ปัญหาการลดโทษ ในคดีอุกฉกรรจ์ของประเทศไทย

กระทู้คำถาม
ผมมีความรู้ทางด้านกฎหมายน้อย แต่จากการติดตามข่าวสารด้านสังคมมาตลอดสามสิบปีที่ผ่านมา มีประเด็นใหญ่ๆที่ต้องการตั้งคำถามครับ

1. หลายๆคดี ศาลพิพากษาประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิตจำเลย ยืนถึงฎีกา แต่ทางราชฑัณฑ์สามารถเลื่อนชั้นนักโทษได้เอง จนถึงขั้นสามารถปล่อยตัวนักโทษที่ทางฝ่ายศาลฎีกา ได้พิพากษายืนจำคุกตลอดชีวิต ให้จำคุกไปเพียง 7 ปี ได้รับการปล่อยตัวออกมาสู่สังคม กรณีเช่นนี้ ถือว่า ทางราชฑัณฑ์ มีอำนาจมากกว่า และสามารถ overwrite อำนาจของศาลได้ทุกศาล ผมเข้าใจถูกต้องใช่หรือไม่

2. หากการเลื่อนชั้นนักโทษ สามารถกระทำได้โดยหน่วยงานเดียว องค์กรเดียว มีข้อสงสัยได้ชัดเจนว่า มีการซื้อขาย ทุจริตคอรัปชั่น เพื่อการเลื่อนชั้น และลดโทษ ในองค์กรได้อย่างแน่นอน ใช่หรือไม่ (การซื้อขายตำแหน่งในวงราชการ ยังถือว่าเป็นเรื่องปกติ ทั้งที่มีผู้คนรู้เห็น และเสียผลประโยชน์ จับตาดูอยู่มากมาย แล้วเรื่องแบบนี้ ที่เป็นเรื่องนอกเป้าสายตาของผู้คน กระทำการอย่างลับๆและย้อนกลับไปแก้ไขก็ไม่ได้ในหน่วยงานแห่งนี้ จะไม่มีจริงหรือ)

3. ผมไม่ได้ศึกษา ว่าการเลื่อนชั้นนักโทษ และการลดโทษ ในเรือนจำนั้น ใครคือคณะกรรมการพิจารณา บุคคลเหล่านี้คือใคร และมีหน่วยงานตรวจสอบการทำงานของพวกเขาหรือไม่ การที่นักโทษคดีร้ายแรง ฆาตกรรมมากมาย กลับถูกปล่อยตัวออกมาอย่างรวดเร็ว เพื่อกระทำผิดซ้ำอีก บุคคลเหล่านี้ต้องรับผิดชอบหรือไม่

คนไทยจำนวนมาก เข้าใจว่ากฎหมายของประเทศไทยนั้นอ่อนแอ บังคับใช้กฎหมายไม่ได้ แต่ที่ผมสัมผัสมา กลับไม่ใช่อย่างนั้น กฏหมายนั้นมีอัตราโทษที่ไม่เบา หน่วยงานตำรวจบังคับใช้กฎหมายกันอย่างหนักหน่วง ทำสำนวนคดีอย่างยากเย็น ฝ่ายพิพากษาทำงานหนัก ปีๆนึงมีคดีอาญาเป็นแสนคดี (นี่เรื่องจริง)  แต่ทุกอย่างสามารถถูกลบล้างได้ด้วยหน่วยงานเดียวคือ การเลื่อนชั้นนักโทษและลดโทษ

จากคำถามข้างต้น ประชาขนคนไทย ควรมืสิทธิ์หรือไม่ ในการตรวจสอบการทำงาน รวมไปถึงขั้นตอนการเลื่อนชั้นนักโทษ มี database ให้ประชาชนทั่วไปรับทราบ และเข้าถึงได้ ถึงจำนวนโทษที่ได้รับการลด ของนักโทษร้ายแรงเหล่านี้ การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการพิจารณา หรือคัดค้านการเลื่อนชั้น หรือการลดโทษ

ข้อเสนอนี้ รวมไปถึงการกำหนดอัตราโทษไปสู่ผู้ที่มีส่วนร่วมในการพิจารณาเลื่อนชั้น ลดโทษ นักโทษเหล่านี้ เช่น หากนักโทษคดีอุกฉกรรจ์ ได้รับการปล่อยตัวออกมาอย่างรวดเร็ว ไปกระทำผิดซ้ำ ทุกคนที่มีส่วนในการทำให้นักโทษนั้นๆหลุดออกมา ต้องถูกพิจารณาความผิดด้วย ถือว่าทำหน้าที่บกพร่อง

ทั้งหมดนี้ เป็นการตั้งคำถามสู่สังคม และหน่วยงานภาครัฐ เพราะผมคิดถึงตัวเอง ว่าหากผมเป็นญาติผู้สูญเสีย จากการกระทำความผิดซ้ำของนักโทษเหล่านี้ ผมจะไม่โทษกฎหมาย ไม่โทษตำรวจ ไม่โทษผู้พิพากษา แต่จะพุ่งเป้าไปที่กระบวนการลดโทษและปล่อยตัวเป็นหลักครับ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  ปัญหาสังคม
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่