ตอนนี้ผมอยู่ ม.5 ครับ เป็นคนชอบวิชาภาษาไทยมากๆ เพราะเป็นคนชอบจำ ชอบฟังเรื่องราวต่างๆ แต่ผมมองว่าบางทีในวิชามันไปใส่ใจเนื้อเรื่องของวรรณคดีมากเกินไป ผมมองว่า ควรจะเรียนเรื่องหลักการใช้ภาษาให้มากกว่านี้ เพราะที่ผมเรียนอยู่มีหนังสือ 2 เล่ม คือ หลักภาษา และ วรรณคดีไทย
ตัวผมมองว่า วรรณคดีมันไม่ได้มีส่วนช่วยในการทำงานหรือสื่อสารอะไรต่างๆในชีวิตประจำสักเท่าไหร่ และผมคิดว่าควรจะเรียนเรื่อง การเขียนที่ถูกหลัก
การพูด การสื่อสาร หรืออะไรที่มันใช้ได้มากกว่านี้อะครับ เพราะได้เรียนแต่น้อยมาก ส่วนใหญ่จะโฟกัสไปที่ ผู้แต่ง นู่นนี่นั้นเป็นส่วนมาก เหมือนว่าจะต้องให้เด็กนักเรียนระลึกถึงแต่คุณค่าของวรรณคดีไทยลูกเดียว เพราะหลายๆคนก็ยังใช้ภาษาไทยหรือเขียนอะไรที่ต้องเป็นทางการ เช่น เอกสารราชการ ที่เราต้องทำด้วยตัวเองอะครับ บางคนยังเขียนไม่ถูกเลย แล้วข้อสอบก็ออกมายาก เพราะมีแต่บทประพันธ์ กาพย์ กลอน เต็มไปหมด
มีใครคิดเห็นอย่างไรบ้างครับ หรือถ้ามีคุณครูภาษาไทยได้อ่าน ผมอยากขอข้อคิดเห็นหน่อยนะครับ😃😃😃
ทำไมวิชาภาษาไทยมีเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นวรรณคดี แทนที่จะเป็นหลักภาษา?
ตัวผมมองว่า วรรณคดีมันไม่ได้มีส่วนช่วยในการทำงานหรือสื่อสารอะไรต่างๆในชีวิตประจำสักเท่าไหร่ และผมคิดว่าควรจะเรียนเรื่อง การเขียนที่ถูกหลัก
การพูด การสื่อสาร หรืออะไรที่มันใช้ได้มากกว่านี้อะครับ เพราะได้เรียนแต่น้อยมาก ส่วนใหญ่จะโฟกัสไปที่ ผู้แต่ง นู่นนี่นั้นเป็นส่วนมาก เหมือนว่าจะต้องให้เด็กนักเรียนระลึกถึงแต่คุณค่าของวรรณคดีไทยลูกเดียว เพราะหลายๆคนก็ยังใช้ภาษาไทยหรือเขียนอะไรที่ต้องเป็นทางการ เช่น เอกสารราชการ ที่เราต้องทำด้วยตัวเองอะครับ บางคนยังเขียนไม่ถูกเลย แล้วข้อสอบก็ออกมายาก เพราะมีแต่บทประพันธ์ กาพย์ กลอน เต็มไปหมด
มีใครคิดเห็นอย่างไรบ้างครับ หรือถ้ามีคุณครูภาษาไทยได้อ่าน ผมอยากขอข้อคิดเห็นหน่อยนะครับ😃😃😃