17.29 น.
ป่าคอนกรีต ไม่ตัดไม้ไม่ผลัดใบ --------------(2) วลีคำ
นาไร่ ปลูกไม้ล้มลุก ไม่ปลูกไม้บนเขา --------(2) วลีคำ
อาหารไร้เปลือก เลือกใส่หม้อน้ำขึ้นเตา -------(3) วลีคำ
ลังซึ้งมีไม่ใช้ เหลาไม้ไผ่อบไอน้ำ --------------(3) วลีคำ
ไม้ไผ่สดวางเพลิงเผาไม่ไหม้ถึงเนื้อใน --------(2) วลีคำ
เอาไฟผิงไผ่ขายได้กินได้ทั้งเช้าค่ำ ------------(3) วลีคำ
หลังฝนต้องแสงสุรีย์หลากหลายสีมีไอน้ำ -----(3) วลีคำ
กลัวแขกหนีอีหนูพร่ำคุยต่อพ่อไปหากับแกล้ม--(3) วลีคำ
19.58 น.
ผะหมี เป็นการละเล่นปริศนาคำทายอย่างหนึ่ง เดิมเข้าใจว่าเป็นการละเล่นในหมู่ชาวจีนมาก่อน [1] ซึ่งถือเป็นการเล่นประลองปัญญาและฝึกสมองในหมู่นักปราชญ์และกวีชาวจีน นำมาเผยแพร่ในประเทศไทย คำว่า ผะหมี มาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว ผะ (拍) แปลว่า ตี ส่วน หมี (謎/谜) แปลว่า ปริศนา ดังนั้นคำว่า ผะหมี จึงแปลว่า การตีปริศนา
ภายหลังคนไทยได้นำมาประยุกต์ถามปริศนาแบบไทย เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ (ฐานันดรศักดิ์ของรัชกาลที่ 6 ในขณะนั้น) ทรงพระราชนิพนธ์ปริศนาให้ข้าราชบริพารเป็นการภายในส่วนพระองค์ โดยปริศนาที่ใช้ถามจะเขียนด้วยคำประพันธ์ไทยเช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และคำตอบของปริศนา (หรือเรียกว่าธง) จะมีความสัมพันธ์กันในรูปแบบต่าง ๆ มีการเล่นอย่างแพร่หลายในกรุงเทพมหานคร และแพร่ไปยังจังหวัดต่าง ๆ เช่น ชลบุรี ราชบุรี สมุทรปราการ โดยในจังหวัดชลบุรีจะเรียกผะหมีว่า โจ๊ก
ปัญหา ผะหมี 8 คำ