อายุจะ30แล้ว ยังไม่มีบ้านมีรถทั้งๆที่เงินเดือน70000+ แบบนี้แปลกมั้ยครับ

เกรินก่อนนะครับ ผมทำงานบริษัทๆนึงซึ่งได้เงินเดือนอย่างที่บอก70000+
วางแผนจะแต่งงานแต่บ้านก็ยังไม่มี เงินเก็บก็ค่อนข้างน้อยยังแต่งตอนนี้ไม่ได้
ก่อนหน้านี้เอาเงินไปลงทุนก็ไม่ค่อยจะได้ผลตอบแทนดีๆกลับมา
มีคนเป็นแบบนี้เยอะไหมครับ จริงๆอยากหาซื้อบ้านแล้ว แต่บ้านในฝันที่อยากได้มัน5ล้าน++  คือให้ผ่อนตอนนี้ก็ไม่มีปัญญาจริงๆครับ

ปล. รู้สึกกลุ้มถึงขั้นดูดวงแล้วถามว่าจะมีบ้านเมื่อไหร่ ซึ้งแต่ล่ะหมอก็จะบอก 32++ ทั้งนั้นเลย คืออยากมีก่อนหน้านั้นอ่ะครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
เงินเดือนระดับ 70,000+ นี่มันเงินของ Mid-Level แล้วนะ (เยอะกว่าผมอีก)
ถ้าคุณเงินเดือนเท่านี้จริงก็แอบแปลกใจที่คำถามเหมือนเด็กจบใหม่เลย

เอางี้ ผมแบ่งปันแผนการเงินแล้วกัน (สมมติว่าผมเงินเดือน 70,000)

ก้อนแรก 20% - เงินเก็บ/เงินเย็น
ก้อนนี้คือเงินเก็บห้ามแตะ ห้ามใช้ ถ้าไม่ถึงตายจริง ๆ

ก้อนที่สอง 20% - ลงทุน
ก้อนต่อมาผมจะแบ่งไปลงทุน เช่น หุ้น, คริปโต, กองทุนลดหย่อน เป็นต้น แล้วแต่วางแผน
แล้วก็อาจจะซอยย่อยต่อเอาเองว่าจะลงอันไหนมากน้อย แต่ถ้าเน้นระยะยาวก็พยายามถือสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำถึงกลางพอ

ก้อนที่สาม 10% - ค่าใช้จ่ายหลัก
ก้อนต่อมาผมจะแบ่งไปค่าใช้จ่ายประจำเดือน/ปี เช่น ค่าน้ำไฟ, ประกัน, โทรศัพท์, น้ำมันรถ เป็นต้น
ถ้ามีค่าใช้จ่ายพวกนี้ ผมก็หักเอาจากเงินส่วนนี้เลย บางอันก็จ่ายรายปีไม่ได้จ่ายทุกเดือนด้วย

ก้อนที่สี่ 30% - การผ่อนสินค้า
ก้อนต่อมาผมจะแบ่งไปชำระค่าผ่อน เช่น บ้าน, รถ, โทรศัพท์ เป้นต้น
อันนี้เป็นกฎเลย การผ่อนทั้งหมดของเราไม่ควรเกิน 30% ของเงินเดือน (หนังสือแทบทุกเล่มก็แนะนำประมาณนี้)

ก้อนที่ห้า 20% - ค่าฟุ่มเฟือยหรือใช้จ่ายรายวัน
ก้อนสุดท้ายผมจะถือเป็นค่าใช้จ่ายชีวิตประจำวันรวมถึงค่าฟุ่มเฟือย เช่น ปาร์ตี้, กินข้าว, ซื้อเสื้อผ้ารองเท้าให้ตัวเอง
สำหรับเฉพาะการซื้อนะครับ ถ้าผ่อนจะปัดไปก้อนที่ใช้ผ่อน

ในภาพรวม คุณสามาร Adjust สัดส่วนได้ตามความเหมาะสมในชีวิต
แต่ก็ไม่ควรต่างไปจากแผนเดิมมากเกิน 5-10% เช่น ไปปรับเงินเก็บเหลือ 5 แล้วฟุ่มเฟือยไป 40 กว่า อันนี้ก็ไม่ได้
ยกเว้นก้อนเงินผ่อนสินค้าที่ไม่ควรปรับเพิ่มหรือลดไปกว่านี้เลยเพราะถ้ารัดกุมเกินก็จะไม่มีความสุข
แต่ถ้าหย่อนยานกว่านี้ก็เพิ่มความเสี่ยงในอนาคตได้
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  มนุษย์เงินเดือน ปัญหาชีวิต
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่