ผมเป็นคนไม่ชอบเข้าวัดครับ
แม้สมัยเรียนจะเคยสังกัด ชมรมสมาธิ แต่ก็เข้าโบสถ์คริสต์ อ่านเต๋า ศึกษาเซน และสนใจในทุกศาสนา
การเข้าวัดส่วนใหญ่ของผมมักไปในงานพิธี และต้องมีปัจจัยเกื้อหนุนอย่าง เส้นทาง และเวลา
ครั้งนี้ก็เช่นกัน ด้วยเหตุงานวิจัย และการไปตรวจสอบงานวิเคราะห์ความเสียหายที่ลำปางเสร็จก่อนเวลาที่คาดไว้
และทุกคนในทีมที่ไปด้วยลงมติและพร้อมจะเดินทางไปด้วยกัน
วัดพระธาตุดอยพระฌาน ที่มีพระใหญ่ตั้งอยู่จึงถูกกำหนดไว้เป็นหมุดหมายที่ทางทีมตั้งใจแวะก่อนกลับเมืองกรุง
ข้อมูลจากกูเกิ้ลระบุไว้ว่า วัดพระธาตุดอยพระฌาน ตั้งอยู่ที่ ตำบลป่าตัน อำเภอ แม่ทะ จังหวัดลำปาง
ระยะทางขจัดจากเส้นพหลโยธินที่เป็นเส้นหลักในการเดินทางขึ้นเหนือ วัดได้ประมาณ 8.35 กิโลเมตร
ตัววัดแต่เดิมเป็นวัดเก่าตั้งอยู่บนดอยพระฌาน และมีการสร้างพระธาตุขึ้นบนยอดเขาตั้งแต่ปี 2445
และเริ่มเกิดเป็นงานประเพณีขึ้นดอยพระธาตุประจำปีเมื่อปี 2496
และเริ่มมีการบูรณวัดครั้งใหญ่เมื่อปี 2551 โดยพระอาจารย์พรชัย อคควังโส
หนทางขึ้นดอยพระฌาน มีสองเส้นทาง ทางแรกเป็นเส้นทางสบายรอนั่งรถสองแถวอ้อมขึ้นหลังเขาตรงสู่พระใหญ่
ส่วนอีกเส้นเป็นทางพิสูจน์ศรัทธาและสุขภาพ เพราะเป็นทางเดินขึ้นดอยด้วยลำแข้ง
ระยะทางประมาณ 400 เมตร ผ่านบันได 628 ขั้น
แต่ 400 เมตร ที่เขียนเอาไว้นั้น เป็นระยะแม้ว เพราะเป็นระยะทางที่ตัดเกือบจะตรงมุ่งสู่วิหารพระพุทธเจ้าองค์ปฐม
ดังนั้นหากสุขภาพไม่ดีเรียกว่ามีหอบเพราะความชันกับปริมาณออกซิเจนที่ลดลงสวนทางกับระกับความสูง
แต่ต้องบอกว่า หากคุณเดินไปถึงจุดหมายก็หายเหนื่อยกับวิวและทิวทัศน์ที่อยู่ตรงหน้า
และกล้องถ่ายรูปใดใดก็ไม่สามารถบันทึกความงามที่ตาคุณมองเห็นรอบ ๆ ตัววัดได้
เมื่อคุณเดินเข้ามาที่ตัววิหารพระพุทธเจ้าองค์ปฐม ซึ่งประดิษฐาน
“สมเด็จพระพุทธสิกขีทศพลญาณ พิชิตมารวิกรม ปฐมสัมมาสัมโพธิญาณ ศรีพระฌานบรรพต” ในซุ้มเรือนแก้วสีทอง
อย่างแรกที่คุณจะสัมผัสได้คือความงามขององค์พระ และสิ่งประกอบที่รายรอบ
ทุกอย่างมันดูสวยงาม
และจากความสวยงามที่คุณเห็น ต่อมาคุณจะสัมผัสได้ถึงแรงศรัทธาในการสร้าง
ที่หากไม่ตั้งใจและทุ่มเท ความงามแบบนี้คงไม่ได้ถูกรังสรรค์ขึ้นมากให้เราได้สัมผัส
เมื่อคุณเดินไปด้านหลังพระวิหารจะเป็น พระธาตุดอยพระฌานที่มีมาแต่ดั้งเดิม
ตัวพระธาตุ เป็นเจดีย์สีขาวมีปลียอดและฉัตรสีทอง ข้างหน้าเป็นดวงแก้วเล็ก ๆ ที่สะท้อนเงาของพระธาตุอยู่ในนั้น
หลังจากเดินทะลุผ่านวิหาร และองค์พระธาตุ คุณถึงจะเจอองค์พระใหญ่ไดบุตสึ
พระใหญ่ที่ดอยพระญาน เป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง ธยานมุทรา (ปางสมาธิ) หน้าตักกว้าง 14 เมตร
ทำจากทองแดง ตัวองค์พระเองมีสีเขียว จากสนิมทองแดงหรือ Patina ที่เป็นสนิมดีของทองแดงที่ช่วยป้องกันไม่ให้องค์พระถูกกัดกร่อน
แม้องค์พระจะเป็นองค์จำลองคล้ายกับพระใหญ่ไดบุตสึ ที่คามาคุระ ประเทศญี่ปุ่น
แต่หากคุณเคยไปมาทั้งสองที่ คุณจะรู้สึกว่าทั้งสององค์นั้นแตกต่าง โดยเฉพาะพระพักต์ขององค์พระ
ที่ผมจ้องมองอยู่นาน และยิ่งมองก็รู้สึกราวกับว่า ท่านเกิดที่นี่และที่นี่เป็นที่ที่ท่านอยากมาอยู่
อีกส่วนหนึ่งที่ผมไม่อาจละการกล่าวถึงได้คือ Landscape บริเวณรอบองค์พระ
ทุกอย่างมันดูลงตัวไปหมด จนผมบรรยายไม่ถูก และจนผมเผลอจ้องมองทุกสิ่งอย่างอยู่นาน
จนทีมที่มาด้วยกันบอกว่า กลับเถอะซื้อตั๋วสองแถว ลงจากตัวองค์พระสู่ลานจอดรถให้แล้ว นั้นแหละผมถึงยอมลง
และหากมีโอกาส วัดพระธาตุดอยพระฌานเป็นอีกที่หนึ่งที่ผมตั้งใจว่าอยากกลับมาอีกครั้ง
จะได้มีโอกาสยืนนิ่ง ๆ เสพและจมดิ่งกับความงามและศรัทธาแห่งล้านนาให้เต็มที่
และเก็บความรู้สึกดีดีแบบนี้ชาร์จเก็บไว้ใช้ในวันที่รู้สึกเหนื่อยล้าและหมดพลัง
#เหล็กไม่เอาถ่าน
วัดพระธาตุดอยพระฌาณ
แม้สมัยเรียนจะเคยสังกัด ชมรมสมาธิ แต่ก็เข้าโบสถ์คริสต์ อ่านเต๋า ศึกษาเซน และสนใจในทุกศาสนา
การเข้าวัดส่วนใหญ่ของผมมักไปในงานพิธี และต้องมีปัจจัยเกื้อหนุนอย่าง เส้นทาง และเวลา
ครั้งนี้ก็เช่นกัน ด้วยเหตุงานวิจัย และการไปตรวจสอบงานวิเคราะห์ความเสียหายที่ลำปางเสร็จก่อนเวลาที่คาดไว้
และทุกคนในทีมที่ไปด้วยลงมติและพร้อมจะเดินทางไปด้วยกัน
วัดพระธาตุดอยพระฌาน ที่มีพระใหญ่ตั้งอยู่จึงถูกกำหนดไว้เป็นหมุดหมายที่ทางทีมตั้งใจแวะก่อนกลับเมืองกรุง
ข้อมูลจากกูเกิ้ลระบุไว้ว่า วัดพระธาตุดอยพระฌาน ตั้งอยู่ที่ ตำบลป่าตัน อำเภอ แม่ทะ จังหวัดลำปาง
ระยะทางขจัดจากเส้นพหลโยธินที่เป็นเส้นหลักในการเดินทางขึ้นเหนือ วัดได้ประมาณ 8.35 กิโลเมตร
ตัววัดแต่เดิมเป็นวัดเก่าตั้งอยู่บนดอยพระฌาน และมีการสร้างพระธาตุขึ้นบนยอดเขาตั้งแต่ปี 2445
และเริ่มเกิดเป็นงานประเพณีขึ้นดอยพระธาตุประจำปีเมื่อปี 2496
และเริ่มมีการบูรณวัดครั้งใหญ่เมื่อปี 2551 โดยพระอาจารย์พรชัย อคควังโส
หนทางขึ้นดอยพระฌาน มีสองเส้นทาง ทางแรกเป็นเส้นทางสบายรอนั่งรถสองแถวอ้อมขึ้นหลังเขาตรงสู่พระใหญ่
ส่วนอีกเส้นเป็นทางพิสูจน์ศรัทธาและสุขภาพ เพราะเป็นทางเดินขึ้นดอยด้วยลำแข้ง
ระยะทางประมาณ 400 เมตร ผ่านบันได 628 ขั้น
แต่ 400 เมตร ที่เขียนเอาไว้นั้น เป็นระยะแม้ว เพราะเป็นระยะทางที่ตัดเกือบจะตรงมุ่งสู่วิหารพระพุทธเจ้าองค์ปฐม
ดังนั้นหากสุขภาพไม่ดีเรียกว่ามีหอบเพราะความชันกับปริมาณออกซิเจนที่ลดลงสวนทางกับระกับความสูง
แต่ต้องบอกว่า หากคุณเดินไปถึงจุดหมายก็หายเหนื่อยกับวิวและทิวทัศน์ที่อยู่ตรงหน้า
และกล้องถ่ายรูปใดใดก็ไม่สามารถบันทึกความงามที่ตาคุณมองเห็นรอบ ๆ ตัววัดได้
เมื่อคุณเดินเข้ามาที่ตัววิหารพระพุทธเจ้าองค์ปฐม ซึ่งประดิษฐาน
“สมเด็จพระพุทธสิกขีทศพลญาณ พิชิตมารวิกรม ปฐมสัมมาสัมโพธิญาณ ศรีพระฌานบรรพต” ในซุ้มเรือนแก้วสีทอง
อย่างแรกที่คุณจะสัมผัสได้คือความงามขององค์พระ และสิ่งประกอบที่รายรอบ
ทุกอย่างมันดูสวยงาม
และจากความสวยงามที่คุณเห็น ต่อมาคุณจะสัมผัสได้ถึงแรงศรัทธาในการสร้าง
ที่หากไม่ตั้งใจและทุ่มเท ความงามแบบนี้คงไม่ได้ถูกรังสรรค์ขึ้นมากให้เราได้สัมผัส
เมื่อคุณเดินไปด้านหลังพระวิหารจะเป็น พระธาตุดอยพระฌานที่มีมาแต่ดั้งเดิม
ตัวพระธาตุ เป็นเจดีย์สีขาวมีปลียอดและฉัตรสีทอง ข้างหน้าเป็นดวงแก้วเล็ก ๆ ที่สะท้อนเงาของพระธาตุอยู่ในนั้น
หลังจากเดินทะลุผ่านวิหาร และองค์พระธาตุ คุณถึงจะเจอองค์พระใหญ่ไดบุตสึ
พระใหญ่ที่ดอยพระญาน เป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง ธยานมุทรา (ปางสมาธิ) หน้าตักกว้าง 14 เมตร
ทำจากทองแดง ตัวองค์พระเองมีสีเขียว จากสนิมทองแดงหรือ Patina ที่เป็นสนิมดีของทองแดงที่ช่วยป้องกันไม่ให้องค์พระถูกกัดกร่อน
แม้องค์พระจะเป็นองค์จำลองคล้ายกับพระใหญ่ไดบุตสึ ที่คามาคุระ ประเทศญี่ปุ่น
แต่หากคุณเคยไปมาทั้งสองที่ คุณจะรู้สึกว่าทั้งสององค์นั้นแตกต่าง โดยเฉพาะพระพักต์ขององค์พระ
ที่ผมจ้องมองอยู่นาน และยิ่งมองก็รู้สึกราวกับว่า ท่านเกิดที่นี่และที่นี่เป็นที่ที่ท่านอยากมาอยู่
อีกส่วนหนึ่งที่ผมไม่อาจละการกล่าวถึงได้คือ Landscape บริเวณรอบองค์พระ
ทุกอย่างมันดูลงตัวไปหมด จนผมบรรยายไม่ถูก และจนผมเผลอจ้องมองทุกสิ่งอย่างอยู่นาน
จนทีมที่มาด้วยกันบอกว่า กลับเถอะซื้อตั๋วสองแถว ลงจากตัวองค์พระสู่ลานจอดรถให้แล้ว นั้นแหละผมถึงยอมลง
และหากมีโอกาส วัดพระธาตุดอยพระฌานเป็นอีกที่หนึ่งที่ผมตั้งใจว่าอยากกลับมาอีกครั้ง
จะได้มีโอกาสยืนนิ่ง ๆ เสพและจมดิ่งกับความงามและศรัทธาแห่งล้านนาให้เต็มที่
และเก็บความรู้สึกดีดีแบบนี้ชาร์จเก็บไว้ใช้ในวันที่รู้สึกเหนื่อยล้าและหมดพลัง
#เหล็กไม่เอาถ่าน