กระทู้นี้ก็มาแนวการศึกษากันหน่อย โดยผมจะพามารีวิวคณะมนุษย์อิ้งของ ม.ราม กันนะครับ จริง ๆ ก็เคยมีคนตั้งกระทู้ถามกันมามากมายแล้วในพันทิป แต่กระทู้ที่รีวิวข้อมูลเกี่ยวกับคณะนี้ ที่ผ่านมาผมยังไม่ค่อยเห็นเท่าไหร่ และด้วยตัวผมเองก็กำลังลงเรียนที่นี่อยู่ก็อาจจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจอาจจะมาลงเรียนที่ ม.แห่งนี้ครับ
ทั่วไป
1. ต้องสอบเข้าไหม?
ตอบ = สำหรับคณะมนุษย์ศาสตร์ เอกอังกฤษ ม.ราม สามารถสมัครเข้าได้เลย ไม่ใช้คะแนนสอบใด ๆ ทั้งสิ้นครับ
2. ต้องเข้าเรียนไหม?
ตอบ = ไม่ต้องเข้าเรียนก็ได้ครับ ไม่มีการเช็กชื่อ หรือบังคับทำงานส่งเก็บคะแนนใด ๆ อิงตามคะแนนสอบล้วน ๆ สามารถเรียนได้ที่บ้านผ่านทาง course on demand (ต้องสมัครเป็นนักศึกษาก่อนถึงจะดูได้) แต่ถึงอย่างนั้นก็ควรจะต้องเข้าห้องเรียนบ้างเพราะบางวิชาก็ไม่ได้มีการบันทึกย้อนหลังไว้ โดยเฉพาะวิชารหัสสูง ๆ ที่ยิ่งยาก ถ้าไม่เข้าก็ต้องอาศัยการอ่านหนังสือเพียงอย่างเดียว ซึ่งบางวิชาอาจจะอ่านแล้วไม่เข้าใจ และเราก็ไม่รู้ว่าอาจารย์จะเน้นส่วนไหนบ้าง นอกจากนั้นก็อาจจะมีบางวิชาที่มีคะแนนเก็บเป็นส่วนเสริมช่วยคะแนนสอบอยู่หน่อยนึง
3. การสอบ
ตอบ = สำหรับวิชาพื้นฐานระดับ ramxxxx จะเรียนและสอบที่ ราม 2 บางนา เป็นส่วนใหญ่ ส่วนวิชาในเอกจะเรียนและสอบ ราม 1 บางกะปิ
4. การเลือกวิชา
ตอบ = เราสามารถเลือกสาขาวิชาตามที่เราต้องการได้เลยตั้งแต่ ปี 1 แต่ต้องอยู่ในกรอบของโครงสร้างหลักสูตรในเอกที่เราเรียน รวมถึงต้องดูด้วยว่าวิชาที่เราลงมันจะไปชนวัน/เวลาสอบของวิชาอื่นบ้างมั้ย คือ เราอาจจะเลือกวิชาเอกที่ยากสุด ๆ เลย กับวิชาพื้นฐานที่ง่ายเลยก็ได้ แต่ต้องไม่ชนกัน ซึ่งสามารถค้นหา และเช็กได้ใน มร.30 ในเว็บม.ราม ตามปีการศึกษานั้น ๆ ที่มหาลัยออกแล้ว เว็บ มร.30 :
https://www.ru.ac.th/th/Mr30 หรือพิมพ์ว่า มร.30
5. ค่าเทอม
ตอบ = ค่าเทอมของรามนั้นถูกมากๆๆๆ โดยอยู่ที่หน่วยกิตละ 25 บาท (ถ้า 1 วิชา เท่ากับ 3 หน่วยกิต = 75 บาท) และจะมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีก แต่เต็ม max ก็ไม่เกิน 1300 กว่าบาทแน่นอน ส่วนสำหรับคนที่พึ่งสมัครเข้ามาปีแรก อาจจะเสีย ค่าสมัครเข้า สูงสุดอย่างมากไม่เกิน 3000 กว่าบาท
เรียนอะไรบ้าง?? ยากไหม??
ที่ ม.ราม สำหรับวิชาพื้นฐานที่ต้องเรียนทุกคน ทุกคณะ สาขาวิชาเลยนั้น จะเป็นรหัสวิชา ramxxxx เป็นส่วนใหญ่ (สำหรับนักศึกษา 65 ขึ้นไป) ซึ่งหนึ่งในวิชาที่ทุกคนต้องเจอเลยก็คือ วิชาภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน (ram1111) เป็นวิชาพื้นฐานบังคับที่ทุกคณะเอกวิชาต้องเรียน รวมถึงเอกภาษาอังกฤษด้วย จะเป็นการปูพื้นฐานทางไวยากรณ์ง่าย ๆ เช่น tense หรือกาลต่าง ๆ , การผัน irregular verb หรือก็คือการผัน verb 3 ช่อง นอกจากนั้นยังรวมไปถึงการปูศัพท์ จำศัพท์ต่าง ๆ ซึ่งถ้าตอนมัธยมเรามีแต้มบุญหรือมีพื้นฐานสะสมมามากก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นอะไรที่ง่ายมาก แต่ถ้าใครไม่ค่อยมีพื้นฐานเท่าไหร่ก็อาจจะต้องใช้ความพยายามกันสักหน่อย
ส่วนวิชาที่เอกอิ้งต้องเรียนทั้งวิชาพื้นฐาน และของวิชาเอกก็จะมีทั้งหมด 132 หน่วยกิต (นักศึกษา 65 ขึ้นไป) ซึ่งจะเป็นภาษาอังกฤษที่เรียนตั้งแต่พื้นฐานระดับง่ายไปจนถึงขั้นแอดวานซ์ชนิดที่เรียกได้ว่าขุดไปถึงแก่นรากกันเลยทีเดียว
สำหรับวิชาที่เอกอิ้งต้องเจออยู่แล้ว คือ ทักษะทางภาษา พวกฟัง พูด อ่าน เขียน เช่น วิชา eng2001 eng2002 eng2401 หรือ eng2101 เป็นต้น
และแน่นอนว่าด้วยความที่เป็นเอกอังกฤษอยู่แล้ว เราก็คงไม่ได้เรียนแค่แกรมมาร์ ไวยากรณ์ต่าง ๆ หรือฟัง พูด อ่าน และเขียน แค่นั้น แต่ที่ราม ยังจะเรียนลึกลงไปถึงระดับ ภาษาศาสตร์ ต่าง ๆ ของภาษาอังกฤษ เช่น วิชา phonetic หรือสัทศาสตร์ ที่เรียนเกี่ยวกับการออกเสียงสำเนียงแบบอเมริกัน , วิชา semantic (อรรถศาสตร์) เกี่ยวกับการให้ความหมาย (ที่ไม่ใช่การแปลศัพท์) , วิชา syntax (วากยสัมพันธ์) หรือ pragmatic (วจนปฏิบัติศาสตร์) เป็นต้น จากที่บอกมาทั้งหมดจะมีให้เราลงทั้งแบบวิชาบังคับ ที่ต้องลงแน่ ๆ กับวิชาเลือกบังคับ ก็คือ ไม่ได้บังคับเรียนทุกตัว แต่ให้เลือกอย่างน้อยตามจำนวนที่บังคับให้ลง (ให้เข้าไปดูในโครงสร้างหลักสูตรจะเข้าใจมากขึ้น) นอกจากนั้นยังมีการเรียนเกี่ยวกับวรรณกรรมอังกฤษ อเมริกัน การแปล และวิชาภาษาอังกฤษเฉพาะด้านอีกด้วย เช่น ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับการสมัครงาน เราจะมีวิธีการเขียนใบสมัครงานที่ดีในภาษาอังกฤษยังไง หรือควรใช้คำแบบไหนถึงจะดี
จากที่ผมอธิบายมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าเราจะเรียนลึกไปถึงระดับแก่นต่าง ๆ ของคำ ประโยคภาษาอังกฤษในหลาย ๆ แขนงกันเลยทีเดียว มีวิชาที่เป็นทั้งการวิเคราะห์ ใช้การจำ หรือใช้ทักษะทางภาษาฟัง พูด อ่าน เขียน ต่างกันไป
บางคนอาจจะถามหาวิชาโทของเอกอิ้งด้วย ผมอยากจะบอกเลยว่า ตั้งแต่นักศึกษา 65 ขึ้นมาจะไม่มีการเลือกเรียนวิชาโทแล้วนะครับ จะมีอยู่ก็เพียงวิชาเสรีเท่านั้น
ส่วนในเรื่องความง่าย ความยาก ผมว่ามันแตกต่างไปตามรหัสวิชาด้วย ยิ่งรหัสสูง ๆ จะยิ่งยากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลด้วย ว่ามีพื้นฐานความรู้ หรือประสบการณ์ที่ผ่านมามากน้อยแค่ไหนด้วย บางคนอ่าน passage วิเคราะห์ความก็อาจจะรู้สึกยาก หรือบางคนอาจจะยากในการเขียน writing ก็ได้ แต่จากคำบอกเล่าของคนที่เรียนส่วนใหญ่ในเอกอิ้ง ม.ราม ก็ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าวิชา eng3401 กับ eng4401 ยากสุดในเอกนี้แล้ว ส่วนตัวผมเองก็ยังไม่ได้ลงรหัส 2 วิชานี้ครับ เทอม 2/66 กะจะลองชิมลางด้วย eng2401 ไปก่อน แต่ผมเชื่อว่าถ้าเรามีเวลา และตั้งใจให้เต็มที่จริง ๆ ผมคิดว่ายังไงก็ไม่เกินความสามารถของทุกคนแน่นอนครับ
รายละเอียดหลักสูตร เอกภาษาอังกฤษ
ถ้าใครที่ยังสงสัยหรืออยากรู้รายละเอียดของหลักสูตรของเอกอิ้ง ม.ราม สามารถเข้าไปดูได้ที่ :
https://www.ru.ac.th/th/ArticleStudyplan หรือค้นใน google ว่า โครงสร้างหลักสูตร ม.ราม จะมี list เรียงไว้ตั้งแต่ปีการศึกษาล่าสุดจนถึงปี 2549 เลย
ถ้าติด F หรือตก จะมีปัญหาไหม?
ที่ ม.ราม การติด f หรือตกเป็นเรื่องที่ไม่ต้องกังวลอะไรเพราะไม่มีผลใด ๆ เวลาเรียนจบ และจะไม่มีการนำไปขึ้น transcript ในใบเกรดจบของเรา ถ้าเกิดว่าเกรดเฉลี่ยทุกเทอมรวมกันแล้วมากกว่า 1.99 ขึ้นไป บางคนตั้งใจปล่อยให้ติด f ขาดสอบไปเลยก็มีเพราะอ่านหนังสือไม่ทัน กลัวเกรดไม่สวย จะได้เกรด D ถึงแม้ว่าเราจะสามารถไปรีเกรดให้ได้เกรด A ได้ก็จริง แต่ถ้าจบมาแล้วก็จะไม่ได้เกียรตินิยม
ช่องทางการติดตามข่าวสาร แลกเปลี่ยน พูดคุย
สามารถติดตามข่าวสารของคณะมนุษยศาสตร์ได้ทางเพจเฟซบุ๊ก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หรือกลุ่มเฟซบุ๊ก มนุษยศาสตร์ รามคำแหง หรือกลุ่มอื่น ๆ ได้ผ่านทางเฟซบุ๊ก
สำหรับการรีวิวก็คงจะมีประมาณเท่านี้ครับ ถ้าอยากถามเพิ่มเติมสามารถตอบกลับกระทู้ถามเพิ่มได้ครับ **ถ้าผมสามารถตอบได้**
รีวิวคณะมนุษยศาสตร์ เอกอังกฤษ ม.ราม
ทั่วไป
1. ต้องสอบเข้าไหม?
ตอบ = สำหรับคณะมนุษย์ศาสตร์ เอกอังกฤษ ม.ราม สามารถสมัครเข้าได้เลย ไม่ใช้คะแนนสอบใด ๆ ทั้งสิ้นครับ
2. ต้องเข้าเรียนไหม?
ตอบ = ไม่ต้องเข้าเรียนก็ได้ครับ ไม่มีการเช็กชื่อ หรือบังคับทำงานส่งเก็บคะแนนใด ๆ อิงตามคะแนนสอบล้วน ๆ สามารถเรียนได้ที่บ้านผ่านทาง course on demand (ต้องสมัครเป็นนักศึกษาก่อนถึงจะดูได้) แต่ถึงอย่างนั้นก็ควรจะต้องเข้าห้องเรียนบ้างเพราะบางวิชาก็ไม่ได้มีการบันทึกย้อนหลังไว้ โดยเฉพาะวิชารหัสสูง ๆ ที่ยิ่งยาก ถ้าไม่เข้าก็ต้องอาศัยการอ่านหนังสือเพียงอย่างเดียว ซึ่งบางวิชาอาจจะอ่านแล้วไม่เข้าใจ และเราก็ไม่รู้ว่าอาจารย์จะเน้นส่วนไหนบ้าง นอกจากนั้นก็อาจจะมีบางวิชาที่มีคะแนนเก็บเป็นส่วนเสริมช่วยคะแนนสอบอยู่หน่อยนึง
3. การสอบ
ตอบ = สำหรับวิชาพื้นฐานระดับ ramxxxx จะเรียนและสอบที่ ราม 2 บางนา เป็นส่วนใหญ่ ส่วนวิชาในเอกจะเรียนและสอบ ราม 1 บางกะปิ
4. การเลือกวิชา
ตอบ = เราสามารถเลือกสาขาวิชาตามที่เราต้องการได้เลยตั้งแต่ ปี 1 แต่ต้องอยู่ในกรอบของโครงสร้างหลักสูตรในเอกที่เราเรียน รวมถึงต้องดูด้วยว่าวิชาที่เราลงมันจะไปชนวัน/เวลาสอบของวิชาอื่นบ้างมั้ย คือ เราอาจจะเลือกวิชาเอกที่ยากสุด ๆ เลย กับวิชาพื้นฐานที่ง่ายเลยก็ได้ แต่ต้องไม่ชนกัน ซึ่งสามารถค้นหา และเช็กได้ใน มร.30 ในเว็บม.ราม ตามปีการศึกษานั้น ๆ ที่มหาลัยออกแล้ว เว็บ มร.30 : https://www.ru.ac.th/th/Mr30 หรือพิมพ์ว่า มร.30
5. ค่าเทอม
ตอบ = ค่าเทอมของรามนั้นถูกมากๆๆๆ โดยอยู่ที่หน่วยกิตละ 25 บาท (ถ้า 1 วิชา เท่ากับ 3 หน่วยกิต = 75 บาท) และจะมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีก แต่เต็ม max ก็ไม่เกิน 1300 กว่าบาทแน่นอน ส่วนสำหรับคนที่พึ่งสมัครเข้ามาปีแรก อาจจะเสีย ค่าสมัครเข้า สูงสุดอย่างมากไม่เกิน 3000 กว่าบาท
เรียนอะไรบ้าง?? ยากไหม??
ที่ ม.ราม สำหรับวิชาพื้นฐานที่ต้องเรียนทุกคน ทุกคณะ สาขาวิชาเลยนั้น จะเป็นรหัสวิชา ramxxxx เป็นส่วนใหญ่ (สำหรับนักศึกษา 65 ขึ้นไป) ซึ่งหนึ่งในวิชาที่ทุกคนต้องเจอเลยก็คือ วิชาภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน (ram1111) เป็นวิชาพื้นฐานบังคับที่ทุกคณะเอกวิชาต้องเรียน รวมถึงเอกภาษาอังกฤษด้วย จะเป็นการปูพื้นฐานทางไวยากรณ์ง่าย ๆ เช่น tense หรือกาลต่าง ๆ , การผัน irregular verb หรือก็คือการผัน verb 3 ช่อง นอกจากนั้นยังรวมไปถึงการปูศัพท์ จำศัพท์ต่าง ๆ ซึ่งถ้าตอนมัธยมเรามีแต้มบุญหรือมีพื้นฐานสะสมมามากก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นอะไรที่ง่ายมาก แต่ถ้าใครไม่ค่อยมีพื้นฐานเท่าไหร่ก็อาจจะต้องใช้ความพยายามกันสักหน่อย
ส่วนวิชาที่เอกอิ้งต้องเรียนทั้งวิชาพื้นฐาน และของวิชาเอกก็จะมีทั้งหมด 132 หน่วยกิต (นักศึกษา 65 ขึ้นไป) ซึ่งจะเป็นภาษาอังกฤษที่เรียนตั้งแต่พื้นฐานระดับง่ายไปจนถึงขั้นแอดวานซ์ชนิดที่เรียกได้ว่าขุดไปถึงแก่นรากกันเลยทีเดียว
สำหรับวิชาที่เอกอิ้งต้องเจออยู่แล้ว คือ ทักษะทางภาษา พวกฟัง พูด อ่าน เขียน เช่น วิชา eng2001 eng2002 eng2401 หรือ eng2101 เป็นต้น
และแน่นอนว่าด้วยความที่เป็นเอกอังกฤษอยู่แล้ว เราก็คงไม่ได้เรียนแค่แกรมมาร์ ไวยากรณ์ต่าง ๆ หรือฟัง พูด อ่าน และเขียน แค่นั้น แต่ที่ราม ยังจะเรียนลึกลงไปถึงระดับ ภาษาศาสตร์ ต่าง ๆ ของภาษาอังกฤษ เช่น วิชา phonetic หรือสัทศาสตร์ ที่เรียนเกี่ยวกับการออกเสียงสำเนียงแบบอเมริกัน , วิชา semantic (อรรถศาสตร์) เกี่ยวกับการให้ความหมาย (ที่ไม่ใช่การแปลศัพท์) , วิชา syntax (วากยสัมพันธ์) หรือ pragmatic (วจนปฏิบัติศาสตร์) เป็นต้น จากที่บอกมาทั้งหมดจะมีให้เราลงทั้งแบบวิชาบังคับ ที่ต้องลงแน่ ๆ กับวิชาเลือกบังคับ ก็คือ ไม่ได้บังคับเรียนทุกตัว แต่ให้เลือกอย่างน้อยตามจำนวนที่บังคับให้ลง (ให้เข้าไปดูในโครงสร้างหลักสูตรจะเข้าใจมากขึ้น) นอกจากนั้นยังมีการเรียนเกี่ยวกับวรรณกรรมอังกฤษ อเมริกัน การแปล และวิชาภาษาอังกฤษเฉพาะด้านอีกด้วย เช่น ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับการสมัครงาน เราจะมีวิธีการเขียนใบสมัครงานที่ดีในภาษาอังกฤษยังไง หรือควรใช้คำแบบไหนถึงจะดี
จากที่ผมอธิบายมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าเราจะเรียนลึกไปถึงระดับแก่นต่าง ๆ ของคำ ประโยคภาษาอังกฤษในหลาย ๆ แขนงกันเลยทีเดียว มีวิชาที่เป็นทั้งการวิเคราะห์ ใช้การจำ หรือใช้ทักษะทางภาษาฟัง พูด อ่าน เขียน ต่างกันไป
บางคนอาจจะถามหาวิชาโทของเอกอิ้งด้วย ผมอยากจะบอกเลยว่า ตั้งแต่นักศึกษา 65 ขึ้นมาจะไม่มีการเลือกเรียนวิชาโทแล้วนะครับ จะมีอยู่ก็เพียงวิชาเสรีเท่านั้น
ส่วนในเรื่องความง่าย ความยาก ผมว่ามันแตกต่างไปตามรหัสวิชาด้วย ยิ่งรหัสสูง ๆ จะยิ่งยากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลด้วย ว่ามีพื้นฐานความรู้ หรือประสบการณ์ที่ผ่านมามากน้อยแค่ไหนด้วย บางคนอ่าน passage วิเคราะห์ความก็อาจจะรู้สึกยาก หรือบางคนอาจจะยากในการเขียน writing ก็ได้ แต่จากคำบอกเล่าของคนที่เรียนส่วนใหญ่ในเอกอิ้ง ม.ราม ก็ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าวิชา eng3401 กับ eng4401 ยากสุดในเอกนี้แล้ว ส่วนตัวผมเองก็ยังไม่ได้ลงรหัส 2 วิชานี้ครับ เทอม 2/66 กะจะลองชิมลางด้วย eng2401 ไปก่อน แต่ผมเชื่อว่าถ้าเรามีเวลา และตั้งใจให้เต็มที่จริง ๆ ผมคิดว่ายังไงก็ไม่เกินความสามารถของทุกคนแน่นอนครับ
รายละเอียดหลักสูตร เอกภาษาอังกฤษ
ถ้าใครที่ยังสงสัยหรืออยากรู้รายละเอียดของหลักสูตรของเอกอิ้ง ม.ราม สามารถเข้าไปดูได้ที่ : https://www.ru.ac.th/th/ArticleStudyplan หรือค้นใน google ว่า โครงสร้างหลักสูตร ม.ราม จะมี list เรียงไว้ตั้งแต่ปีการศึกษาล่าสุดจนถึงปี 2549 เลย
ถ้าติด F หรือตก จะมีปัญหาไหม?
ที่ ม.ราม การติด f หรือตกเป็นเรื่องที่ไม่ต้องกังวลอะไรเพราะไม่มีผลใด ๆ เวลาเรียนจบ และจะไม่มีการนำไปขึ้น transcript ในใบเกรดจบของเรา ถ้าเกิดว่าเกรดเฉลี่ยทุกเทอมรวมกันแล้วมากกว่า 1.99 ขึ้นไป บางคนตั้งใจปล่อยให้ติด f ขาดสอบไปเลยก็มีเพราะอ่านหนังสือไม่ทัน กลัวเกรดไม่สวย จะได้เกรด D ถึงแม้ว่าเราจะสามารถไปรีเกรดให้ได้เกรด A ได้ก็จริง แต่ถ้าจบมาแล้วก็จะไม่ได้เกียรตินิยม
ช่องทางการติดตามข่าวสาร แลกเปลี่ยน พูดคุย
สามารถติดตามข่าวสารของคณะมนุษยศาสตร์ได้ทางเพจเฟซบุ๊ก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หรือกลุ่มเฟซบุ๊ก มนุษยศาสตร์ รามคำแหง หรือกลุ่มอื่น ๆ ได้ผ่านทางเฟซบุ๊ก
สำหรับการรีวิวก็คงจะมีประมาณเท่านี้ครับ ถ้าอยากถามเพิ่มเติมสามารถตอบกลับกระทู้ถามเพิ่มได้ครับ **ถ้าผมสามารถตอบได้**