เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนอยากเห็นลูกเติบโตมีพัฒนาการที่ดี พยายามให้ลูกได้กินอาหารครบหมู่ ให้ลูกได้เล่นได้ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ และได้นอนหลับอย่างเต็มอิ่ม แต่ยังมีบางเรื่องที่พ่อแม่อาจมองข้าม หรือยังไม่เห็นความสำคัญ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของลูกเช่นกัน
นั่นคือการให้ลูกสวมหมวกกันน็อกทุกครั้ง เพราะจากผลสำรวจของกรมขนส่งทางบกพบว่า ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุการขับขี่รถจักรยานยนตร์ 75.6% ไม่ใส่หมวกกันน็อกและมีเด็กไทยเพียง 7% เท่านั้นที่พ่อแม่ใส่หมวกกันน็อกให้ระหว่างเดินทาง
นอกจากความอันตรายถึงแก่ชีวิต ยังมีอีกประเด็นสำคัญก็คือ ผลกระทบทางสมองจากการบาดเจ็บที่ศีรษะ เนื่องจากภายในกะโหลกศีรษะมีสมอง ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่เกี่ยวพันกับพัฒนาการด้านต่างๆของลูก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ชวนคุณหมอประชา กัญญาประสิทธิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมประสาท มาเล่าประสบการณ์การรักษาเด็กน้อยที่ประสบอุบัติเหตุ และอธิบายถึงความสำคัญของสมอง เพื่อมุ่งหวังให้พ่อแม่ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการสวมหมวกกันน็อกเพื่อปกป้องสมองน้อยๆ ของลูก
“กรณีที่เจอบ่อยคือ ลูกนั่งซ้อนข้างหน้าแม่ที่เป็นคนขับ แล้วเกิดอุบัติเหตุ ลูกหัวกระแทกโดยไม่ได้สวมหมวกกันน็อกเคสหนึ่งที่เจอคือ กะโหลกแตก ยุบลงไป สภาพเหมือนลูกปิงปองบุบ”
“โชคดีที่เด็กคนนั้น สมองยังไม่หลวม กะโหลกยังไม่โตเต็มที่ ยังมีความยืดหยุ่น และแรงกระแทกไม่ได้ทำให้เลือดออกหรือมีเลือดคั่ง เลยสามารถช่วยชีวิตไว้ได้”
อย่างไรก็ตาม คุณหมอประชายังได้ย้ำว่า สมองเป็นอวัยวะสำคัญที่เปราะบาง หากเด็กๆไม่ได้สวมหมวกกันน็อก แล้วศีรษะถูกกระแทก อาจส่งผลกระทบต่อลูกหลายด้านเพราะสมองแต่ละส่วนมีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง
“สมองแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆได้แก่สมองส่วนหน้ากับสมองน้อยด้านหลังที่รวมถึงก้านสมอง โดยหน้าที่ส่วนใหญ่ของสมองส่วนหน้า จะทำให้มนุษย์มีความแตกต่างจากสัตว์เช่น ทำหน้าที่ควบคุมความรู้สึกนึกคิดนิสัยใจคอความยับยั้งชั่งใจการเข้าสังคม รวมถึงการควบคุมการเคลื่อนไหว
ถ้าสมองส่วนนี้กระทบกระเทือนอาจทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนทำอะไรแปลกประหลาดจากคนทั่วไปและยังมีสมองซีกซ้ายทำหน้าที่เกี่ยวกับทักษะการพูดหากสมองส่วนนี้ของลูกบาดเจ็บอาจทำให้เขาคิดอย่างพูดไปอีกอย่างหรือมีปัญหาในการทำความเข้าใจภาษา
ส่วนสมองส่วนด้านหลังและก้านสมองจะควบคุมการหายใจและการเต้นของหัวใจ แน่นอนว่า ถ้าเกิดปัญหากับสมองส่วนนี้ ย่อมส่งผลต่อการใช้ชีวิตของลูกเช่นกัน”
ท้ายสุดคุณหมอประชาได้ย้ำว่า อยากให้ผู้ขับขี่ทุกคน ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ คนขับหรือคนซ้อน สวมหมวกกันน็อกทุกครั้งไม่ว่าจะเป็นการเดินทางใกล้หรือไกล เพราะการป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา โดยเฉพาะการรักษาสมองไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างแน่นอน!
กดติดตามข้อมูลข่าวสาร แคมเปญที่น่าสนใจ และกิจกรรมดีๆ จาก สสส เพิ่มเติมได้ที่ :
Facebook :
Social Marketing Thaihealth by สสส.
Line :
@thaihealththailand
Tiktok :
@thaihealth
Youtube :
SocialMarketingTH
Website :
Social Marketing การตลาดเพื่อสังคม
[Advertorial]
[BR] ฟังเรื่องจริงจากหมอ ลูกหัวยุบเหมือนลูกปิงปองบุบ เพียงเพราะพ่อแม่ลืมทำสิ่งนี้
เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนอยากเห็นลูกเติบโตมีพัฒนาการที่ดี พยายามให้ลูกได้กินอาหารครบหมู่ ให้ลูกได้เล่นได้ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ และได้นอนหลับอย่างเต็มอิ่ม แต่ยังมีบางเรื่องที่พ่อแม่อาจมองข้าม หรือยังไม่เห็นความสำคัญ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของลูกเช่นกัน
นั่นคือการให้ลูกสวมหมวกกันน็อกทุกครั้ง เพราะจากผลสำรวจของกรมขนส่งทางบกพบว่า ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุการขับขี่รถจักรยานยนตร์ 75.6% ไม่ใส่หมวกกันน็อกและมีเด็กไทยเพียง 7% เท่านั้นที่พ่อแม่ใส่หมวกกันน็อกให้ระหว่างเดินทาง
นอกจากความอันตรายถึงแก่ชีวิต ยังมีอีกประเด็นสำคัญก็คือ ผลกระทบทางสมองจากการบาดเจ็บที่ศีรษะ เนื่องจากภายในกะโหลกศีรษะมีสมอง ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่เกี่ยวพันกับพัฒนาการด้านต่างๆของลูก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ชวนคุณหมอประชา กัญญาประสิทธิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมประสาท มาเล่าประสบการณ์การรักษาเด็กน้อยที่ประสบอุบัติเหตุ และอธิบายถึงความสำคัญของสมอง เพื่อมุ่งหวังให้พ่อแม่ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการสวมหมวกกันน็อกเพื่อปกป้องสมองน้อยๆ ของลูก
“กรณีที่เจอบ่อยคือ ลูกนั่งซ้อนข้างหน้าแม่ที่เป็นคนขับ แล้วเกิดอุบัติเหตุ ลูกหัวกระแทกโดยไม่ได้สวมหมวกกันน็อกเคสหนึ่งที่เจอคือ กะโหลกแตก ยุบลงไป สภาพเหมือนลูกปิงปองบุบ”
“โชคดีที่เด็กคนนั้น สมองยังไม่หลวม กะโหลกยังไม่โตเต็มที่ ยังมีความยืดหยุ่น และแรงกระแทกไม่ได้ทำให้เลือดออกหรือมีเลือดคั่ง เลยสามารถช่วยชีวิตไว้ได้”
อย่างไรก็ตาม คุณหมอประชายังได้ย้ำว่า สมองเป็นอวัยวะสำคัญที่เปราะบาง หากเด็กๆไม่ได้สวมหมวกกันน็อก แล้วศีรษะถูกกระแทก อาจส่งผลกระทบต่อลูกหลายด้านเพราะสมองแต่ละส่วนมีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง
“สมองแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆได้แก่สมองส่วนหน้ากับสมองน้อยด้านหลังที่รวมถึงก้านสมอง โดยหน้าที่ส่วนใหญ่ของสมองส่วนหน้า จะทำให้มนุษย์มีความแตกต่างจากสัตว์เช่น ทำหน้าที่ควบคุมความรู้สึกนึกคิดนิสัยใจคอความยับยั้งชั่งใจการเข้าสังคม รวมถึงการควบคุมการเคลื่อนไหวถ้าสมองส่วนนี้กระทบกระเทือนอาจทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนทำอะไรแปลกประหลาดจากคนทั่วไปและยังมีสมองซีกซ้ายทำหน้าที่เกี่ยวกับทักษะการพูดหากสมองส่วนนี้ของลูกบาดเจ็บอาจทำให้เขาคิดอย่างพูดไปอีกอย่างหรือมีปัญหาในการทำความเข้าใจภาษา
ส่วนสมองส่วนด้านหลังและก้านสมองจะควบคุมการหายใจและการเต้นของหัวใจ แน่นอนว่า ถ้าเกิดปัญหากับสมองส่วนนี้ ย่อมส่งผลต่อการใช้ชีวิตของลูกเช่นกัน”
ท้ายสุดคุณหมอประชาได้ย้ำว่า อยากให้ผู้ขับขี่ทุกคน ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ คนขับหรือคนซ้อน สวมหมวกกันน็อกทุกครั้งไม่ว่าจะเป็นการเดินทางใกล้หรือไกล เพราะการป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา โดยเฉพาะการรักษาสมองไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างแน่นอน!
กดติดตามข้อมูลข่าวสาร แคมเปญที่น่าสนใจ และกิจกรรมดีๆ จาก สสส เพิ่มเติมได้ที่ :
Facebook : Social Marketing Thaihealth by สสส.
Line : @thaihealththailand
Tiktok : @thaihealth
Youtube : SocialMarketingTH
Website : Social Marketing การตลาดเพื่อสังคม
[Advertorial]
BR - Business Review : กระทู้นี้เป็นกระทู้รีวิวจากผู้สนับสนุน