ขอคำแนะนำเกี่ยวกับการทำ Lab เรื่อง การวิเคราะห์หาปริมาณกรดอะซิติกในน้ำส้มสายชูโดยวิธีโพเทนชิโอเมตริกไทเทรชัน

พอดีเราเรียนวิชาเคมีวิเคราะห์ทำแลปตามเรื่องการไทเทรต
สารที่ใช้ตามสมการนี้

CH3COOH  + NaOH → CH3COONa + H2O

เราทำการไทเทรต 2 แบบ คือ
-วิธีโพเทนชิโอเมตริกไทเทรชัน
-ไทเทรตแบบใช้ฟีนอลทาลีน เป็นอิดิเคเตอร์

ซึ่งจากทางทฤษฎีค่าที่ได้จากวิธีโพเทนชิโอเมตริกไทเทรชัน จะแม่นยำกว่าไทเทรตแบบใช้ฟีนอลทาลีน เป็นอิดิเคเตอร์
แต่ผลที่เราทำออกมามันค่อนข้างใกล้เคียงกันทั้ง 2 วิธี เราอยากรู้สาเหตุว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

นี้ข้อมูลที่ได้จากการทดลองค่ะ






ค่าจริงของน้ำส้มสายชูตัวอย่าง คือ 5.0 %w/v
ปริมาตร NaOH ด้วยวิธีโพเทนชิโอเมตริกไทเทรชัน = 9.70 ml
เมื่อนำมาคำนวณ %w/v ได้คือ 5.791 ซึ่งห่างจากค่าจริงเยอะอยู่ มี%ความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ 15.82 %
และการไทเทรตแบบใช้อินดิเคเตอร์ มี%ความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ 18.92%
เราอยากทราบว่าทำไมค่าความคลาดเคลื่อนมันยังสูงอยู่ ทั้งที่ใช้เครื่อง pH meter ค่ามันห่างจากค่าการไทเทรตแบบใช้อินดิเคเตอร์นิดเดียวเองค่ะ มันมีปัจจัยอะไรทำไมค่าถึงเป็นเช่นนี้คะ?

ใครรู้ช่วยอธิบายเราหน่อยนะคะ 🥹

ปล.เราเป็นเด็กชีวะที่ต้องเรียนเคมีตัวนี้ ไม่เก่งเคมีเลยค่ะ อย่าด่าเรานะคะ🙏✨

ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบนะคะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่