คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
หลักฐานชั้นต้นคือรายงานของ ฟอลเคอรัส เวสเตอร์โวลต์ (Volkerus Westerwolt) หัวหน้าสถานีการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ประจำกรุงศรีอยุทธยาในเวลานั้น (ค.ศ. 1656/พ.ศ. 2199) รายงานว่า
8 สิงหาคม เวสเตอร์โวลต์ทราบจากล่ามของบริษัทว่า สมเด็จพระเจ้าปราสาททองสวรรคตแล้ว เจ้าฟ้าไชยทรงนำกำลังเข้าควบคุมพระราชวังทันที สมเด็จพระนารายณ์ และพระอนุชาทั้ง 3 องค์ พร้อมด้วย "ฝ่ายหน้า" คือพระศรีสุธรรมราชา ต่างออกจากพระราชวังรวบรวมไพร่พล สมเด็จพระนารายณ์ทรงขอความช่วยเหลือจากบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ เป็นกำลังพลและปืนไฟ แต่เวสเตอร์โวลต์ปฏิเสธโดยอ้างว่าต้องเอากำลังไว้ปกป้องสถานีการค้าระหว่างที่สถานการณ์ทางการเมืองยังไม่แน่นอน และทางบริษัทได้สั่งการไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองภายในของประเทศอื่น
ไม่นานหลังจากล่ามกลับออกไปจากสถานีการค้า เกิดการต่อสู้บริเวณพระราชวังจนมองเห็นควันไฟ คนที่ผ่านไปมาบอกชาวดัตช์ว่าสมเด็จพระนารายณ์มีรับสั่งให้เผาบ้านเรือนใกล้พระราชวัง และได้ยินเสียงปืนใหญ่ จนกระทั่งเวลาบ่ายสี่โมง เวสเตอร์โวลต์ได้ทราบว่าเจ้าฟ้าไชยได้เสด็จหนีออกจากพระราชวัง พระนารายณ์ยึดพระราชวังได้สำเร็จ
9 สิงหาคม ดัตช์ได้ข่าวว่าระหว่างการรบมีคนฝ่ายเจ้าฟ้าไชยตายไปจำนวนหนึ่ง ฝ่ายสมเด็จพระนารายณ์มีชาวมลายูคนเดียวที่ตายเพราะถูกก้อนหินที่เขวี้ยงมาจากฝ่ายที่ป้องกันพระราชวัง
ขุนนางที่สนับสนุนเจ้าฟ้าไชยหลายคน รวมถึงออกญาจักรีและออกญามหาอุปราชหลบหนีออกจากวัง ออกญาพระคลัง (อดีตออกญาสมบัติบาล) หลบหนีแต่เปลี่ยนใจกลับเข้ามาพระราชวังจึงถูกจับกุม บ้านเรือนขุนนางฝ่ายเจ้าฟ้าไชยถูกยึดให้ปล้นสะดม สมเด็จพระนารายณ์อัญเชิญ "ฝ่ายหน้า" (พระศรีสุธรรมราชา) ผู้เป็นพระเจ้าอาขึ้นครองราชสมบัติ
11 สิงหาคม ประมาณ 4 นาฬิกา เจ้าฟ้าไชยทรงถูกจับกุมที่เหนือเมืองอยุทธยา และเข้าใจว่าถูกสำเร็จโทษที่วัดโคกพญาในวันนั้น ออกญาจักรีและออกญามหาอุปราชถูกจับตัวได้ในภายหลัง
อ้างอิงจากหลักฐานชั้นต้น เจ้าฟ้าไชยได้อยู่ในพระราชวังแค่วันที่ 8 สิงหาคมวันเดียวเท่านั้น และถูกสำเร็จโทษหลังจากนั้นไม่กี่วัน น่าจะยังไม่ทันได้ประกอบพิธีราชาภิเษกเสียด้วยซ้ำ
พระราชพงศาวดารรุ่นเก่า เช่น ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ที่ชำระสมัยรัชกาลที่ 1 ที่เก่าที่สุดที่กล่าวถึงเรื่องนี้ ไม่ได้ระบุว่าเจ้าฟ้าไชยครองราชย์นานเท่าใด เขียนแค่ว่า "เจ้าฟ้าชัยได้ครองราชสมบัติ ครั้นอยู่มาสมเด็จพระนารายน์เป็นเจ้า ก็ให้คนสอดออกมาคิดทำราชการพระศรีสุธรรมราชา ผู้เป็นพระเจ้าอา ๆ ก็กำหนดเข้าไป ครั้นเพลาค่ำพระนารายน์เป็นเจ้า ก็พาพระขนิษฐาพระองค์ลอบหนีออกทางประตูตัดสระแก้วไปหาพระเจ้าอา พระศรีสุธรรมราชากับพระนารายน์ราชนัดดาสุมผู้คนพร้อมแล้วก็ยกเข้ามาพระราชวัง กุมเอาเจ้าฟ้าชัยไปสำเร็จโทษเสีย ณ โคกพระยา"
พงศาวดารที่ชำระในสมัยรัตนโกสินทร์รุ่นหลัง ไปเพิ่มเติมข้อความว่า "เจ้าฟ้าไชยได้ราชสมบัติเก้าเดือน" เลยทำให้มาเข้าใจกันว่าครองราชย์ 9 เดือน
แต่เทียบกับหลักฐานดัตช์ เจ้าฟ้าไชยไม่มีทางครองราชย์ 9 เดือนแน่นอน เพราะเวสเตอร์โวลต์ที่เป็นบุคคลร่วมสมัยรายงานว่า ในวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1656 สมเด็จพระนารายณ์ทำศึกแย่งชิงราชสมบัติจากพระศรีสุธรรมราชา คำนวณเวลาแล้วถ้าเริ่มนับจากวันที่พระเจ้าปราสาททองสวรรคตคือ 8 สิงหาคม จะได้ 80 วัน คือ 2 เดือนกับ 20 วัน ตรงตามระยะเวลาครองราชย์ของพระศรีสุธรรมราชาในพงศาวดารครับ
8 สิงหาคม เวสเตอร์โวลต์ทราบจากล่ามของบริษัทว่า สมเด็จพระเจ้าปราสาททองสวรรคตแล้ว เจ้าฟ้าไชยทรงนำกำลังเข้าควบคุมพระราชวังทันที สมเด็จพระนารายณ์ และพระอนุชาทั้ง 3 องค์ พร้อมด้วย "ฝ่ายหน้า" คือพระศรีสุธรรมราชา ต่างออกจากพระราชวังรวบรวมไพร่พล สมเด็จพระนารายณ์ทรงขอความช่วยเหลือจากบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ เป็นกำลังพลและปืนไฟ แต่เวสเตอร์โวลต์ปฏิเสธโดยอ้างว่าต้องเอากำลังไว้ปกป้องสถานีการค้าระหว่างที่สถานการณ์ทางการเมืองยังไม่แน่นอน และทางบริษัทได้สั่งการไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองภายในของประเทศอื่น
ไม่นานหลังจากล่ามกลับออกไปจากสถานีการค้า เกิดการต่อสู้บริเวณพระราชวังจนมองเห็นควันไฟ คนที่ผ่านไปมาบอกชาวดัตช์ว่าสมเด็จพระนารายณ์มีรับสั่งให้เผาบ้านเรือนใกล้พระราชวัง และได้ยินเสียงปืนใหญ่ จนกระทั่งเวลาบ่ายสี่โมง เวสเตอร์โวลต์ได้ทราบว่าเจ้าฟ้าไชยได้เสด็จหนีออกจากพระราชวัง พระนารายณ์ยึดพระราชวังได้สำเร็จ
9 สิงหาคม ดัตช์ได้ข่าวว่าระหว่างการรบมีคนฝ่ายเจ้าฟ้าไชยตายไปจำนวนหนึ่ง ฝ่ายสมเด็จพระนารายณ์มีชาวมลายูคนเดียวที่ตายเพราะถูกก้อนหินที่เขวี้ยงมาจากฝ่ายที่ป้องกันพระราชวัง
ขุนนางที่สนับสนุนเจ้าฟ้าไชยหลายคน รวมถึงออกญาจักรีและออกญามหาอุปราชหลบหนีออกจากวัง ออกญาพระคลัง (อดีตออกญาสมบัติบาล) หลบหนีแต่เปลี่ยนใจกลับเข้ามาพระราชวังจึงถูกจับกุม บ้านเรือนขุนนางฝ่ายเจ้าฟ้าไชยถูกยึดให้ปล้นสะดม สมเด็จพระนารายณ์อัญเชิญ "ฝ่ายหน้า" (พระศรีสุธรรมราชา) ผู้เป็นพระเจ้าอาขึ้นครองราชสมบัติ
11 สิงหาคม ประมาณ 4 นาฬิกา เจ้าฟ้าไชยทรงถูกจับกุมที่เหนือเมืองอยุทธยา และเข้าใจว่าถูกสำเร็จโทษที่วัดโคกพญาในวันนั้น ออกญาจักรีและออกญามหาอุปราชถูกจับตัวได้ในภายหลัง
อ้างอิงจากหลักฐานชั้นต้น เจ้าฟ้าไชยได้อยู่ในพระราชวังแค่วันที่ 8 สิงหาคมวันเดียวเท่านั้น และถูกสำเร็จโทษหลังจากนั้นไม่กี่วัน น่าจะยังไม่ทันได้ประกอบพิธีราชาภิเษกเสียด้วยซ้ำ
พระราชพงศาวดารรุ่นเก่า เช่น ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ที่ชำระสมัยรัชกาลที่ 1 ที่เก่าที่สุดที่กล่าวถึงเรื่องนี้ ไม่ได้ระบุว่าเจ้าฟ้าไชยครองราชย์นานเท่าใด เขียนแค่ว่า "เจ้าฟ้าชัยได้ครองราชสมบัติ ครั้นอยู่มาสมเด็จพระนารายน์เป็นเจ้า ก็ให้คนสอดออกมาคิดทำราชการพระศรีสุธรรมราชา ผู้เป็นพระเจ้าอา ๆ ก็กำหนดเข้าไป ครั้นเพลาค่ำพระนารายน์เป็นเจ้า ก็พาพระขนิษฐาพระองค์ลอบหนีออกทางประตูตัดสระแก้วไปหาพระเจ้าอา พระศรีสุธรรมราชากับพระนารายน์ราชนัดดาสุมผู้คนพร้อมแล้วก็ยกเข้ามาพระราชวัง กุมเอาเจ้าฟ้าชัยไปสำเร็จโทษเสีย ณ โคกพระยา"
พงศาวดารที่ชำระในสมัยรัตนโกสินทร์รุ่นหลัง ไปเพิ่มเติมข้อความว่า "เจ้าฟ้าไชยได้ราชสมบัติเก้าเดือน" เลยทำให้มาเข้าใจกันว่าครองราชย์ 9 เดือน
แต่เทียบกับหลักฐานดัตช์ เจ้าฟ้าไชยไม่มีทางครองราชย์ 9 เดือนแน่นอน เพราะเวสเตอร์โวลต์ที่เป็นบุคคลร่วมสมัยรายงานว่า ในวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1656 สมเด็จพระนารายณ์ทำศึกแย่งชิงราชสมบัติจากพระศรีสุธรรมราชา คำนวณเวลาแล้วถ้าเริ่มนับจากวันที่พระเจ้าปราสาททองสวรรคตคือ 8 สิงหาคม จะได้ 80 วัน คือ 2 เดือนกับ 20 วัน ตรงตามระยะเวลาครองราชย์ของพระศรีสุธรรมราชาในพงศาวดารครับ
แสดงความคิดเห็น
สมเด็จเจ้าฟ้าไชย ครองรายช์กี่ปีครับ