เวลากลับไทย ญาติๆชอบถามว่าโดนเหยียดสีผิว หรือรุมทำร้ายมั้ย? ประมาณว่าไม่ชอบหน้าชะนีเหลือง คำตอบคือไม่มี aggressive ตรงๆแบบนั้น แค่มันจะเป็นการเหยียดที่ subtle และ passive กว่านั้นเยอะ เหยียดแบบคนมีการศึกษา ว่างั้น
context ที่ไม่เกี่ยวกับอาชีพ เช่น นั่ง Uber ละโดนถามว่าอยู่ที่ US ได้ยังไง สามีเป็น citizen รึเปล่า (เริ่มมาละ) พอบอกว่าเปล่าหนิ เขาก็ถามต่อว่าทำไมไม่แต่งงานกับ citizen ละ จะได้ greencard? คนปกติควรจะต้องรู้สึก offened แต่เรากลับรู้สึกแบบ เอ๊ะ!? ตอบติดตลกไปว่า ชั้นก็ได้กรีนการ์ดด้วยตัวเองได้นะ ที่ทำงาน sponsor ให้อยู่ ถ้าจะหาสามี อยากได้รวยๆมากกว่า ไม่งั้นหลังกรีนการ์ดมาอาจต้องขับอูเบอร์ จ๊อบเสริมละ
context ที่เกี่ยวกับอาชีพ อันนี้จะปล่อยผ่าน มองให้ตลกไม่ได้ละ ความท้าทายของการเป็น ผญ เอเชียน อายุน้อย
1. นร สงสัยในคุณวุฒิ: ตอนเป็น นร. ปริญญาเอก แล้วต้องสอน นร. ปริญญาโท ด้วยวุฒิปริญญาโท คือความท้าทายมาก เพราะผู้เรียน doubt ในความรู้และประสบการณ์เรา ซึ่งมีส่วนที่ถูกและไม่ถูก การสอน undergrad จะปวดหัวเรื่องคุณภาพ assignment และความรับผิดชอบของเด็ก แต่พอ สอน ป. โท ปัญหาหลักๆ คือ นร. คิดว่าเขารู้มากกว่าผู้สอน เพราะ
- บางคนโทใบที่ 2,3 หรือบางคนอาจมี ป เอก สาขาอื่นติดมา พออาจารย์ที่สอนมีแค่วุฒิ ป โท เขาก็ไม่เชื่อถือ
- บางคนเขาทำงานใน industry มา 20 ปี เขาเชื่อว่าเขารู้งานจริง ของจริง แต่อาจารย์ผู้สอนเป็นเด็กทำงานใน industry มา 4-5 ปี ที่เหลือนั่งทำวิจัย มันก็เกิดการ challenge ระหว่างในตำรากับของจริง
ส่วนที่ถูกคือ industry experience มันมี value มากๆ ตัวเราเองก็เรียนรู้จาก นร ที่มีประสบการณ์ในสายอาชีพมากกว่า แต่ที่ผิดคือมันไม่ใช่สิ่งที่จะมาเปรียบเทียบกัน เพราะถ้าสาย industry มี value สาย research ก็มี value ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ในการสร้างองค์ความรู้ขึ้นมา อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆที่มัน work และ ไม่ work เชิงวิทยาศาสตร์และเหตุผล รวมถึงสร้างนวัตกรรมต่างๆออกมา ซึ่งสิ่งที่ออกมาจาก lab มันก็วนไปเป็น standard ให้ practitioner ในอุตสาหกรรมต่อไป มันเป็นอะไรที่ส่งเสริมกัน มากกว่าจะมาแข่งขันกันว่าอะไรมีคุณค่ามากกว่า ประโยชน์ของ argument นี้คือตรงไหน?
ปัญหาเรื่องวุฒิก็จบไป พอเรียนจบและไปเปลี่ยน profile ว่า PhD นักเรียนก็รู้สึกคุ้มค่าเรียนขึ้น ทั้งๆที่ความรู้ที่สอนก็เหมือนเดิม แค่ title เปลี่ยน student evaluation ตอนเป็น ดร แล้ว ดีกว่าตอนสอนด้วยวุฒิ ป โท เยอะมาก ทั้งๆที่สอนแบบเดิม เคยเอาเรื่องนี่ไปปรึกษาเพื่อนร่วมงาน อาจารย์คนอื่น เขาบอกว่ามันมี bias เรื่องวุฒิจริงๆ และมันยังมี bias เรื่องเพศด้วย เขาเล่าให้ฟังว่าอาจารย์ผู้ชาย จะได้รับการประเมินที่ดีกว่า อจ ผญ เป็นเรื่องปกติ
2. นร สงสัยในวัยวุฒิ: สืบเนื่องมาจากคุณวุฒิ คนที่ทำงานมา 20 ปี หรือมี ป โทหลายใบ พ่วง ป เอก สิ่งที่ตามว่าคือวัยวุฒิ นร หลายๆคน ใน course คือ 40+ ที่ US อาจจะต่างจากไทยที่ส่วนใหญ่จบช้า หรือจบแล้วก็ไม่ได้เรียต่อทันที พอผู้สอนดูเด็กกว่าเยอะมากๆ มันก็มีข้อสงสัยเรื่องความน่าเชื่อถือ และด้วยความเป็น Asian ถึงจะ 30 กว่า แต่มันดูเหมือน 20 กว่า สภาพคือเหมือนเอา undergrad เอาสอน master level ตอนนี้เริ่มเข้าใจแล้วว่าทำไม อจ ฝรั่งคนอื่นๆ รูป profile สบายๆ แต่พวก อจ เอเชี่ยนคือต้อง professional look เลย ผมรวบ ถ้าห้ามแตกแถว เหมือนติดบัตรประชาชน ไม่ยิ้ม ส่วนตัวไม่ชอบแบบนั้น แต่กำลังคิดว่าจะเอาแว่นปลอมมาใส่ให้ดูแก่ขึ้นดีมั้ยนะ (ละจะทำเลซิกไปเพื่ออะไร?!)
มีเพื่อนคนจีนที่สอน โดนเด็กเล่นซะเละเลย หลักๆคือเด็กบ่นตอนประเมินว่าฟังภาษาอังกฤษเขาไม่ออก สอนไม่รู้เรื่อง (แต่ก็แอบฟังยากจริง ต้องคุยไปเรื่อยๆ ถึงจะชินสำเนียงเขา)
ในส่วน part ของงานวิจัย ดีขึ้นมาหน่อย ไม่ได้รู้สึกว่ามีขอบเขตเรื่องเชื้อชาติหรืออายุ ส่วนเรื่องคุณวุฒิก็ไม่มีปัญหาอะไร ไม่ต่องแบกรับความคาดหวังของผู้เรียน แต่กลับไปแบกรับความคาดหวังของตัวเอง ซึ่งหนักกว่าเยอะมาก imposter syndrome เป็นระลอกๆ ยังดีไม่พอ เท่าไหร่ก็ไม่พอ ส่วนเพื่อนร่วมงานคนอื่นที่เจอปัญหาเหยียด เช่น อจ ผช บางคนไม่ให้ค่า เวลา อจ ผญ บางคนเสนอว่าคิดเห็น ก็นั่งพิมพ์นั่นนี่ ไม่ฟัง
ใครเป็นอาจารย์เจอปัญหาอะไรบ้าง? คนที่ทำงานที่ต่างประเทศ เจอเหยียดแบบไหนบ้าง รับมือยังไง?
ปัญหาของการเป็นอาจารย์ ที่ต่างประเทศ: การยอมรับ ความคาดหวัง เชื้อชาติและอายุ
context ที่ไม่เกี่ยวกับอาชีพ เช่น นั่ง Uber ละโดนถามว่าอยู่ที่ US ได้ยังไง สามีเป็น citizen รึเปล่า (เริ่มมาละ) พอบอกว่าเปล่าหนิ เขาก็ถามต่อว่าทำไมไม่แต่งงานกับ citizen ละ จะได้ greencard? คนปกติควรจะต้องรู้สึก offened แต่เรากลับรู้สึกแบบ เอ๊ะ!? ตอบติดตลกไปว่า ชั้นก็ได้กรีนการ์ดด้วยตัวเองได้นะ ที่ทำงาน sponsor ให้อยู่ ถ้าจะหาสามี อยากได้รวยๆมากกว่า ไม่งั้นหลังกรีนการ์ดมาอาจต้องขับอูเบอร์ จ๊อบเสริมละ
context ที่เกี่ยวกับอาชีพ อันนี้จะปล่อยผ่าน มองให้ตลกไม่ได้ละ ความท้าทายของการเป็น ผญ เอเชียน อายุน้อย
1. นร สงสัยในคุณวุฒิ: ตอนเป็น นร. ปริญญาเอก แล้วต้องสอน นร. ปริญญาโท ด้วยวุฒิปริญญาโท คือความท้าทายมาก เพราะผู้เรียน doubt ในความรู้และประสบการณ์เรา ซึ่งมีส่วนที่ถูกและไม่ถูก การสอน undergrad จะปวดหัวเรื่องคุณภาพ assignment และความรับผิดชอบของเด็ก แต่พอ สอน ป. โท ปัญหาหลักๆ คือ นร. คิดว่าเขารู้มากกว่าผู้สอน เพราะ
- บางคนโทใบที่ 2,3 หรือบางคนอาจมี ป เอก สาขาอื่นติดมา พออาจารย์ที่สอนมีแค่วุฒิ ป โท เขาก็ไม่เชื่อถือ
- บางคนเขาทำงานใน industry มา 20 ปี เขาเชื่อว่าเขารู้งานจริง ของจริง แต่อาจารย์ผู้สอนเป็นเด็กทำงานใน industry มา 4-5 ปี ที่เหลือนั่งทำวิจัย มันก็เกิดการ challenge ระหว่างในตำรากับของจริง
ส่วนที่ถูกคือ industry experience มันมี value มากๆ ตัวเราเองก็เรียนรู้จาก นร ที่มีประสบการณ์ในสายอาชีพมากกว่า แต่ที่ผิดคือมันไม่ใช่สิ่งที่จะมาเปรียบเทียบกัน เพราะถ้าสาย industry มี value สาย research ก็มี value ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ในการสร้างองค์ความรู้ขึ้นมา อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆที่มัน work และ ไม่ work เชิงวิทยาศาสตร์และเหตุผล รวมถึงสร้างนวัตกรรมต่างๆออกมา ซึ่งสิ่งที่ออกมาจาก lab มันก็วนไปเป็น standard ให้ practitioner ในอุตสาหกรรมต่อไป มันเป็นอะไรที่ส่งเสริมกัน มากกว่าจะมาแข่งขันกันว่าอะไรมีคุณค่ามากกว่า ประโยชน์ของ argument นี้คือตรงไหน?
ปัญหาเรื่องวุฒิก็จบไป พอเรียนจบและไปเปลี่ยน profile ว่า PhD นักเรียนก็รู้สึกคุ้มค่าเรียนขึ้น ทั้งๆที่ความรู้ที่สอนก็เหมือนเดิม แค่ title เปลี่ยน student evaluation ตอนเป็น ดร แล้ว ดีกว่าตอนสอนด้วยวุฒิ ป โท เยอะมาก ทั้งๆที่สอนแบบเดิม เคยเอาเรื่องนี่ไปปรึกษาเพื่อนร่วมงาน อาจารย์คนอื่น เขาบอกว่ามันมี bias เรื่องวุฒิจริงๆ และมันยังมี bias เรื่องเพศด้วย เขาเล่าให้ฟังว่าอาจารย์ผู้ชาย จะได้รับการประเมินที่ดีกว่า อจ ผญ เป็นเรื่องปกติ
2. นร สงสัยในวัยวุฒิ: สืบเนื่องมาจากคุณวุฒิ คนที่ทำงานมา 20 ปี หรือมี ป โทหลายใบ พ่วง ป เอก สิ่งที่ตามว่าคือวัยวุฒิ นร หลายๆคน ใน course คือ 40+ ที่ US อาจจะต่างจากไทยที่ส่วนใหญ่จบช้า หรือจบแล้วก็ไม่ได้เรียต่อทันที พอผู้สอนดูเด็กกว่าเยอะมากๆ มันก็มีข้อสงสัยเรื่องความน่าเชื่อถือ และด้วยความเป็น Asian ถึงจะ 30 กว่า แต่มันดูเหมือน 20 กว่า สภาพคือเหมือนเอา undergrad เอาสอน master level ตอนนี้เริ่มเข้าใจแล้วว่าทำไม อจ ฝรั่งคนอื่นๆ รูป profile สบายๆ แต่พวก อจ เอเชี่ยนคือต้อง professional look เลย ผมรวบ ถ้าห้ามแตกแถว เหมือนติดบัตรประชาชน ไม่ยิ้ม ส่วนตัวไม่ชอบแบบนั้น แต่กำลังคิดว่าจะเอาแว่นปลอมมาใส่ให้ดูแก่ขึ้นดีมั้ยนะ (ละจะทำเลซิกไปเพื่ออะไร?!)
มีเพื่อนคนจีนที่สอน โดนเด็กเล่นซะเละเลย หลักๆคือเด็กบ่นตอนประเมินว่าฟังภาษาอังกฤษเขาไม่ออก สอนไม่รู้เรื่อง (แต่ก็แอบฟังยากจริง ต้องคุยไปเรื่อยๆ ถึงจะชินสำเนียงเขา)
ในส่วน part ของงานวิจัย ดีขึ้นมาหน่อย ไม่ได้รู้สึกว่ามีขอบเขตเรื่องเชื้อชาติหรืออายุ ส่วนเรื่องคุณวุฒิก็ไม่มีปัญหาอะไร ไม่ต่องแบกรับความคาดหวังของผู้เรียน แต่กลับไปแบกรับความคาดหวังของตัวเอง ซึ่งหนักกว่าเยอะมาก imposter syndrome เป็นระลอกๆ ยังดีไม่พอ เท่าไหร่ก็ไม่พอ ส่วนเพื่อนร่วมงานคนอื่นที่เจอปัญหาเหยียด เช่น อจ ผช บางคนไม่ให้ค่า เวลา อจ ผญ บางคนเสนอว่าคิดเห็น ก็นั่งพิมพ์นั่นนี่ ไม่ฟัง
ใครเป็นอาจารย์เจอปัญหาอะไรบ้าง? คนที่ทำงานที่ต่างประเทศ เจอเหยียดแบบไหนบ้าง รับมือยังไง?