ไม่รอด! ศาลสั่งจำคุก “ลุงพล” 20 ปี หลักฐานมัด “คดีน้องชมพู่” ดับกลางป่า
วันนี้ (20 ธ.ค.) ศาลจังหวัดมุกดาหารพิพากษาจำคุก นายไชยพล วิภา หรือลุงพล ในข้อหากระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย 10 ปี และพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา โดยปราศจากเหตุอันสมควร 10 ปี รวม 20 ปี และชําระค่าสินไหมทดแทนทางแพ่งให้แก่นางสาวิตรี วงศ์ศรีชา และนายอนามัย วงศ์ศรีชา มารดาและบิดาซึ่งเป็นโจทก์ร่วม กรณีที่เด็กหญิงอรวรรณ วงศ์ศรีชา หรือน้องชมพู่ อายุ 3 ขวบ เสียชีวิตที่เขาภูเหล็กไฟ บ้านกกกอก ต.กกตูม อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร ส่วน น.ส.สมพร หลาบโพธิ์ หรือป้าแต๋น ศาลยกฟ้อง
โดยศาลเห็นว่า ประการที่หนึ่ง ในวันเกิดเหตุ เวลาประมาณ 09.00 น. ผู้ตายเล่นอยู่บริเวณหน้าบ้านพักและมีเด็กหญิง ก. พี่สาวผู้ตายนอนเล่นโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ใกล้เคียง กระทั่งเวลาประมาณ 09.50 น. เด็กหญิง ก. มองหาผู้ตายไม่เห็นจึงออกตามหา ดังนั้น ผู้ตายต้องหายตัวไป ก่อนช่วงเวลาดังกล่าว โดยเด็กหญิง ก. เบิกความว่าไม่ได้ยินเสียงผู้ตายร้องแต่อย่างใด เชื่อว่า คนร้ายที่พาผู้ตายไป ต้องเป็นญาติหรือบุคคลใกล้ชิดในหมู่บ้านที่ผู้ตายรู้จักดี เนื่องจากผู้ตายจะร้องไห้หากถูกคนแปลกหน้าอุ้ม ตํารวจจึงสืบสวนกลุ่มบุคคลดังกล่าว 14 คน แบ่งเป็นญาติ 12 คน และบุคคลใกล้ชิด 2 คน พบว่า 13 คน มีหลักฐานยืนยันที่อยู่หรือตําแหน่งอ้างอิงจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ชัดเจน ยกเว้นนายไชยพล ซึ่งไม่สามารถยืนยันฐานที่อยู่ได้แน่ชัด
ประการที่สอง นายไชยพล หรือลุงพลให้การเป็นข้อพิรุธหลายอย่าง อาทิ ให้การกับเจ้าพนักงานตํารวจชุดสืบสวนว่า วันเกิดเหตุ มีนัดไปรับพระ ส. ที่วัดถ้ําภูผาแอก ขณะเดินทางไปวัด น.ส.สมพร หรือป้าแต๋นโทรศัพท์แจ้งนายไชยพลว่า ผู้ตายหายตัวไป แต่ครอบครัวของจําเลยทั้งสองมีโทรศัพท์เคลื่อนที่เพียงเครื่องเดียวอยู่กับ น.ส.สมพร จึงเป็นไปไม่ได้ ที่ น.ส.สมพร จะโทรศัพท์แจ้งเรื่องแก่นายไชยพล อีกทั้งพระ บ. ซึ่งจําวัดอยู่ที่วัดถ้ําภูผาแอกเช่นกันยืนยันว่า วันดังกล่าว เวลาประมาณ 10.00 น. นายไชยพลเดินทางไปถึงวัดและพูดกับพระ บ. ว่า หลานหายเกือบไม่ได้ไปส่งพระ ทั้งที่ ในขณะนั้น นายไชยพลซึ่งไม่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ติดตัวต้องยังไม่ทราบเหตุว่าผู้ตายหายตัวไป
ประการที่สาม พยานโจทก์ปากนาย ว. และนาง พ. ให้การในชั้นสอบสวนว่า พยานเห็นนายไชยพลอยู่บริเวณ สวนยางพาราซึ่งเป็นทางเดินที่สามารถเข้าถึงจุดที่ผู้ตายหายตัวไป ในช่วงเวลาที่คนร้ายลงมือกระทําความผิด โดยขณะที่ มีการสอบสวนเรื่องนี้ นายไชยพลพยายามไปพูดคุยกับนาย ว. ให้ นาย ว. บอกตํารวจว่า นาย ว. พบนายไชยพลในช่วงเวลา 07.00 น. ไม่ใช่ช่วงเวลา ที่เกิดเหตุ เพื่อไม่ให้ตำรวจสงสัยนายไชยพล จึงเป็นข้อพิรุธว่า หากนายไชยพลไม่ได้กระทําความผิด เหตุใดต้องพูดจาในลักษณะดังกล่าวกับพยานที่ให้การต่อตํารวจตามข้อเท็จจริงที่ตนรู้เห็น แม้ต่อมาในขณะสืบพยาน นาง พ. จะเบิกความว่า ตนไม่ได้เห็นนายไชยพลบริเวณสวนยางพารา แต่ก็เป็นการกลับคําภายหลังเกิดเหตุกว่า 2 ปี ซึ่งอาจทําเพื่อช่วยเหลือนายไชยพล คําให้การในชั้นสอบสวนของนาง พ. จึงมีน้ําหนักน่าเชื่อถือยิ่งกว่า
ประการสุดท้าย ภายหลังเจ้าพนักงานตํารวจตั้งข้อสงสัยว่า นายไชยพลเป็นคนร้าย จึงมีการเข้าตรวจค้นรถยนต์นายไชยพลพบเส้นผม 16 เส้น และวัตถุพยานอื่น โดยผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ประกอบกับคําเบิกความของพยานผู้เชี่ยวชาญปรากฏว่า เส้นผม 1 เส้น ที่ตกอยู่ในรถยนต์นายไชยพล มีองศาของรอยตัด หน้าตัด และพื้นผิวด้านข้าง ตรงกันกับเส้นผมผู้ตาย 2 เส้น ซึ่งตรวจเก็บได้จากบริเวณที่พบศพผู้ตาย เส้นผมทั้ง 3 เส้น ดังกล่าว จึงถูกตัดในคราวเดียวกัน ด้วยวัตถุของแข็งมีคมชนิดเดียวกัน เชื่อว่า นายไชยพลเป็นผู้ใช้ของแข็งมีคมตัดเส้นผมผู้ตาย แต่ด้วยเหตุที่เส้นผม มีขนาดเล็กมาก นายไชยพลจึงไม่สังเกตว่ามีเส้นผมผู้ตายเส้นหนึ่งตกอยู่ในรถยนต์ของตน
การสืบสวนสอบสวนของตํารวจในคดีนี้ไม่ได้มุ่งเป้าไปยังนายไชยพลมาแต่แรก หากเกิดจาก การรวบรวมพยานหลักฐานและตั้งข้อสันนิษฐานอย่างเป็นลําดับขั้นตอนดังวินิจฉัยไว้ข้างต้น โดยไม่ปรากฏว่า ผู้ที่เกี่ยวข้อง คนใดมีสาเหตุโกรธเคืองหรือมูลเหตุชักจูงใจในการใส่ร้ายนายไชยพล จึงเชื่อว่านายไชยพลเป็นคนร้ายที่พาผู้ตายขึ้นไปบนเขาภูเหล็กไฟ
ปัญหาต่อมาต้องวินิจฉัยว่า ขณะพาผู้ตายขึ้นไปบนเขาภูเหล็กไฟ นายไชยพลรู้หรือไม่ว่า ผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว หรือยังมีชีวิตอยู่ เห็นว่า นายไชยพลไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับโจทก์ร่วมทั้งสองหรือผู้ตายมาก่อน จึงไม่น่าเชื่อว่านายไชยพลมีเจตนาฆ่าหรือเจตนาทอดทิ้งผู้ตาย ประกอบกับรายงานการตรวจศพผู้ตายพบรอยใต้หนังศีรษะ บริเวณหน้าผาก ด้านซ้ายและท้ายทอยเป็น ๆ จึงอาจเป็นกรณีที่ผู้ตายหมดสติไป ส่วนนายไชยพลไม่ได้ตรวจดูให้ดีเลยพาผู้ตายไปทิ้งไว้บนเขาภูเหล็กไฟ การกระทําของนายไชยพลเป็นความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่า จําเลยทั้งสองร่วมกันเคลื่อนย้ายศพฯ นั้น เห็นว่า ภายหลังวันเกิดเหตุจนถึงวันที่พบศพผู้ตาย โจทก์ไม่มีพยานคนใดเบิกความว่าเห็นจําเลยทั้งสองขึ้นไปบนเขาภูเหล็กไฟ แม้ผลการตรวจเส้นผม 3 เส้น จากบริเวณที่พบศพผู้ตายมี mtDNA ตรงกับ น.ส.สมพร จำเลยที่ 2 แต่การตรวจหา mtDNA นั้น ไม่สามารถใช้ระบุตัวบุคคลได้ เพียงแต่ระบุได้ว่า เป็นเส้นผมของบุคคลที่อยู่ในสายมารดาเดียวกับผู้ตายเท่านั้น เส้นผมดังกล่าวจึงไม่จําต้องเป็นของ น.ส.สมพรเพียงผู้เดียว เห็นควรยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จําเลยทั้งสองในข้อหานี้
https://www.facebook.com/share/p/f5qFhnbK93TRYr7e/?mibextid=qi2Omg
แม่ยก-แฟนคลับ มีสะอื้น ไม่รอด!ศาลสั่งจำคุก“ลุงพล”20ปี “คดีน้องชมพู่” หลักฐานมัดแน่น ส่วน “ป้าแต๋น” ยกฟ้อง
วันนี้ (20 ธ.ค.) ศาลจังหวัดมุกดาหารพิพากษาจำคุก นายไชยพล วิภา หรือลุงพล ในข้อหากระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย 10 ปี และพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา โดยปราศจากเหตุอันสมควร 10 ปี รวม 20 ปี และชําระค่าสินไหมทดแทนทางแพ่งให้แก่นางสาวิตรี วงศ์ศรีชา และนายอนามัย วงศ์ศรีชา มารดาและบิดาซึ่งเป็นโจทก์ร่วม กรณีที่เด็กหญิงอรวรรณ วงศ์ศรีชา หรือน้องชมพู่ อายุ 3 ขวบ เสียชีวิตที่เขาภูเหล็กไฟ บ้านกกกอก ต.กกตูม อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร ส่วน น.ส.สมพร หลาบโพธิ์ หรือป้าแต๋น ศาลยกฟ้อง
โดยศาลเห็นว่า ประการที่หนึ่ง ในวันเกิดเหตุ เวลาประมาณ 09.00 น. ผู้ตายเล่นอยู่บริเวณหน้าบ้านพักและมีเด็กหญิง ก. พี่สาวผู้ตายนอนเล่นโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ใกล้เคียง กระทั่งเวลาประมาณ 09.50 น. เด็กหญิง ก. มองหาผู้ตายไม่เห็นจึงออกตามหา ดังนั้น ผู้ตายต้องหายตัวไป ก่อนช่วงเวลาดังกล่าว โดยเด็กหญิง ก. เบิกความว่าไม่ได้ยินเสียงผู้ตายร้องแต่อย่างใด เชื่อว่า คนร้ายที่พาผู้ตายไป ต้องเป็นญาติหรือบุคคลใกล้ชิดในหมู่บ้านที่ผู้ตายรู้จักดี เนื่องจากผู้ตายจะร้องไห้หากถูกคนแปลกหน้าอุ้ม ตํารวจจึงสืบสวนกลุ่มบุคคลดังกล่าว 14 คน แบ่งเป็นญาติ 12 คน และบุคคลใกล้ชิด 2 คน พบว่า 13 คน มีหลักฐานยืนยันที่อยู่หรือตําแหน่งอ้างอิงจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ชัดเจน ยกเว้นนายไชยพล ซึ่งไม่สามารถยืนยันฐานที่อยู่ได้แน่ชัด
ประการที่สอง นายไชยพล หรือลุงพลให้การเป็นข้อพิรุธหลายอย่าง อาทิ ให้การกับเจ้าพนักงานตํารวจชุดสืบสวนว่า วันเกิดเหตุ มีนัดไปรับพระ ส. ที่วัดถ้ําภูผาแอก ขณะเดินทางไปวัด น.ส.สมพร หรือป้าแต๋นโทรศัพท์แจ้งนายไชยพลว่า ผู้ตายหายตัวไป แต่ครอบครัวของจําเลยทั้งสองมีโทรศัพท์เคลื่อนที่เพียงเครื่องเดียวอยู่กับ น.ส.สมพร จึงเป็นไปไม่ได้ ที่ น.ส.สมพร จะโทรศัพท์แจ้งเรื่องแก่นายไชยพล อีกทั้งพระ บ. ซึ่งจําวัดอยู่ที่วัดถ้ําภูผาแอกเช่นกันยืนยันว่า วันดังกล่าว เวลาประมาณ 10.00 น. นายไชยพลเดินทางไปถึงวัดและพูดกับพระ บ. ว่า หลานหายเกือบไม่ได้ไปส่งพระ ทั้งที่ ในขณะนั้น นายไชยพลซึ่งไม่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ติดตัวต้องยังไม่ทราบเหตุว่าผู้ตายหายตัวไป
ประการที่สาม พยานโจทก์ปากนาย ว. และนาง พ. ให้การในชั้นสอบสวนว่า พยานเห็นนายไชยพลอยู่บริเวณ สวนยางพาราซึ่งเป็นทางเดินที่สามารถเข้าถึงจุดที่ผู้ตายหายตัวไป ในช่วงเวลาที่คนร้ายลงมือกระทําความผิด โดยขณะที่ มีการสอบสวนเรื่องนี้ นายไชยพลพยายามไปพูดคุยกับนาย ว. ให้ นาย ว. บอกตํารวจว่า นาย ว. พบนายไชยพลในช่วงเวลา 07.00 น. ไม่ใช่ช่วงเวลา ที่เกิดเหตุ เพื่อไม่ให้ตำรวจสงสัยนายไชยพล จึงเป็นข้อพิรุธว่า หากนายไชยพลไม่ได้กระทําความผิด เหตุใดต้องพูดจาในลักษณะดังกล่าวกับพยานที่ให้การต่อตํารวจตามข้อเท็จจริงที่ตนรู้เห็น แม้ต่อมาในขณะสืบพยาน นาง พ. จะเบิกความว่า ตนไม่ได้เห็นนายไชยพลบริเวณสวนยางพารา แต่ก็เป็นการกลับคําภายหลังเกิดเหตุกว่า 2 ปี ซึ่งอาจทําเพื่อช่วยเหลือนายไชยพล คําให้การในชั้นสอบสวนของนาง พ. จึงมีน้ําหนักน่าเชื่อถือยิ่งกว่า
ประการสุดท้าย ภายหลังเจ้าพนักงานตํารวจตั้งข้อสงสัยว่า นายไชยพลเป็นคนร้าย จึงมีการเข้าตรวจค้นรถยนต์นายไชยพลพบเส้นผม 16 เส้น และวัตถุพยานอื่น โดยผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ประกอบกับคําเบิกความของพยานผู้เชี่ยวชาญปรากฏว่า เส้นผม 1 เส้น ที่ตกอยู่ในรถยนต์นายไชยพล มีองศาของรอยตัด หน้าตัด และพื้นผิวด้านข้าง ตรงกันกับเส้นผมผู้ตาย 2 เส้น ซึ่งตรวจเก็บได้จากบริเวณที่พบศพผู้ตาย เส้นผมทั้ง 3 เส้น ดังกล่าว จึงถูกตัดในคราวเดียวกัน ด้วยวัตถุของแข็งมีคมชนิดเดียวกัน เชื่อว่า นายไชยพลเป็นผู้ใช้ของแข็งมีคมตัดเส้นผมผู้ตาย แต่ด้วยเหตุที่เส้นผม มีขนาดเล็กมาก นายไชยพลจึงไม่สังเกตว่ามีเส้นผมผู้ตายเส้นหนึ่งตกอยู่ในรถยนต์ของตน
การสืบสวนสอบสวนของตํารวจในคดีนี้ไม่ได้มุ่งเป้าไปยังนายไชยพลมาแต่แรก หากเกิดจาก การรวบรวมพยานหลักฐานและตั้งข้อสันนิษฐานอย่างเป็นลําดับขั้นตอนดังวินิจฉัยไว้ข้างต้น โดยไม่ปรากฏว่า ผู้ที่เกี่ยวข้อง คนใดมีสาเหตุโกรธเคืองหรือมูลเหตุชักจูงใจในการใส่ร้ายนายไชยพล จึงเชื่อว่านายไชยพลเป็นคนร้ายที่พาผู้ตายขึ้นไปบนเขาภูเหล็กไฟ
ปัญหาต่อมาต้องวินิจฉัยว่า ขณะพาผู้ตายขึ้นไปบนเขาภูเหล็กไฟ นายไชยพลรู้หรือไม่ว่า ผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว หรือยังมีชีวิตอยู่ เห็นว่า นายไชยพลไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับโจทก์ร่วมทั้งสองหรือผู้ตายมาก่อน จึงไม่น่าเชื่อว่านายไชยพลมีเจตนาฆ่าหรือเจตนาทอดทิ้งผู้ตาย ประกอบกับรายงานการตรวจศพผู้ตายพบรอยใต้หนังศีรษะ บริเวณหน้าผาก ด้านซ้ายและท้ายทอยเป็น ๆ จึงอาจเป็นกรณีที่ผู้ตายหมดสติไป ส่วนนายไชยพลไม่ได้ตรวจดูให้ดีเลยพาผู้ตายไปทิ้งไว้บนเขาภูเหล็กไฟ การกระทําของนายไชยพลเป็นความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่า จําเลยทั้งสองร่วมกันเคลื่อนย้ายศพฯ นั้น เห็นว่า ภายหลังวันเกิดเหตุจนถึงวันที่พบศพผู้ตาย โจทก์ไม่มีพยานคนใดเบิกความว่าเห็นจําเลยทั้งสองขึ้นไปบนเขาภูเหล็กไฟ แม้ผลการตรวจเส้นผม 3 เส้น จากบริเวณที่พบศพผู้ตายมี mtDNA ตรงกับ น.ส.สมพร จำเลยที่ 2 แต่การตรวจหา mtDNA นั้น ไม่สามารถใช้ระบุตัวบุคคลได้ เพียงแต่ระบุได้ว่า เป็นเส้นผมของบุคคลที่อยู่ในสายมารดาเดียวกับผู้ตายเท่านั้น เส้นผมดังกล่าวจึงไม่จําต้องเป็นของ น.ส.สมพรเพียงผู้เดียว เห็นควรยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จําเลยทั้งสองในข้อหานี้
https://www.facebook.com/share/p/f5qFhnbK93TRYr7e/?mibextid=qi2Omg