60,000 มีได้ดอกเบี้ยอีกต่างหาก
อายุ 34 ฝาก 2500+ 2000 (เงินเดือนเพิ่มเลยเพิ่มอีก 500 เป็น 2000) ฝาก 24 เดือนเท่ากับ 108,000 มีได้ดอกเบี้ยอีกต่างหาก
เห็นไหมว่าถ้าตอนเรามีอายุ 36 ปี จะมีเงินในบัญชีเป็นแสนแล้ว แค่เรามีวินัย หักฝากเหมือนเราจ่ายหนี้อะไรซักอย่าง
หลักการเบื้องต้นของผมเป็นแบบนี้ แต่ตัวผมเองเมื่อเงินเดือนมากขึ้น ผมอาจจะใช้ชีวิตเท่าเดิม รายจ่ายอาจจะไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก ผมจึงมีเงินเก็บมากขึ้นที่ไม่ใช่ 10%
เช่น
ถ้า 30 ผมเงินเดือน 20,000 ผมจะฝากได้เดือนละ 2,000 ใช้จ่ายส่วนตัวเดือนละ 18,000
แต่ถ้าตอนผมอายุ 34 ผมเงินเดือน 30,000 ถ้าผมใช้ชีวิตเท่าเดิม
ผมจะใช้จ่ายส่วนตัวแค่เดือนละ 18,000 เพื่อให้อีก 2000 เลย เป็น 20,000 งั้นผมจะเหลือเงินเก็บเดือนละ 10,000
ดังนั้นตอน 34 ผมจะมีเงินฝาก 2500+10,000 ไป 24 เดือน = 300,000
ตัวอย่างเหล่านี้เป็นแค่วิธีคิดนะครับ
พอเก็บไปถึงจุดนึงเรามีเงินก้อนใหญ่ เราก็อยากมองหาการลงทุนที่จะให้ผลตอบแทนมากกว่าเอาเงินไปฝากธนาคาร
ผมเริ่มด้วยการซื้อกองทุน LTF ในตอนนั้น ด้วยเงิน 20,000 ในปีแรก (ยุกนั้นถือแค่ 3 ปีขายได้แล้ว ตอนขายก็ยังกำไร)
เช่นกันผมก็ใช้วิธีเดิมคือ ค่อยๆซื้อเพิ่มไปเรื่อยๆ
เช่น ปีที่ 1 20,000
ปีที่ 2 30,000
ปีที่ 3 40,000
ปีที่ 4 50,000+20,000 ของปีแรกที่ขายแล้ววนมาซื้อใหม่
ปีที่ 5 50,000 (เท่าเดิม เพราะเงินเริ่มเก็บไม่ทัน) + 30,000 ปีที่ 2
อันนี้เป็นหลักการที่ใช้ครับ แต่รายละเอียดมันเปลี่ยนแปลงไปเพราะ LTF มีปรับเวลาถือครองนานขึ้นเรื่อยๆ แต่ผมก็ยังใช้หลักการเดิม
ปัจจุบันจขกท.ก็มีพอร์ตหุ้น กองทุน หุ้นกู้ พันธบัตร มีคอนโด ที่ดินที่ไปซื้อไว้พักผ่อนเสาร์ อาทิตย์
ตอนนี้ปั้นพอร์ตได้ปันผลปีละ 4 หมื่น เป้าหมายคือให้ปันผลครอบคลุมค่าใช้จ่าย คงอีกไม่ไกลเกินฝัน
ตอนนี้ถือว่าตัวเองสำเร็จเกินคาดมาเยอะพอสมควร
ล้านแรกยากเสมอ แต่ล้านต่อไปไวเหมือนโกหก พอร์ต 8 หลักคงอยู่ไม่ไกล
หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่อยากเริ่มเก็บเงิน
เป้าหมายตอนนี้คืออยากมีให้มาก เพื่อจะได้ช่วยเหลือคนอื่นได้มากขึ้น
ชีวิตนี้คงอยู่เพื่อสร้างประโยชน์ให้สังคม มันทำให้รู้สึกว่าตัวเองมีค่ามากกว่าจะทำเพื่อแค่ตัวเอง