กว่าจะมาถึงจุดนี้.....
วิคเตอร์ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านของแข็งใน "ยุคทอง" ของวงการแบดมินตันที่เคยรวบรวมเหล่าบรรดา "เทพๆ " ไว้เยอะที่สุดในประวัติศาสตร์วงการแบดมินตันก็ว่าได้ ไม่ว่าเพื่อนร่วมชาติรุ่นพี่อย่าง ปีเตอร์ หรือฝีมือระดับโลกอย่างลี หลิน เตาฟิค เชนจิน โมโมตะ ฯลฯ การได้มายืนอยู่จุดนี้จึงไม่ได้มาเพราะโชคช่วยแน่นอน และการ "ยืนระยะ" บนแท่นอันดับหนึ่งมาอย่างยาวนานของวิคเตอร์ ก็เป็นเรื่องที่ "นักแบดชาวไทย" ควรศึกษา
หันกลับมาที่วงการแบดฯ ของไทยเรา....พูดไม่แบบไม่เข้าข้าง ไต้หล้านี้ เราเองก็มีนักกีฬาแบดที่เก่งไม่แพ้ชาติอื่น แต่จุดอ่อนและแทบจะกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า mindset ของนักกีฬาแบดฯ ชาวไทยก็คือการละทิ้งpassion เมื่อเดินทางมาถึงจุดๆ หนึ่ง จุดที่บรรดาวงการสื่อยกย่องว่า "ประสบผลสำเร็จ" หากแต่ว่า "ความสำเร็จ" บนเส้นทางกีฬาอาชีพไม่ได้หยุดที่จุดๆ หนึ่งตายตัว ตราบใดที่ยังมีการจัดทัวร์นาเม้นต์อยู่ตลอดปีและเดือนละหลายๆ ครั้ง "ความสำเร็จ" ที่ว่านี้ก็จะเคลื่อนตัวตามไปจุดนั้นจุดนี้ด้วยเช่นกัน เรียกได้ว่ายังไม่ทันพ้นเดือน...ความสำเร็จที่เพิ่งได้มาหมาดๆ ก็กลายเป็นอดีตไปเสียแล้ว หากนักแบดอาชีพ(ย้ำว่ามืออาชีพ)ยังโอบกอดและชื่นชมความสำเร็จ(ของตัวเอง)อยู่ ณ จุดนั้น ความสำเร็จที่รออยู่ข้างหน้าและคู่แข่งบนเส้นทางอาชีพก็จะค่อยๆ ผ่านเขาไปเรื่อยๆ ทีละคนสองคน เขาจึงมีแนวโน้มที่จะเป็น "บันได" ให้คนอื่นๆ อย่างไม่ตั้งใจได้ และถูกทิ้งห่างออกไปเรื่อยๆ
นอกจาก "เขาทราย แกแล็คซี่" แล้ว ไทยเรายังหานักกีฬาที่สามารถยืนระยะบนจุดพีคสูงสุดบนเส้นทางอาชีพได้อย่างยาวนานแทบจะไม่มีเลย เราๆ ท่านๆ ต่างก็ตั้งคำถามเหมือนกันว่า ทำไม? คำตอบที่สั้นและสำคัญที่สุดคือองค์ประกอบของ "ตัวนักกีฬาเอง" นั่นก็คือทัศนะคติของนักกีฬา การมุ่งพัฒนาและเรียนรู้ทักษะขึ้นเรื่อยๆ แต่.... ดูเหมือนว่าเราจะถูกลงโปรแกรมไว้ที่ใต้จิตสำนึกมานานว่าการได้ตำแหน่งแชมป์นั้นถือว่าประสบความสำเร็จและสูงสุดแล้ว(ซึ่งก็เป็นความจริงนะ แต่เป็นแค่ความจริงระดับหนึ่ง) อะไรจะเกิดขึ้นถัดจากนี้ไปคือโบนัสหรือของแถม(เพราะข้าได้แชมป์โลกมาแล้ว) ต่างจากทัศนคติของนักกีฬาชาวต่างชาติอย่างเช่น วิคเตอร์ มาริน ลี หลิน เตาฟิค ฯ ที่แม้จะประสบความสำเร็จมากมายล้นไม้ล้นมือ แต่พวกเขายังหิวกระหายที่จะไขว่คว้าและ "ยืนระยะ" กับความสำเร็จครั้งแล้วครั้งเล่าเอาไว้ให้ได้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ เพราะความสำเร็จที่ว่านี้คือ "รายรับ" บนเส้นทางอาชีพของการเป็นนักแบดมินตันของเขา ยิ่งยืนระยะนานเท่าไหร่ รายรับก็จะค่อยกองพะเนินขึ้นเรื่อยๆ ต่างจากนักกีฬาประเภทมีทัศนะคติว่าการได้แชมป์คือความสำเร็จแล้ว
ตอนนี้ Petronas Malaysia Open ทำเอาแฟนแบดฯ ชาวไทยอารมณ์ค้างกันไม่น้อย เพราะไม่เหลือนักแบดไทยที่จะลุ้นให้ได้เข้ารอบลึกแล้ว เราก็คงมาตั้งรอลุ้น India Open อาทิตย์กันต่อไปอีก ว่าน้องวิวจะรักษาแชมป์ที่ชนะวิคเตอร์เมื่อปีที่แล้วได้ไหม? มาลุ้นกัลลลลลล์...5555555
ความแกร่งของวิคเตอร์ที่ยังรอการท้าท้าย และเรียนรู้จากนักกีฬาแบดไทย
วิคเตอร์ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านของแข็งใน "ยุคทอง" ของวงการแบดมินตันที่เคยรวบรวมเหล่าบรรดา "เทพๆ " ไว้เยอะที่สุดในประวัติศาสตร์วงการแบดมินตันก็ว่าได้ ไม่ว่าเพื่อนร่วมชาติรุ่นพี่อย่าง ปีเตอร์ หรือฝีมือระดับโลกอย่างลี หลิน เตาฟิค เชนจิน โมโมตะ ฯลฯ การได้มายืนอยู่จุดนี้จึงไม่ได้มาเพราะโชคช่วยแน่นอน และการ "ยืนระยะ" บนแท่นอันดับหนึ่งมาอย่างยาวนานของวิคเตอร์ ก็เป็นเรื่องที่ "นักแบดชาวไทย" ควรศึกษา
หันกลับมาที่วงการแบดฯ ของไทยเรา....พูดไม่แบบไม่เข้าข้าง ไต้หล้านี้ เราเองก็มีนักกีฬาแบดที่เก่งไม่แพ้ชาติอื่น แต่จุดอ่อนและแทบจะกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า mindset ของนักกีฬาแบดฯ ชาวไทยก็คือการละทิ้งpassion เมื่อเดินทางมาถึงจุดๆ หนึ่ง จุดที่บรรดาวงการสื่อยกย่องว่า "ประสบผลสำเร็จ" หากแต่ว่า "ความสำเร็จ" บนเส้นทางกีฬาอาชีพไม่ได้หยุดที่จุดๆ หนึ่งตายตัว ตราบใดที่ยังมีการจัดทัวร์นาเม้นต์อยู่ตลอดปีและเดือนละหลายๆ ครั้ง "ความสำเร็จ" ที่ว่านี้ก็จะเคลื่อนตัวตามไปจุดนั้นจุดนี้ด้วยเช่นกัน เรียกได้ว่ายังไม่ทันพ้นเดือน...ความสำเร็จที่เพิ่งได้มาหมาดๆ ก็กลายเป็นอดีตไปเสียแล้ว หากนักแบดอาชีพ(ย้ำว่ามืออาชีพ)ยังโอบกอดและชื่นชมความสำเร็จ(ของตัวเอง)อยู่ ณ จุดนั้น ความสำเร็จที่รออยู่ข้างหน้าและคู่แข่งบนเส้นทางอาชีพก็จะค่อยๆ ผ่านเขาไปเรื่อยๆ ทีละคนสองคน เขาจึงมีแนวโน้มที่จะเป็น "บันได" ให้คนอื่นๆ อย่างไม่ตั้งใจได้ และถูกทิ้งห่างออกไปเรื่อยๆ
นอกจาก "เขาทราย แกแล็คซี่" แล้ว ไทยเรายังหานักกีฬาที่สามารถยืนระยะบนจุดพีคสูงสุดบนเส้นทางอาชีพได้อย่างยาวนานแทบจะไม่มีเลย เราๆ ท่านๆ ต่างก็ตั้งคำถามเหมือนกันว่า ทำไม? คำตอบที่สั้นและสำคัญที่สุดคือองค์ประกอบของ "ตัวนักกีฬาเอง" นั่นก็คือทัศนะคติของนักกีฬา การมุ่งพัฒนาและเรียนรู้ทักษะขึ้นเรื่อยๆ แต่.... ดูเหมือนว่าเราจะถูกลงโปรแกรมไว้ที่ใต้จิตสำนึกมานานว่าการได้ตำแหน่งแชมป์นั้นถือว่าประสบความสำเร็จและสูงสุดแล้ว(ซึ่งก็เป็นความจริงนะ แต่เป็นแค่ความจริงระดับหนึ่ง) อะไรจะเกิดขึ้นถัดจากนี้ไปคือโบนัสหรือของแถม(เพราะข้าได้แชมป์โลกมาแล้ว) ต่างจากทัศนคติของนักกีฬาชาวต่างชาติอย่างเช่น วิคเตอร์ มาริน ลี หลิน เตาฟิค ฯ ที่แม้จะประสบความสำเร็จมากมายล้นไม้ล้นมือ แต่พวกเขายังหิวกระหายที่จะไขว่คว้าและ "ยืนระยะ" กับความสำเร็จครั้งแล้วครั้งเล่าเอาไว้ให้ได้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ เพราะความสำเร็จที่ว่านี้คือ "รายรับ" บนเส้นทางอาชีพของการเป็นนักแบดมินตันของเขา ยิ่งยืนระยะนานเท่าไหร่ รายรับก็จะค่อยกองพะเนินขึ้นเรื่อยๆ ต่างจากนักกีฬาประเภทมีทัศนะคติว่าการได้แชมป์คือความสำเร็จแล้ว
ตอนนี้ Petronas Malaysia Open ทำเอาแฟนแบดฯ ชาวไทยอารมณ์ค้างกันไม่น้อย เพราะไม่เหลือนักแบดไทยที่จะลุ้นให้ได้เข้ารอบลึกแล้ว เราก็คงมาตั้งรอลุ้น India Open อาทิตย์กันต่อไปอีก ว่าน้องวิวจะรักษาแชมป์ที่ชนะวิคเตอร์เมื่อปีที่แล้วได้ไหม? มาลุ้นกัลลลลลล์...5555555