อ้างอิงแฟนเพจ Thai Vietjet ที่ออกมาแจ้งว่าสามารถออก e-Tax invoice ได้
ถ้าเราจองตั๋วเครื่องบินภายใน 15 กุมภาพันธ์ 2567 แต่วันเดินจริงคือหลัง 15 กุมภาพันธ์ ไม่สามารถนำ e -Tax นั้นมาคำนวณลดหย่อนได้นะครับ ต้องจองและเดินทางภายใน 15 กุมภาพันธ์ 2567 เท่านั้น
อ้างอิง ข้อกำหนดสรรพกร สินค้าและบริการที่ไม่รองรับมาตรการลดหย่อนภาษี Easy E-Receipt 2567
ข้อที่ 6 ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 แสดงว่าถ้าเข้าเงื่อนไขข้อนี้ จะใช้ลดหย่อนภาษีไม่ได้
เที่ยวนี้ มีเงินคืน✨
จองตั๋วเครื่องบินไทยเวียตเจ็ท ไปกับโครงการ Easy E-Receipt ได้แล้ววันนี้ ใบกำกับภาษีสามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท* ตั้งแต่วันนี้ - 15 กุมภาพันธ์ 2567
เงื่อนไขในการใช้สิทธิ์🧾
• สามารถออก e-Tax invoice ได้เฉพาะเดือนที่จองเท่านั้น
• หลังจากการจองตั๋วเครื่องบินเมื่อชำระเงินเสร็จสามารถออก e-Tax invoice ได้เลย
• สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีเฉพาะใบกำกับภาษี (e-Tax invoice) หรือใบเสร็จรับเงิน (e-Receipt) ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
• เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ และกรมสรรพากรกําหนด
ลองเช็คค่าตั๋วเครื่องบิน ก็มี VAT อยู่ แสดงว่าเอามาลดหย่อยได้จริง
Easy E-Receipt ใช้ซื้อสินค้าและบริการอะไรได้บ้าง
1. ประเภทสินค้าและบริการที่ผู้ประกอบการสามารถออก e-Tax invoice ได้
สามารถซื้อสินค้าและรับบริการต่าง ๆ ได้หลากหลาย โดยจะต้องดำเนินการโดยผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่สามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) พร้อมต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการได้ เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ การรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ร้าน สปาและเสริมสวย ค่าซื้อแพ็กเกจทัวร์ท่องเที่ยวในประเทศ ค่าที่พักหรือโรงแรม เป็นต้น
สามารถตรวจสอบสินค้าและบริการที่ผู้ประกอบการสามารถออก e-Tax invoice ได้ที่นี่
2. ประเภทสินค้าและบริการที่ผู้ประกอบการสามารถออก e-Receipt ได้ แต่ไม่สามารถออก e-Tax invoice ได้
หากซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่ไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมีใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) พร้อมต้องระบุชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วย โดยซื้อสินค้าและบริการได้เฉพาะรายการดังต่อไปนี้
ค่าซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งได้ลงทะเบียนกับ กรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
สินค้าและบริการที่ไม่รองรับมาตรการลดหย่อนภาษี Easy E-Receipt
1 ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
2 ค่าซื้อยาสูบ
3 ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
4 ค่าน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
5 ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ และค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
6 ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567
7 ค่าเบี้ยประกันภัยและประกันวินาศภัย
8 ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศัลยกรรม
9 ค่าซื้อบัตรเพื่อแลกรับบริการ
10 ค่าซื้อบัตรของขวัญของห้างสรรพสินค้า (Gift voucher) ค่าซื้อบัตรของขวัญ (Voucher)
ลดหย่อนภาษี E-Reciept ประจำปีภาษี 2567 ตั๋วเครื่องบิน
ถ้าเราจองตั๋วเครื่องบินภายใน 15 กุมภาพันธ์ 2567 แต่วันเดินจริงคือหลัง 15 กุมภาพันธ์ ไม่สามารถนำ e -Tax นั้นมาคำนวณลดหย่อนได้นะครับ ต้องจองและเดินทางภายใน 15 กุมภาพันธ์ 2567 เท่านั้น
อ้างอิง ข้อกำหนดสรรพกร สินค้าและบริการที่ไม่รองรับมาตรการลดหย่อนภาษี Easy E-Receipt 2567
ข้อที่ 6 ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 แสดงว่าถ้าเข้าเงื่อนไขข้อนี้ จะใช้ลดหย่อนภาษีไม่ได้
เที่ยวนี้ มีเงินคืน✨
จองตั๋วเครื่องบินไทยเวียตเจ็ท ไปกับโครงการ Easy E-Receipt ได้แล้ววันนี้ ใบกำกับภาษีสามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท* ตั้งแต่วันนี้ - 15 กุมภาพันธ์ 2567
เงื่อนไขในการใช้สิทธิ์🧾
• สามารถออก e-Tax invoice ได้เฉพาะเดือนที่จองเท่านั้น
• หลังจากการจองตั๋วเครื่องบินเมื่อชำระเงินเสร็จสามารถออก e-Tax invoice ได้เลย
• สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีเฉพาะใบกำกับภาษี (e-Tax invoice) หรือใบเสร็จรับเงิน (e-Receipt) ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
• เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ และกรมสรรพากรกําหนด
ลองเช็คค่าตั๋วเครื่องบิน ก็มี VAT อยู่ แสดงว่าเอามาลดหย่อยได้จริง
Easy E-Receipt ใช้ซื้อสินค้าและบริการอะไรได้บ้าง
1. ประเภทสินค้าและบริการที่ผู้ประกอบการสามารถออก e-Tax invoice ได้
สามารถซื้อสินค้าและรับบริการต่าง ๆ ได้หลากหลาย โดยจะต้องดำเนินการโดยผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่สามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) พร้อมต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการได้ เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ การรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ร้าน สปาและเสริมสวย ค่าซื้อแพ็กเกจทัวร์ท่องเที่ยวในประเทศ ค่าที่พักหรือโรงแรม เป็นต้น
สามารถตรวจสอบสินค้าและบริการที่ผู้ประกอบการสามารถออก e-Tax invoice ได้ที่นี่
2. ประเภทสินค้าและบริการที่ผู้ประกอบการสามารถออก e-Receipt ได้ แต่ไม่สามารถออก e-Tax invoice ได้
หากซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่ไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมีใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) พร้อมต้องระบุชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วย โดยซื้อสินค้าและบริการได้เฉพาะรายการดังต่อไปนี้
ค่าซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งได้ลงทะเบียนกับ กรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
1 ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
2 ค่าซื้อยาสูบ
3 ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
4 ค่าน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
5 ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ และค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
6 ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567
7 ค่าเบี้ยประกันภัยและประกันวินาศภัย
8 ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศัลยกรรม
9 ค่าซื้อบัตรเพื่อแลกรับบริการ
10 ค่าซื้อบัตรของขวัญของห้างสรรพสินค้า (Gift voucher) ค่าซื้อบัตรของขวัญ (Voucher)