ครม.เคาะปรับเงินเดือนข้าราชการ 10% เป็นระยะเวลา 2 ปี บรรจุใหม่สตาร์ต 18,000 บาท เริ่มงวดแรกหลังงบประมาณปี 2567
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ โดยจะปรับขึ้นในอัตรา 10% เป็นระยะเวลา 2 ปี ในปีงบประมาณ 2567-2568 คาดว่าจะเริ่มต้นการขึ้นเงินเดือนงวดแรกได้ภายหลังจากงบประมาณปี 2567 มีผลบังคับใช้ในช่วงกลางปีนี้
เลขาฯสภาพัฒน์ระบุว่า สำหรับการปรับขึ้นเงินเดือนรอบนี้ จะปรับเพิ่มขึ้นเฉพาะกลุ่มข้าราชการบรรจุใหม่ก่อนโดยปรับอัตราเงินเดือนเพิ่มขึ้นปีละ 10% เพื่อให้ปีที่ 2 ของการทำงาน คือปี 2568 ข้าราชการบรรจุใหม่จะมีเงินเดือนแตะ 18,000 บาท
ระหว่างการรอการปรับฐานขึ้นเงินเดือนขึ้น ในช่วงนี้จะมีเงินช่วยค่าครองชีพเข้าไปช่วยก่อน แต่จะเพิ่มขึ้นเท่าใดนั้น กรมบัญชีกลางจะกลับไปพิจารณา
กลุ่มข้าราชการที่บรรจุเข้ามาก่อน 1-2 ปี ที่การปรับฐานเงินเดือนใหม่จะเริ่มต้นขึ้นนั้น จะพิจารณาการปรับฐานเงินเดือนขึ้นมาใหม่ ให้มากขึ้นกว่าข้าราชการบรรจุใหม่ที่ได้เงินเดือน 18,000 บาทเล็กน้อย เพื่อให้มีช่องว่างระหว่างเงินเดือนของข้าราชการเดิม
การปรับขึ้นเงินเดือนครั้งนี้ เป็นไปตามมติ 4 หน่วยงาน คือ กรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณ สภาพัฒน์ และสำนักงาน ก.พ. ได้ข้อสรุปร่วมกันว่า การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการที่จบปริญญาตรีแล้วบรรจุเป็นข้าราชการใหม่ ไปถึงแค่ระดับชำนาญการพิเศษ หรือระดับซี 8 ส่วนระดับผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้อำนวยการในระดับซี 9 จะไม่ได้รับการปรับขึ้นเงินเดือน เพราะมีฐานเงินเดือนที่สูงแล้ว
ด้าน นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.ได้เห็นชอบในหลักการ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เสนอปรับฐานเงินเดือนข้าราชการบรรจุใหม่ เพื่อให้แข่งขันกับภาคเอกชน ปรับให้ทันสมัยขึ้น หลักใหญ่ ๆ คือ ดูแลข้าราชการที่เข้าใหม่ โดยต้องปรับชดเชยจากกลุ่มอื่น ๆ ให้เท่าเทียมกันอย่างมีแผนการ เพราะขณะนี้ยังมีช่องว่างอยู่ ระหว่างภาคเอกชนกับข้าราชการ
นพ.พรหมินทร์กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่สุดคือการปรับที่ต้องสอดคล้องกับตำแหน่ง ไม่ให้มากไปหรือน้อยไป ให้เป็นรัฐบาลที่ทันสมัย โดยจะต้องยึดโยงกับตำแหน่งที่ตั้งไว้ เพื่อปรับให้เหมาะสม ตามแผนการที่ได้ยืนยันว่าทุกอย่างทำตามแผนการที่ได้หารือมาก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนขั้นต่ำในการปรับขึ้นเท่าไหร่นั้น มีขั้นตอนและมีแผนดำเนินการ 2-3 ปี เพราะวันนี้เห็นชอบในหลักการและให้กรอบเวลาในการจัดทำตามแผน
นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบรายงานผลการศึกษาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 เรื่องการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำ และการปรับอัตราเงินเดือนสำหรับกลุ่มข้าราชการพลเรือนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่มี ปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกฯ และ รมว.การต่างประเทศเป็นประธาน
ทั้งนี้ แนวคิดแนวคิดเบื้องต้นในการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นการพิจารณาเกี่ยวกับการปรับอัตรา เงินเดือนแรกบรรจุของข้าราชการเป็นสำคัญ โดยมิได้หมายถึงการปรับบัญชีเงินเดือนหรือการปรับเงินเดือน ให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคน
ซึ่งเมื่อพิจารณาจากแนวทางการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล ในระยะที่ผ่านมาในช่วงปี พ.ศ.2555 – 2557 (ตามนโยบายเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท และค่าแรง ขั้นต่ำ 300 บาท) ประกอบกับข้อมูลจากรายงานผลสำรวจอัตราค่าจ้างในภาคเอกชน (Starting Rate Survey) พบว่า ปัจจุบันอัตราแรกจ้างของพนักงานรายเดือนที่เป็นนักศึกษาจบใหม่ วุฒิปริญญาตรี (เฉลี่ยทุกสาขาวิชา) อยู่ที่ 18,910 บาท ดังนั้น จึงควรมีการพิจารณาปรับปรุงอัตราเงินเดือนแรกบรรจุของวุฒิปริญญาตรี ให้สอดคล้องกับราคาตลาด
โดยผู้ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ใช้คุณวุฒิระดับปริญญาตรี จะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 18,000 บาท และผู้ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งคุณวุฒิ ระดับ ปวช. จะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 11,000 บาท ภายใน 2 ปี และปรับอัตราเงินเดือนของคุณวุฒิอื่นๆ ให้สอดคล้องกัน รวมทั้งปรับชดเชยผู้ด้ำรับผลกระทบจากการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุดังกล่าวในช่วงระยะเวลาเดียวกันด้วย มีผลตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2567 และปีที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568
โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณในปีที่ 1 จำนวน 7,200 ล้านบาท และปีที่ 2 จำนวน 8,800 ล้านบาท โดยให้ส่วนราชการจ่ายจากงบประมาณของแต่ละส่วนราชการเป็นลำดับแรก หากไม่เพียงพอให้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลาง รายการเงื่อนเลื่อนเงินเดือน ละเงินปรับวุฒิข้าราชการในลำดับต่อไป
ขอบคุณข้แมูลจาก
https://www.prachachat.net/politics/news-1447915
ครม.เคาะขึ้นเงินเดือนข้าราชการ 10% เริ่มงวดแรกปี 2567
ครม.เคาะปรับเงินเดือนข้าราชการ 10% เป็นระยะเวลา 2 ปี บรรจุใหม่สตาร์ต 18,000 บาท เริ่มงวดแรกหลังงบประมาณปี 2567
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ โดยจะปรับขึ้นในอัตรา 10% เป็นระยะเวลา 2 ปี ในปีงบประมาณ 2567-2568 คาดว่าจะเริ่มต้นการขึ้นเงินเดือนงวดแรกได้ภายหลังจากงบประมาณปี 2567 มีผลบังคับใช้ในช่วงกลางปีนี้
เลขาฯสภาพัฒน์ระบุว่า สำหรับการปรับขึ้นเงินเดือนรอบนี้ จะปรับเพิ่มขึ้นเฉพาะกลุ่มข้าราชการบรรจุใหม่ก่อนโดยปรับอัตราเงินเดือนเพิ่มขึ้นปีละ 10% เพื่อให้ปีที่ 2 ของการทำงาน คือปี 2568 ข้าราชการบรรจุใหม่จะมีเงินเดือนแตะ 18,000 บาท
ระหว่างการรอการปรับฐานขึ้นเงินเดือนขึ้น ในช่วงนี้จะมีเงินช่วยค่าครองชีพเข้าไปช่วยก่อน แต่จะเพิ่มขึ้นเท่าใดนั้น กรมบัญชีกลางจะกลับไปพิจารณา
กลุ่มข้าราชการที่บรรจุเข้ามาก่อน 1-2 ปี ที่การปรับฐานเงินเดือนใหม่จะเริ่มต้นขึ้นนั้น จะพิจารณาการปรับฐานเงินเดือนขึ้นมาใหม่ ให้มากขึ้นกว่าข้าราชการบรรจุใหม่ที่ได้เงินเดือน 18,000 บาทเล็กน้อย เพื่อให้มีช่องว่างระหว่างเงินเดือนของข้าราชการเดิม
การปรับขึ้นเงินเดือนครั้งนี้ เป็นไปตามมติ 4 หน่วยงาน คือ กรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณ สภาพัฒน์ และสำนักงาน ก.พ. ได้ข้อสรุปร่วมกันว่า การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการที่จบปริญญาตรีแล้วบรรจุเป็นข้าราชการใหม่ ไปถึงแค่ระดับชำนาญการพิเศษ หรือระดับซี 8 ส่วนระดับผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้อำนวยการในระดับซี 9 จะไม่ได้รับการปรับขึ้นเงินเดือน เพราะมีฐานเงินเดือนที่สูงแล้ว
ด้าน นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.ได้เห็นชอบในหลักการ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เสนอปรับฐานเงินเดือนข้าราชการบรรจุใหม่ เพื่อให้แข่งขันกับภาคเอกชน ปรับให้ทันสมัยขึ้น หลักใหญ่ ๆ คือ ดูแลข้าราชการที่เข้าใหม่ โดยต้องปรับชดเชยจากกลุ่มอื่น ๆ ให้เท่าเทียมกันอย่างมีแผนการ เพราะขณะนี้ยังมีช่องว่างอยู่ ระหว่างภาคเอกชนกับข้าราชการ
นพ.พรหมินทร์กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่สุดคือการปรับที่ต้องสอดคล้องกับตำแหน่ง ไม่ให้มากไปหรือน้อยไป ให้เป็นรัฐบาลที่ทันสมัย โดยจะต้องยึดโยงกับตำแหน่งที่ตั้งไว้ เพื่อปรับให้เหมาะสม ตามแผนการที่ได้ยืนยันว่าทุกอย่างทำตามแผนการที่ได้หารือมาก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนขั้นต่ำในการปรับขึ้นเท่าไหร่นั้น มีขั้นตอนและมีแผนดำเนินการ 2-3 ปี เพราะวันนี้เห็นชอบในหลักการและให้กรอบเวลาในการจัดทำตามแผน
นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบรายงานผลการศึกษาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 เรื่องการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำ และการปรับอัตราเงินเดือนสำหรับกลุ่มข้าราชการพลเรือนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่มี ปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกฯ และ รมว.การต่างประเทศเป็นประธาน
ทั้งนี้ แนวคิดแนวคิดเบื้องต้นในการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นการพิจารณาเกี่ยวกับการปรับอัตรา เงินเดือนแรกบรรจุของข้าราชการเป็นสำคัญ โดยมิได้หมายถึงการปรับบัญชีเงินเดือนหรือการปรับเงินเดือน ให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคน
ซึ่งเมื่อพิจารณาจากแนวทางการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล ในระยะที่ผ่านมาในช่วงปี พ.ศ.2555 – 2557 (ตามนโยบายเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท และค่าแรง ขั้นต่ำ 300 บาท) ประกอบกับข้อมูลจากรายงานผลสำรวจอัตราค่าจ้างในภาคเอกชน (Starting Rate Survey) พบว่า ปัจจุบันอัตราแรกจ้างของพนักงานรายเดือนที่เป็นนักศึกษาจบใหม่ วุฒิปริญญาตรี (เฉลี่ยทุกสาขาวิชา) อยู่ที่ 18,910 บาท ดังนั้น จึงควรมีการพิจารณาปรับปรุงอัตราเงินเดือนแรกบรรจุของวุฒิปริญญาตรี ให้สอดคล้องกับราคาตลาด
โดยผู้ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ใช้คุณวุฒิระดับปริญญาตรี จะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 18,000 บาท และผู้ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งคุณวุฒิ ระดับ ปวช. จะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 11,000 บาท ภายใน 2 ปี และปรับอัตราเงินเดือนของคุณวุฒิอื่นๆ ให้สอดคล้องกัน รวมทั้งปรับชดเชยผู้ด้ำรับผลกระทบจากการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุดังกล่าวในช่วงระยะเวลาเดียวกันด้วย มีผลตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2567 และปีที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568
โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณในปีที่ 1 จำนวน 7,200 ล้านบาท และปีที่ 2 จำนวน 8,800 ล้านบาท โดยให้ส่วนราชการจ่ายจากงบประมาณของแต่ละส่วนราชการเป็นลำดับแรก หากไม่เพียงพอให้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลาง รายการเงื่อนเลื่อนเงินเดือน ละเงินปรับวุฒิข้าราชการในลำดับต่อไป
ขอบคุณข้แมูลจาก https://www.prachachat.net/politics/news-1447915