3 เดือนแล้ว ดิจิทัล 1 หมื่นอยู่ที่ไหน
https://www.innnews.co.th/video/general-news-clips/news_654453/
นับตั้งแต่หาเสียง เพื่อไทย และ “
เศรษฐา” โชว์แคมเปญคิดใหญ่ ทำเป็น ประกาศหลายเรื่องจะดำเนินการตั้งแต่ประชุมครม.นัดแรก แต่ปรากฏว่า สิ่งที่ทำ ยังไม่เห็นผลแบบยั่งยื่นเอาเสียเลย ราคาน้ำมัน พลังงาน ตอนหาเสียงจะปรับโครงสร้าง แต่พอทำจริงๆ ก็แค่ลดนิดลดหน่อย เอาส่วนโน้น มาโป๊ะส่วนนี้ และลดเพียงแค่ฉาบฉวย 3 เดือน พอใหม่ก็จะหมดโปร ทุกอย่างก็จะกลับไปเหมือนเดิม
ขณะแก้รัฐธรรมนูญ ก็แค่ศึกษา แต่ก็ยังดี ที่ชุดของ”
ภูมิธรรม” มีกรอบชัด ศึกษาจบก่อนสิ้นปี จึงมองว่ายังเป็นไปตามที่หาเสียง แต่ดิจิทัล วอลเลต แจก 1 หมื่น นโยบายฟื้นฟูเศราฐกิจ ผ่านไป 3 เดือนแล้ว ยังไร้วี่แวว ย้อนแย้งกับแคมเปญหาเสียงสิ้นดี จากคิดใหญ่ ทำเป็น ตอนนี้ เหมือนกลายเป็น “
คิดไปทำไป” โดยที่ไม่มีความชัดเจนเลย ทั้งที่ประชาชนรออยู่ ขาดความรอบคอบ รอบด้านกับการเดินหน้านโยบายนี้
ประกาศออกมาแต่ละครั้ง ถูกต่อต้าน ถูกวิพากษ์วิจารณ์ จนหาทางออกแทบไม่ได้ สุดท้าย ถูกมองกำลังหาทางลงให้ตัวเอง ด้วยการคิดที่จะออก พรบ.กู้งิน ที่อาจขัดต่อวินัยการเงิน การคลัง หรือขัดรัฐธรรมนูญ ด้วยนั่นเอง ตอนนี้ เผือกร้อนนี้อยู่ในมือกฤษฏีกา ว่าจะมีคำแนะนำว่าอย่างไร
จะว่าไปแล้ว 3 เดือนแรกของรัฐบาล”
เศรษฐา” แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริง ที่จะผลักดัน ดิจิทัล วอลเลต ให้เดินหน้า ให้เงินถึงมือประชาชนแล้วจริงๆ
เริ่มจากจากตั้งคณะทำงานเดินหน้าแบบเต็มระบบ แต่พอเดินหน้าแล้ว กลับติดขัดในทุกเรื่อง เพราะเพื่อไทย ไม่เคยคิดมาก่อนว่า ที่มาของเงินจะกลายเป็นปัญหา เดิมทีบอกไม่กู้
ใช้งบประมาณปกติ แต่พอทำจริงๆ เงินไม่มี งบประมาณ ปี 67 ก็ยังเข้าสภาไม่ได้ สุดท้ายต้องแก้ไขหลักเกณฑ์ใหม่ จากให้ทุกคนที่อายุ 16 ปีขึ้นไป กลับมีข้อจำกัด ใครมีเงินเดือนเกิน 7 หมื่นไม่ได้ ตัดงบประมาณไปได้ส่วนหนึ่ง แต่สุดท้ายก็ติดกับดักที่ตัวเองคิดมาอยู่ดี เพราะหาเงินไม่ได้ พอจะเดินหน้าทำอีก ก็จำเป็นต้องกู้ แต่ไม่กล้ากู้ด้วย พรก. ทั้งที่อ้างว่าเศรษฐกิจของประเทศวิกฤต
แต่พยายามออกเป็น พรบ.จนถูกตั้งคำถาม เพราะมันย้อนแย้งในตัวชัดเจน และกลายเป็นงานยาก ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ก็มาฝากความหวังไว้กับ กฤษฏีกา กับ ครม. ต้องเห็นชอบด้วย แล้วใช้เสียงข้างมากในสภาผลักดันต่อไป จึงทำให้ 3 เดือนแล้ว ดิจิทัล แจกหมื่น จึงยังไมไปไหน นับ 1 ไปนานแล้ว แต่ก็ยังอยู่ได้แค่ นับ 1 ไปต่อไม่ได้ หรืออาจจะถอยหลัง ไปที่นับศูนย์ หาก กฤษฏีกาเห็นต่าง ต้องไปหาทางกันใหม่ และอาจจะเป็นจริงตามที่ “
พิธา”ชำแหละว่ารัฐบาล ต้องมืออาชีพมากกว่านี้ ในการทำงานหลังจากนี้
"โรม" ก้าวไกล ซัดเนื้อใน "เศรษฐา" หนีสภาฯ เหมือน "พล.อ.ประยุทธ์"
https://www.thairath.co.th/news/politic/2748308
รังสิมันต์ โรม สส.ก้าวไกล ซัด เนื้อใน "นายกฯ เศรษฐา" หนีสภาฯ เหมือน "พล.อ.ประยุทธ์" แต่ต่างกันตรง "เศรษฐา" พยายามสร้างภาพว่า เขาให้ความสำคัญงานสภาฯ แต่ตอบแค่ครั้งเดียว และไม่ยอมตอบกระทู้ ว่าที่ผู้นำฝ่ายค้าน
เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2566 นาย
รังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ เปรียบเทียบเรื่องการให้ความสำคัญกับงานสภาฯ ระหว่าง นาย
เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง กับ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา องคมนตรี และอดีตนายกฯ ว่า ทั้ง 2 คนนี้มีทั้งจุดที่เหมือน และจุดที่ต่าง โดยจุดร่วมที่เหมือนกันซึ่งสะท้อนเรื่องวุฒิภาวะ คือ การไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีนัก ส่วนจุดต่าง ทางพล.อ.
ประยุทธ์ ไม่ค่อยจะเดินทางไปยังต่างประเทศ ส่วนนาย
เศรษฐา ไปเยือนต่างประเทศมากกว่า การไปพบนักลงทุนนั้นก็เป็นเรื่องดี แต่ต้องหาจุดสมดุลด้วย
โดย พล.อ.
ประยุทธ์ ไม่ให้ความสำคัญกับสภาฯ และฝ่ายค้านเลย พฤติกรรมดังกล่าว ส่งต่อมาถึงนาย
เศรษฐาด้วย ต่างกันนิดหน่อย ตรงที่นาย
เศรษฐา มีความพยายามสร้างภาพ บอกแก่สังคมให้เห็นว่า เขาให้ความสำคัญ แต่ที่จริง นาย
เศรษฐามา ตอบกระทู้สภาฯ ครั้งเดียว ในสมัยประชุมที่แล้ว เป็นแค่การตอบกระทู้ของฝ่ายรัฐบาลกันเอง ซึ่งมันก็เตี้ยมกันได้ แต่กระทู้ของ ว่าที่ผู้นำฝ่ายค้าน ไม่ยอมมาตอบ พล.อ.
ประยุทธ์ ไม่แคร์เลย แต่นาย
เศรษฐา แสดงออกว่า ให้ความสำคัญ คงจะเจียมตัวกว่า เพราะมาอยู่จุดนี้เพราะเขาให้มาเป็น สรุปคือ ความพยายามสร้างภาพว่า มาสภาฯ ของนาย
เศรษฐา กับ พล.อ.
ประยุทธ์ ไม่เหมือนกัน แต่เนื้อในนั้น เหมือนกัน
ก้าวไกล ย้อนรัฐบาล ไฉนถึงความจำเสื่อม โยนหน้าที่รักษาองค์ประชุม เป็นของฝ่ายค้าน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4334226
รองโฆษกก้าวไกล ย้อนกลับรบ. ไฉนถึงความจำเสื่อม โยนหน้าที่รักษาองค์ประชุม เป็นของฝ่ายค้าน ย้อนถ้าส.ส.รัฐบาลมาครบ ไม่มีใครล่มสภาได้
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม น.ส.
ภคมน หนุนอนันต์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองโฆษกพรรคก้าวไกล ได้โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ (X) ถึงเหตุการณ์สภาล่มในวันที่ 14 ธันวาคม หรือวันแรกของการเปิดสมัยประชุม ว่า มีโจทย์คณิตศาสตร์ง่าย ๆ ที่เด็กประถมปลายน่าจะตอบได้ คือกึ่งหนึ่งขององค์ประชุมสภา 500 คน ที่ทำให้สภาไม่ล่มเท่ากับ 250 พรรคก้าวไกลมี ส.ส. ทั้งสภาประมาณ 150 คน มีจำนวน ส.ส. จากพรรคซีกรัฐบาลเกิน 300 คน หากสภาล่ม ต้องถามกลับไปยังรัฐบาลว่า ตกลงแล้วที่สภาล่ม เป็นเพราะ ส.ส.ก้าวไกลล่มสภา หรือเพราะ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ขาดประชุมกันแน่
แน่นอนว่า หน้าที่ในการเข้าประชุมสภา เป็นหน้าที่ของ ส.ส. ทุกคน และพรรคก้าวไกลก็ได้ทำหน้าที่นั้นอย่างไม่ขาดตกบกพร่องมาโดยตลอด ในวันที่ 13 ธันวาคมที่เกิดเหตุการณ์สภาล่มนั้น เกิดขึ้นในการลงมติรับหลักการร่างข้อบังคับสภาก้าวหน้าที่พรรคก้าวไกลเสนอ เพื่อผลักดันประเด็นที่ก้าวหน้าหลายประการ อาทิ ตัดกลไกที่ทำให้การพิจารณากฎหมายล่าช้าโดยไม่จำเป็น, เพิ่มกระทู้ถามสดนายกรัฐมนตรี, ให้มีการถ่ายทอดสดการประชุมกรรมาธิการโดยเปิดเผย ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นการผลักดันความก้าวหน้าของรัฐสภาในภาพรวม ไม่ใช่เป็นแค่ประเด็นของพรรคก้าวไกล
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นน่าเสียดายว่า ในวันนั้น ส.ส. พรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรค กลับมุ่งสกัดสิ่งที่เราเสนอ พรรคก้าวไกลจึงจำเป็นต้องใช้สิทธิ์ไม่แสดงตนในขั้นลงมติรับหลักการ ทำให้เห็นว่า แม้จะเป็นวันพุธแรกที่เปิดสมัยประชุมสภา แต่จำนวน ส.ส. รัฐบาล ก็ยังไม่เพียงพอที่จะรักษาองค์ประชุมได้
วาระการพิจารณาร่างข้อบังคับดังกล่าว เป็นวาระพิจารณาเรื่องสุดท้ายของวัน แม้จะเป็นตราบาปของวิปรัฐบาลว่า ไม่สามารถควบคุมองค์ประชุมจนสภาล่มตั้งแต่วันแรก แต่ก็ไม่กระทบวาระพิจารณาเรื่องอื่น ๆ ที่ยังไม่มีต่อคิวพิจารณาในวันนั้น อีกทั้งในวันพฤหัสที่ 14 ธันวาคม ที่มีการพิจารณาร่างกฏหมายของประชาชน พรรคก้าวไกลให้ความร่วมมืออยู่ตลอดการประชุม ถึงแม้ว่าลำพังจำนวนองค์ประชุมของ ส.ส. รัฐบาลจะไม่เพียงพอให้สภาไม่ล่มก็ตาม
“ไม่รู้ว่าดิฉันจำแม่นเกินไป หรือใครบางคนความจำเสื่อมก่อนเวลาก็ไม่ทราบ แต่ในชุดสภาที่แล้ว ในสมัยที่พรรคแกนนำรัฐบาลตอนนี้ยังเป็นฝ่ายค้านอยู่ ท่านชอบพูดอยู่เสมอว่า หน้าที่ในการรักษาองค์ประชุมเป็นของรัฐบาล แต่ไฉน ผ่านมาไม่ถึงปี หน้าที่รักษาองค์ประชุมกลายเป็นของพรรคฝ่ายค้านแล้วก็ไม่ทราบ”
พรรคก้าวไกลเรายืนยันว่า ถ้าสิ่งที่พิจารณาในสภาเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และ ส.ส. ทุกคนทำหน้าที่ของตัวเองอย่างดีที่สุดแล้ว เราไม่มีเหตุผลอะไรที่จะทำให้สภาล่ม และถ้า ส.ส. รัฐบาลมาประชุมโดยพร้อมเพรียงกันตามหน้าที่ที่ ส.ส. พึงกระทำ ลำพังพรรคก้าวไกล 150 เสียง ไม่สามารถทำสภาล่มได้
4 บอร์ดกสทช. ส่งหนังสือถึงปธ. ขอถกด่วน ค่าโทรศัพท์แพง หลังควบรวมทรู-ดีแทค
https://www.matichon.co.th/economy/news_4334158
4 กสทช. ส่งบันทึกด่วนที่สุดถึงประธาน กสทช. ขอให้บรรจุวาระเรื่องสถานการณ์บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายหลังการควบรวมทรู-ดีแทค เข้าที่ประชุมบอร์ด กสทช. วันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ประกอบด้วย
นาย
ศุภัช ศุภชลาศัย พล.อ.ท.
ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กสทช. น.ส.
พิรงรอง รามสูต กสทช. และ นาย
สมภพ ภูริวิกรัยพงศ์ กสทช. มีบันทึกข้อความ ด่วนที่สุด ที่ สทช 1003/ 353 เรื่อง ขอให้มอบหมายสำนักงาน กสทช. รวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์และผลกระทบต่อผู้บริโภคอันเนื่องมาจากคุณภาพสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ ปัญหาอัตราค่าบริการสูงขึ้นและการเปลี่ยนแปลงแพคเกจการให้บริการโดยอัตโนมัติเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุม กสทช. ครั้งที่ 23/2566 วันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566
การรวบรวมข้อเท็จจริงนี้ เป็นเรื่องสืบเนื่องจากมติการประชุม กสทช. นัดพิเศษ ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ซึ่งที่ประชุมเสียงข้างมากรับทราบการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) พร้อมกำหนดเงื่อนไข/มาตรการเฉพาะในเรื่องอัตราค่าบริการและสัญญาการให้บริการ ตลอดจนคุณภาพการให้บริการและคุณภาพสัญญาณไว้
ก่อนหน้านี้ มีการบรรจุระเบียบวาระที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการเพื่อติดตามและประเมินผลการรวมธุรกิจตามประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม เข้าสู่การพิจารณาของ กสทช. ครั้งที่ 22/2566 วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 ในระเบียบวาระ 3.6 โดยสำนักงาน กสทช. รวบรวมรายงานการประชุมของคณะอนุกรรมการแต่ละครั้ง แต่ไม่ได้จัดส่งตารางรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะแต่อย่างใด และในการประชุม กสทช. วันพุธที่ 20 ธันวาคมที่จะถึงนี้ ไม่ได้มีการบรรจุวาระเพื่อพิจารณาในเรื่องดังกล่าว
กสทช. ทั้ง 4 คน จึงมีบันทึกด่วนที่สุดขอให้มีการบรรจุวาระดังกล่าว เข้าสู่ที่ประชุมเพื่อพิจารณา โดยเนื้อความในบันทึกด่วนที่สุดฉบับดังกล่าว เสนอเรื่องต่อศาสตราจารย์คลินิก นพ.
สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. ดังนี้
ตามที่สาธารณชนมีข้อวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการในกิจการโทรคมนาคมโดยเฉพาะปัญหาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตมีคุณภาพต่ำ อัตราค่าบริการสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงแพคเกจการให้บริการโดยอัตโนมัติ อันเป็นกรณีที่เกี่ยวข้องกับมติการประชุม กสทช. นัดพิเศษ ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ซึ่งที่ประชุมเสียงข้างมากรับทราบการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) พร้อมกำหนดเงื่อนไข/มาตรการเฉพาะในเรื่องอัตราค่าบริการและสัญญาการให้บริการ ตลอดจนคุณภาพการให้บริการและคุณภาพสัญญาณไว้ นั้น
ในการนี้คณะกรรรมการ กสทช. อาทิ พล.อ.ท.
ธนพันธุ์ฯ น.ส.
พิรงรองฯ นาย
ศุภัชฯ และนาย
สมภพฯ เห็นว่าเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของ กสทช. ในอันที่จะกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพรวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรม ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
จึงขอนำเรียนประธาน กสทช. และ กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ได้โปรดมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. รวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์และผลกระทบที่ผู้บริโภคได้รับจากการให้บริการโทรคมนาคม โดยเฉพาะปัญหาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตมีคุณภาพต่ำ อัตราค่าบริการสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงแพคเกจการให้บริการโดยอัตโนมัติ เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุม กสทช. ครั้งที่ 23/2566 ในวันที่ 20 ธันวาคม 2566 เพื่อให้กรรมการ กสทช. ได้ร่วมพิจารณาข้อเท็จจริ
JJNY : 5in1 ดิจิทัล 1 หมื่นอยู่ไหน│"โรม"ซัด"เศรษฐา"หนีสภาฯ│ก้าวไกลย้อนรัฐบาล│ขอถกด่วน ค่าโทรศัพท์แพง│จีนเตือนภัยปชช.
https://www.innnews.co.th/video/general-news-clips/news_654453/
นับตั้งแต่หาเสียง เพื่อไทย และ “เศรษฐา” โชว์แคมเปญคิดใหญ่ ทำเป็น ประกาศหลายเรื่องจะดำเนินการตั้งแต่ประชุมครม.นัดแรก แต่ปรากฏว่า สิ่งที่ทำ ยังไม่เห็นผลแบบยั่งยื่นเอาเสียเลย ราคาน้ำมัน พลังงาน ตอนหาเสียงจะปรับโครงสร้าง แต่พอทำจริงๆ ก็แค่ลดนิดลดหน่อย เอาส่วนโน้น มาโป๊ะส่วนนี้ และลดเพียงแค่ฉาบฉวย 3 เดือน พอใหม่ก็จะหมดโปร ทุกอย่างก็จะกลับไปเหมือนเดิม
ขณะแก้รัฐธรรมนูญ ก็แค่ศึกษา แต่ก็ยังดี ที่ชุดของ”ภูมิธรรม” มีกรอบชัด ศึกษาจบก่อนสิ้นปี จึงมองว่ายังเป็นไปตามที่หาเสียง แต่ดิจิทัล วอลเลต แจก 1 หมื่น นโยบายฟื้นฟูเศราฐกิจ ผ่านไป 3 เดือนแล้ว ยังไร้วี่แวว ย้อนแย้งกับแคมเปญหาเสียงสิ้นดี จากคิดใหญ่ ทำเป็น ตอนนี้ เหมือนกลายเป็น “คิดไปทำไป” โดยที่ไม่มีความชัดเจนเลย ทั้งที่ประชาชนรออยู่ ขาดความรอบคอบ รอบด้านกับการเดินหน้านโยบายนี้
ประกาศออกมาแต่ละครั้ง ถูกต่อต้าน ถูกวิพากษ์วิจารณ์ จนหาทางออกแทบไม่ได้ สุดท้าย ถูกมองกำลังหาทางลงให้ตัวเอง ด้วยการคิดที่จะออก พรบ.กู้งิน ที่อาจขัดต่อวินัยการเงิน การคลัง หรือขัดรัฐธรรมนูญ ด้วยนั่นเอง ตอนนี้ เผือกร้อนนี้อยู่ในมือกฤษฏีกา ว่าจะมีคำแนะนำว่าอย่างไร
จะว่าไปแล้ว 3 เดือนแรกของรัฐบาล”เศรษฐา” แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริง ที่จะผลักดัน ดิจิทัล วอลเลต ให้เดินหน้า ให้เงินถึงมือประชาชนแล้วจริงๆ
เริ่มจากจากตั้งคณะทำงานเดินหน้าแบบเต็มระบบ แต่พอเดินหน้าแล้ว กลับติดขัดในทุกเรื่อง เพราะเพื่อไทย ไม่เคยคิดมาก่อนว่า ที่มาของเงินจะกลายเป็นปัญหา เดิมทีบอกไม่กู้
ใช้งบประมาณปกติ แต่พอทำจริงๆ เงินไม่มี งบประมาณ ปี 67 ก็ยังเข้าสภาไม่ได้ สุดท้ายต้องแก้ไขหลักเกณฑ์ใหม่ จากให้ทุกคนที่อายุ 16 ปีขึ้นไป กลับมีข้อจำกัด ใครมีเงินเดือนเกิน 7 หมื่นไม่ได้ ตัดงบประมาณไปได้ส่วนหนึ่ง แต่สุดท้ายก็ติดกับดักที่ตัวเองคิดมาอยู่ดี เพราะหาเงินไม่ได้ พอจะเดินหน้าทำอีก ก็จำเป็นต้องกู้ แต่ไม่กล้ากู้ด้วย พรก. ทั้งที่อ้างว่าเศรษฐกิจของประเทศวิกฤต
แต่พยายามออกเป็น พรบ.จนถูกตั้งคำถาม เพราะมันย้อนแย้งในตัวชัดเจน และกลายเป็นงานยาก ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ก็มาฝากความหวังไว้กับ กฤษฏีกา กับ ครม. ต้องเห็นชอบด้วย แล้วใช้เสียงข้างมากในสภาผลักดันต่อไป จึงทำให้ 3 เดือนแล้ว ดิจิทัล แจกหมื่น จึงยังไมไปไหน นับ 1 ไปนานแล้ว แต่ก็ยังอยู่ได้แค่ นับ 1 ไปต่อไม่ได้ หรืออาจจะถอยหลัง ไปที่นับศูนย์ หาก กฤษฏีกาเห็นต่าง ต้องไปหาทางกันใหม่ และอาจจะเป็นจริงตามที่ “พิธา”ชำแหละว่ารัฐบาล ต้องมืออาชีพมากกว่านี้ ในการทำงานหลังจากนี้
"โรม" ก้าวไกล ซัดเนื้อใน "เศรษฐา" หนีสภาฯ เหมือน "พล.อ.ประยุทธ์"
https://www.thairath.co.th/news/politic/2748308
รังสิมันต์ โรม สส.ก้าวไกล ซัด เนื้อใน "นายกฯ เศรษฐา" หนีสภาฯ เหมือน "พล.อ.ประยุทธ์" แต่ต่างกันตรง "เศรษฐา" พยายามสร้างภาพว่า เขาให้ความสำคัญงานสภาฯ แต่ตอบแค่ครั้งเดียว และไม่ยอมตอบกระทู้ ว่าที่ผู้นำฝ่ายค้าน
เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2566 นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ เปรียบเทียบเรื่องการให้ความสำคัญกับงานสภาฯ ระหว่าง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา องคมนตรี และอดีตนายกฯ ว่า ทั้ง 2 คนนี้มีทั้งจุดที่เหมือน และจุดที่ต่าง โดยจุดร่วมที่เหมือนกันซึ่งสะท้อนเรื่องวุฒิภาวะ คือ การไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีนัก ส่วนจุดต่าง ทางพล.อ.ประยุทธ์ ไม่ค่อยจะเดินทางไปยังต่างประเทศ ส่วนนายเศรษฐา ไปเยือนต่างประเทศมากกว่า การไปพบนักลงทุนนั้นก็เป็นเรื่องดี แต่ต้องหาจุดสมดุลด้วย
โดย พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ให้ความสำคัญกับสภาฯ และฝ่ายค้านเลย พฤติกรรมดังกล่าว ส่งต่อมาถึงนายเศรษฐาด้วย ต่างกันนิดหน่อย ตรงที่นายเศรษฐา มีความพยายามสร้างภาพ บอกแก่สังคมให้เห็นว่า เขาให้ความสำคัญ แต่ที่จริง นายเศรษฐามา ตอบกระทู้สภาฯ ครั้งเดียว ในสมัยประชุมที่แล้ว เป็นแค่การตอบกระทู้ของฝ่ายรัฐบาลกันเอง ซึ่งมันก็เตี้ยมกันได้ แต่กระทู้ของ ว่าที่ผู้นำฝ่ายค้าน ไม่ยอมมาตอบ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่แคร์เลย แต่นายเศรษฐา แสดงออกว่า ให้ความสำคัญ คงจะเจียมตัวกว่า เพราะมาอยู่จุดนี้เพราะเขาให้มาเป็น สรุปคือ ความพยายามสร้างภาพว่า มาสภาฯ ของนายเศรษฐา กับ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่เหมือนกัน แต่เนื้อในนั้น เหมือนกัน
ก้าวไกล ย้อนรัฐบาล ไฉนถึงความจำเสื่อม โยนหน้าที่รักษาองค์ประชุม เป็นของฝ่ายค้าน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4334226
รองโฆษกก้าวไกล ย้อนกลับรบ. ไฉนถึงความจำเสื่อม โยนหน้าที่รักษาองค์ประชุม เป็นของฝ่ายค้าน ย้อนถ้าส.ส.รัฐบาลมาครบ ไม่มีใครล่มสภาได้
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม น.ส.ภคมน หนุนอนันต์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองโฆษกพรรคก้าวไกล ได้โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ (X) ถึงเหตุการณ์สภาล่มในวันที่ 14 ธันวาคม หรือวันแรกของการเปิดสมัยประชุม ว่า มีโจทย์คณิตศาสตร์ง่าย ๆ ที่เด็กประถมปลายน่าจะตอบได้ คือกึ่งหนึ่งขององค์ประชุมสภา 500 คน ที่ทำให้สภาไม่ล่มเท่ากับ 250 พรรคก้าวไกลมี ส.ส. ทั้งสภาประมาณ 150 คน มีจำนวน ส.ส. จากพรรคซีกรัฐบาลเกิน 300 คน หากสภาล่ม ต้องถามกลับไปยังรัฐบาลว่า ตกลงแล้วที่สภาล่ม เป็นเพราะ ส.ส.ก้าวไกลล่มสภา หรือเพราะ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ขาดประชุมกันแน่
แน่นอนว่า หน้าที่ในการเข้าประชุมสภา เป็นหน้าที่ของ ส.ส. ทุกคน และพรรคก้าวไกลก็ได้ทำหน้าที่นั้นอย่างไม่ขาดตกบกพร่องมาโดยตลอด ในวันที่ 13 ธันวาคมที่เกิดเหตุการณ์สภาล่มนั้น เกิดขึ้นในการลงมติรับหลักการร่างข้อบังคับสภาก้าวหน้าที่พรรคก้าวไกลเสนอ เพื่อผลักดันประเด็นที่ก้าวหน้าหลายประการ อาทิ ตัดกลไกที่ทำให้การพิจารณากฎหมายล่าช้าโดยไม่จำเป็น, เพิ่มกระทู้ถามสดนายกรัฐมนตรี, ให้มีการถ่ายทอดสดการประชุมกรรมาธิการโดยเปิดเผย ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นการผลักดันความก้าวหน้าของรัฐสภาในภาพรวม ไม่ใช่เป็นแค่ประเด็นของพรรคก้าวไกล
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นน่าเสียดายว่า ในวันนั้น ส.ส. พรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรค กลับมุ่งสกัดสิ่งที่เราเสนอ พรรคก้าวไกลจึงจำเป็นต้องใช้สิทธิ์ไม่แสดงตนในขั้นลงมติรับหลักการ ทำให้เห็นว่า แม้จะเป็นวันพุธแรกที่เปิดสมัยประชุมสภา แต่จำนวน ส.ส. รัฐบาล ก็ยังไม่เพียงพอที่จะรักษาองค์ประชุมได้
วาระการพิจารณาร่างข้อบังคับดังกล่าว เป็นวาระพิจารณาเรื่องสุดท้ายของวัน แม้จะเป็นตราบาปของวิปรัฐบาลว่า ไม่สามารถควบคุมองค์ประชุมจนสภาล่มตั้งแต่วันแรก แต่ก็ไม่กระทบวาระพิจารณาเรื่องอื่น ๆ ที่ยังไม่มีต่อคิวพิจารณาในวันนั้น อีกทั้งในวันพฤหัสที่ 14 ธันวาคม ที่มีการพิจารณาร่างกฏหมายของประชาชน พรรคก้าวไกลให้ความร่วมมืออยู่ตลอดการประชุม ถึงแม้ว่าลำพังจำนวนองค์ประชุมของ ส.ส. รัฐบาลจะไม่เพียงพอให้สภาไม่ล่มก็ตาม
“ไม่รู้ว่าดิฉันจำแม่นเกินไป หรือใครบางคนความจำเสื่อมก่อนเวลาก็ไม่ทราบ แต่ในชุดสภาที่แล้ว ในสมัยที่พรรคแกนนำรัฐบาลตอนนี้ยังเป็นฝ่ายค้านอยู่ ท่านชอบพูดอยู่เสมอว่า หน้าที่ในการรักษาองค์ประชุมเป็นของรัฐบาล แต่ไฉน ผ่านมาไม่ถึงปี หน้าที่รักษาองค์ประชุมกลายเป็นของพรรคฝ่ายค้านแล้วก็ไม่ทราบ”
พรรคก้าวไกลเรายืนยันว่า ถ้าสิ่งที่พิจารณาในสภาเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และ ส.ส. ทุกคนทำหน้าที่ของตัวเองอย่างดีที่สุดแล้ว เราไม่มีเหตุผลอะไรที่จะทำให้สภาล่ม และถ้า ส.ส. รัฐบาลมาประชุมโดยพร้อมเพรียงกันตามหน้าที่ที่ ส.ส. พึงกระทำ ลำพังพรรคก้าวไกล 150 เสียง ไม่สามารถทำสภาล่มได้
4 บอร์ดกสทช. ส่งหนังสือถึงปธ. ขอถกด่วน ค่าโทรศัพท์แพง หลังควบรวมทรู-ดีแทค
https://www.matichon.co.th/economy/news_4334158
4 กสทช. ส่งบันทึกด่วนที่สุดถึงประธาน กสทช. ขอให้บรรจุวาระเรื่องสถานการณ์บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายหลังการควบรวมทรู-ดีแทค เข้าที่ประชุมบอร์ด กสทช. วันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ประกอบด้วย
นายศุภัช ศุภชลาศัย พล.อ.ท.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กสทช. น.ส.พิรงรอง รามสูต กสทช. และ นายสมภพ ภูริวิกรัยพงศ์ กสทช. มีบันทึกข้อความ ด่วนที่สุด ที่ สทช 1003/ 353 เรื่อง ขอให้มอบหมายสำนักงาน กสทช. รวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์และผลกระทบต่อผู้บริโภคอันเนื่องมาจากคุณภาพสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ ปัญหาอัตราค่าบริการสูงขึ้นและการเปลี่ยนแปลงแพคเกจการให้บริการโดยอัตโนมัติเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุม กสทช. ครั้งที่ 23/2566 วันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566
การรวบรวมข้อเท็จจริงนี้ เป็นเรื่องสืบเนื่องจากมติการประชุม กสทช. นัดพิเศษ ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ซึ่งที่ประชุมเสียงข้างมากรับทราบการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) พร้อมกำหนดเงื่อนไข/มาตรการเฉพาะในเรื่องอัตราค่าบริการและสัญญาการให้บริการ ตลอดจนคุณภาพการให้บริการและคุณภาพสัญญาณไว้
ก่อนหน้านี้ มีการบรรจุระเบียบวาระที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการเพื่อติดตามและประเมินผลการรวมธุรกิจตามประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม เข้าสู่การพิจารณาของ กสทช. ครั้งที่ 22/2566 วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 ในระเบียบวาระ 3.6 โดยสำนักงาน กสทช. รวบรวมรายงานการประชุมของคณะอนุกรรมการแต่ละครั้ง แต่ไม่ได้จัดส่งตารางรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะแต่อย่างใด และในการประชุม กสทช. วันพุธที่ 20 ธันวาคมที่จะถึงนี้ ไม่ได้มีการบรรจุวาระเพื่อพิจารณาในเรื่องดังกล่าว
กสทช. ทั้ง 4 คน จึงมีบันทึกด่วนที่สุดขอให้มีการบรรจุวาระดังกล่าว เข้าสู่ที่ประชุมเพื่อพิจารณา โดยเนื้อความในบันทึกด่วนที่สุดฉบับดังกล่าว เสนอเรื่องต่อศาสตราจารย์คลินิก นพ. สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. ดังนี้
ตามที่สาธารณชนมีข้อวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการในกิจการโทรคมนาคมโดยเฉพาะปัญหาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตมีคุณภาพต่ำ อัตราค่าบริการสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงแพคเกจการให้บริการโดยอัตโนมัติ อันเป็นกรณีที่เกี่ยวข้องกับมติการประชุม กสทช. นัดพิเศษ ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ซึ่งที่ประชุมเสียงข้างมากรับทราบการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) พร้อมกำหนดเงื่อนไข/มาตรการเฉพาะในเรื่องอัตราค่าบริการและสัญญาการให้บริการ ตลอดจนคุณภาพการให้บริการและคุณภาพสัญญาณไว้ นั้น
ในการนี้คณะกรรรมการ กสทช. อาทิ พล.อ.ท.ธนพันธุ์ฯ น.ส.พิรงรองฯ นายศุภัชฯ และนายสมภพฯ เห็นว่าเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของ กสทช. ในอันที่จะกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพรวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรม ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
จึงขอนำเรียนประธาน กสทช. และ กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ได้โปรดมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. รวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์และผลกระทบที่ผู้บริโภคได้รับจากการให้บริการโทรคมนาคม โดยเฉพาะปัญหาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตมีคุณภาพต่ำ อัตราค่าบริการสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงแพคเกจการให้บริการโดยอัตโนมัติ เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุม กสทช. ครั้งที่ 23/2566 ในวันที่ 20 ธันวาคม 2566 เพื่อให้กรรมการ กสทช. ได้ร่วมพิจารณาข้อเท็จจริ