[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เครดิตรูปภาพจากเฟสบุ๊ค
รูปนี้ไม่ใช่ภาพของอ.เทพศิริ สุขโสภา นะคะ แต่ออกแนวนี้ค่ะ
เนื่องในวันครูแห่งชาติ ขอระลึกถึงคุณครูท่านหนึ่งค่ะ
สมัยที่เรียนมัธยมต้น วิชาวาดเขียน คุณครูสั่งให้นักเรียนไปวาดภาพต้นไม้มาส่ง
เอินไปพบภาพต้นไม้ของ อาจารย์เทพศิริ สุขโสภา ศิลปินแห่งชาติ ท่านเป็นทั้งนักเขียนและจิตรกร
ภาพต้นไม้ที่ท่านวาดเป็นต้นไม้แห้งตายที่ไม่มีใบ ลำต้นสีน้ำตาล มองเห็นรายละเอียดของเปลือกไม้ที่ปริแตกไล่เฉดสีน้ำตาลแก่อ่อน มีรายละเอียดร่องหยาบของเปลือกไม้ที่น่าสนใจ จากลำต้นกลมหนาไล่ไปตามกิ่งก้านเรียวเล็กที่ส่วนยอด
ฝีมือระดับจิตรกรเอกเช่นนี้ ไม่ต้องสงสัยนะคะว่ามองเพลิน ให้ความรู้สึกลึกซึ้งแม้จะเป็นต้นไม้แห้งๆ สีน้ำตาลก็ตาม
เอินเฝ้ามองรูปนี้ แล้วตัดสินใจว่าจะวาดรูปต้นไม้แห้งๆ สีน้ำตาล เป็นรูปที่ระบายด้วยสีน้ำ ฝีมือคงทำได้แค่เด็กมัธยม แต่ก็พอใจกับรูปที่วาดเสร็จพร้อมส่งคุณครู
พอถึงวันที่ต้องส่งผลงาน เอินนำรูปที่วาดไปยื่นให้คุณครูที่นั่งรออยู่ที่โต๊ะหน้าชั้นเรียนด้วยความภูมิใจอย่างยิ่ง เพราะมีเอินคนเดียวที่วาดรูปต้นไม้ไม่มีใบ ไม่มีใครเหมือน ไม่เหมือนใคร หนึ่งเดียวของห้อง ปลื้มสุดๆ
คุณครูรับการบ้านไปพิจารณาอยู่สักครู่ แล้วหันมาบอกเรียบๆ ว่า
“ไปเอาสีเขียวมาซิ”
เอินก็ไปเอาสีเขียวในจานสีน้ำและพู่กันมาให้
คุณครูใช้พู่กันแต้มสีแล้ววาดรูปใบไม้ลงตามกิ่งก้านสีน้ำตาลเพียง 2-3 ใบ ให้เป็นตัวอย่างแล้วบอกว่า
“ไปวาดใบไม้เพิ่มเติมมานะ”
เอินอึ้ง พูดไม่ออก ความปลาบปลื้มในผลงานหายวับ ในสายตาของคุณครูคือ เอินทำงานไม่เสร็จ ยังไม่มีใบไม้ !
ก็ครูสั่งให้วาดต้นไม้นี่คะ ครูไม่ได้ระบุว่าต้องเป็นต้นไม้ที่มีใบเท่านั้น
แต่เอินเป็นเด็กดี ไม่เถียงครู กลับมาวาดเติมใบไม้สีเขียวให้เต็มต้น แต่ในใจอยากจะถามว่า
“ทำไมคุณครูไม่เข้าใจจินตนาการของหนู” เอินคาดหวังว่าครูสายศิลปะควรจะมองเห็นความงามของต้นไม้ที่ไม่มีใบ
ตอนนั้นเอินไม่ได้โกรธครูหรอกค่ะ รู้สึกเอ็นดูด้วยซ้ำว่าคุณครูคงไม่เข้าใจจินตนาการของเด็ก
การเล่าเรียนในยุคหลายสิบปีก่อน เป็นการเรียนที่เดินไปตามกรอบ บรรทัดฐานที่วางไว้ ไม่ได้มุ่งส่งเสริมให้เด็กมีจินตนาการหรือคิดต่าง คนรุ่นนั้นจึงยึดติดจนยากที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดหรือยอมรับความเห็นต่างของผู้อื่น และแทบไม่ได้ใช้สมองในส่วนของความคิดสร้างสรรค์เลย
ไม่แปลกใจที่ขณะนี้การศึกษาของไทยกำลังล้าหลังกว่าชาติอื่นๆ ในกลุ่มประเทศอาเชี่ยน แทบจะติดอันดับรองโหล่
มีเพียงเด็กเก่งบางคนทีโดดเด่นไปคว้ารางวัลระดับโลก แต่ไม่ใช่เด็กส่วนใหญ่ของประเทศ
ผลกระทบนี้ เราต้องมองที่ครูค่ะ
ครู...ผู้ควรจะต้องมีความรู้ควบคู่ไปกับคุณธรรม
สุดท้ายนี้ เอินขอกราบคารวะและสำนึกในพระคุณคุณครูทุกท่านที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้เอิน และคุณครูที่เอินเคารพรักยิ่ง ที่ได้ให้ทั้งความรู้และคำสอนในการใช้ชีวิต คือคุณพ่อคุณแม่เอินค่ะ
จินตนาการของเด็ก โดย ดรัสวันต์
สมัยที่เรียนมัธยมต้น วิชาวาดเขียน คุณครูสั่งให้นักเรียนไปวาดภาพต้นไม้มาส่ง
เอินไปพบภาพต้นไม้ของ อาจารย์เทพศิริ สุขโสภา ศิลปินแห่งชาติ ท่านเป็นทั้งนักเขียนและจิตรกร
ภาพต้นไม้ที่ท่านวาดเป็นต้นไม้แห้งตายที่ไม่มีใบ ลำต้นสีน้ำตาล มองเห็นรายละเอียดของเปลือกไม้ที่ปริแตกไล่เฉดสีน้ำตาลแก่อ่อน มีรายละเอียดร่องหยาบของเปลือกไม้ที่น่าสนใจ จากลำต้นกลมหนาไล่ไปตามกิ่งก้านเรียวเล็กที่ส่วนยอด
ฝีมือระดับจิตรกรเอกเช่นนี้ ไม่ต้องสงสัยนะคะว่ามองเพลิน ให้ความรู้สึกลึกซึ้งแม้จะเป็นต้นไม้แห้งๆ สีน้ำตาลก็ตาม
เอินเฝ้ามองรูปนี้ แล้วตัดสินใจว่าจะวาดรูปต้นไม้แห้งๆ สีน้ำตาล เป็นรูปที่ระบายด้วยสีน้ำ ฝีมือคงทำได้แค่เด็กมัธยม แต่ก็พอใจกับรูปที่วาดเสร็จพร้อมส่งคุณครู
พอถึงวันที่ต้องส่งผลงาน เอินนำรูปที่วาดไปยื่นให้คุณครูที่นั่งรออยู่ที่โต๊ะหน้าชั้นเรียนด้วยความภูมิใจอย่างยิ่ง เพราะมีเอินคนเดียวที่วาดรูปต้นไม้ไม่มีใบ ไม่มีใครเหมือน ไม่เหมือนใคร หนึ่งเดียวของห้อง ปลื้มสุดๆ
คุณครูรับการบ้านไปพิจารณาอยู่สักครู่ แล้วหันมาบอกเรียบๆ ว่า
“ไปเอาสีเขียวมาซิ”
เอินก็ไปเอาสีเขียวในจานสีน้ำและพู่กันมาให้
คุณครูใช้พู่กันแต้มสีแล้ววาดรูปใบไม้ลงตามกิ่งก้านสีน้ำตาลเพียง 2-3 ใบ ให้เป็นตัวอย่างแล้วบอกว่า
“ไปวาดใบไม้เพิ่มเติมมานะ”
เอินอึ้ง พูดไม่ออก ความปลาบปลื้มในผลงานหายวับ ในสายตาของคุณครูคือ เอินทำงานไม่เสร็จ ยังไม่มีใบไม้ !
ก็ครูสั่งให้วาดต้นไม้นี่คะ ครูไม่ได้ระบุว่าต้องเป็นต้นไม้ที่มีใบเท่านั้น
แต่เอินเป็นเด็กดี ไม่เถียงครู กลับมาวาดเติมใบไม้สีเขียวให้เต็มต้น แต่ในใจอยากจะถามว่า
“ทำไมคุณครูไม่เข้าใจจินตนาการของหนู” เอินคาดหวังว่าครูสายศิลปะควรจะมองเห็นความงามของต้นไม้ที่ไม่มีใบ
ตอนนั้นเอินไม่ได้โกรธครูหรอกค่ะ รู้สึกเอ็นดูด้วยซ้ำว่าคุณครูคงไม่เข้าใจจินตนาการของเด็ก
การเล่าเรียนในยุคหลายสิบปีก่อน เป็นการเรียนที่เดินไปตามกรอบ บรรทัดฐานที่วางไว้ ไม่ได้มุ่งส่งเสริมให้เด็กมีจินตนาการหรือคิดต่าง คนรุ่นนั้นจึงยึดติดจนยากที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดหรือยอมรับความเห็นต่างของผู้อื่น และแทบไม่ได้ใช้สมองในส่วนของความคิดสร้างสรรค์เลย
ไม่แปลกใจที่ขณะนี้การศึกษาของไทยกำลังล้าหลังกว่าชาติอื่นๆ ในกลุ่มประเทศอาเชี่ยน แทบจะติดอันดับรองโหล่
มีเพียงเด็กเก่งบางคนทีโดดเด่นไปคว้ารางวัลระดับโลก แต่ไม่ใช่เด็กส่วนใหญ่ของประเทศ
ผลกระทบนี้ เราต้องมองที่ครูค่ะ
ครู...ผู้ควรจะต้องมีความรู้ควบคู่ไปกับคุณธรรม
สุดท้ายนี้ เอินขอกราบคารวะและสำนึกในพระคุณคุณครูทุกท่านที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้เอิน และคุณครูที่เอินเคารพรักยิ่ง ที่ได้ให้ทั้งความรู้และคำสอนในการใช้ชีวิต คือคุณพ่อคุณแม่เอินค่ะ