รร.วิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม อยากรู้ขบปวชต่อมหาลัยดังได้มั้ยคะ

อยากรู้ว่าเรียนปวช ของมหาลัยวิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษมต่อมหาวิทยาลัยดีๆได้มั้ยคะ ขอความรู้หน่อยค่ะ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ก่อนอื่นขอเล่าถึงประสบการณ์ของเราก่อนตอนแรกเราเองตอน ม.ต้น เราก็เรียนได้อันดับต้นๆของห้องแต่พอถึงเวลาที่ต้องเลือกช่วงนั้นหน้ามืดตามัวบวกกับความโง่ของตัวเราเองที่หลงเชื่อคำโฆษณาอาชีวะฝีมือชนคนสร้างชาติแต่ที่จำยอมเพราะที่บ้านบังคับให้เรียนสายอาชีพตอนนั้นเราลองไปปรึกษาครูแนะแนวครูแนะแนวก็ตกใจว่าจะไปเรียนสายอาชีพจริงๆแบบว่าเด็กอาชีวะมีแต่ภาพลบในสังคมเราเรียนศิลป์ภาษาจีนอยู่ตอนม.ต้นเราสงสัยอะไรสักอย่างเกี่ยวกับภาษาจีนไปถามเหล่าซือแบบเหล่าซือไม่คุยกับเราเลยแล้วบอกว่าทำไมไม่เรียนต่อม.4เองเพื่อนทั้งห้องนี้หัวเราะเยาะเราเลยแบบว่าเราคอยเป็นต้นฉบับการบ้านให้เพื่อนลอกทำไมคิดสั้นอย่างนั้น อย่างที่รู้กันว่าเมื่อจบการศึกษาภาคบังคับมัธยมศึกษาตอนต้นแล้วเป็นเวลา9ปีในระบบการศึกษาจะเรียนต่อหรือไม่เรียนก็ไม่ได้มีใครห้ามแต่หากเรียนต่อรัฐก็สนับสนุนค่ารายหัวอีก3ปีรวมเป็น12ปีโดยมีทางเลือกสายสามัญและสายอาชีพ หลายคนก็เข้าใจว่าสายอาชีพปวช1ก็เทียบเท่าม.4 ปวช2=ม.5 ปวช3=ม.6 แต่การเรียนสายอาชีพนั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นการเรียนเพื่อไปประกอบอาชีพไม่ใช่การเรียนเพื่อไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยเหมือนสายสามัญที่จะมีแผนการเรียนวิทย์-คณิต ศิลป์ภาษา เพื่อที่จะไปต่อมหาวิทยาลัยตอนแรกเราก็ไม่รู้หรอกแต่พอมาเรียนจนจบแล้วถึงได้รู้ ขอให้เข้าใจประเด็นนี้ก่อน ปวส.ชอบมีคนบอกว่าปวสก็คืออนุปริญญาซึ่งหากเข้าใจแบบนี้แล้วก็ไม่ถูกซะหมด อนุปริญญาคือคุณวุฒิในระดับอุดมศึกษา ปวส. ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เป็นคุณวุฒิของอาชีวะศึกษา ซึ่งอุดมศึกษากับอาชีวะศึกษานั้นไม่เหมือนกัน ยังไงก็ตามถึงจะจบปวช.ก็สามารถที่จะทำงานได้เลยแต่เราปฎิเสธไม่ได้เลยว่าการที่จะเติบโตในหน้าที่การงานนั้นหากไม่มีปริญญาหรือคุณวุฒิที่สูงขึ้นก็ค่อนข้างลำบากดูจากการเลื่อนขั้นของข้าราชการที่ไปเรียน รปศ.มหาบัณฑิต คบ.ม.บริหารการศึกษา ป.โท ภาคพิเศษกันเพื่ออะไร ก็เพื่อความเติบโตในอาชีพหน้าที่การงาน ย้อนกลับมาอาชีวะศึกษาเขาออกแบบมาให้คุณจบแล้วไปทำงานได้เลยทันทีไม่ได้ออกแบบมาให้ไปเรียนต่อมหาวิทยาลัย แต่ปริญญาก็จำเป็นต่อการเติบโตในหน้าที่การงาน เมื่อก่อนอาชีวะศึกษาก็คือปวช.ปวส.หากจบปวช.ปวส.แล้วยังไม่ทำงานยากจะเรียนต่ออุดมศึกษานี่เเหละคือข้อเสียเปรียบของเด็กสายอาชีพ อุดมศึกษาเป็นการศึกษาขั้นสูงผู้ที่จะมาเรียนก็ต้องมีพื้นฐานมาก่อน การเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยต้องสอบนู้นสอบนี่อะไรบ้างก็ไม่รู้นะเราไม่เคยมีประสบการณ์แต่ที่รู้ๆคือรายวิชาที่ใช้สอบเข้าเป็นรายวิชาของสายสามัญทั้งนั้นต่อให้เราเรียนสายอาชีพจะขัดตะไปเก่งขนาดไหน อ๊อกเหล็กเก่งขนาดไหน เขียนโค้ดคอมพิวเตอร์เก่งขนาดไหน ไอ้พวกนี้ไม่ได้เอาไปใช้ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยเลย แน่นอนว่ามหาวิทยาลัยดังๆ ย่อมเป็นที่หมายปองของเด็กสายสามัญอยู่แล้วเพราะตลอดระยะเวลาสามปีเขาทำเพื่อสิ่งนี้  ซึ่งต่างจากเด็กสายอาชีพอย่างสิ้นเชิง แน่นอนว่าวุฒิปวช.นั้นกระทรวงศึกษาธิการจะรับรองว่าเป็นวุฒิที่เทียบเท่าม.ปลาย ก็ตามหากจะเข้าเรียนมหาวิทยาลัยนั้นควรดูระเบียบการสมัครว่าเขาเขียนไว้อย่างไร หากเขียนว่ารับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าเราก็สามารถเข้าได้แต่จะเข้าด้วยวิธีไหนนั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง หากเขาเรียนว่ารับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แบบนี้ละก็สายอาชีพหมดสิทธิ์ถึงแต่จะลงคอร์สติวมาเรียนมานอกระบบหรือเก่งอีท่าไหนก็ตาม ซึ่งแน่นอนว่าสาขาวิชาที่เราจะเลือกเรียนและสถาบันที่เราจะเรียนนั้นจะมีตัวเลือกให้น้อยลงไปอีก การเรียนปวส.แล้วต่อปริญญาตรีเป็นอะไรที่ไม่แมทกันเลยเพราะปวส.ไม่ใช่อนุปริญญาปวส.เป็นวุฒิของอาชีวะ ป.ตรีเป็นอุดมศึกษาสถาบันอุดมศึกษา(มหาวิทยาลัยต่างๆ)จะมาเปิดหลักสูตรต่อเนื่อง2ปีไม่ได้แล้วนะจ๊ะแต่จะเป็นการเทียบโอนความรู้แทนซึ่งก็ขึ้นอยู่กับหลักสูตรและมหาวิทยาลัยซึ่งเรียนปวส.มา2ปีแล้วมาต่อตรีอีกมันไม่ใช่แค่2ปีละถ้าเทียบโอนได้น้อยก็ต้องเรียนเยอะหน่อย ปวช.ปวส.มาต่อป.ตรีหน่ะมันไม่ใช่หลักสากลที่ไหนเขาทำกันลองเอาวุฒิปวช.เกรด4.00ไปเข้าอ๊อกฟอร์ด ฮาร์วาร์ดดูสิ ขอเล่าถึงประสบการณ์ของการเรียนสายอาชีพนั้นสถาบันที่เราเรียนเขาเรียกว่าวิทยาลัย ซึ่งก็เป็นปัญหาอีกว่าคำว่าวิทยาลัยหรือ college ในภาษาอังกฤษแบบอังกฤษจะหมายถึง โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายก็ได้ซึ่งปวช.ก็เทียบเท่าม.ปลาย แต่หากไปพูดกับคนอเมริกันเขาจะหมายความว่ามหาวิทยาลัย เอาหล่ะนอกเรื่องแป๊บ วิทยาลัยสายอาชีพถึงแม้จะเรียนในระดับที่เทียบเท่าม.ปลายแต่ประสบการณ์การใช้ชีวิตค่อนข้างแตกต่างจากโรงเรียนมัธยม การดำเนินชีวิตค่อนข้างเป็นอิสระครูไม่จ้ำจี้จ้ำชัยแต่นี่เองก็เป็นดาบสองคมวันแรกที่เราเข้าเรียนสายอาชีพคอมพิวเตอร์ธุรกิจโต๊ะคอมไม่พอเพียงกับจำนวนคนแต่พอถึงวันสุดท้ายก่อนเรียนจบโต๊ะคอมเหลือบานเบอะถามว่าทำไมเหลือระหว่างทางมีคนทยอยออกไปกลางคันบางคนอีกแค่เดือนเดียวจะจบอยู่แล้วก็เกเรท้องบ้างขี้เกียจบ้างไปแต่งงานบ้าง สายสามัญคงไม่เข้าใจ เรื่องชกต่อยไม่เคยเจอนะเราเรียนสายพาณิชย์มีแต่ผู้หญิงเลยไม่เจอแต่สายช่างไม่แน่ แต่เรื่องทะเลาะวิวาทจนเสียชีวิตน่ะมี แบบล่ะนะผู้ใหญ่พ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่มองสายอาชีพในแง่ลบแต่มันก็มีข่าวเด็กช่างตีกันออกมาแทบจะทุกปี ด้วยบุคคลิกของเราตอน ม.ต้นเป็นเด็กเรียบร้อยส่ะจนเขาหาว่าเราเป็นตุ๊ดตอนจบม.ต้นเราก็ได้ประกาศนียบัตรว่าเราเป็นเด็กดีเรียบร้อยแบบว่าบางทีช่วยครูถือของมาเข้าห้องเรียนจนโดนเพื่อนทั้งห้องรุมด่าว่าจะรีบไปตามครูทำไม ครูประจำชั้นที่ปรึกษาตอน ม.ต้น ยังงงไหนเราถึงไปเรียนสายอาชีพไปอยู่ในสังคมเด็กเกเร เอาหล่ะไม่ได้จะมาบอกว่าสายไหนดีกว่าหรือด้อยกว่ากันมันก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละคน เด็กม.ปลายอายุ18เอนทราสน์เข้ามหาลัยบางคนเรียนไปได้พักนึงรู้สึกว่าไม่ใช่ซิ่วออกมาก็เยอะแยะบางคนก็ทำงานไม่ตรงสาย จะให้เด็กม.ต้นอายุ15ต้องมาคิดถึงว่าตนเองต้องการอะไรอีก30-40ปีข้างหน้าจะผิดพลาดบ้างเป็นธรรมดา จุดมุ่งหมายของเด็กสายอาชีพส่วนใหญ่ก็คือการทำงาน ตอนเราเรียนครูไม่เคยมาบอกถึงการเรียนต่อมหาวิทยาลัยเลยไม่เคยแนะแนวเหมือนม.ปลาย เอาเป็นว่าสรุปวุฒิอาชีวะเอาให้คุณไปทำงานไม่ได้ให้ไปเรียนต่อมหาวิทยาลัย หลังมานี้มีวาทะกรรมที่พยายามบอกเด็กเยาวชนว่าอาชีวะฝีมือชนคนสร้างชาติ ครูที่วิทลัยเราตัวครูเองก็ไม่ได้เรียนสายอาชีพมา แล้วตัวครูเองก็ไม่ให้ลูกตัวเองเรียนสายอาชีพ ผมก็อยากถามว่าคนที่สร้างวาทะกรรมอาชีวะฝีมือชนคนสร้างชาติตัวท่านเองและลูกหลานท่านได้เรียนสายอาชีพมาหรือเปล่าก่อนจะมาบอกลูกหลานชาวบ้าน ผมเองก็เคยหลงไปกับวาทะกรรมนี้ ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ผมจะไม่หลงเชื่อวาทะกรรมนี้ และถ้าในอนาคตเรามีลูกก็จะไม่ให้ลูกเรียนสายอาชีวะเด็ดขาดเพราะเรามีประสบการณ์มาแล้ว ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกคนย่อมเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตัวเองและคนที่เรารัก
แก้ไขข้อความเมื่อ วันพุธ เวลา 08:03 น.
ตอบกลับ
0 1
สมาชิกหมายเลข 7877831
วันพุธ เวลา 07:59 น.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่