แพทย์จุฬานำร่อง เรียนหมอไม่มีเกรด ลดความเครียดที่ไม่จำเป็น

ยินดีกับรุ่นน้องทุกคนด้วยนะครับ แต่ก็ยังต้องขยันนะ
.
.

สิ่งที่เปลี่ยนไปในหลักสูตรแพทยศาสตร์ จุฬาฯ 67

การประเมินผลใหม่ ไม่ตัดเกรด A-F

การประเมินผลรายวิชาต่างๆ ในหลักสูตรนี้ จะปรับเป็นการให้ "ผ่าน/ตก" หรือ “S/U (Satisfactory/Unsatisfactory)” ตลอดหลักสูตร แทนการแสดงผลการประเมินแบบเดิมที่เป็นสัญลักษณ์ A-F

โดยมีงานวิจัยว่า การเรียนแบบไม่มีเกรด ช่วยลดระดับความเครียดของผู้เรียน ให้ผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น โดยที่ผลการสอบและพฤติกรรมการเรียนการปฏิบัติงานไม่ได้ลดลง  ซึ่งในปัจจุบันโรงเรียนแพทย์ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีโรงเรียนที่ตัดเกรด A-F ไม่ถึง 15% ของโรงเรียนแพทย์ทั้งหมด
การปรับเปลี่ยนการแสดงผลการตัดสินการศึกษาครั้งนี้ เป็นการต่อยอดและพัฒนาด้านการประเมินผลผู้เรียนที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และมุ่งเน้นการประเมินผลที่เป็นระบบ ทำให้มั่นใจได้ว่าบัณฑิตแพทย์ในหลักสูตรจะบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ของ

หลักสูตร (Programme Learning Outcomes; PLOs) ทุก PLOs ตามเกณฑ์มาตรฐาน

นอกจากนี้ยังช่วยสร้างสมดุลการเรียนของนิสิตแพทย์ ให้ยังคงสร้างแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถและจริยธรรมให้สังคมไว้วางใจ กับ การดูแลสุขภาวะของนิสิต พร้อมกับให้นิสิตเติบโตและพัฒนาเป็นแพทย์ในแบบของตนเอง

โดยหลักสูตรปรับปรุง 2567 นี้ นิสิตจะได้รับรายงานผลการศึกษาแบบละเอียด เพื่อให้นิสิตนำข้อมูลไปปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาด้านวิชาการและวางแผนพัฒนาตัวเองต่อไป  

ประเมินผลยังไง เมื่อไม่มีเกรด

การวัดผลในระบบ non-tiered grading system นี้ เป็นการวัดผลที่ยึดที่ผลลัพธ์การเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 3 ด้านใหญ่ คือ

ความเป็นเลิศด้านวิชาการ (academic)

ความเป็นเลิศด้านสมรรถนะและการปฏิบัติงาน (competency and performance) ได้แก่ การสัมภาษณ์ประวัติ ตรวจร่างกาย และวินิจฉัยโรค การรักษาผู้ป่วย และการทำหัตถการ เป็นต้น

ความเป็นเลิศด้านความเป็นวิชาชีพ (professionalism) ได้แก่ พฤตินิสัยในการเรียนการปฏิบัติงานการเรียนและการทำงานเป็นทีม และการทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพ  

การกำหนดความเป็นเลิศทางการศึกษา (Excellence) เป็น 3 ด้านนี้ สะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญในการพัฒนาบัณฑิตแพทย์จุฬาฯ ไม่เฉพาะแต่ในด้านความรู้เท่านั้น แต่รวมถึงทักษะและพฤตินิสัยที่เหมาะสมสำหรับความเป็นแพทย์ด้วย

ไม่มีเกรดแล้วจะถ้าเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น ทำยังไง
จะมีการจัดทำระเบียนประวัติเพื่อแสดงถึง "ความเป็นแพทย์ในแบบของตนเองของนิสิตแต่ละคน" ระเบียนประวัตินี้จะให้ข้อมูลวิชาที่นิสิตเลือกเรียน รางวัล ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของนิสิต ประวัติการทำกิจกรรมที่โดดเด่น และ ความเป็นเลิศทางการศึกษา (Exellence) โดยผลความเป็นเลิศทางการศึกษา ก็จะเป็นการประมวลมาจากผลลัพธ์การเรียนรู้ในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต 12 ประการ ตามรายละเอียด 3 ด้าน ด้านบนนั่นเอง

ถ้านิสิตได้ U มา จะทำอย่างไร
ในความเป็นจริง ทางคณะจะมีการประเมินนิสิตระหว่างทางตลอดเวลาว่านิสิตเรียนตามเพื่อนทันหรือไม่ เพื่อเป็นการช่วยเหลือตั้งแต่เริ่มต้น ส่วนการสอบ หากหลังสอบผลคะแนนออกมา ก็จะช่วยก่อนที่จะประเมินออกมาเป็น U เช่น การสอบแก้ตัว แต่ถ้าสุดท้ายแล้วประเมินผลได้ U จริงๆ ก็สามารถเรียนซ้ำได้

เกียรตินิยมยังมีอยู่หรือไม่
ยังคงอยู่มี แต่จะไม่ตัดที่ผลการเรียนแบบเดิม โดยเกณฑ์ใหม่ จะพิจารณาจาก
ความเป็นเลิศ (Excellence) ในการบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้

ระยะเวลาการศึกษา  
การไม่เคยได้รับสัญลักษณ์ U
การไม่เคยถูกตัดคะแนนความประพฤติ และไม่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมสำหรับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์

ที่มา

https://www.dek-d.com/tcas/63900/

https://www.thaipbs.or.th/news/content/336447
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่