“อุ๊งอิ๊ง” ลั่นนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคสมัยไทยรักไทย พิสูจน์แล้วทำคุณภาพชีวิตปชช.ดีขึ้น มาวันนี้สมควรแก่เวลายกระดับดียิ่งขึ้น ใช้เทคโนโลยีจัดระบบข้อมูลอำนวยความสะดวกใช้ “บัตรปชช.รักษาทุกที่” ทั้งรัฐ-เอกชน เริ่มจากร้ายยา คลินิก รพ.ชุมชนใกล้บ้าน ไม่ต้องแออัด ขจัดข้อบกพร่องที่มีอัปเกรดดีขึ้น พร้อมยันมีระบบป้องกันความปลอดภัยข้อมูลคนไข้ และแพทย์
เมื่อเวลา 13.00น. วันที่ 7 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศช่วงบ่ายของการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมนโยบาย “บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่” ณ อำเภอเมือง จ.ร้อยเอ็ด ของ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และรองประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นำโดย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดสธ. รวมทั้งผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสปสช. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมภาคเอกชนที่ร่วมโครงการ อาทิ สหคลินิกบ้านคุณหมอ ฯลฯ ก่อนจะเตรียมเดินทางไปเปิดงานอย่างเป็นทางการ ณ ลานสาเกตุนคร หน้าหอโหวด 101 พร้อมนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในเวลา 16.00 น.วันเดียวกัน
ถึงเวลายกระดับ 30 บาทให้ดียิ่งขึ้นเป็นไปตามนโยบายหาเสียง
โดย น.ส.แพทองธาร ให้สัมภาษณ์ว่า บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ เป็นนโยบายที่ต่อยอดมาจาก 30 บาทรักษาทุกโรคสมัยรัฐบาลคุณทักษิณ ชินวัตร เมื่อครั้งเป็นพรรคไทยรักไทย แน่นอนว่าสมัยนั้นพิสูจน์แล้วว่า นโยบายที่ดีทำให้คุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจริงๆ เพราะฉะนั้น จากนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคมีมา 22 ปีแล้ว ตั้งแต่สมัยไทยรักไทย ทุกวันนี้ก็ยังใช้อยู่ แต่พอยุคสมัยเปลี่ยนไป เราก็อยากจะเปลี่ยนให้ดีขึ้น โดยมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามา อย่างเรื่องข้อมูลมีการจัดเก็บให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงสมควรแก่เวลาที่จะทำให้ 30 บาทฯ ตรงจุดที่ยังมีข้อบกพร่องต่างๆ ทำให้ดีขึ้น ทำให้ประชาชนสะดวกมากยิ่งขึ้น
“ตั้งแต่ตอนปราศรัยหาเสียงแล้วว่า เราจะยกระดับ “30 บาท”ให้ดีมากขึ้น ซึ่งวันนี้ได้รับการตอบรับดีมาก เบื้องต้นโครงการนี้นำร่อง 4 จังหวัด โดยเรามาที่จ.ร้อยเอ็ด และอีก 3 จังหวัด มีแพร่ เพชรบุรี นราธิวาส ซึ่งจากการลงพื้นที่หน่วยบริการต่างๆในจ.ร้อยเอ็ด ถือว่าทุกๆส่วนที่เกี่ยวข้องมีการเตรียมระบบ เตรียมข้อมูลดีมาก” น.ส.แพทองธาร กล่าว
ด้าน นพ.ชลน่าน กล่าวเพิ่มเติมว่า นโยบายนี้เป็นการยกระดับ 30 บาทรักษาทุกโรค เนื่องจากมีการใช้ระบบดิจิทัลเฮลธ์เข้ามาช่วย เอาเทคโนโลยีมาเชื่อมข้อมูลสุขภาพของประชาชน เป็นข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Personal Health Record สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆได้ทั้งหมด ทั้งประวัติการรักษา ประวัติการแพ้ยา อยู่ในนั้นทั้งหมด และยังมีข้อมูลเชื่อมระบบของผู้ให้บริการ ที่เรียกว่า Provider ID ต้องแสดงตัวตนให้ชัดเจน ดังนั้น ทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการจะมีฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งจากความพร้อมตรงนี้จึงนำมาสู่การนำร่องให้บริการ “บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่” ทุกเครือข่ายในจังหวัดที่มีความพร้อมเบื้องต้น 4 จังหวัด (ร้อยเอ็ด แพร่ เพชรบุรี นราธิวาส) หมายความว่า จะสามารถเชื่อมโยงได้ทุกโครงข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน อย่างร้อยเอ็ด จะเชื่อมโยงเริ่มตั้งแต่ร้านยาของเอกชน รพ.ชุมชน ห้องแลปต่างๆ คลินิกเอกชน สหคลินิกต่างๆ ภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการจะเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมด
มั่นใจความปลอดภัยข้อมูลผู้ป่วย
ผู้สื่อข่าวถามว่าเรื่องความปลอดภัยข้อมูลของคนไข้มีการเตรียมพร้อมอย่างไร น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า บัตรประชาชนใบเดียวนั้น การจะเข้าถึงข้อมูลคนไข้จะมีการตรวจสอบและยอมรับจากคนไข้ หรือแม้แต่เทเลเมดิซีนก็จะมีระบบโอทีพี มีการส่งตัวเลขเข้าไปให้คนไข้บอกมา จะมีระบบครอบคลุมความปลอดภัยมากพอสมควร และเมื่อแพทย์วินิจฉัย ตรวจเสร็จตามขั้นตอนทั้งหมด ก็จะมีการแจ้งคนไข้ให้ปิดสิทธิ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ต่อได้อีก ที่สำคัญทุกครั้งที่เปิดใช้จะทราบว่า ใครเป็นคนเปิดใช้ เพราะจะมีรหัสของแพทย์ขึ้นด้วย
เมื่อถามว่ากรณีไม่มีอินเตอร์เน็ตจะไม่สามารถใช้ได้หรือไม่ น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า ต้องแบ่งออกเป็นกลุ่มแรกก่อน อย่างผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟนขอให้โหลดแอปพลิเคชัน “หมอพร้อม” ก่อน เพราะแอปฯนี้จะรองรับทั้งหมด ทั้งใบรับรองแพทย์ ไลน์แชท หรือแม้แต่เทเลเมดิซีนก็เช่นกัน ส่วนกลุ่มที่ไม่มีมือถือ หรือคนไม่สะดวกใช้ก็สามารถไปรพ.และยืนยันบัตรประชาชนใบเดียวฯได้เช่นกัน ไม่จำเป็นต้องใช้มือถือ
https://www.hfocus.org/content/2024/01/29441
หัวหน้าพรรคเพื่อไทยประกาศถึงเวลายกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ แก้ข้อบกพร่องในอดีต เป็นไปตามนโยบายหาเสียง
เมื่อเวลา 13.00น. วันที่ 7 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศช่วงบ่ายของการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมนโยบาย “บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่” ณ อำเภอเมือง จ.ร้อยเอ็ด ของ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และรองประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นำโดย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดสธ. รวมทั้งผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสปสช. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมภาคเอกชนที่ร่วมโครงการ อาทิ สหคลินิกบ้านคุณหมอ ฯลฯ ก่อนจะเตรียมเดินทางไปเปิดงานอย่างเป็นทางการ ณ ลานสาเกตุนคร หน้าหอโหวด 101 พร้อมนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในเวลา 16.00 น.วันเดียวกัน
ถึงเวลายกระดับ 30 บาทให้ดียิ่งขึ้นเป็นไปตามนโยบายหาเสียง
โดย น.ส.แพทองธาร ให้สัมภาษณ์ว่า บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ เป็นนโยบายที่ต่อยอดมาจาก 30 บาทรักษาทุกโรคสมัยรัฐบาลคุณทักษิณ ชินวัตร เมื่อครั้งเป็นพรรคไทยรักไทย แน่นอนว่าสมัยนั้นพิสูจน์แล้วว่า นโยบายที่ดีทำให้คุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจริงๆ เพราะฉะนั้น จากนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคมีมา 22 ปีแล้ว ตั้งแต่สมัยไทยรักไทย ทุกวันนี้ก็ยังใช้อยู่ แต่พอยุคสมัยเปลี่ยนไป เราก็อยากจะเปลี่ยนให้ดีขึ้น โดยมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามา อย่างเรื่องข้อมูลมีการจัดเก็บให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงสมควรแก่เวลาที่จะทำให้ 30 บาทฯ ตรงจุดที่ยังมีข้อบกพร่องต่างๆ ทำให้ดีขึ้น ทำให้ประชาชนสะดวกมากยิ่งขึ้น
“ตั้งแต่ตอนปราศรัยหาเสียงแล้วว่า เราจะยกระดับ “30 บาท”ให้ดีมากขึ้น ซึ่งวันนี้ได้รับการตอบรับดีมาก เบื้องต้นโครงการนี้นำร่อง 4 จังหวัด โดยเรามาที่จ.ร้อยเอ็ด และอีก 3 จังหวัด มีแพร่ เพชรบุรี นราธิวาส ซึ่งจากการลงพื้นที่หน่วยบริการต่างๆในจ.ร้อยเอ็ด ถือว่าทุกๆส่วนที่เกี่ยวข้องมีการเตรียมระบบ เตรียมข้อมูลดีมาก” น.ส.แพทองธาร กล่าว
ด้าน นพ.ชลน่าน กล่าวเพิ่มเติมว่า นโยบายนี้เป็นการยกระดับ 30 บาทรักษาทุกโรค เนื่องจากมีการใช้ระบบดิจิทัลเฮลธ์เข้ามาช่วย เอาเทคโนโลยีมาเชื่อมข้อมูลสุขภาพของประชาชน เป็นข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Personal Health Record สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆได้ทั้งหมด ทั้งประวัติการรักษา ประวัติการแพ้ยา อยู่ในนั้นทั้งหมด และยังมีข้อมูลเชื่อมระบบของผู้ให้บริการ ที่เรียกว่า Provider ID ต้องแสดงตัวตนให้ชัดเจน ดังนั้น ทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการจะมีฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งจากความพร้อมตรงนี้จึงนำมาสู่การนำร่องให้บริการ “บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่” ทุกเครือข่ายในจังหวัดที่มีความพร้อมเบื้องต้น 4 จังหวัด (ร้อยเอ็ด แพร่ เพชรบุรี นราธิวาส) หมายความว่า จะสามารถเชื่อมโยงได้ทุกโครงข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน อย่างร้อยเอ็ด จะเชื่อมโยงเริ่มตั้งแต่ร้านยาของเอกชน รพ.ชุมชน ห้องแลปต่างๆ คลินิกเอกชน สหคลินิกต่างๆ ภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการจะเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมด
มั่นใจความปลอดภัยข้อมูลผู้ป่วย
ผู้สื่อข่าวถามว่าเรื่องความปลอดภัยข้อมูลของคนไข้มีการเตรียมพร้อมอย่างไร น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า บัตรประชาชนใบเดียวนั้น การจะเข้าถึงข้อมูลคนไข้จะมีการตรวจสอบและยอมรับจากคนไข้ หรือแม้แต่เทเลเมดิซีนก็จะมีระบบโอทีพี มีการส่งตัวเลขเข้าไปให้คนไข้บอกมา จะมีระบบครอบคลุมความปลอดภัยมากพอสมควร และเมื่อแพทย์วินิจฉัย ตรวจเสร็จตามขั้นตอนทั้งหมด ก็จะมีการแจ้งคนไข้ให้ปิดสิทธิ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ต่อได้อีก ที่สำคัญทุกครั้งที่เปิดใช้จะทราบว่า ใครเป็นคนเปิดใช้ เพราะจะมีรหัสของแพทย์ขึ้นด้วย
เมื่อถามว่ากรณีไม่มีอินเตอร์เน็ตจะไม่สามารถใช้ได้หรือไม่ น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า ต้องแบ่งออกเป็นกลุ่มแรกก่อน อย่างผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟนขอให้โหลดแอปพลิเคชัน “หมอพร้อม” ก่อน เพราะแอปฯนี้จะรองรับทั้งหมด ทั้งใบรับรองแพทย์ ไลน์แชท หรือแม้แต่เทเลเมดิซีนก็เช่นกัน ส่วนกลุ่มที่ไม่มีมือถือ หรือคนไม่สะดวกใช้ก็สามารถไปรพ.และยืนยันบัตรประชาชนใบเดียวฯได้เช่นกัน ไม่จำเป็นต้องใช้มือถือ
https://www.hfocus.org/content/2024/01/29441