Key Points
ในปี 2547 สหรัฐได้อนุมัติ “Gold ETF” และกองทุนทองคำเอสพีดีอาร์ (SPDR Gold Shares) เป็น “กองทุนแรก” ที่ถูกจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กให้เทรด Gold ETF ได้
หลังจากเกิด Gold ETF ขึ้น ราคาทอง “เปลี่ยนกรอบเล่น” ในระดับที่สูงขึ้นเป็นหลักพันดอลลาร์จากหลักร้อยดอลลาร์
สำหรับ Oil ETF ตัวแรกของสหรัฐ คือ “United States Oil Fund” (USO) ซึ่งเริ่มเทรดในปี 2549 และอ้างอิงตามราคาน้ำมันดิบในสหรัฐ (U.S. Crude Oil)
การคาดการณ์อนาคตก็อาจต้องย้อนมองรูปแบบที่เคยเกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร แม้ว่าประวัติศาสตร์ไม่จำเป็นต้องซ้ำรอยก็ได้ แต่การได้เห็น “แนวโน้มในอดีต” ก็สามารถใช้ประกอบการคาดการณ์แนวโน้มอนาคต
สำหรับบิตคอยน์ก็เช่นกัน หลายคนอาจสงสัยว่าราคาสินทรัพย์ดิจิทัลยอดนิยมนี้ในอนาคตจะเป็นเช่นไร จะทะยานทำสถิติสูงสุดรอบใหม่หรือจะร่วงแรงแทน หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) หรือ ก.ล.ต. ของสหรัฐอนุมัติกองทุน Bitcoin Spot ETF จนราคาบิตคอยน์ช่วงเช้าวันนี้ (11 ม.ค. 67) ขยับขึ้นเล็กน้อยที่ 0.92% อยู่ที่ 46,555 ดอลลาร์
กราฟราคา BTC (เครดิต: tradingview) -หลายคนมักเทียบ “บิตคอยน์” กับ “ทองคำ” โดยเปรียบบิตคอยน์เป็นดั่ง “ทองคำดิจิทัล” แห่งศตวรรษที่ 21
ดังนั้น เป็นที่น่าสนใจว่า ถ้าย้อนไปดูราคาสินทรัพย์ทางเลือกหลัก ๆ อย่าง “ทองคำ” และ “น้ำมัน” ที่มีกองทุน ETF ไปก่อนหน้านี้แล้ว ราคาทองคำและน้ำมันในตลาดโลกช่วงราว 2 ทศวรรษที่ผ่านมาเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร หลังจากที่ “Gold ETF” กับ “Oil ETF” ถือกำเนิดขึ้น เพื่ออาจใช้เป็น “หนึ่งในตัวอย่าง” ในการช่วยคาดการณ์อนาคตของราคาบิตคอยน์
ETF คือ อะไร
ETF ย่อมาจาก Exchange Traded Fund เป็นการรวมระหว่าง “กองทุนรวมดัชนี” กับ “หุ้น” เข้าด้วยกัน จึงทำให้ ETF สามารถซื้อขายได้เหมือนหุ้นแบบราคา Real Time และขณะเดียวกันก็กระจายความเสี่ยงได้อีกด้วย เพราะ ETF สามารถลงทุนในดัชนี SET50 หรือ SET100 ซึ่งเปรียบได้กับการลงทุนในหุ้น 50 ตัวหรือ 100 ตัวพร้อมกัน
สำหรับ ETF ในปัจจุบันมีตั้งแต่ Equity ETF/Index ETF อ้างอิงดัชนีราคาหุ้นในประเทศ, Sector ETF อ้างอิงดัชนีราคาหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรม, Foreign ETF อ้างอิงดัชนีราคาหุ้นต่างประเทศ, Gold ETF อ้างอิงดัชนีราคาทองคำ, Bond ETF อ้างอิงดัชนีราคาตราสารหนี้ และล่าสุด Bitcoin Spot ETF อ้างอิงดัชนีราคาบิตคอยน์ ซึ่ง Spot ก็เป็นการที่ ETF ถือครองบิตคอยน์โดยตรง ส่วน Bitcoin Futures ETF เป็นการที่ ETF ถือสัญญาซื้อขายราคาล่วงหน้าของบิตคอยน์
ราคาทองเปลี่ยนไปอย่างไร หลังเกิด Gold ETF
ในปี 2547 ก.ล.ต.ของสหรัฐได้อนุมัติ “Gold ETF” และกองทุนทองคำเอสพีดีอาร์ (SPDR Gold Shares) เป็น “กองทุนแรก” ที่ถูกจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กให้เทรด Gold ETF ได้ในวันที่ 15 พ.ย. ปีเดียวกัน
ก่อนหน้าที่จะเกิด Gold ETF ในปี 2547 นั้น นับตั้งแต่ปี 2527-2547 หรือ 20 ปี ราคาทองโลกเมื่อเทียบกับดอลลาร์ หรือ XAU/USD แกว่งไปมาอยู่ที่ราว 250-500 ดอลลาร์ แต่หลังจากที่เกิด Gold ETF ขึ้น ราคาทองก็ค่อย ๆ ไต่ระดับเป็นราว 1,000 ดอลลาร์ในปี 2551 เป็นราว 1,900 ดอลลาร์ในปี 2554 และร่วงลงมาที่ประมาณ 1,060 ดอลลาร์ในปี 2558 ต่อจากนั้นก็ทะยานมาที่ราว 2,000 ดอลลาร์ในปัจจุบัน
- กราฟราคาทองหลังจาก Gold ETF แจ้งเกิดในเดือน พ.ย. 2547 (เครดิต: tradingview) -จะเห็นได้ว่า หลังจากเกิด Gold ETF ขึ้น ราคาทอง “เปลี่ยนกรอบเล่น” ในระดับที่สูงขึ้นเป็นหลักพันดอลลาร์จากหลักร้อยดอลลาร์ แต่ยังมีความเหวี่ยงขึ้น-ลงที่รุนแรงมากขึ้นด้วย
นั่นเป็นเพราะ ETF เปิดโอกาสให้ผู้เล่นเป็นเจ้าของทองคำได้โดยไม่ต้องซื้อทองแท่งจริง ๆ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกและลดความยุ่งยากในการขนย้ายทอง เหล่าเงินทุนจึงสามารถเข้าถึงทองคำได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ดี ไม่อาจสรุปได้ว่า การที่ราคาทองนับจากวันที่ Gold ETF แจ้งเกิดวันแรกที่ราคาราว 450 ดอลลาร์ช่วงปลายปี 2547 มาจนถึงราคาราว 2,000 ดอลลาร์ในปัจจุบัน หรือปรับตัวขึ้น 345% นั้น จะมาจากปัจจัย Gold ETF เพียงอย่างเดียว
เหตุผลเป็นเพราะ “การขึ้น-ลงของราคาทอง” มีปัจจัยแวดล้อมอื่นด้วย ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อมั่นในการใช้ทองเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ การแข็งและอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ราคาน้ำมันโลก สงคราม วิกฤติเศรษฐกิจ การเก็งกำไรต่าง ๆ เป็นต้น แต่อย่างน้อยก็เป็นประวัติศาสตร์ราคาที่อาจนำมาเป็นหนึ่งในเกณฑ์ตัดสินใจพิจารณาลงทุนสินทรัพย์ได้
ราคาน้ำมันเปลี่ยนไปเช่นไร หลังเกิด Oil ETF
สำหรับ Oil ETF ตัวแรกของสหรัฐ คือ “United States Oil Fund” (USO) ซึ่งเริ่มเทรดในปี 2549 และอ้างอิงตามราคาน้ำมันดิบในสหรัฐ (U.S. Crude Oil) โดยในปี 2549 ราคาน้ำมันดิบ Crude Oil WTI อยู่ที่ราว 60-70 ดอลลาร์/บาร์เรล จากนั้นราคาก็ขึ้นไปที่ 139 ดอลลาร์/บาร์เรลในปี 2551 และลงมาที่ 42 ดอลลาร์/บาร์เรลในปี 2552 จากนั้นก็กลับมาขึ้นแตะ 112 ดอลลาร์/บาร์เรลในปี 2554
เท่านั้นยังไม่พอ ต่อจากนั้น ราคาก็ร่วงมาที่ 34 ดอลลาร์/บาร์เรลในปี 2559 พลิกมาขึ้นต่อที่ 70 ดอลลาร์/บาร์เรลในปี 2561 จากนั้นก็ลงไปที่ 19 ดอลลาร์/บาร์เรลในปี 2563 พลิกกลับมาทะยานที่ 111 ดอลลาร์/บาร์เรลในปี 2565 และจบที่ราว 70 ดอลลาร์/บาร์เรลในปัจจุบัน
ความผันผวนของกราฟราคาน้ำมัน (เครดิต: tradingeconomics) -จะเห็นได้ว่า ราคาน้ำมันเหวี่ยงมาก และ “ไม่ค่อยสัมพันธ์” กับการมีหรือไม่มีกองทุน Oil ETF เพราะในช่วงเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันเคยกลับไปทำจุดต่ำกว่าวันที่ Oil ETF แจ้งเกิดครั้งแรกด้วย
สาเหตุสำคัญเป็นเพราะน้ำมันเป็น “สินค้าโภคภัณฑ์” ราคาขึ้น-ลงมาจากปัจจัยหลักอย่างปริมาณน้ำมันที่ผลิตออกมากับความต้องการใช้ รวมถึงวิกฤติโลกต่าง ๆ อีกทั้งเป็นสินทรัพย์ที่เก็งกำไรสูงด้วย ต่างจากทองคำที่เป็นสินทรัพย์ในการรักษามูลค่าในระยะยาว จึงน่าคิดต่อว่า ต่อจากนี้คนในตลาดจะมอง “บิตคอยน์” เป็นดั่ง “ทองคำ” ที่รักษามูลค่า ไม่ควรซื้อขายง่าย หรือมองว่าเป็นดั่ง “สินค้าเก็งกำไร” คล้ายโภคภัณฑ์แทน ซึ่ง “เวลา” จะเป็นเครื่องพิสูจน์คำถามนี้
อนาคตของบิตคอยน์ หลังเกิด Bitcoin Spot ETF
หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายทางการเงิน ราคาของเหล่าสินทรัพย์เสี่ยงต่าง ๆ ก็พุ่งทะยานทำราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ เหล่านักวิเคราะห์ต่างก็แห่กันออกมาระบุ “ราคาเป้าหมาย” ที่บิตคอยน์มีแนวโน้มไปถึง หลังจากที่เกิด Bitcoin Spot ETF ขึ้น ดังนี้
เริ่มต้นจากธนาคาร Standard Chartered มองว่า Bitcoin Spot ETF จะช่วยดึงดูดกระแสเงินลงทุนราว 100,000 ล้านดอลลาร์มาในตลาดคริปโทภายในสิ้นปีนี้ และส่งผลให้ราคาของบิตคอยน์จากปัจจุบันที่มีราคาราว 1.6 ล้านบาท มีแนวโน้มพุ่งเกือบ 200,000 ดอลลาร์ หรือราว 7 ล้านบาทภายในสิ้นปี 2568
ส่วน Galaxy Digital บริษัทวิจัยและบริหารสินทรัพย์คริปโท มองว่า Bitcoin ETF จะนำพาเงินลงทุนมามากกว่า 14,000 ล้านดอลลาร์ภายในปีแรกนี้ และจะดึงดูดเงินเกือบ 40,000 ล้านดอลลาร์ภายในสิ้นปีที่ 3
ขณะที่ ปีเตอร์ ชิฟฟ์ (Peter Schiff) นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังชี้ว่า แม้ว่า Bitcoin ETF จะได้รับการอนุมัติ แต่ก็เป็นเพียงการเพิ่มช่องทาง “เก็งกำไร” อีกช่องทางหนึ่งเท่านั้น บิตคอยน์ไม่ได้มีมูลค่าที่แท้จริงแต่อย่างใด ต่างจากทองคำที่มีมูลค่าจริง
ท้ายที่สุด การเกิด “Spot Bitcoin ETF” จะทำให้ราคาบิตคอยน์ทำสถิติราคาใหม่ได้หรือไม่นั้น ผู้ลงทุนอาจจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนก่อนการลงทุน เพราะบิตคอยน์เป็นสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูงกว่าหุ้น อีกทั้งไม่ได้มีกระแสเงินสดในการประเมินมูลค่ากิจการเหมือนบริษัทจดทะเบียนที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
อ้างอิง: tradinge, tradingview, uso, crypto, new, invest, abcnews
ย้อนรอย ‘Spot ETF‘ จากทอง-น้ำมัน สู่ บิตคอยน์ ส่งผลต่อราคาในตลาดโลกอย่างไร?
ในปี 2547 สหรัฐได้อนุมัติ “Gold ETF” และกองทุนทองคำเอสพีดีอาร์ (SPDR Gold Shares) เป็น “กองทุนแรก” ที่ถูกจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กให้เทรด Gold ETF ได้
หลังจากเกิด Gold ETF ขึ้น ราคาทอง “เปลี่ยนกรอบเล่น” ในระดับที่สูงขึ้นเป็นหลักพันดอลลาร์จากหลักร้อยดอลลาร์
สำหรับ Oil ETF ตัวแรกของสหรัฐ คือ “United States Oil Fund” (USO) ซึ่งเริ่มเทรดในปี 2549 และอ้างอิงตามราคาน้ำมันดิบในสหรัฐ (U.S. Crude Oil)
การคาดการณ์อนาคตก็อาจต้องย้อนมองรูปแบบที่เคยเกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร แม้ว่าประวัติศาสตร์ไม่จำเป็นต้องซ้ำรอยก็ได้ แต่การได้เห็น “แนวโน้มในอดีต” ก็สามารถใช้ประกอบการคาดการณ์แนวโน้มอนาคต
สำหรับบิตคอยน์ก็เช่นกัน หลายคนอาจสงสัยว่าราคาสินทรัพย์ดิจิทัลยอดนิยมนี้ในอนาคตจะเป็นเช่นไร จะทะยานทำสถิติสูงสุดรอบใหม่หรือจะร่วงแรงแทน หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) หรือ ก.ล.ต. ของสหรัฐอนุมัติกองทุน Bitcoin Spot ETF จนราคาบิตคอยน์ช่วงเช้าวันนี้ (11 ม.ค. 67) ขยับขึ้นเล็กน้อยที่ 0.92% อยู่ที่ 46,555 ดอลลาร์
กราฟราคา BTC (เครดิต: tradingview) -หลายคนมักเทียบ “บิตคอยน์” กับ “ทองคำ” โดยเปรียบบิตคอยน์เป็นดั่ง “ทองคำดิจิทัล” แห่งศตวรรษที่ 21
ดังนั้น เป็นที่น่าสนใจว่า ถ้าย้อนไปดูราคาสินทรัพย์ทางเลือกหลัก ๆ อย่าง “ทองคำ” และ “น้ำมัน” ที่มีกองทุน ETF ไปก่อนหน้านี้แล้ว ราคาทองคำและน้ำมันในตลาดโลกช่วงราว 2 ทศวรรษที่ผ่านมาเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร หลังจากที่ “Gold ETF” กับ “Oil ETF” ถือกำเนิดขึ้น เพื่ออาจใช้เป็น “หนึ่งในตัวอย่าง” ในการช่วยคาดการณ์อนาคตของราคาบิตคอยน์
ETF ย่อมาจาก Exchange Traded Fund เป็นการรวมระหว่าง “กองทุนรวมดัชนี” กับ “หุ้น” เข้าด้วยกัน จึงทำให้ ETF สามารถซื้อขายได้เหมือนหุ้นแบบราคา Real Time และขณะเดียวกันก็กระจายความเสี่ยงได้อีกด้วย เพราะ ETF สามารถลงทุนในดัชนี SET50 หรือ SET100 ซึ่งเปรียบได้กับการลงทุนในหุ้น 50 ตัวหรือ 100 ตัวพร้อมกัน
ราคาทองเปลี่ยนไปอย่างไร หลังเกิด Gold ETF
ในปี 2547 ก.ล.ต.ของสหรัฐได้อนุมัติ “Gold ETF” และกองทุนทองคำเอสพีดีอาร์ (SPDR Gold Shares) เป็น “กองทุนแรก” ที่ถูกจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กให้เทรด Gold ETF ได้ในวันที่ 15 พ.ย. ปีเดียวกัน
ก่อนหน้าที่จะเกิด Gold ETF ในปี 2547 นั้น นับตั้งแต่ปี 2527-2547 หรือ 20 ปี ราคาทองโลกเมื่อเทียบกับดอลลาร์ หรือ XAU/USD แกว่งไปมาอยู่ที่ราว 250-500 ดอลลาร์ แต่หลังจากที่เกิด Gold ETF ขึ้น ราคาทองก็ค่อย ๆ ไต่ระดับเป็นราว 1,000 ดอลลาร์ในปี 2551 เป็นราว 1,900 ดอลลาร์ในปี 2554 และร่วงลงมาที่ประมาณ 1,060 ดอลลาร์ในปี 2558 ต่อจากนั้นก็ทะยานมาที่ราว 2,000 ดอลลาร์ในปัจจุบัน
- กราฟราคาทองหลังจาก Gold ETF แจ้งเกิดในเดือน พ.ย. 2547 (เครดิต: tradingview) -จะเห็นได้ว่า หลังจากเกิด Gold ETF ขึ้น ราคาทอง “เปลี่ยนกรอบเล่น” ในระดับที่สูงขึ้นเป็นหลักพันดอลลาร์จากหลักร้อยดอลลาร์ แต่ยังมีความเหวี่ยงขึ้น-ลงที่รุนแรงมากขึ้นด้วย
นั่นเป็นเพราะ ETF เปิดโอกาสให้ผู้เล่นเป็นเจ้าของทองคำได้โดยไม่ต้องซื้อทองแท่งจริง ๆ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกและลดความยุ่งยากในการขนย้ายทอง เหล่าเงินทุนจึงสามารถเข้าถึงทองคำได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ดี ไม่อาจสรุปได้ว่า การที่ราคาทองนับจากวันที่ Gold ETF แจ้งเกิดวันแรกที่ราคาราว 450 ดอลลาร์ช่วงปลายปี 2547 มาจนถึงราคาราว 2,000 ดอลลาร์ในปัจจุบัน หรือปรับตัวขึ้น 345% นั้น จะมาจากปัจจัย Gold ETF เพียงอย่างเดียว
เหตุผลเป็นเพราะ “การขึ้น-ลงของราคาทอง” มีปัจจัยแวดล้อมอื่นด้วย ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อมั่นในการใช้ทองเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ การแข็งและอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ราคาน้ำมันโลก สงคราม วิกฤติเศรษฐกิจ การเก็งกำไรต่าง ๆ เป็นต้น แต่อย่างน้อยก็เป็นประวัติศาสตร์ราคาที่อาจนำมาเป็นหนึ่งในเกณฑ์ตัดสินใจพิจารณาลงทุนสินทรัพย์ได้
ราคาน้ำมันเปลี่ยนไปเช่นไร หลังเกิด Oil ETF
สำหรับ Oil ETF ตัวแรกของสหรัฐ คือ “United States Oil Fund” (USO) ซึ่งเริ่มเทรดในปี 2549 และอ้างอิงตามราคาน้ำมันดิบในสหรัฐ (U.S. Crude Oil) โดยในปี 2549 ราคาน้ำมันดิบ Crude Oil WTI อยู่ที่ราว 60-70 ดอลลาร์/บาร์เรล จากนั้นราคาก็ขึ้นไปที่ 139 ดอลลาร์/บาร์เรลในปี 2551 และลงมาที่ 42 ดอลลาร์/บาร์เรลในปี 2552 จากนั้นก็กลับมาขึ้นแตะ 112 ดอลลาร์/บาร์เรลในปี 2554
เท่านั้นยังไม่พอ ต่อจากนั้น ราคาก็ร่วงมาที่ 34 ดอลลาร์/บาร์เรลในปี 2559 พลิกมาขึ้นต่อที่ 70 ดอลลาร์/บาร์เรลในปี 2561 จากนั้นก็ลงไปที่ 19 ดอลลาร์/บาร์เรลในปี 2563 พลิกกลับมาทะยานที่ 111 ดอลลาร์/บาร์เรลในปี 2565 และจบที่ราว 70 ดอลลาร์/บาร์เรลในปัจจุบัน
ความผันผวนของกราฟราคาน้ำมัน (เครดิต: tradingeconomics) -จะเห็นได้ว่า ราคาน้ำมันเหวี่ยงมาก และ “ไม่ค่อยสัมพันธ์” กับการมีหรือไม่มีกองทุน Oil ETF เพราะในช่วงเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันเคยกลับไปทำจุดต่ำกว่าวันที่ Oil ETF แจ้งเกิดครั้งแรกด้วย
สาเหตุสำคัญเป็นเพราะน้ำมันเป็น “สินค้าโภคภัณฑ์” ราคาขึ้น-ลงมาจากปัจจัยหลักอย่างปริมาณน้ำมันที่ผลิตออกมากับความต้องการใช้ รวมถึงวิกฤติโลกต่าง ๆ อีกทั้งเป็นสินทรัพย์ที่เก็งกำไรสูงด้วย ต่างจากทองคำที่เป็นสินทรัพย์ในการรักษามูลค่าในระยะยาว จึงน่าคิดต่อว่า ต่อจากนี้คนในตลาดจะมอง “บิตคอยน์” เป็นดั่ง “ทองคำ” ที่รักษามูลค่า ไม่ควรซื้อขายง่าย หรือมองว่าเป็นดั่ง “สินค้าเก็งกำไร” คล้ายโภคภัณฑ์แทน ซึ่ง “เวลา” จะเป็นเครื่องพิสูจน์คำถามนี้
อนาคตของบิตคอยน์ หลังเกิด Bitcoin Spot ETF
หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายทางการเงิน ราคาของเหล่าสินทรัพย์เสี่ยงต่าง ๆ ก็พุ่งทะยานทำราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ เหล่านักวิเคราะห์ต่างก็แห่กันออกมาระบุ “ราคาเป้าหมาย” ที่บิตคอยน์มีแนวโน้มไปถึง หลังจากที่เกิด Bitcoin Spot ETF ขึ้น ดังนี้
เริ่มต้นจากธนาคาร Standard Chartered มองว่า Bitcoin Spot ETF จะช่วยดึงดูดกระแสเงินลงทุนราว 100,000 ล้านดอลลาร์มาในตลาดคริปโทภายในสิ้นปีนี้ และส่งผลให้ราคาของบิตคอยน์จากปัจจุบันที่มีราคาราว 1.6 ล้านบาท มีแนวโน้มพุ่งเกือบ 200,000 ดอลลาร์ หรือราว 7 ล้านบาทภายในสิ้นปี 2568
ส่วน Galaxy Digital บริษัทวิจัยและบริหารสินทรัพย์คริปโท มองว่า Bitcoin ETF จะนำพาเงินลงทุนมามากกว่า 14,000 ล้านดอลลาร์ภายในปีแรกนี้ และจะดึงดูดเงินเกือบ 40,000 ล้านดอลลาร์ภายในสิ้นปีที่ 3
ขณะที่ ปีเตอร์ ชิฟฟ์ (Peter Schiff) นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังชี้ว่า แม้ว่า Bitcoin ETF จะได้รับการอนุมัติ แต่ก็เป็นเพียงการเพิ่มช่องทาง “เก็งกำไร” อีกช่องทางหนึ่งเท่านั้น บิตคอยน์ไม่ได้มีมูลค่าที่แท้จริงแต่อย่างใด ต่างจากทองคำที่มีมูลค่าจริง
ท้ายที่สุด การเกิด “Spot Bitcoin ETF” จะทำให้ราคาบิตคอยน์ทำสถิติราคาใหม่ได้หรือไม่นั้น ผู้ลงทุนอาจจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนก่อนการลงทุน เพราะบิตคอยน์เป็นสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูงกว่าหุ้น อีกทั้งไม่ได้มีกระแสเงินสดในการประเมินมูลค่ากิจการเหมือนบริษัทจดทะเบียนที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
อ้างอิง: tradinge, tradingview, uso, crypto, new, invest, abcnews