Racket Club ที่ฉันได้สัมผัส [VR GAMES : 14]

Racket Club เป็นกีฬาที่ไม่มีอยู่จริง แต่เป็นการออกแบบกีฬาชนิดใหม่ขึ้นมาเพื่อให้เหมาะกับการเล่นใน VR โดยเฉพาะ โดยเป็นการผสมผสานจากกีฬาหลายหลายชนิดที่ใช้แร็กเก็ตในการเล่นมาประยุกต์เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเทนนิส Pickleball Padel ปิงปองเป็นต้น 

สนามสำหรับเล่น Racket Club จะคล้ายสนามเทนนิสแต่มีขนาดเล็กกว่า และมีผนังแบบใสกันอยู่รอบ ๆ โดยผนังรอบ ๆ นั้นเป็นส่วนประกอบสำคัญในการพลิกแพลงให้การเล่น Racket Club มีความหลากหลายมากขึ้น 

Racket Club มีกติกาและการนับคะแนนดังนี้
- สลับการเซิร์ฟ คนละหนึ่งครั้ง
- ตีลูกบอลโดยให้ลูกลงพื้นก่อนหรือไม่ต้องลงพื้นก็ได้เหมือนการเล่นเทนนิส เหมือนพิกเกิ้ลบอล 
- ตีเด้งจากกำแพงด้านข้าง หรือด้านหลังได้ 
- นับคะแนนแบบ 11 คะแนน ผู้ที่ถึง 11 ก่อนเป็นผู้ชนะ
- เล่นแบบ 2 เกม หากเสมอ 1:1 ใครเป็นผู้ชนะในเกมที่ 3 คือผู้ชนะการแข่งขัน
- มีการนับคะแนนแบบ Rally ด้วย ยิ่ง Rally นาน ผู้ที่ชนะในการตีครั้งนั้น จะยิ่งได้คะแนนเยอะ เช่น Rally 3 ครั้ง ผู้ชนะจะได้ 3 คะแนน หรือถ้า Rally ถึง 5 ครั้งหรือมากกว่า จะเข้าสู่ Ultra Rally ผู้ชนะในแต้มที่เป็น Ultra Rally จะได้ 5 คะแนน
- เกมถูกออกแบบมาให้เล่นในพื้นที่เล็ก ๆ ได้ ผู้เล่นจะได้ไม่ต้องต้องเคลื่อนตัวเยอะ ดังนั้นหากฝ่ายบุกตีลูกตกภายในพื้นที่ด้านหน้าแล้วลูกเด้งอยู่ในนั้นเกินสองครั้ง ถือว่าฝ่ายบุกเป็นผู้ทำฟาลว์  
- เกมไม่เน้นตีรุนแรง การตีเข้าถึงกระจกด้านหลังของอีกฝ่ายโดยตรงถือว่าฟาวล์

โหมดการเล่น
ตัวเกมมีโหมดการเล่นหลากหลาย
- เล่นคนเดียวแบบเล่นกับ AI หรือฝึกหัดตามบทเรียนที่มีหลายรูปแบบ หลายระดับ
- เล่นแบบประเภทเดี่ยวหรือประเภทคู่โดยสุ่มเล่นกับคนที่กำลังออนไลน์อยู่
- Single player แบบ Career Mode ที่แข่งแบบ Round Robin ที่มีสถานที่ประเทศไทยอยู่ในเกมด้วย คือจังหวัดภูเก็ต
- เข้าไปในคลับโหมด ไปยืนดูข้างสนามและขอเล่นกับผู้ที่กำลังเล่นอยู่

จุดเด่นของตัวเกม
- ระบบ Physic ดี ในครั้งแรกที่เล่นเกมนี้ ให้ลองตีลูกเปล่าเปล่าเพื่อให้คุ้นกับน้ำหนักของลูกบอลซัก 5 ถึง 10 ครั้ง หลังจากชินกับน้ำหนักของลูกแล้ว ก็จะเล่นได้ยาวยาว

- การออกแบบเกมที่ดี เวลามีการนำกีฬาที่อยู่จริงมาทำเป็นเกมในวีอาร์โดยเฉพาะกีฬาที่ใช้พื้นที่เยอะ เช่นเทนนิสคือการเคลื่อนที่ในเกมที่มักจะเป็นข้อจำกัดหรือสร้างปัญหาขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวแบบ Locomotion ที่ทำให้บางคนเวียนหัวมีจากอาการ Motion Sickness หรือการตัดภาพแบบเทเลพอร์ตที่ทำให้การเล่นใน VR ไม่สมจริง ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ตัวเกมจึงออกแบบให้สามารถเล่นในพื้นที่ขนาดเล็กได้  เป็นเกมที่ออกมาได้อย่างเข้าใจวีอาร์อย่างแท้จริง

- มีระบบเทรนนิ่งที่ดี มีความการเทรนนิ่งหลายระดับและหลากหลายพอที่จะทำให้ผู้ยอมเสียเวลาฝึกสะสมประสบการณ์พร้อมที่จะลงแข่งกับผู้เล่นคนอื่นอื่นหรือเข้าไปลุยในโหมด Career   

- รองรับการเล่นแบบ Mixed Reality ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคนที่มีพื้นที่จำกัด เพราะสามารถเห็นได้เลยว่า สามารถเอื้อมไปตีได้ไกลที่สุดถึงแค่ไหน โดนไม่ชนกำแพงหรือชนข้าวของเสียหาย
 
จุดด้อยของตัวเกม
ถึงแม้ตัวเกมจะเล่นแบบเห็นอวตารทั้งตัว ที่มีขาด้วย ไม่ได้มีแค่ท่อนบนเหมือนอีกหลาย ๆ เกม แต่ภาพของตัวเกมยังไม่ค่อยดีนัก ถ้าเทียบกับเกมที่ออกมาในช่วงปีนี้ ตัวละครก็ยังไม่ค่อยมีรายละเอียดมากนัก รวมถึงฉากต่าง ๆ ก็ยังธรรมดาอยู่ อย่างฉากสนามแข่งในประเทศไทย ภูเก็ต หากไม่ได้มีชื่อบอก ก็คงมองไม่ออกว่าเป็นจังหวัดภูเก็ต

สรุป 
Racket Club เป็นเกมที่สร้างโดยผู้ออกแบบเกมที่เข้าใจความเป็นวีอาร์ สามารถออกแบบเกมกีฬาชนิดใหม่มาเพื่อเลนในวีอาร์ได้อย่างดีเยี่ยม ถึงแม้จะมีจุดด้อยที่ภาพไม่สวยเท่าเกมยุคใหม่ แต่ก็เป็นจุดด้อยจุดเดียวที่พบในเกมนี้

หากท่านชอบกีฬาที่ใช้แร็กเก็ตในการเล่น ใช้เวลาเรียนรู้เกมนี้ไม่กี่นาที ท่านจะมีกีฬาที่สนุกสนุกเอาไว้ออกกำลังกายในห้องนั่งเล่นเพิ่มอีก 1 กีฬา  

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่