ประเพณีงานบวชในภาคเหนือเรียกว่า ‘งานปอยน้อย’ หรือ ‘เป๊กข์ตุ๊’ ผู้ชายที่บวชจะต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปี ขึ้นไปถึง 20 ปี เรียกว่า ‘บวชพระ’ เพราะนิยมเรียกสามเณรทั้งหลายว่า ‘พระ’ เรียกสามเณรที่มีอายุน้อยว่า ‘พระน้อย’ (พระหน้อย) ถ้าเป็นสามเณรที่มีอายุมากเรียกว่า ‘พระโคร่ง’ หรือ ‘เณรโคร่ง’ หากลาสิกขาออกไปจะถูกเรียกชื่อว่า ‘หน้อย’ หรือ ‘น้อย’ ส่วนการเป๊กข์นิยมทำกับผู้ชายที่อายุ 20 ปี ขึ้นไปเรียกว่าอุปสมบท หรือ ‘เป๊กข์’ เมื่อเป็นพระภิกษุเรียบร้อยแล้วจะเรียกขานว่า ‘ตุ๊เจ้า’ และเมื่อลาสิกขาบทออกไปชาวบ้านจะเรียกว่า ‘ขนาน’ หรือ ‘หนาน’
งานบวชนาคจะมี ‘วันดาปอย’ เป็นการตระเตรียมงานเมื่อกุลบุตรจะบรรพชา หรือ จะอุปสมบทนั้นพ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องไปบอกกล่าวตกลงใจกับเจ้าอาวาสที่สามารถให้การอุปัชฌาย์ในการบรรพชา หรือ อุปสมบท เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ก็จะมีการเตรียมตัวนาค (ผู้ชายผู้จะบวช) จะมีการแผ่นาบุญ (หน้าบุญ) โดยให้คนใกล้ชิด 2-3 คน นำผ้าสบงจีวรใส่พานขึ้นไปตามบ้าน ญาติมิตร เพื่อบอกหน้าบุญ เมื่อทราบแล้วก็จะยกพานผ้าขึ้นจรดหน้าผาก พร้อมทั้งกล่าวคำอนุโมทนาสาธุ ปัจจุบันนิยมบอกบุญโดยการส่งการ์ดหรือบัตรเชิญ วันดาปอย คือวันก่อนที่จะทำการอุปสมบทหรือบรรพชา 1 วัน เจ้าภาพจะมีการเตรียมการเกี่ยวกับเครื่องบวช เช่น ผ้าไตร บาตร หรือ อัฏฐบริขารให้พร้อม และต้องเตรียมอาหารการกินไว้ต้อนรับแขก ที่จะมาร่วมอนุโมทนา ซึ่งถือดอกไม้ ธูปเทียน จตุปัจจัย ใส่ในพานนาค เรียกว่า ‘ฮอมปอย’ นาคก็จะรับดอกไม้ธูปเทียนดังกล่าว และให้พรตอบแทน บางแห่งจัดทำพิธีรับขวัญนาค โดยจัดทำต้นเผิ้ง (ต้นผึ้ง) และเชิญอาจารย์ซึ่งเป็นมัคทายก หรือ ‘หนาน’ เป็นผู้ทำพิธีทำขวัญนาค เพื่ออบรมกล่อมเกลาจิตใจให้ระลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และรำพันถึงพระคุณของมารดา บิดา ที่เลี้ยงตนมา ทางเหนือเรียกผู้ที่จะอุปสมบทหรือบรรพชา หรือนาคว่า ‘ลูกแก้ว’ โดยจะไปโกนผมที่วัด ญาติพี่น้องจะพาลูกแก้วไปแต่งตัว ด้วยผ้านุ่งสีขาว นุ่งห่มโจงกระเบน สวมชฎา แต่งหน้า ทาปาก ทาคิ้ว ประดับแหวน ประดับสร้อย ล้วนของมีค่ามากมาย เสร็จแล้วจะมีพิธีแห่นาค โดยใช้รถบ้าง ม้าบ้าง บางแห่งให้ลูกแก้วนั่งบนหลังช้างไปตามถนนแวะบ้านญาติ เพื่อผูกข้อมือรับขวัญ
งานปอย ถือกันว่าเป็นงานมงคลที่ยิ่งใหญ่เจ้าภาพจัดเลี้ยงเพื่อบำเพ็ญทานตามแต่ฐานะของแต่ละคน บางคนอาจจัดมหรสพให้มี ซอ รำวง ดนตรี ลิเก หรือ ภาพยนตร์ เป็นการเฉลิมฉลองกันอย่างครึกครื้น ผู้คนไปทำบุญ ก็จะได้ร่วมรับประทานอาหารอย่างอิ่มหมีพีมัน และได้ชมมหรสพต่าง ๆ ต่อมาวันรุ่งเช้าเวลาประมาณ 7โมงเช้า ก็พานาคไปทำพิธีรอบประทักษิณ (เวียนรอบอุโบสถ ) จำนวน 3 รอบ เสร็จนำนาคเข้าไปรอพระสงฆ์อยู่ในอุโบสถ จากนั้นก็กราบอาราธนานิมนต์พระสงฆ์ จำนวน 10 -100 รูป ตามกำลังทรัพย์ของเจ้าภาพ จากนั้นพระสงฆ์จะได้ทำพิธีให้ศีลบวชเป็นเณรก่อน ต่อมาพระสงฆ์จะได้ประกอบพิธีแสดงอาบัติและเริ่มพิธีสังฆกรรมอุปสมบทให้เณรเป็นพระภิกษุในช่วงระหว่างพระสงฆ์ประกอบพิธีสังฆกรรม ปุถุชนหรือคณะศรัทธาจะต้องหนีออกจากเขตพัทธสีมาของพระอุโบสถให้หมด ไม่ว่ากรณีใด ๆ ห้ามเข้าใกล้แม้แต่สัตว์หมูหมากาไก่ก็แล้วแต่จะต้องขับไล่ออกไปให้หมด ๆ เมื่อพระภิกษุทำสังฆกรรมเสร็จหมดแล้วจากนั้นก็จะเชิญแขกผู้มีเกรียติและญาติพี่น้องของพระใหม่ขึ้นไปบนพระวิหารเพื่อทำพิธีถวายจตุปัจจัยแด่พระสงฆ์ และหยาดน้ำหมายทานไปถึงบรรพบุรุษเจ้ากรรมนายเวร จากนั้นพระใหม่ก็จะรับบิณฑบาต และแจกพวยทาน เสร็จจากนั้นก็จะลงไปถวายภัตตาหารเช้า แก่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร พระภิกษุสงฆ์สามเณรอนุโมทนาเป็นอันเสร็จพิธี จากนั้นรอพระสงฆ์ฉันเสร็จ พอเสร็จแล้วก็จะเลี้ยงแขกผู้มีเกรียติผู้ที่มาร่วมงานบุญ หรือเรียกตามภาษาพระก็คือ ‘ขโยม’ มานั่งฉันต่อจากพระสงฆ์จนอิ่มจากนั้นก็พักตามอัธยาศัยทักทายปราศัยกันไปตามญาติพี่น้องกัน
สำหรับพระบวชใหม่ก็จะต้อง ‘อยู่กรรม’ นอนบนวิหารหลวงเป็นเวลา ประมาณ 3-7 วัน เพื่อรำลึกถึงพระคุณของพ่อ แม่ โดยใช้ลูกประคำ ‘ตกหมากนับ’ และสวดมนต์ทำวัตรเช้าเย็นภาวนาแผ่ฝายนาบุญให้กับสรรพสัตว์ตลอดจนถึงบรรพบุรุษเจ้ากรรมนายเวร เทวดาประจำตัวและเจ้าที่เจ้าทางให้ได้รับผลบุญที่เรากระทำอยู่ในช่วงเวลาอันน้อยนิด จากนั้นจำวัดตื่นเช้าทำวัตรเสร็จออกไปรับบิณฑบาตโปรดเมตตาพ่อแม่ออกศรัทธาภายนอกวัด เพื่อมาฉันเช้าและเที่ยง 2 เวลา ประพฤติปฏิบัติแบบนี้ไปทุก ๆ วันให้ครบจำนวน 7 วัน จากนั้นจะลาสิกขาหรือไม่ก็สุดแต่เจ้าตัวพระใหม่ หากอยู่ต่อก็จะแจ้งให้เจ้าอาวาสได้รับทราบว่าจะอยู่ไปตลอดพรรษาหรืออยู่เฉพาะ 2 - 3 เดือน นั้นก็สุดแต่ กรณีอยู่ไปเรื่อย ๆ ทางเจ้าอาวาสก็จะให้อยู่ตามระเบียบของวัด และอยู่ในโอวาทดุลพินิจของเจ้าสำนักนั้น ๆ
คุณค่าและความเชื่อของการบวชของชาวล้านนาที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ สังคมต้องการคนที่มีความรู้ และได้รับการฝึกหัดอบรมมาจากวัดแล้วว่า ‘เป็นคนสุก’ หรือเป็น ‘ขนานบัณฑิต’ ชาวบ้านอยากจะให้ลูกสาวแต่งงานด้วย หวังใจว่าคนที่บวชแล้วย่อมรักทนุถนอมลูกเมียไม่ทอดทิ้ง เพราะจิตใจเต็มไปด้วยความเมตตากรุณา
เอื้อเฟื้อภาพถ่ายโดย : ช่างภาพวัดพระธาตุพระลอ (ทีมงานลูกหลานป้อจาย)
อ้างอิง : มณี พยอมยงค์. 2537. ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ์.
ปอยเป็กข์ - ปอยบวชลูกแก้ว
ขันศรีเมืองสอง l บายศรีอย่างชาวเมืองสอง
ทีมงานลูกศิษย์พระครูบาหมุน / ทีมลูกหลานป้อจายเมืองสอง /
คณะอัญเชิญพระไตรปิฎก / เครือข่ายวัฒนธรรมอำเภอสอง
กลองอืดเมืองสอง l ฟ้อนกลองอืด l ฟ้อนกลองอืดเมืองสอง
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสอง l ที่ว่าการอำเภอสอง l เมืองสอง
วัดพระธาตุพระลอ l อุทยานลิลิตพระลอ
วัฒนธรรมอำเภอสอง อำเภอสอง จังหวัดแพร่
เครือข่ายวัฒนธรรม l เครือข่ายวัฒนธรรมอำเภอสอง
ปอยเป็กข์ - ปอยบวชลูกแก้ว ปอยเมืองสอง วัดพระธาตุพระลอ อำเภอสอง จังหวัดแพร่
งานบวชนาคจะมี ‘วันดาปอย’ เป็นการตระเตรียมงานเมื่อกุลบุตรจะบรรพชา หรือ จะอุปสมบทนั้นพ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องไปบอกกล่าวตกลงใจกับเจ้าอาวาสที่สามารถให้การอุปัชฌาย์ในการบรรพชา หรือ อุปสมบท เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ก็จะมีการเตรียมตัวนาค (ผู้ชายผู้จะบวช) จะมีการแผ่นาบุญ (หน้าบุญ) โดยให้คนใกล้ชิด 2-3 คน นำผ้าสบงจีวรใส่พานขึ้นไปตามบ้าน ญาติมิตร เพื่อบอกหน้าบุญ เมื่อทราบแล้วก็จะยกพานผ้าขึ้นจรดหน้าผาก พร้อมทั้งกล่าวคำอนุโมทนาสาธุ ปัจจุบันนิยมบอกบุญโดยการส่งการ์ดหรือบัตรเชิญ วันดาปอย คือวันก่อนที่จะทำการอุปสมบทหรือบรรพชา 1 วัน เจ้าภาพจะมีการเตรียมการเกี่ยวกับเครื่องบวช เช่น ผ้าไตร บาตร หรือ อัฏฐบริขารให้พร้อม และต้องเตรียมอาหารการกินไว้ต้อนรับแขก ที่จะมาร่วมอนุโมทนา ซึ่งถือดอกไม้ ธูปเทียน จตุปัจจัย ใส่ในพานนาค เรียกว่า ‘ฮอมปอย’ นาคก็จะรับดอกไม้ธูปเทียนดังกล่าว และให้พรตอบแทน บางแห่งจัดทำพิธีรับขวัญนาค โดยจัดทำต้นเผิ้ง (ต้นผึ้ง) และเชิญอาจารย์ซึ่งเป็นมัคทายก หรือ ‘หนาน’ เป็นผู้ทำพิธีทำขวัญนาค เพื่ออบรมกล่อมเกลาจิตใจให้ระลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และรำพันถึงพระคุณของมารดา บิดา ที่เลี้ยงตนมา ทางเหนือเรียกผู้ที่จะอุปสมบทหรือบรรพชา หรือนาคว่า ‘ลูกแก้ว’ โดยจะไปโกนผมที่วัด ญาติพี่น้องจะพาลูกแก้วไปแต่งตัว ด้วยผ้านุ่งสีขาว นุ่งห่มโจงกระเบน สวมชฎา แต่งหน้า ทาปาก ทาคิ้ว ประดับแหวน ประดับสร้อย ล้วนของมีค่ามากมาย เสร็จแล้วจะมีพิธีแห่นาค โดยใช้รถบ้าง ม้าบ้าง บางแห่งให้ลูกแก้วนั่งบนหลังช้างไปตามถนนแวะบ้านญาติ เพื่อผูกข้อมือรับขวัญ
งานปอย ถือกันว่าเป็นงานมงคลที่ยิ่งใหญ่เจ้าภาพจัดเลี้ยงเพื่อบำเพ็ญทานตามแต่ฐานะของแต่ละคน บางคนอาจจัดมหรสพให้มี ซอ รำวง ดนตรี ลิเก หรือ ภาพยนตร์ เป็นการเฉลิมฉลองกันอย่างครึกครื้น ผู้คนไปทำบุญ ก็จะได้ร่วมรับประทานอาหารอย่างอิ่มหมีพีมัน และได้ชมมหรสพต่าง ๆ ต่อมาวันรุ่งเช้าเวลาประมาณ 7โมงเช้า ก็พานาคไปทำพิธีรอบประทักษิณ (เวียนรอบอุโบสถ ) จำนวน 3 รอบ เสร็จนำนาคเข้าไปรอพระสงฆ์อยู่ในอุโบสถ จากนั้นก็กราบอาราธนานิมนต์พระสงฆ์ จำนวน 10 -100 รูป ตามกำลังทรัพย์ของเจ้าภาพ จากนั้นพระสงฆ์จะได้ทำพิธีให้ศีลบวชเป็นเณรก่อน ต่อมาพระสงฆ์จะได้ประกอบพิธีแสดงอาบัติและเริ่มพิธีสังฆกรรมอุปสมบทให้เณรเป็นพระภิกษุในช่วงระหว่างพระสงฆ์ประกอบพิธีสังฆกรรม ปุถุชนหรือคณะศรัทธาจะต้องหนีออกจากเขตพัทธสีมาของพระอุโบสถให้หมด ไม่ว่ากรณีใด ๆ ห้ามเข้าใกล้แม้แต่สัตว์หมูหมากาไก่ก็แล้วแต่จะต้องขับไล่ออกไปให้หมด ๆ เมื่อพระภิกษุทำสังฆกรรมเสร็จหมดแล้วจากนั้นก็จะเชิญแขกผู้มีเกรียติและญาติพี่น้องของพระใหม่ขึ้นไปบนพระวิหารเพื่อทำพิธีถวายจตุปัจจัยแด่พระสงฆ์ และหยาดน้ำหมายทานไปถึงบรรพบุรุษเจ้ากรรมนายเวร จากนั้นพระใหม่ก็จะรับบิณฑบาต และแจกพวยทาน เสร็จจากนั้นก็จะลงไปถวายภัตตาหารเช้า แก่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร พระภิกษุสงฆ์สามเณรอนุโมทนาเป็นอันเสร็จพิธี จากนั้นรอพระสงฆ์ฉันเสร็จ พอเสร็จแล้วก็จะเลี้ยงแขกผู้มีเกรียติผู้ที่มาร่วมงานบุญ หรือเรียกตามภาษาพระก็คือ ‘ขโยม’ มานั่งฉันต่อจากพระสงฆ์จนอิ่มจากนั้นก็พักตามอัธยาศัยทักทายปราศัยกันไปตามญาติพี่น้องกัน
สำหรับพระบวชใหม่ก็จะต้อง ‘อยู่กรรม’ นอนบนวิหารหลวงเป็นเวลา ประมาณ 3-7 วัน เพื่อรำลึกถึงพระคุณของพ่อ แม่ โดยใช้ลูกประคำ ‘ตกหมากนับ’ และสวดมนต์ทำวัตรเช้าเย็นภาวนาแผ่ฝายนาบุญให้กับสรรพสัตว์ตลอดจนถึงบรรพบุรุษเจ้ากรรมนายเวร เทวดาประจำตัวและเจ้าที่เจ้าทางให้ได้รับผลบุญที่เรากระทำอยู่ในช่วงเวลาอันน้อยนิด จากนั้นจำวัดตื่นเช้าทำวัตรเสร็จออกไปรับบิณฑบาตโปรดเมตตาพ่อแม่ออกศรัทธาภายนอกวัด เพื่อมาฉันเช้าและเที่ยง 2 เวลา ประพฤติปฏิบัติแบบนี้ไปทุก ๆ วันให้ครบจำนวน 7 วัน จากนั้นจะลาสิกขาหรือไม่ก็สุดแต่เจ้าตัวพระใหม่ หากอยู่ต่อก็จะแจ้งให้เจ้าอาวาสได้รับทราบว่าจะอยู่ไปตลอดพรรษาหรืออยู่เฉพาะ 2 - 3 เดือน นั้นก็สุดแต่ กรณีอยู่ไปเรื่อย ๆ ทางเจ้าอาวาสก็จะให้อยู่ตามระเบียบของวัด และอยู่ในโอวาทดุลพินิจของเจ้าสำนักนั้น ๆ
คุณค่าและความเชื่อของการบวชของชาวล้านนาที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ สังคมต้องการคนที่มีความรู้ และได้รับการฝึกหัดอบรมมาจากวัดแล้วว่า ‘เป็นคนสุก’ หรือเป็น ‘ขนานบัณฑิต’ ชาวบ้านอยากจะให้ลูกสาวแต่งงานด้วย หวังใจว่าคนที่บวชแล้วย่อมรักทนุถนอมลูกเมียไม่ทอดทิ้ง เพราะจิตใจเต็มไปด้วยความเมตตากรุณา
เอื้อเฟื้อภาพถ่ายโดย : ช่างภาพวัดพระธาตุพระลอ (ทีมงานลูกหลานป้อจาย)
อ้างอิง : มณี พยอมยงค์. 2537. ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ์.
ปอยเป็กข์ - ปอยบวชลูกแก้ว
ขันศรีเมืองสอง l บายศรีอย่างชาวเมืองสอง
ทีมงานลูกศิษย์พระครูบาหมุน / ทีมลูกหลานป้อจายเมืองสอง /
คณะอัญเชิญพระไตรปิฎก / เครือข่ายวัฒนธรรมอำเภอสอง
กลองอืดเมืองสอง l ฟ้อนกลองอืด l ฟ้อนกลองอืดเมืองสอง
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสอง l ที่ว่าการอำเภอสอง l เมืองสอง
วัดพระธาตุพระลอ l อุทยานลิลิตพระลอ
วัฒนธรรมอำเภอสอง อำเภอสอง จังหวัดแพร่
เครือข่ายวัฒนธรรม l เครือข่ายวัฒนธรรมอำเภอสอง