ทุ่งกุลาแตก โดย กำนันเดช ภูสองชั้น
...หลายวันหลายเดือนเลื่อนมาหลายปี จากทุ่งกุลาที่เวิ้งว้างมองขอบฟ้าจรดดิน จากทุ่งที่เคยเป็นป่าหญ้าก็กลับมาเป็นทุ่งที่เต็มไปด้วยข้าวหอมมะลิ ทุ่งที่ไม่เคยมีต้นไม้ก็กลับมาเป็นทุ่งที่เขียวขจี
ไม่มีใครคิดว่าทุ่งแห่งนี้จะบุกเบิกได้ เพราะป่าหญ้าท่วมหัวจะไถนาก็ต้องใช้ควาย คันไถก็เป็นคันไถไม้ เมื่อไปโดนรากหญ้าเข้าก็หักกระจุยไม่มีเหลือ ถ้าใครสามารถไถนาได้แล้วนำต้นกล้าไปปักดำปล่อยไว้เพียงหนึ่งคืนเท่านั้น ตื่นเช้าไปดูเจ้าก็กัดกินหมด ไม่มีเหลือแม้แต่ต้นตอ พูดกันว่าไม่มีใครอยากได้ ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ นายติม มังสระคู เป็นผู้ใหญ่บ้านได้ตีเกราะให้ชาวบ้านไปจับจองไร่นากัน โดยแบ่งกันความกว้าง ๘๐ เมตร ส่วนความยาวเอาได้เอาไป ไม่มีขอบเขต จะยาวถึงไหนก็ไม่ว่าตามความพอใจ ทุกคนก็ออกไปจับจองกัน ผู้เขียนก็ไปจับจองกับเขาเหมือนกัน เมื่อจองแล้วก็อย่างนั้น ไม่มีใครทำอะไรได้ ก็ปล่อยไว้เหมือนเดิม
เมื่อประมาณปี ๒๕๐๖ มีรถไถยี่ห้อแม็กซี่ฟอร์กูสันเข้ามาในทุ่งกุลา มารับจ้างไถบุกเบิก บางคนก็เอาข้าวไปหว่านในทุ่งหญ้าแล้วก็มีปุ๋ยเคมีหว่านพร้อมไปด้วย แล้วก็ไถกลบ พอถูกฝนมาเมล็ดข้าวก็งอกขึ้น เมื่อมีมากัดก็เอาโฟลิดอลผสมข้าวสุกไปหว่าน พอปูไปกินก็ตายหมด ปรากฏว่าปูตายจนน้ำเน่าเหม็นปางจะสูญพันธุ์ ทุ่งกุลาก็เริ่มคึกคักขึ้น กลางคืนมีแต่แสงไฟที่กลางทุ่ง นับว่าบุกเบิกทั้งวันทั้งคืน ไม่ช้าไม่นานทุ่งกุลาก็โล่งเตียนหมด เกิดมีการซื้อการขายกันขึ้น นายี่สิบไร่ก็ซื้อขายกันเป็นแปลงแปลงละ ๑,๐๐๐ - ๑,๕๐๐ บาท
เมื่อทุ่งกลับกลายมาเป็นนา ตามคันดินก็เอาต้นไม้มาปลูก ดูเหมือนกลางทุ่งเริ่มมีต้นไม้ ปฏิรูปที่ดินก็มาจัดสรรไร่นา โดยใครมีนามากก็แบ่งสันปันส่วนแก่ผู้ที่ไม่มี โดยปฏิรูปที่ดินรับชดใช้ให้ในอัตราไร่ละ ๑,๐๐๐ บาท แล้วก็ให้เกษตรกรที่มาสมัครตามคุณสมบัติรับเอาไปแล้ว ค่อยทำนาชำระหนี้เป็นเวลา ๑๐ ปี...
อ้างอิง
เดช ภูสองชั้น. ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์สามัญชน ของ คนทุ่งกุลา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๖. หน้า ๑๒๓ - ๑๒๔
ภาพ ๑ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เมืองไทย เมื่อปี พ.ศ. 2483 (ภาพย้อมสี) @ถนนตัดผ่านพื้นที่ราบสุดลูกหูลูกตา ส่วนหนึ่งของพื้นที่ "ทุ่งกุลาร้องไห้" โดยในฤดูฝนจะมีน้ำท่วมสูง เป็นแหล่งหาปลาของชาวอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่ออดีต
เครดิต :: ดร. โรเบิร์ต ลาริมอร์ เพนเดิลตัน (Dr. Robert Larimore Pendleton) นักวิทยาศาสตร์ทางดินและการเกษตร ชาวอเมริกัน ซึ่งเข้ามาปฏิบัติงานในฐานะที่ปรึกษาของกรมเกษตรและการประมง กระทรวงเกษตราธิการในขณะนั้น. University of Wisconsin-Milwaukee Libraries, ประเทศไทย 2483 จากเพจ เมืองไทยในอดีต
ภาพ ๒ ต้นยูคาลิปตัส ปลูกตามคันนา บริเวณอำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด
ภาพ ๓ กำนันเดช ภูสองชั้น จากหนังสือประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์สามัญชน ของ คนทุ่งกุลา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๖. หน้า ๑๓๕
ภาพ ๔ ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์สามัญชน ของ คนทุ่งกุลา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : ม
ทุ่งกุลาแตก ความเป็นจริงอีกอย่างที่ไม่เหมือนที่สื่อนำเสนอ
...หลายวันหลายเดือนเลื่อนมาหลายปี จากทุ่งกุลาที่เวิ้งว้างมองขอบฟ้าจรดดิน จากทุ่งที่เคยเป็นป่าหญ้าก็กลับมาเป็นทุ่งที่เต็มไปด้วยข้าวหอมมะลิ ทุ่งที่ไม่เคยมีต้นไม้ก็กลับมาเป็นทุ่งที่เขียวขจี
ไม่มีใครคิดว่าทุ่งแห่งนี้จะบุกเบิกได้ เพราะป่าหญ้าท่วมหัวจะไถนาก็ต้องใช้ควาย คันไถก็เป็นคันไถไม้ เมื่อไปโดนรากหญ้าเข้าก็หักกระจุยไม่มีเหลือ ถ้าใครสามารถไถนาได้แล้วนำต้นกล้าไปปักดำปล่อยไว้เพียงหนึ่งคืนเท่านั้น ตื่นเช้าไปดูเจ้าก็กัดกินหมด ไม่มีเหลือแม้แต่ต้นตอ พูดกันว่าไม่มีใครอยากได้ ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ นายติม มังสระคู เป็นผู้ใหญ่บ้านได้ตีเกราะให้ชาวบ้านไปจับจองไร่นากัน โดยแบ่งกันความกว้าง ๘๐ เมตร ส่วนความยาวเอาได้เอาไป ไม่มีขอบเขต จะยาวถึงไหนก็ไม่ว่าตามความพอใจ ทุกคนก็ออกไปจับจองกัน ผู้เขียนก็ไปจับจองกับเขาเหมือนกัน เมื่อจองแล้วก็อย่างนั้น ไม่มีใครทำอะไรได้ ก็ปล่อยไว้เหมือนเดิม
เมื่อประมาณปี ๒๕๐๖ มีรถไถยี่ห้อแม็กซี่ฟอร์กูสันเข้ามาในทุ่งกุลา มารับจ้างไถบุกเบิก บางคนก็เอาข้าวไปหว่านในทุ่งหญ้าแล้วก็มีปุ๋ยเคมีหว่านพร้อมไปด้วย แล้วก็ไถกลบ พอถูกฝนมาเมล็ดข้าวก็งอกขึ้น เมื่อมีมากัดก็เอาโฟลิดอลผสมข้าวสุกไปหว่าน พอปูไปกินก็ตายหมด ปรากฏว่าปูตายจนน้ำเน่าเหม็นปางจะสูญพันธุ์ ทุ่งกุลาก็เริ่มคึกคักขึ้น กลางคืนมีแต่แสงไฟที่กลางทุ่ง นับว่าบุกเบิกทั้งวันทั้งคืน ไม่ช้าไม่นานทุ่งกุลาก็โล่งเตียนหมด เกิดมีการซื้อการขายกันขึ้น นายี่สิบไร่ก็ซื้อขายกันเป็นแปลงแปลงละ ๑,๐๐๐ - ๑,๕๐๐ บาท
เมื่อทุ่งกลับกลายมาเป็นนา ตามคันดินก็เอาต้นไม้มาปลูก ดูเหมือนกลางทุ่งเริ่มมีต้นไม้ ปฏิรูปที่ดินก็มาจัดสรรไร่นา โดยใครมีนามากก็แบ่งสันปันส่วนแก่ผู้ที่ไม่มี โดยปฏิรูปที่ดินรับชดใช้ให้ในอัตราไร่ละ ๑,๐๐๐ บาท แล้วก็ให้เกษตรกรที่มาสมัครตามคุณสมบัติรับเอาไปแล้ว ค่อยทำนาชำระหนี้เป็นเวลา ๑๐ ปี...
อ้างอิง
เดช ภูสองชั้น. ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์สามัญชน ของ คนทุ่งกุลา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๖. หน้า ๑๒๓ - ๑๒๔
ภาพ ๑ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เมืองไทย เมื่อปี พ.ศ. 2483 (ภาพย้อมสี) @ถนนตัดผ่านพื้นที่ราบสุดลูกหูลูกตา ส่วนหนึ่งของพื้นที่ "ทุ่งกุลาร้องไห้" โดยในฤดูฝนจะมีน้ำท่วมสูง เป็นแหล่งหาปลาของชาวอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่ออดีต
เครดิต :: ดร. โรเบิร์ต ลาริมอร์ เพนเดิลตัน (Dr. Robert Larimore Pendleton) นักวิทยาศาสตร์ทางดินและการเกษตร ชาวอเมริกัน ซึ่งเข้ามาปฏิบัติงานในฐานะที่ปรึกษาของกรมเกษตรและการประมง กระทรวงเกษตราธิการในขณะนั้น. University of Wisconsin-Milwaukee Libraries, ประเทศไทย 2483 จากเพจ เมืองไทยในอดีต
ภาพ ๒ ต้นยูคาลิปตัส ปลูกตามคันนา บริเวณอำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด
ภาพ ๓ กำนันเดช ภูสองชั้น จากหนังสือประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์สามัญชน ของ คนทุ่งกุลา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๖. หน้า ๑๓๕
ภาพ ๔ ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์สามัญชน ของ คนทุ่งกุลา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : ม