การแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 รอบคัดเลือกระหว่างอิหร่านและบาห์เรนกำลังจะเปิดฉาก
แน่นอนว่าแมตซ์สำคัญระดับนี้เป็นที่สนใจจากแฟนบอลทั่วประเทศ ทุกคนต่างเดินทางมายังสนามกีฬาแห่งชาติ Azadi
เพื่อหวังเป็นส่วนนึงของเกมนี้ ซึ่งในจำนวนแฟนบอลเหล่านั้น มีผู้หญิงกลุ่มนึงที่ต้องการเข้าชมเกมดังกล่าวเช่นกัน..
บรรดาเด็กสาววัยรุ่นทุกคนมาจากต่างพื้นที่ ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อน แต่ทุกคนมาด้วยเป้าหมายเดียวกัน
ก็คือเชียร์ทีมชาติอิหร่านบ้านเกิดอันเป็นที่รัก แต่ด้วยกฎที่ห้ามผู้หญิงเข้าไปชมเกมในสนามฟุตบอล
ทำให้พวกเธอต้องปลอมตัวเป็นผู้ชายเพื่อหวังตบตาเจ้าหน้าที่และผ่านประตูเข้าไปให้จงได้
แต่มันไม่ง่ายเช่นนั้น สุดท้ายพวกเธอโดนจับได้และถูกกักตัวไว้ในการคุ้มกันของทหาร
(ซึ่งก็ไม่ค่อยอยากจะทำหน้าที่สักเท่าไหร่นัก) ความวุ่นวายต่างๆก็เลยตามมา
Offside (ในชื่อเปอร์เซียว่า : آفساید ) เป็นภาพยนตร์อิหร่าน 2006 กำกับการแสดงโดยจาฟาร์ ปานาฮี
เรื่องราวเกี่ยวกับ เหล่าเด็กสาวที่พยายามจะชมการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก แต่เรื่องดังกล่าวเป็นสิ่งต้องห้าม
เพราะผู้หญิงอิหร่านถูกห้ามเข้าสนามกีฬาหลังการปฏิวัติอิสลามในปี 1979
โดยผู้นำทางศาสนาอ้างว่าคำสั่งห้ามดังกล่าวมีเพื่อ "ปกป้องผู้หญิงจากคำหยาบคายของผู้ชาย" ที่จะมีขึ้นในสนามบอล
นี่คือภาพยนตร์ที่เป็นบอกเล่าเรื่องทั้งหมดผ่านโลกของฟุตบอล ทั้งในด้านสิทธิมนุษยชน.. สิทธิของสตรี..
บทบาทของวัฒนธรรม ศาสนา อิทธิพลจากโลกตะวันตกที่มีบทบาทมากขึ้นในรัฐศาสนาอย่างอิหร่าน
ทุกอย่างถูกนำเสนออย่างมีชั้นเชิง แฝงนัยยะอย่างแยบคาย และนี่คือกึ๋นของผู้กำกับอย่าง ปานาฮี
ที่บอกเล่าประเด็นทั้งหมดผ่านเรื่องธรรมดาอย่างเกมฟุตบอลได้อย่างยอดเยี่ยมเช่นนี้
(และส่วนมากหนังอิหร่านที่ออกสู่สายตาชาวโลกก็ดีงามแทบทุกเรื่องอยู่แล้วจริงๆ)
อาจจะดูเหมือนว่าเนื้อหาจะหนัก ดูยาก เครียดแน่ๆ ไม่เป็นเช่นนั้นเลยครับ การดำเนินเรื่องทุกอย่างไปอย่างเรียลมาก
ตัวแสดงทุกตัวไม่มีชื่อให้เรียกกันแม้แต่คนเดียว มีมุมน่ารักๆที่ทำให้เรายิ้มตามไปในหลายซีน
ทั้งฉากที่ตัวละครตัวนึงจำเป็นต้องเข้าห้องน้ำให้ได้ แล้วจะทำไงดี โดนกักตัวไว้ สนามบอลไม่มีห้องน้ำหญิงซะด้วย
รวมไปถึงฉากที่แฟนบอลสาวๆถามทหารที่คุมพวกเธออยู่ว่าความคืบหน้าของเกมในสนามมันไปถึงไหนแล้ว
คือแม้จะไม่ได้เห็นรูปเกม แต่ก็ลุ้นมันส์ไม่ต่างกัน
แม้ว่าในปัจจุบันทางอิหร่านจะมีการเปิดกว้างมากยิ่งขึ้น โดยผู้หญิงสามารถเข้าชมเกมฟุตบอลได้แล้วก็ตาม
โดยข้อห้ามดังกล่าวถูกยกเลิกในปี 2019 แต่ก็ยังมีการจัดโซนพื้นที่ของแฟนบอลหญิงอย่างชัดเจนเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
และถ้าเทียบตามสัดส่วนแฟนบอลผู้ชาย แน่นอนว่ายังเป็นกลุ่มที่น้อยมาก
หากเทียบกับความต้องการที่จะเข้าไปชมเกมของแฟนบอลหญิงอิหร่านที่อยากเชียร์ทีมรักเฉกเช่นเดียวกันกับแฟนบอลผู้ชาย
คำว่า Offside ของหนังในที่นี้จึงไม่หมายถึงศัพท์ฟุตบอลที่แปลว่าล้ำหน้าอย่างที่เราเข้าใจ
หากทว่ามันเปรียบเสมือนการทำผิดกติกา หรือทำสิ่งใดสิ่งนึงที่ล้ำออกมาเกินกว่ากรอบที่สังคมนั้นได้กำหนดขึ้น
ในที่นี้ก็คือเหล่าเด็กสาวที่ต้องการจะชมเกมฟุตบอลในสนามแต่เมื่อเข้าไปไม่ได้ ก็ต้องหาวิธีนั่นเอง..
ซึ่งสุดท้ายแม้พวกเธอจะไม่สมหวังในสิ่งที่ตั้งใจ แต่ในตอนท้ายของหนังมันก็ไปสู่บทสรุปที่งดงาม
และทำให้ผู้ชมอย่างเรามีความสุข อิ่มเอมใจกับสิ่งที่เห็นตรงหน้า และอยู่ในความทรงจำไปอีกนานเท่านาน..
เสียดายนิดนึงรีวิวหนังเรื่องนี้เขียนก่อนที่จะรู้ว่าอิหร่านตกรอบรองชนะเลิศฟุตบอลเอเชี่ยนคัพไปแล้ว
นึกว่าจะได้เข้าชิงกับจอร์แดน (ข้อความนี้ผมมาพิมพ์เพิ่มภายหลังทราบผล)
พรุ่งนี้เชียร์จอร์แดนให้เป็นแชมป์ครั้งแรกดีกว่า
เป้าหมายของผมในการนำเสนอรีวิวหนังเรื่องนี้เพียงแค่ยกความรู้สึกที่มีต่อภาพยนตร์เรื่องนึงออกมาให้ได้อ่านกัน
ขอให้ความคิดเห็นต่างๆ เป็นไปอย่างสุภาพและไม่กระทบต่อเรื่องของความเชื่อและวัฒนธรรมใดๆนะครับ
=== ทิ้งท้ายครับ หนังที่ดีสำหรับตัวเรา แน่นอนว่าอาจจะไม่ได้ดีและไม่ได้ถูกใจสำหรับใคร
ซึ่งอยู่ที่ความชอบของแต่ละบุคคล ภาพยนตร์ก็เหมือนอาหารล่ะครับ อยู่ที่เราเลือกที่จะอยากชิมรสชาติแบบไหนเท่านั้นเอง ===
== Offside (2006) ผู้หญิงก็อยากเข้าไปดูบอลในสนามเหมือนกันนะ ==
การแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 รอบคัดเลือกระหว่างอิหร่านและบาห์เรนกำลังจะเปิดฉาก
แน่นอนว่าแมตซ์สำคัญระดับนี้เป็นที่สนใจจากแฟนบอลทั่วประเทศ ทุกคนต่างเดินทางมายังสนามกีฬาแห่งชาติ Azadi
เพื่อหวังเป็นส่วนนึงของเกมนี้ ซึ่งในจำนวนแฟนบอลเหล่านั้น มีผู้หญิงกลุ่มนึงที่ต้องการเข้าชมเกมดังกล่าวเช่นกัน..
บรรดาเด็กสาววัยรุ่นทุกคนมาจากต่างพื้นที่ ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อน แต่ทุกคนมาด้วยเป้าหมายเดียวกัน
ก็คือเชียร์ทีมชาติอิหร่านบ้านเกิดอันเป็นที่รัก แต่ด้วยกฎที่ห้ามผู้หญิงเข้าไปชมเกมในสนามฟุตบอล
ทำให้พวกเธอต้องปลอมตัวเป็นผู้ชายเพื่อหวังตบตาเจ้าหน้าที่และผ่านประตูเข้าไปให้จงได้
แต่มันไม่ง่ายเช่นนั้น สุดท้ายพวกเธอโดนจับได้และถูกกักตัวไว้ในการคุ้มกันของทหาร
(ซึ่งก็ไม่ค่อยอยากจะทำหน้าที่สักเท่าไหร่นัก) ความวุ่นวายต่างๆก็เลยตามมา
Offside (ในชื่อเปอร์เซียว่า : آفساید ) เป็นภาพยนตร์อิหร่าน 2006 กำกับการแสดงโดยจาฟาร์ ปานาฮี
เรื่องราวเกี่ยวกับ เหล่าเด็กสาวที่พยายามจะชมการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก แต่เรื่องดังกล่าวเป็นสิ่งต้องห้าม
เพราะผู้หญิงอิหร่านถูกห้ามเข้าสนามกีฬาหลังการปฏิวัติอิสลามในปี 1979
โดยผู้นำทางศาสนาอ้างว่าคำสั่งห้ามดังกล่าวมีเพื่อ "ปกป้องผู้หญิงจากคำหยาบคายของผู้ชาย" ที่จะมีขึ้นในสนามบอล
นี่คือภาพยนตร์ที่เป็นบอกเล่าเรื่องทั้งหมดผ่านโลกของฟุตบอล ทั้งในด้านสิทธิมนุษยชน.. สิทธิของสตรี..
บทบาทของวัฒนธรรม ศาสนา อิทธิพลจากโลกตะวันตกที่มีบทบาทมากขึ้นในรัฐศาสนาอย่างอิหร่าน
ทุกอย่างถูกนำเสนออย่างมีชั้นเชิง แฝงนัยยะอย่างแยบคาย และนี่คือกึ๋นของผู้กำกับอย่าง ปานาฮี
ที่บอกเล่าประเด็นทั้งหมดผ่านเรื่องธรรมดาอย่างเกมฟุตบอลได้อย่างยอดเยี่ยมเช่นนี้
(และส่วนมากหนังอิหร่านที่ออกสู่สายตาชาวโลกก็ดีงามแทบทุกเรื่องอยู่แล้วจริงๆ)
อาจจะดูเหมือนว่าเนื้อหาจะหนัก ดูยาก เครียดแน่ๆ ไม่เป็นเช่นนั้นเลยครับ การดำเนินเรื่องทุกอย่างไปอย่างเรียลมาก
ตัวแสดงทุกตัวไม่มีชื่อให้เรียกกันแม้แต่คนเดียว มีมุมน่ารักๆที่ทำให้เรายิ้มตามไปในหลายซีน
ทั้งฉากที่ตัวละครตัวนึงจำเป็นต้องเข้าห้องน้ำให้ได้ แล้วจะทำไงดี โดนกักตัวไว้ สนามบอลไม่มีห้องน้ำหญิงซะด้วย
รวมไปถึงฉากที่แฟนบอลสาวๆถามทหารที่คุมพวกเธออยู่ว่าความคืบหน้าของเกมในสนามมันไปถึงไหนแล้ว
คือแม้จะไม่ได้เห็นรูปเกม แต่ก็ลุ้นมันส์ไม่ต่างกัน
แม้ว่าในปัจจุบันทางอิหร่านจะมีการเปิดกว้างมากยิ่งขึ้น โดยผู้หญิงสามารถเข้าชมเกมฟุตบอลได้แล้วก็ตาม
โดยข้อห้ามดังกล่าวถูกยกเลิกในปี 2019 แต่ก็ยังมีการจัดโซนพื้นที่ของแฟนบอลหญิงอย่างชัดเจนเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
และถ้าเทียบตามสัดส่วนแฟนบอลผู้ชาย แน่นอนว่ายังเป็นกลุ่มที่น้อยมาก
หากเทียบกับความต้องการที่จะเข้าไปชมเกมของแฟนบอลหญิงอิหร่านที่อยากเชียร์ทีมรักเฉกเช่นเดียวกันกับแฟนบอลผู้ชาย
คำว่า Offside ของหนังในที่นี้จึงไม่หมายถึงศัพท์ฟุตบอลที่แปลว่าล้ำหน้าอย่างที่เราเข้าใจ
หากทว่ามันเปรียบเสมือนการทำผิดกติกา หรือทำสิ่งใดสิ่งนึงที่ล้ำออกมาเกินกว่ากรอบที่สังคมนั้นได้กำหนดขึ้น
ในที่นี้ก็คือเหล่าเด็กสาวที่ต้องการจะชมเกมฟุตบอลในสนามแต่เมื่อเข้าไปไม่ได้ ก็ต้องหาวิธีนั่นเอง..
ซึ่งสุดท้ายแม้พวกเธอจะไม่สมหวังในสิ่งที่ตั้งใจ แต่ในตอนท้ายของหนังมันก็ไปสู่บทสรุปที่งดงาม
และทำให้ผู้ชมอย่างเรามีความสุข อิ่มเอมใจกับสิ่งที่เห็นตรงหน้า และอยู่ในความทรงจำไปอีกนานเท่านาน..
เสียดายนิดนึงรีวิวหนังเรื่องนี้เขียนก่อนที่จะรู้ว่าอิหร่านตกรอบรองชนะเลิศฟุตบอลเอเชี่ยนคัพไปแล้ว
นึกว่าจะได้เข้าชิงกับจอร์แดน (ข้อความนี้ผมมาพิมพ์เพิ่มภายหลังทราบผล)
พรุ่งนี้เชียร์จอร์แดนให้เป็นแชมป์ครั้งแรกดีกว่า
เป้าหมายของผมในการนำเสนอรีวิวหนังเรื่องนี้เพียงแค่ยกความรู้สึกที่มีต่อภาพยนตร์เรื่องนึงออกมาให้ได้อ่านกัน
ขอให้ความคิดเห็นต่างๆ เป็นไปอย่างสุภาพและไม่กระทบต่อเรื่องของความเชื่อและวัฒนธรรมใดๆนะครับ
=== ทิ้งท้ายครับ หนังที่ดีสำหรับตัวเรา แน่นอนว่าอาจจะไม่ได้ดีและไม่ได้ถูกใจสำหรับใคร
ซึ่งอยู่ที่ความชอบของแต่ละบุคคล ภาพยนตร์ก็เหมือนอาหารล่ะครับ อยู่ที่เราเลือกที่จะอยากชิมรสชาติแบบไหนเท่านั้นเอง ===