คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ทำไมถึงมั่นใจว่าเค้าได้ที่อยู่มาจากการไปค้นทะเบียนราษฎร์ล่ะครับ ?
ถ้ามั่นใจว่าเจ้าหน้าที่รัฐผู้นั้น เข้าไปค้นทะเบียนราษฎร์จริง ๆ ก็ไปแจ้งความดำเนินคดีได้เลยครับ เพราะเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มาตรา 17 ซึ่งมีบทลงโทษคือ จําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
นอกจากนี้ยังสามารถดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ได้อีกด้วย โดยการแจ้งไปอย่างหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่รัฐผู้นั้นสังกัดอยู่ แจ้งว่ามีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของตัว จขกท. โดยมิชอบ ซึ่ง DPO ของหน่วยงานจะต้องมีการชี้แจงว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าหน่วยงานนั้นไม่มีการตั้ง DPO ก็จะมีความผิดตามกฎหมายอีกด้วย เนื่องจากกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้วในวันที่ 13 ธ.ค. 2566 หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล, ใช้/ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ต้องมีการตั้ง DPO ถ้าไม่ตั้งหน่วยงานนั้นอาจโดนโทษปรับสูงสุดถึง 1 ล้านบาท
ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นเป็นข้าราชการ สามารถทำหนังสือพร้อมแนบหลักฐานที่มีแจ้งไปยังหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้ตั้งกรรมการสอบสวนเรื่องการกระทำผิดวินัยข้าราชการ พร้อมทั้งแนบใบแจ้งความที่สถานีตำรวจ (หนังสือตราครุฑ) ซึ่งต้องมีข้อความระบุว่าประสงค์ให้ดำเนินคดีจนถึงที่สุด เมื่อเรื่องไปถึงหน่วยงานต้นสังกัด ก็จะมีการตั้งกรรมการสอบสวนการกระทำผิดของข้าราชการผู้นั้น ซึ่งจะได้รับโทษทางวินัย 1 ใน 5 อย่างนี้
โทษทางวินัยมี 5 สถาน ดังต่อไปนี้
(1) ภาคทัณฑ์
(2) ตัดเงินเดือน
(3) ลดเงินเดือน
(4) ปลดออก
(5) ไล่ออก
แต่ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐผู้นั้นไม่ได้ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ คือไม่ได้ Login เข้าไปดูข้อมูลในระบบของกรมการปกครอง แต่ไปแจ้งความดำเนินคดี ก็อาจโดนฟ้องกลับในเรื่อง แจ้งความเท็จ, กลั่นแกล้งผู้อื่นให้ได้รับโทษอาญา, หมิ่นประมาททำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ได้เหมือนกันครับ
ถ้าหลักฐานในมือแน่นเพียงพอ เช่น มีไฟล์เสียง, มีไฟล์ VDO ที่เค้ายอมรับว่าได้มาจากการเข้าระบบไปคัดค้นข้อมูลมา ก็จัดไปครับ
ปล. เมื่อใช้สายแข็งแบบสุด ๆ เช่นนี้แล้ว คิดว่าน่าจะมั่นใจได้แน่นอนว่าคน ๆ นั้นจะไม่ตามจีบ จขกท. อีกต่อไปครับ
ถ้ามั่นใจว่าเจ้าหน้าที่รัฐผู้นั้น เข้าไปค้นทะเบียนราษฎร์จริง ๆ ก็ไปแจ้งความดำเนินคดีได้เลยครับ เพราะเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มาตรา 17 ซึ่งมีบทลงโทษคือ จําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
นอกจากนี้ยังสามารถดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ได้อีกด้วย โดยการแจ้งไปอย่างหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่รัฐผู้นั้นสังกัดอยู่ แจ้งว่ามีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของตัว จขกท. โดยมิชอบ ซึ่ง DPO ของหน่วยงานจะต้องมีการชี้แจงว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าหน่วยงานนั้นไม่มีการตั้ง DPO ก็จะมีความผิดตามกฎหมายอีกด้วย เนื่องจากกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้วในวันที่ 13 ธ.ค. 2566 หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล, ใช้/ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ต้องมีการตั้ง DPO ถ้าไม่ตั้งหน่วยงานนั้นอาจโดนโทษปรับสูงสุดถึง 1 ล้านบาท
ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นเป็นข้าราชการ สามารถทำหนังสือพร้อมแนบหลักฐานที่มีแจ้งไปยังหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้ตั้งกรรมการสอบสวนเรื่องการกระทำผิดวินัยข้าราชการ พร้อมทั้งแนบใบแจ้งความที่สถานีตำรวจ (หนังสือตราครุฑ) ซึ่งต้องมีข้อความระบุว่าประสงค์ให้ดำเนินคดีจนถึงที่สุด เมื่อเรื่องไปถึงหน่วยงานต้นสังกัด ก็จะมีการตั้งกรรมการสอบสวนการกระทำผิดของข้าราชการผู้นั้น ซึ่งจะได้รับโทษทางวินัย 1 ใน 5 อย่างนี้
โทษทางวินัยมี 5 สถาน ดังต่อไปนี้
(1) ภาคทัณฑ์
(2) ตัดเงินเดือน
(3) ลดเงินเดือน
(4) ปลดออก
(5) ไล่ออก
แต่ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐผู้นั้นไม่ได้ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ คือไม่ได้ Login เข้าไปดูข้อมูลในระบบของกรมการปกครอง แต่ไปแจ้งความดำเนินคดี ก็อาจโดนฟ้องกลับในเรื่อง แจ้งความเท็จ, กลั่นแกล้งผู้อื่นให้ได้รับโทษอาญา, หมิ่นประมาททำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ได้เหมือนกันครับ
ถ้าหลักฐานในมือแน่นเพียงพอ เช่น มีไฟล์เสียง, มีไฟล์ VDO ที่เค้ายอมรับว่าได้มาจากการเข้าระบบไปคัดค้นข้อมูลมา ก็จัดไปครับ
ปล. เมื่อใช้สายแข็งแบบสุด ๆ เช่นนี้แล้ว คิดว่าน่าจะมั่นใจได้แน่นอนว่าคน ๆ นั้นจะไม่ตามจีบ จขกท. อีกต่อไปครับ
แสดงความคิดเห็น
เจ้าหน้าที่รัฐ ตามจีบตามคุกคาม ค้นทะเบียนราษฎร์ หาที่อยู่ ส่งของมา โดยไม่ได้รับอนุญาติเเจ้งข้อหาอะไรได้บ้าง
ส่งของมาตามที่อยู่ เรากลัววันนึงจะเกิดอันตรายกับที่บ้าน เราควรทำอย่างไรได้บ้าง