การปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพื่อชีวิต การศึกษาสําหรับอนาคตของบุตรหลาน เกษตรกรและชาวชนบท

กระทู้สนทนา


การพัฒนาประเทศในช่วง 35 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะที่ 1 - 7 พบว่า การพัฒนาประเทศที่ผ่านมานั้นสนองต่อการเพิ่มรายได้แก่ประชาชนเพียงแค่ 20 ล้านคนเท่านั้น โดยคนส่วนใหญ่ของประเทศอีก 40 ล้านคน เกือบจะไม่ได้รับผลตอบแทนจากการพัฒนาประเทศแต่
อย่างใด เป็นผลให้คนยากจนไม่มีโอกาสได้เรียน และจากการวิเคราะห์ศักยภาพของทรัพยากรบุคคลของประเทศ พบว่า ปี2538 ประชาชน 60 ล้านคน มีระดับการศึกษาเฉลี่ยเพียง 5.3 ปีเท่านั้น ในขณะที่การศึกษาของประเทศสากลจะมีเฉลี่ย 12 ปี

ผลของการพัฒนาประเทศดังกล่าว ทำให้สถานศึกษาของราชการและเอกชน ในช่วงหลังเป็นการจัดการศึกษาสนองตอบต่อคนที่มี
ฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางขึ้นไป ประมาณ20 ล้านคนเท่านั้นสามารถส่งบุตรหลานเข้า เรียนได้ ส่วนประชาชนอีก 40 ล้านคน ซึ่ง
เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่สามารถส่งลูกหลานให้เรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพได้เลย เพราะมีรายได้
เฉลี่ยต่อปีไม่เกิน 20,000 - 30,000 บาท ซึ่งนับว่าเป็นอันตรายยิ่งสําหรับประเทศไทยที่จะพัฒนาตนเองให้สามารถแข่งขันในสังคมโลกยุค
โลกาภิวัตน์ได้

ก ร ะ ท ร ว ง ศึ ก ษ า ธิ ก า ร ต ร ะ ห นั ก ถึ งานอันตรายดังกล่าว จึงได้กําหนดให้มีการปฏิรูปการศึกษา “เกษตรเพื่อชีวิต” ขึ้นให้เป็นโครง
การสําคัญของรัฐบาลที่เปิดโอกาสให้บุตรหลานของเกษตรกรและคนส่วนใหญ่ของประเทศได้มีโอกาสได้รับการศึกษา 12 ปี โดยทั่วหน้ากัน

วัตถุประสงค์ของการปฏิรูปการศึกษา“เกษตรเพื่อชีวิต” นี้ ก็เพื่อจัดการศึกษา 12 ปีให้กับบุตรหลานเกษตรกรชาวชนบท และผู้มี
รายได้น้อยที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้เรียนสาขาวิชาชีพในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเกษตร
ศาสตร์ และประกาศนียบัตรวิชาชีพสาขานอกภาคเกษตรตามความสนใจอย่างทั่วถึงนอกจากนี้ การปฏิรูปการศึกษาเกษตร
เพื่อชีวิตยังเป็นการพัฒนาเยาวชนในภาคการเกษตรให้เป็นกําลังคนระดับกลางด้านการเกษตรที่มีศักยภาพ มีความรู้ ทักษะแล ะ
เจตคติที่ดีในด้านการผลิต การแปรรูป การจัดการ การตลาด ออกไปเป็นผู้นําการผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภ าพรองรับการพัฒนา
ประเทศด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศ ทั้งยังช่วยพัฒนาเยาวชนในภาคเกษตรและชนบทที่มีความประสงค์จะไป
ประกอบอาชีพนอกภาคเกษตร ตามความต้องการของตลาดแรงงานสนองตอบต่อนโยบายการเพิ่มศักยภาพของประชากรตามแผนพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ในภาคการเกษตรอีกด้วย

โครงการปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพื่อชีวิตเป็นโครงการจัดการศึกษาวิชาชีพที่จัดให้แก่บุตรหลานเกษตรกรและชาวชนบท ที่ผู้ปกครอง
มีรายได้ต่ำกว่า 50,000 บาทต่อปี ที่เป็นผู้จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาของสํานักงานคณะกรรมการการ
ประถมศึกษาแห่งชาติ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ทั่วไป ได้เข้าเรียนวิชาชีพตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเกษตรศาสตร์ ในวิทยาลัย
เกษตรและเทคโนโลยี สังกัดกรมอาชีวศึกษาพร้อมทั้งให้เรียนวิชาชีพนอกภาคการเกษตรตามความสนใจ อันเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความชํานาญในวิชาชีพหลากหลาย อันเป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนหลังจบการศึกษา ทั้งนี้โดยเรียนฟรี อยู่ประจํา ทําโครงการ

แนวคิดของการเรียนฟรี อยู่ประจํา ทำโครงการดังกล่าว เป็นแนวคิดใหม่ของการปฏิรูปการศึกษาที่พยายามเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีโอกาสในการเข้ารับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งความหมายของการเรียนฟรี อยู่ประจํา ทําโครงการ มีรายละเอียดที่จะขยายความ ดังนี้

เรียนฟรี

การเรียนฟรีเป็นการแบ่งเบาภาวะเรื่องค่าใช้จ่ายในการเรียนของบุตรหลานเกษตรกร โดยรัฐจัดให้เรียนฟรี ได้แก่

1. ได้รับการยกเว้นค่าเล่าเรียนและ หน่วยกิตในการเรียนทั้งหมดในหลักสูตร ป ร ะ กาศนียบัตรวิชาชีพเกษตรศาสตร์ และประกาศนียบัตรวิชาชีพในสาขาที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ให้จัดการเรียนการสอนด้วยการให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงในการทําอาชีพก่อให้เกิดความรู้ทักษะเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ สามารถจัดการเป็น ค้าขายเป็น

2. ได้รับการยกเว้นค่าใช้จ่ายในการฝึกวิชาชีพเพื่อสร้างความรู้ ความชํานาญพิเศษในวิชาชีพนอกภาคเกษตร อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียนที่จะเข้าสู่อาชีพหลังจบการศึกษา เช่น การขับรถยนต์ ขับรถแทรกเตอร์ การพยาบาล คอมพิวเตอร์

อยู่ประจํา

การอยู่ประจําเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายเรื่องค่าที่พักของนักเรียน จึงกําหนดให้นักเรียนอยู่ประจํา ได้แก่

1. จัดสร้างบ้านพักให้นักเรียนได้อยู่อาศัยตลอดระยะเวลาที่เข้ามาเรียนในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี โดยสร้างให้พักได้หน่วย
ละ 8 คน จัดเป็นหมู่บ้านเยาวชน หมู่บ้านละ25 หน่วย สามารถรองรับนักเรียนได้ 200 คนต่อ 1 หมู่บ้าน โดยนักเรียนในโครงการทุกคน
ต้องอยู่ประจํา

2. จัดสร้างอาคารอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน ที่จัดพื้นที่สําหรับพัฒนาเป็นศูนย์วิชาการสําหรับการเรียนด้วยตนเองของนักเรียน ซึ่งจะเรียนจากสื่อทางไกล สื่อวีดิทัศน์ พร้อมทั้งจัดหาและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้พร้อมสําหรับการจัดการศึกษา พื้นที่สําหรับจัดเป็นโรงอาหารรวม มีพื้นที่สําหรับเป็นสถานที่ซ้อม
ดนตรี

3. จัดสาธารณูปโภคในหมู่บ้านเยาวชน“เกษตรเพื่อชีวิต” ที่จะรองรับการเข้าพักของนักเรียนประจําให้สามารถทํากิจกรรมเพื่อพัฒนา
ตนเองตลอดระยะเวลาที่เรียนในโครงการ

ทําโครงการ

การทําโครงการเป็นกิจกรรมของการรับภาระเรื่องค่าอาหารของนักเรียนตลอดเวลาที่เรียน จึงกําหนดให้ทุกคนต้องทําโครงการ ได้แก่

1. นักเรียนในโครงการทุกคนต้องจัดทำโครงการเกษตร เป็นการเรียนด้วยการปฏิบัติจริงในการประกอบอาชีพ เพื่อให้ได้ผลผลิตทาง
การเกษตรเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารเพื่อการยังชีพระหว่างเรียน และพัฒนาการประกอบอาชีพให้สามารถมีรายได้ระหว่างเรียน
ได้ด้วย โดยรัฐให้การอุดหนุนวัสดุสําหรับการทําโครงการเกษตรเป็นมูลค่า คนละ 5,000บาทต่อปี และมีครูอาจารย์ให้คําแนะนําปรึกษา
อย่างใกล้ชิด

2. สถานศึกษาปรับปรุง/จัดหาพื้นที่ทําการเกษตร และแหล่งน้ําเพื่อการเกษตรให้เพียงพอกับการทําโครงการเกษตรเพื่อการยังชีพ และ
โครงการเพื่อหารายได้ระหว่างเรียนสำหรับนักเรียนในโครงการทุกคน

3. นักเรียนในโครงการ รับผิดชอบร่วมกันในการประกอบอาหารเลี้ยงตนเองและเพื่อน ๆ จากผลผลิตที่เกิดจากการร่วมแรงร่วม
ใจทําโครงการเกษตรที่เป็นผลจากการเรียนด้วยการปฏิบัติของนักเรียนทุกคน

การปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพื่อชีวิตจะเป็นทางเลือกใหม่ในการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศ ที่เห็นเป็นรูปธรรมอย่าง
ชัดเจนก็คือ บุตรหลานเกษตรกร ชาวชนบทและผู้มีรายได้น้อย 40 ล้านคนได้เรียน 12 ปีในสายวิชาชีพอย่างทั่วถึง อันเป็นพื้นฐาน
สําคัญให้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ รัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการ สร้างเกษตรรุ่นใหม่ที่มีการศึกษา
12 ปี มีความรู้ระดับประกาศนียบัตร เป็นเกษตรกรที่มีคุณภาพของประเทศ รองรับการพัฒนาประเทศไปสู่ผู้นําในด้านการเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร และเป็นผู้นําในการผลิตอาหารของโลกในอนาคต และสร้างเยาวชนในภาคเกษตรให้สามารถก้าวสู่อาชีพนอกภาคเกษตรได้อย่างมั่นใจ เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศที่จะไปเสริมกําลังคนในภาคอุตสาหกรรม และบริการที่ขาดแคลนแรงงานฝีมือ และสนองนโยบายการเพิ่มศักยภาพของ
ประชากรตามแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคการเกษตร ซึ่งการเรียนการสอนในลักษณะ 

เรียนฟรี อยู่ประจํา ทําโครงการนี้ นักเรียนและ ครูจะอยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด โดยมีครูพี่เลี้ยง (HouseMaster) รั บ ผิ ด ช อ บ ดู แ ล ค ว า ม เ ป็ น
อยู่ของนักเรียน ให้คําแนะนําปรึกษาในด้านการเรียน ด้านสังคม ด้านการกินอยู่อย่างใกล้ชิดครูอาจารย์ ที่ปรึกษาโครงการเกษตร ที่จะร่วม
กับนักเรียนวางแผนการผลิตและวางแผนการเรียนด้วยการปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีพ พร้อมทั้งได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
และเพียงพอกับการประกอบอาหารเลี้ยงชีพและจําหน่ายเป็นรายได้ระหว่างเรียน ครูอาจารย์ด้านอาหารและโภชนาการจะดูแลโครงการ
ประกอบอาหารของนักเรียน การเรียนด้วยการปฏิบัติในการประกอบอาหารจากผลผลิตที่ได้จากการเรียนในรอบ 180 วันที่ผ่านมา การปฏิรูปการ
ศึกษาเกษตรเพื่อชีวิต รับนักเรียนเข้าเรียนได้ถึง72,548 คน และมีเป้าหมายที่จะรับนักเรียนเพิ่มในปีการศึกษา 2541 อีกจํานวน 100,000 คน

ซึ่งการดําเนินการนี้กระทรวงศึกษาธิการเห็นว่า การศึกษาคือการลงทุนเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเชื่อมั่นว่าการศึกษาจะช่วยแก้ปัญหาความยากจน ช่วยลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน ยังช่วยแก้ปัญหาด้านสังคม ช่วยสร้างความเสมอภาคในสังคม และการศึกษาทําให้คุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชนให้
ลดน้อยลง นอกจากนี้ เพราะการศึกษาในลักษณะนี้เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาบุตรหลานเกษตรกรและชาวชนบทที่ขาดโอกาสในการศึกษาต่อได้เข้าเรียนในระบบโรงเรียน 12 ปีและพัฒนาให้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศ เป็นผู้ผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพไว้รองรับการพัฒนาเศรษฐกิจด้านการเกษตร และอุตสาหกรรมกา รเ กษ ตร ข องป ร ะเ ท ศ ใ นอนาคต ตลอดจนพัฒนาศักยภาพของคนใน ชนบทให้มีการศึกษาสูงขึ้น พร้อมที่จะพัฒนา
ตนเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง มุ่งใช้การศึกษาเป็นยุทธศาสตร์สําคัญในการแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกรและชาวชนบท โดย
มุ่งหวังให้เกษตรกรและชาวชนบทยุคใหม่ ได้มีพื้นฐานการศึกษา 12 ปี อันเป็นพื้นฐานที่สําคัญที่ทําให้บุคคลสามารถแสวงหาความรู้
เพิ่มเติมได้ตลอดชีวิต และสามารถปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสารในกระแสของโลกยุคโลกาภิวัตน์

สามารถทํางานได้ทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร และพัฒนากําลังคนรองรับการพัฒนาประเทศที่จะก้าวไปสู่การเป็นประเทศ
ผู้นําในการผลิตสินค้าอาหารและสินค้าเกษตรของโลก

โครงการปฏิรูปการศึกษา “เกษตรเพื่อชีวิต” เป็นโครงการสําคัญที่จะแก้ปัญหาของประเทศที่จะบังเกิดผลในอนาคตอันใกล้นี้เพราะให้การศึกษาแก่บุตรหลานเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย 40 ล้านคน อย่างมีคุณภาพแล้ว การศึกษาไทยจะเป็นเลิศในปี 2550 ตามที่ต้องการ

บันทึกโดย
ลูกสาว คุณพ่อสุขวิช รังสิตพล
พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล - ผู้พันปราง
ผู้หญิงคนแรกในรอบ 77 ปี 
ผู้กล้าท้าชิงหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนที่ 9 
โฆษกกระทรวงกลาโหมคนแรก
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี 2545
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  สุขวิช รังสิตพล
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่