ชีวิตหลังเกษียณเป็นสิ่งหนึ่งที่เราต้องเตรียมตัวให้พร้อม ถ้าเราไม่มีการเตรียมตัวที่ดีหลังเกษียณเราจะเจอปัญหาต่างๆมากมาย ที่ต้องบอกตรงๆว่าแก้ไขยากมากเมื่อเทียบกับช่วงเวลาในชีวิตอื่นๆเวลาที่เจอปัญหา แต่สำหรับสูตรตายตัวหลังการเกษียณสำหรับผมแล้วคงไม่มี เพราะนิสัยใจคอแต่ล่ะคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบสันโดษ บางคนชอบเที่ยว บางคนชอบชีวิตในเมือง บางคนชอบชีวิตชนบท ผมเลยมองว่าเราไม่สามารถมีสูตรตายตัวได้ แต่เรามีวิธีเตรียมตัวแบบยืดหยุ่นให้กับ ชาว pantip
1. เราต้องรู้ว่าตอนนี้เรามีทรัพย์สินสุทธิอะไรบ้าง
ผมใช้คำว่าทรัพย์สินสุทธิ ไม่ได้ใช้คำว่าทรัพย์สินเฉยๆเพราะว่า บางคนเห็นว่ามี บ้าน รถ ที่ดิน บัญชีเงินฝากในธนาคารเยอะมาก แต่ก็มาพร้อมกับหนี้สินมากมาย เราสามารถเรียกสินทรัพย์เหล่านั้นว่าของเราได้จริงๆหรือ
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ = มูลค่าทรัพย์สินทั้งหมด – มูลค่าหนี้สินทั้งหมด
สำหรับการรวมมูลค่าหนี้สินนั้นค่อนข้างง่ายเลยส่วนใหญ่เรามีหนี้เป็นเงินสด แต่สำหรับทรัพย์สินเราไม่ได้มีทรัพย์สินในรูปเงินสดทั้งหมด ดังนั้นเราต้องตีตามมูลค่าตลาด และสำหรับสินทรัพย์ที่สภาพคล่องต่ำๆเช่นที่ดินเราควร คิดมูลค่าลดลงมาอีกประมาณ 10% ขึ้นไป เพื่อสะท้อนมูลค่าที่แท้จริง และเราสามารถเอาเข้าไปไปแทนค่าได้เลย
ยกตัวอย่าง
มูลค่าทรัพย์สิน = มูลค่าบ้าน(5,000,000) + มูลค่าทองคำ ( 200,000 ) + มูลค่ารถยนต์ที่จะขายอีก 3 ปี (300,0000)
ลบ
มูลค่าหนี้สิน = หนี้บ้าน (2,500,000) + หนี้บัตรเครดิต (100,000)
ทรัพย์สินสุทธิ = 2,900,000 บาท
2. คำนวณค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ
ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ เป็นอะไรที่หลายๆคนจินตนาการไม่ออกว่ามันจะออกมาเป็นอย่างไรเท่าไหร่ ผมมีวิธีคร่าวๆในการคาดการณ์จากปัจจัยต่างๆหลังเกษียณ
สุขภาพ : สุขภาพเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ต้องให้ความใส่ใจอย่างมาก ชีวิตหลังเกษียณเข้าสู่วัยชรา ร่างกายมีแต่เสื่อมสภาพลง ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญมาก ถ้าเราประมาณการไม่ออกผมแนะนำให้ทุกคนซื้อประกันสุขภาพที่ครอบคลุมหลังเกษียณครับ
สันทนาการ: ชีวิตหลังเกษียณเป็นชีวิตที่ผ่านการทำงานมาหลายสิบปี ร่างกายต้องการพักผ่อน ค่าใช้จ่ายส่วนนี้พอคาดเดาได้จากการใช้ชีวิตของคุณตอนนี้ หรือว่าคุณจะตั้งเป้าหมายไว้อย่างไรในท่องเที่ยวหลังเกษียณ
ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตทั่วไป : ประกอบไปด้วยค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้า ค่าที่พัก ค่าเดินทาง ตรงนี้สามารถคาดการณ์ได้จากการใช้ชีวิตของเราเอง
หลังจากนั้นให้เราคิดค่าใช้จ่าย รายวัน รายเดือน และรายปีออกมาให้เป็นค่าใช้จ่ายคร่าวๆต่อปีทั้งหมด หลังจากนั้นนำค่าใช้จ่ายทั้งหมดมาคำนวณจากช่วงชีวิตที่เหลืออยู่หลังเกษียณ เช่น เกษียณอายุ 65 คาดว่าเราจะใช้ชีวิตจนอายุ 95 ปี ดังนั้นเราต้องนำเลข 30 มาคำนวณโดยใช้สูตรนี้
ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ = ค่าใช้จ่ายต่อปีหลังเกษียณ x ช่วงเวลาหลังเกษียณ
3.เปรียบเทียบทรัพย์สินสุทธิกับค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ
ให้เรานำตัวเลขทั้งทรัพย์สินสุทธิและค่าใช้จ่ายหลังเกษียณมาเปรียบเทียบกัน ถ้าค่าใช้จ่ายหลังเกษียณเราน้อยกว่าทรัพย์สินสุทธิเราก็ไม่ต้องกังวลว่าชีวิตหลังเกษียณเราจะลำบาก แต่ถ้าค่าใช้จ่ายหลังเกษียณเรามากกว่าทรัพย์สินสุทธิที่เรามีให้เราแก้ไขโดยวิธีการต่อไปนี้
- พยายามหาทางเพิ่มทรัพย์สินสุทธิให้มากที่สุด การลดหนี้ การเพิ่มทรัพย์สิน การเพิ่มรายได้ เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยได้ในส่วนตรงนี้
- ลดค่าใช้จ่ายหลังเกษียณลง ค่าใช้จ่ายบางอย่างเราสามารถลดได้หลังเกษียณ เช่นการท่องเที่ยวถ้าเป้าหมายเราต้องการท่องเที่ยวต่างประเทศทุก3เดือน ก็เปลี่ยนเป็นเที่ยวปีล่ะครั้ง หรือ เที่ยวในประเทศแทน
การเกษียณอายุเป็นสิ่งที่ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ทุกคนเตรียมความพร้อมได้ถ้าผู้อ่านอ่านตรงนี้จนจบแสดงว่า ชาว pantip ก็มีความใส่ใจชีวิตหลังเกษียณอยู่
3 STEPS เตรียมพร้อมสู่การเกษียณอย่างยั่งยืน
1. เราต้องรู้ว่าตอนนี้เรามีทรัพย์สินสุทธิอะไรบ้าง
ผมใช้คำว่าทรัพย์สินสุทธิ ไม่ได้ใช้คำว่าทรัพย์สินเฉยๆเพราะว่า บางคนเห็นว่ามี บ้าน รถ ที่ดิน บัญชีเงินฝากในธนาคารเยอะมาก แต่ก็มาพร้อมกับหนี้สินมากมาย เราสามารถเรียกสินทรัพย์เหล่านั้นว่าของเราได้จริงๆหรือ
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ = มูลค่าทรัพย์สินทั้งหมด – มูลค่าหนี้สินทั้งหมด
สำหรับการรวมมูลค่าหนี้สินนั้นค่อนข้างง่ายเลยส่วนใหญ่เรามีหนี้เป็นเงินสด แต่สำหรับทรัพย์สินเราไม่ได้มีทรัพย์สินในรูปเงินสดทั้งหมด ดังนั้นเราต้องตีตามมูลค่าตลาด และสำหรับสินทรัพย์ที่สภาพคล่องต่ำๆเช่นที่ดินเราควร คิดมูลค่าลดลงมาอีกประมาณ 10% ขึ้นไป เพื่อสะท้อนมูลค่าที่แท้จริง และเราสามารถเอาเข้าไปไปแทนค่าได้เลย
ยกตัวอย่าง
มูลค่าทรัพย์สิน = มูลค่าบ้าน(5,000,000) + มูลค่าทองคำ ( 200,000 ) + มูลค่ารถยนต์ที่จะขายอีก 3 ปี (300,0000)
ลบ
มูลค่าหนี้สิน = หนี้บ้าน (2,500,000) + หนี้บัตรเครดิต (100,000)
ทรัพย์สินสุทธิ = 2,900,000 บาท
2. คำนวณค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ
ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ เป็นอะไรที่หลายๆคนจินตนาการไม่ออกว่ามันจะออกมาเป็นอย่างไรเท่าไหร่ ผมมีวิธีคร่าวๆในการคาดการณ์จากปัจจัยต่างๆหลังเกษียณ
สุขภาพ : สุขภาพเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ต้องให้ความใส่ใจอย่างมาก ชีวิตหลังเกษียณเข้าสู่วัยชรา ร่างกายมีแต่เสื่อมสภาพลง ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญมาก ถ้าเราประมาณการไม่ออกผมแนะนำให้ทุกคนซื้อประกันสุขภาพที่ครอบคลุมหลังเกษียณครับ
สันทนาการ: ชีวิตหลังเกษียณเป็นชีวิตที่ผ่านการทำงานมาหลายสิบปี ร่างกายต้องการพักผ่อน ค่าใช้จ่ายส่วนนี้พอคาดเดาได้จากการใช้ชีวิตของคุณตอนนี้ หรือว่าคุณจะตั้งเป้าหมายไว้อย่างไรในท่องเที่ยวหลังเกษียณ
ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตทั่วไป : ประกอบไปด้วยค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้า ค่าที่พัก ค่าเดินทาง ตรงนี้สามารถคาดการณ์ได้จากการใช้ชีวิตของเราเอง
หลังจากนั้นให้เราคิดค่าใช้จ่าย รายวัน รายเดือน และรายปีออกมาให้เป็นค่าใช้จ่ายคร่าวๆต่อปีทั้งหมด หลังจากนั้นนำค่าใช้จ่ายทั้งหมดมาคำนวณจากช่วงชีวิตที่เหลืออยู่หลังเกษียณ เช่น เกษียณอายุ 65 คาดว่าเราจะใช้ชีวิตจนอายุ 95 ปี ดังนั้นเราต้องนำเลข 30 มาคำนวณโดยใช้สูตรนี้
ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ = ค่าใช้จ่ายต่อปีหลังเกษียณ x ช่วงเวลาหลังเกษียณ
3.เปรียบเทียบทรัพย์สินสุทธิกับค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ
ให้เรานำตัวเลขทั้งทรัพย์สินสุทธิและค่าใช้จ่ายหลังเกษียณมาเปรียบเทียบกัน ถ้าค่าใช้จ่ายหลังเกษียณเราน้อยกว่าทรัพย์สินสุทธิเราก็ไม่ต้องกังวลว่าชีวิตหลังเกษียณเราจะลำบาก แต่ถ้าค่าใช้จ่ายหลังเกษียณเรามากกว่าทรัพย์สินสุทธิที่เรามีให้เราแก้ไขโดยวิธีการต่อไปนี้
- พยายามหาทางเพิ่มทรัพย์สินสุทธิให้มากที่สุด การลดหนี้ การเพิ่มทรัพย์สิน การเพิ่มรายได้ เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยได้ในส่วนตรงนี้
- ลดค่าใช้จ่ายหลังเกษียณลง ค่าใช้จ่ายบางอย่างเราสามารถลดได้หลังเกษียณ เช่นการท่องเที่ยวถ้าเป้าหมายเราต้องการท่องเที่ยวต่างประเทศทุก3เดือน ก็เปลี่ยนเป็นเที่ยวปีล่ะครั้ง หรือ เที่ยวในประเทศแทน
การเกษียณอายุเป็นสิ่งที่ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ทุกคนเตรียมความพร้อมได้ถ้าผู้อ่านอ่านตรงนี้จนจบแสดงว่า ชาว pantip ก็มีความใส่ใจชีวิตหลังเกษียณอยู่