ย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 1634 (พ.ศ. 2177) ที่ประเทศเนเธอแลนด์ ตอนนั้นถือเป็นยุคการค้าเฟื่องฟู เนเธอแลนด์มีตลาดหุ้น มีระบบการค้าที่ทันสมัย พ่อค้ามักนำสิ่งแปลกใหม่จากโลกตะวันออกเข้ามาขายให้ชาวยุโรป เช่น ชาจากจีน กาแฟจากอาหรับ และดอกทิวลิปจากออตโตมัน (ตุรกีในปัจจุบัน)
.
ด้วยรูปร่างและสีสันที่สวยงาม ทำให้ดอกทิวลิปกลายเป็นที่นิยมมาก นักลงทุนและเศรษฐีหลายคนยอมลงทุนในราคาที่สูง เพราะหวังว่าราคาจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่นานทิวลิปก็กลายเป็นสินค้าหรูหราและสัญลักษณ์แสดงสถานะทางสังคม
.
เมื่อเริ่มมีคนกลุ่มหนึ่งลงทุน กลุ่มคนที่เหลือก็เริ่มเชื่อว่า การลงทุนในดอกทิวลิปเป็นนั้นเป็นการลงทุนที่ดี ผลักให้ราคาดอกทิวลิปสูงขึ้นไปอีก สัญญาทิวลิป 1 หัวซื้อขายเปลี่ยนมือกันมากกว่า 10 ครั้งภายในวันเดียว (ของจริงยังไม่งอกด้วยซ้ำ) ปั่นราคาขึ้นไปเรื่อยๆ ก่อนที่ท้ายที่สุดจะเกิดภาวะฟองสบู่แตก
.
หัวทิวลิปที่แพงที่สุดที่เคยขายคือ 'เซมเพอร์ ออกัสตัส' (Semper Augustus) ที่ราคา 5,200 กิลเดอร์ แพงกว่าราคาทองคำ ณ ตอนนั้นหลายร้อยเท่า แพงกว่ารายได้ของพ่อค้าในอัมสเตอร์ดัม แพงขนาดที่ทิวลิปหนึ่งหัวสามารถซื้อบ้านดีๆ ได้เลยทีเดียว
.
[ ฟองสบู่แตกครั้งแรกของโลก ]
.
กระแสดอกทิวลิปยังบูมต่อเนื่อง จนกระทั่งในเดือน ก.พ. 1637 (2180) สงครามเก็งราคาดอกทิวลิปก็จบลง เมื่อสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง การปลูกทิวลิปเริ่มประสบปัญหา ราคาของดอกทิวลิปดิ่งลงภายในข้ามคืน จาก 3,000 กิลเดอร์ (ราว 60,000 บาทในสมัยนั้น) เหลือเพียง 10 กิลเดอร์เท่านั้น (ราว 200 บาทในสมัยนั้น)
.
ปลายปี ค.ศ. 1637 Tulip Mania ก็ฟองสบู่แตก ผู้ซื้อประกาศว่าพวกเขาไม่สามารถจ่ายเงินในราคาสูงเพื่อซื้อหัวทิวลิปได้อีกต่อไป แม้ว่าจะไม่ใช่เหตุการณ์ร้ายแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศเพราะมีแต่คนรวยที่สามารถเก็งกำไร แต่ก็บ่อนทำลายความเชื่อมั่นในสังคม
.
นอกจากนี้ ด้วยราคาที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้มีครอบครัวชนชั้นกลางและครอบครัวที่ยากจนบางส่วนเข้ามาเก็งกำไรในตลาดทิวลิปด้วย บ้าน ที่ดิน และอุตสาหกรรมถูกจำนองเพื่อซื้อหัวทิวลิปไปเพื่อขายต่อในราคาที่สูงขึ้น
.
วิกฤตดอกทิวลิปถือเป็นวิกฤตฟองสบู่แรกๆ ในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้ เศรษฐกิจไม่ได้พังทลาย แต่ผู้คนจำนวนมากที่เก็งกำไรและมีส่วนร่วมในการซื้อและการค้าขายกลับกลายเป็นคนยากจนในชั่วข้ามคืน
.
[ บทเรียนที่ได้จากวิกฤตทิวลิป ]
.
อย่างไรก็ตาม Tulip Mania ถือเป็นเรื่องเล่าที่ถูกแต่งเติมเท่านั้น ไม่ใช่วิกฤตครั้งใหญ่ที่นำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของประเทศ ไม่ได้มีคนเจ็บตัวจากการเก็งกำไรมากขนาดนั้น ไม่ได้ถึงขั้นมีคนฆ่าตัวตายเหมือนวิกฤตอื่นๆ ที่เรารู้จัก
.
ถึงอย่างนั้น Tulip Mania มักถูกอ้างถึงว่าเป็นตัวอย่างคลาสสิกของฟองสบู่ทางการเงิน เมื่อราคาของบางสิ่งบางอย่างขึ้นลงในระดับผิดปกติ ไม่ใช่เพราะมูลค่าที่แท้จริง แต่เป็นเพราะผู้ที่ซื้อมันคาดหวังว่าจะสามารถขายมันได้อีกครั้งโดยมีกำไร
.
อ่านมาถึงตรงนี้ เชื่อว่าหลายคนคงเคยมีประสบการณ์พบเจอกับ Tulip Mania ในตลาดกันมาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้น ตลาดคริปโต หรือแม้กระทั่งตลาดของสะสม เมื่อสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งไม่ได้เป็นที่ต้องการจริงๆ แต่ถูกซื้อขายเพื่อเก็งกำไรเท่านั้น
.
อาจเป็นไอเดียที่ดีที่จะสำรวจตัวเองว่า วันนี้ เรากำลังลงทุนหรือมีส่วนทำให้เกิด Tulip Mania ในของบางอย่างหรือเปล่า หากวันที่ฟองสบู่แตกมาถึง เราพร้อมรับมือมากน้อยแค่ไหน
https://web.facebook.com/todaybizview
วิกฤตดอกทิวลิป (Tulip Mania) เมื่อครั้งหนึ่งดอกไม้เคยมีราคาแพงกว่าบ้าน ถือเป็นวิกฤตฟองสบู่ครั้งแรกของโลก
.
ด้วยรูปร่างและสีสันที่สวยงาม ทำให้ดอกทิวลิปกลายเป็นที่นิยมมาก นักลงทุนและเศรษฐีหลายคนยอมลงทุนในราคาที่สูง เพราะหวังว่าราคาจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่นานทิวลิปก็กลายเป็นสินค้าหรูหราและสัญลักษณ์แสดงสถานะทางสังคม
.
เมื่อเริ่มมีคนกลุ่มหนึ่งลงทุน กลุ่มคนที่เหลือก็เริ่มเชื่อว่า การลงทุนในดอกทิวลิปเป็นนั้นเป็นการลงทุนที่ดี ผลักให้ราคาดอกทิวลิปสูงขึ้นไปอีก สัญญาทิวลิป 1 หัวซื้อขายเปลี่ยนมือกันมากกว่า 10 ครั้งภายในวันเดียว (ของจริงยังไม่งอกด้วยซ้ำ) ปั่นราคาขึ้นไปเรื่อยๆ ก่อนที่ท้ายที่สุดจะเกิดภาวะฟองสบู่แตก
.
หัวทิวลิปที่แพงที่สุดที่เคยขายคือ 'เซมเพอร์ ออกัสตัส' (Semper Augustus) ที่ราคา 5,200 กิลเดอร์ แพงกว่าราคาทองคำ ณ ตอนนั้นหลายร้อยเท่า แพงกว่ารายได้ของพ่อค้าในอัมสเตอร์ดัม แพงขนาดที่ทิวลิปหนึ่งหัวสามารถซื้อบ้านดีๆ ได้เลยทีเดียว
.
[ ฟองสบู่แตกครั้งแรกของโลก ]
.
กระแสดอกทิวลิปยังบูมต่อเนื่อง จนกระทั่งในเดือน ก.พ. 1637 (2180) สงครามเก็งราคาดอกทิวลิปก็จบลง เมื่อสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง การปลูกทิวลิปเริ่มประสบปัญหา ราคาของดอกทิวลิปดิ่งลงภายในข้ามคืน จาก 3,000 กิลเดอร์ (ราว 60,000 บาทในสมัยนั้น) เหลือเพียง 10 กิลเดอร์เท่านั้น (ราว 200 บาทในสมัยนั้น)
.
ปลายปี ค.ศ. 1637 Tulip Mania ก็ฟองสบู่แตก ผู้ซื้อประกาศว่าพวกเขาไม่สามารถจ่ายเงินในราคาสูงเพื่อซื้อหัวทิวลิปได้อีกต่อไป แม้ว่าจะไม่ใช่เหตุการณ์ร้ายแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศเพราะมีแต่คนรวยที่สามารถเก็งกำไร แต่ก็บ่อนทำลายความเชื่อมั่นในสังคม
.
นอกจากนี้ ด้วยราคาที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้มีครอบครัวชนชั้นกลางและครอบครัวที่ยากจนบางส่วนเข้ามาเก็งกำไรในตลาดทิวลิปด้วย บ้าน ที่ดิน และอุตสาหกรรมถูกจำนองเพื่อซื้อหัวทิวลิปไปเพื่อขายต่อในราคาที่สูงขึ้น
.
วิกฤตดอกทิวลิปถือเป็นวิกฤตฟองสบู่แรกๆ ในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้ เศรษฐกิจไม่ได้พังทลาย แต่ผู้คนจำนวนมากที่เก็งกำไรและมีส่วนร่วมในการซื้อและการค้าขายกลับกลายเป็นคนยากจนในชั่วข้ามคืน
.
[ บทเรียนที่ได้จากวิกฤตทิวลิป ]
.
อย่างไรก็ตาม Tulip Mania ถือเป็นเรื่องเล่าที่ถูกแต่งเติมเท่านั้น ไม่ใช่วิกฤตครั้งใหญ่ที่นำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของประเทศ ไม่ได้มีคนเจ็บตัวจากการเก็งกำไรมากขนาดนั้น ไม่ได้ถึงขั้นมีคนฆ่าตัวตายเหมือนวิกฤตอื่นๆ ที่เรารู้จัก
.
ถึงอย่างนั้น Tulip Mania มักถูกอ้างถึงว่าเป็นตัวอย่างคลาสสิกของฟองสบู่ทางการเงิน เมื่อราคาของบางสิ่งบางอย่างขึ้นลงในระดับผิดปกติ ไม่ใช่เพราะมูลค่าที่แท้จริง แต่เป็นเพราะผู้ที่ซื้อมันคาดหวังว่าจะสามารถขายมันได้อีกครั้งโดยมีกำไร
.
อ่านมาถึงตรงนี้ เชื่อว่าหลายคนคงเคยมีประสบการณ์พบเจอกับ Tulip Mania ในตลาดกันมาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้น ตลาดคริปโต หรือแม้กระทั่งตลาดของสะสม เมื่อสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งไม่ได้เป็นที่ต้องการจริงๆ แต่ถูกซื้อขายเพื่อเก็งกำไรเท่านั้น
.
อาจเป็นไอเดียที่ดีที่จะสำรวจตัวเองว่า วันนี้ เรากำลังลงทุนหรือมีส่วนทำให้เกิด Tulip Mania ในของบางอย่างหรือเปล่า หากวันที่ฟองสบู่แตกมาถึง เราพร้อมรับมือมากน้อยแค่ไหน
https://web.facebook.com/todaybizview