เฮอด้วยความที่ได้ข้อความ ผ่านมาทาง Line แต่ก็มีแหล่งที่มาชัดเจน สรุป
จากหัวข้อกระทู้ที่ตั้ง รบกวนมาแลกเปลี่ยนกันหน่อยดีกว่าครับ ต้นตอของปัญหาที่แท้จริงมันคืออะไร
กี่ปีกี่ชาติ ก็ยังคงแก้ปัญหานี้ไม่ได้อยู่ดีใช่ไหมครับ?
ที่มาจาก Facebook: ข่าวเด่นประเด็นร้อน โพสเมื่อวันที่ 25/11/2566
เพจสอนภาษาอังกฤษชื่อดังตั้งคำถาม
ครูไทยอังกฤษห่วย: ผิดที่ครูหรือผิดที่ระบบ
วันนี้ขอเอาเรื่องที่เคยเขียนไว้นานแล้วมารีโพสต์นะคะ
เพราะดูเหมือนมันเป็นปัญหาที่พูดๆๆๆกัน แต่ก็แก้ไม่ตกมาหลายสิบปีแล้ว
เราอยากจะขอแชร์ปัญหาที่เคยพบในประสบการณ์เป็นครู
และทำไมเราถึงยอมแพ้กับระบบนี้หลังจากที่สอนมัธยมปลายในโรงเรียนเอกชนไทยมา 20 ปี
นอกจากสามปีแรก เราก็เป็นครูพิเศษมาตลอด เพราะครูพิเศษไม่ต้องมาเช้าเพื่อคุมแถว
ไม่ต้องเข้างานพิธี แต่ก็ได้เงินเดือนแค่ตามชั่วโมงที่สอน และไม่มีสวัสดิการจากโรงเรียน
มาพูดถึงปัญหา ซึ่งต้องขอออกตัวว่า ปัญหาที่เคยเจอมาคือแค่ที่รร.เอกชนในกรุงเทพฯนะคะ คิดว่าถ้าเป็นรร.รัฐต่างจังหวัด ปัญหาน่าจะอีกทวีคูณ
ปัญหาที่ตัวครู
1. เพราะครูสัญชาติไทยที่สอนอังกฤษมีเป็นส่วนน้อยมากที่จะคล่องทุกทักษะ (ภาษาเป็นอะไรที่ต้องใช้ทุกวัน ไม่งั้นจะลืม)
2. รร.อยากได้คนที่มีวุฒิครูรองรับ ไม่ได้ดูประสบการณ์ตรงและความรู้เรื่องวัฒนธรรม
3. สมัยนี้คนรู้ภาษามีเยอะที่ครึ่งๆกลางๆ ไม่ได้รู้จริงแต่คิดว่าตัวเองรู้
4. ครูมักคิดว่าจุดมุ่งหมายคือการสอบผ่าน ไม่ใช่การที่เด็กใช้ภาษาได้
5. ถ้าโรงเรียนยังหาครูไม่ได้เหมาะ อาจจะต้องให้ผู้ปกครองช่วยหาหรือช่วยเข้ามาสอน
6. คนเป็นครูควรจะมีนิสัยชอบอ่าน ชอบหาความรู้ รักสิ่งที่สอน มีความเป็นเป็น storyteller ถ่อมตัว+พร้อมเรียนรู้ได้จากนักเรียน มีความเป็นมนุษย์สูง รู้ว่าอะไรสำคัญไม่สำคัญ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้พอสมควร
ปัญหาที่นักเรียน
1. นักเรียนใช้ smart phone มาตั้งแต่เล็ก ชินกับสิ่งเร้า นั่งเรียนแล้วเบื่อ
2. พ่อแม่มักจะลืมว่าภาษามักจะได้จากที่บ้านมากกว่าโรงเรียน เพราะที่บ้านสามารถจัดสภาพแวดล้อมได้ง่ายกว่าที่รร.
3. เด็กไม่ค่อยยอมฝึกที่บ้าน หรืออ่านการบ้าน ทำให้ในห้องเรียนไปต่อได้ช้า
4. นักเรียนไม่ค่อยได้มีโอกาสเห็นตัวอย่างคนที่เหมือนเค้าให้ได้ inspire อยากเป็นบ้าง
ปัญหาห้องเรียน
1. เด็กเยอะ จัดโต๊ะเป็นแถวตอน ไม่เหมาะต่อการสอนสาระ humanities (ในการเรียนภาษาเด็กน่าจะไม่เกิน 20 และนั่งเรียนเป็นวงกลม)
2. อยากให้จัดกลุ่มเด็กตามความคล่องในการฟังพูด พอคละเด็กก็ต้องใช้ภาษากลางๆในการสอน เด็กอ่อนก็ไม่ทัน เด็กเก่งก็ไม่ได้เพิ่ม
3. ห้องเรียนที่นักเรียนประมาณ 30-50 คน ไม่เอื้อต่อการสอนฟังพูด การที่เก็บคะแนนจากการสอบแบบ multiple choice หรือการบอกให้นักเรียน repeat after me ใช้ไม่ได้ในชีวิตจริง
4. ห้องเป็นของนักเรียน ครูไม่สามารถแต่งห้อง ติดโปสเตอร์เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมหรือเพื่อ inspire เด็กได้
5. (ห้องเรียนในฝันคือครูมีห้องของตัวเองที่เด็กเดินมาเรียน มีหนังสือให้เด็กดูเล่นและให้ยืมกลับบ้านได้)
ปัญหาโรงเรียน
1. ครูไม่พอ ครูสอนอังกฤษดีๆค่อนข้างหายาก จ้างครูต่างชาติมาก็มักอยู่ไม่นาน พอครูขาดก็เอาครูที่ไม่ถนัดมาสอน หนักกว่านั้นคือเป็นครูวิชาอื่นเลยก็มี
2. โรงเรียนไม่อยากให้เด็กตก คือถ้าขึ้นมาถึงมัธยมแล้วไม่ไหวก็ต้องมีจัดให้เรียนเสริม ไม่ใช่ให้ผ่านง่ายๆ
3. ห้องสมุดที่มีแต่หนังสือไทยที่รับบริจาคมา บรรณารักษ์แนะนำหนังสืออังกฤษไม่ได้เลย
4. ควรพัฒนาครูให้มีเวลาได้พักไปหาความรู้บ้าง (อันนี้ไม่แน่ใจว่ามีกันไหมเพราะเคยแต่เป็นครูพิเศษ)
5. ให้เงินตามสมควรกับประสบการณ์และการศึกษา ไม่ใช่เอะอะก็โรงเรียนจ่ายครูพิเศษเท่ากันหมด จะทำงานมากี่ปีหรือจบที่ไหนมา เพราะคนไทยที่คล่องภาษาเค้าคงไม่อยากได้เดือนเท่านี้
ปัญหากระทรวง
1. เป็นสัญชาติไทยต้องมีใบครู ถ้าไม่ได้จบครุมาต้องไปเรียนเพิ่มอีกสองปีโดยใช้หลักสูตรครุไทย ไม่มียกเว้นให้สำหรับคนสอนภาษาต่างประเทศ คาดว่าครูสัญชาติอื่นไม่น่าจะต้องมี
2. เงินเดือนครูทั้งประเทศน้อยถึงน้อยมาก งานก็เยอะ เด็กโตมาน้อยคนที่จะอยากเป็นครู
3. ตั้งแต่ประถมยันมัธยม ทุกเทอมต้องส่งคะแนนเก็บ รวมแล้วแยกเป็น listening 10, speaking 10, reading 10, writing 10 เคยถามรร.ว่า ในชั้นประถมน่าจะให้คะแนนฟังพูดมากกว่าอ่านเขียน และคะแนนอ่านเขียนมากกว่าอ่านพูดในชั้นมัธยมได้มั้ย คำตอบคือไม่ได้ จบ
4. ไม่มีเกรดความพยายามแยกออกมาให้เห็น มีจิตพิสัย 10 คะแนนรวมอยู่ จะแปลว่าอะไรก็แล้วแต่ครู
5. ห้ามตก ต้องซ่อมแก้ให้ผ่านในช่วงชั้น แต่โรงเรียนมักไม่ค่อยยอม ต้องการให้ผ่านในหนึ่งอาทิตย์หลังสอบเสร็จ
6. ถ้าวิธีเข้ารร.รัฐหรือมหาวิทยาลัย คือการใช้คะแนนสอบเป็นหลัก วิธีสอนในรร.ก็ไม่รู้จะเปลี่ยนได้ยังไง เพราะสุดท้ายแล้ว ก็ต้องวัดที่คะแนนสอบเข้าอยู่ดี
สรุป
ถ้าทั้งพ่อแม่ ครู โรงเรียน และกระทรวงมีการตั้งเป้าว่า
-ประชาชนที่อยากให้ชาติเรามีเป็นคนแบบไหน มีทักษะอะไรที่ควรมี เพราะการรู้ภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆคือการเปิดโลก และเข้าถึงข้อมูลความรู้อื่นๆที่มีมากกว่าในภาษาไทย
-ต้อง ethical แค่ไหนในการทำงานและดำเนินชีวิต เพื่อให้เรามีสังคมที่ไม่แก่งแย่งกันเกินไป ไม่โกงกินกันจนประเทศด้อยพัฒนาขนาดนี้
-Critical thinking เหมือนอยากให้มีกันมาก แต่ครูและพ่อแม่ฟังเป็น-สอนเป็นไหม เด็กถามอะไรก็บอกว่าเด็กก้าวร้าว
ถ้ามีจุดมุ่งหมายที่พึงประสงค์แล้ว ก็คงจะ address ปัญหาเพื่อที่จะแก้ได้
จะได้เริ่มนับหนึ่งซะที
#onegreatstory #onegreatstorywrites #ogswrites #เรื่องเล่าจากโรงเรียน #โรงเรียนของเรา #กระทรวงศึกษา #สอนอังกฤษ #สอนภาษา #ห้องเรียนภาษา #ogsopinions #เรียนอังกฤษ #ครูไทย
ครูไทยอังกฤษห่วย ผิดที่ครูหรือผิดที่ระบบ
จากหัวข้อกระทู้ที่ตั้ง รบกวนมาแลกเปลี่ยนกันหน่อยดีกว่าครับ ต้นตอของปัญหาที่แท้จริงมันคืออะไร
กี่ปีกี่ชาติ ก็ยังคงแก้ปัญหานี้ไม่ได้อยู่ดีใช่ไหมครับ?
ที่มาจาก Facebook: ข่าวเด่นประเด็นร้อน โพสเมื่อวันที่ 25/11/2566
เพจสอนภาษาอังกฤษชื่อดังตั้งคำถาม
ครูไทยอังกฤษห่วย: ผิดที่ครูหรือผิดที่ระบบ
วันนี้ขอเอาเรื่องที่เคยเขียนไว้นานแล้วมารีโพสต์นะคะ
เพราะดูเหมือนมันเป็นปัญหาที่พูดๆๆๆกัน แต่ก็แก้ไม่ตกมาหลายสิบปีแล้ว
เราอยากจะขอแชร์ปัญหาที่เคยพบในประสบการณ์เป็นครู
และทำไมเราถึงยอมแพ้กับระบบนี้หลังจากที่สอนมัธยมปลายในโรงเรียนเอกชนไทยมา 20 ปี
นอกจากสามปีแรก เราก็เป็นครูพิเศษมาตลอด เพราะครูพิเศษไม่ต้องมาเช้าเพื่อคุมแถว
ไม่ต้องเข้างานพิธี แต่ก็ได้เงินเดือนแค่ตามชั่วโมงที่สอน และไม่มีสวัสดิการจากโรงเรียน
มาพูดถึงปัญหา ซึ่งต้องขอออกตัวว่า ปัญหาที่เคยเจอมาคือแค่ที่รร.เอกชนในกรุงเทพฯนะคะ คิดว่าถ้าเป็นรร.รัฐต่างจังหวัด ปัญหาน่าจะอีกทวีคูณ
ปัญหาที่ตัวครู
1. เพราะครูสัญชาติไทยที่สอนอังกฤษมีเป็นส่วนน้อยมากที่จะคล่องทุกทักษะ (ภาษาเป็นอะไรที่ต้องใช้ทุกวัน ไม่งั้นจะลืม)
2. รร.อยากได้คนที่มีวุฒิครูรองรับ ไม่ได้ดูประสบการณ์ตรงและความรู้เรื่องวัฒนธรรม
3. สมัยนี้คนรู้ภาษามีเยอะที่ครึ่งๆกลางๆ ไม่ได้รู้จริงแต่คิดว่าตัวเองรู้
4. ครูมักคิดว่าจุดมุ่งหมายคือการสอบผ่าน ไม่ใช่การที่เด็กใช้ภาษาได้
5. ถ้าโรงเรียนยังหาครูไม่ได้เหมาะ อาจจะต้องให้ผู้ปกครองช่วยหาหรือช่วยเข้ามาสอน
6. คนเป็นครูควรจะมีนิสัยชอบอ่าน ชอบหาความรู้ รักสิ่งที่สอน มีความเป็นเป็น storyteller ถ่อมตัว+พร้อมเรียนรู้ได้จากนักเรียน มีความเป็นมนุษย์สูง รู้ว่าอะไรสำคัญไม่สำคัญ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้พอสมควร
ปัญหาที่นักเรียน
1. นักเรียนใช้ smart phone มาตั้งแต่เล็ก ชินกับสิ่งเร้า นั่งเรียนแล้วเบื่อ
2. พ่อแม่มักจะลืมว่าภาษามักจะได้จากที่บ้านมากกว่าโรงเรียน เพราะที่บ้านสามารถจัดสภาพแวดล้อมได้ง่ายกว่าที่รร.
3. เด็กไม่ค่อยยอมฝึกที่บ้าน หรืออ่านการบ้าน ทำให้ในห้องเรียนไปต่อได้ช้า
4. นักเรียนไม่ค่อยได้มีโอกาสเห็นตัวอย่างคนที่เหมือนเค้าให้ได้ inspire อยากเป็นบ้าง
ปัญหาห้องเรียน
1. เด็กเยอะ จัดโต๊ะเป็นแถวตอน ไม่เหมาะต่อการสอนสาระ humanities (ในการเรียนภาษาเด็กน่าจะไม่เกิน 20 และนั่งเรียนเป็นวงกลม)
2. อยากให้จัดกลุ่มเด็กตามความคล่องในการฟังพูด พอคละเด็กก็ต้องใช้ภาษากลางๆในการสอน เด็กอ่อนก็ไม่ทัน เด็กเก่งก็ไม่ได้เพิ่ม
3. ห้องเรียนที่นักเรียนประมาณ 30-50 คน ไม่เอื้อต่อการสอนฟังพูด การที่เก็บคะแนนจากการสอบแบบ multiple choice หรือการบอกให้นักเรียน repeat after me ใช้ไม่ได้ในชีวิตจริง
4. ห้องเป็นของนักเรียน ครูไม่สามารถแต่งห้อง ติดโปสเตอร์เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมหรือเพื่อ inspire เด็กได้
5. (ห้องเรียนในฝันคือครูมีห้องของตัวเองที่เด็กเดินมาเรียน มีหนังสือให้เด็กดูเล่นและให้ยืมกลับบ้านได้)
ปัญหาโรงเรียน
1. ครูไม่พอ ครูสอนอังกฤษดีๆค่อนข้างหายาก จ้างครูต่างชาติมาก็มักอยู่ไม่นาน พอครูขาดก็เอาครูที่ไม่ถนัดมาสอน หนักกว่านั้นคือเป็นครูวิชาอื่นเลยก็มี
2. โรงเรียนไม่อยากให้เด็กตก คือถ้าขึ้นมาถึงมัธยมแล้วไม่ไหวก็ต้องมีจัดให้เรียนเสริม ไม่ใช่ให้ผ่านง่ายๆ
3. ห้องสมุดที่มีแต่หนังสือไทยที่รับบริจาคมา บรรณารักษ์แนะนำหนังสืออังกฤษไม่ได้เลย
4. ควรพัฒนาครูให้มีเวลาได้พักไปหาความรู้บ้าง (อันนี้ไม่แน่ใจว่ามีกันไหมเพราะเคยแต่เป็นครูพิเศษ)
5. ให้เงินตามสมควรกับประสบการณ์และการศึกษา ไม่ใช่เอะอะก็โรงเรียนจ่ายครูพิเศษเท่ากันหมด จะทำงานมากี่ปีหรือจบที่ไหนมา เพราะคนไทยที่คล่องภาษาเค้าคงไม่อยากได้เดือนเท่านี้
ปัญหากระทรวง
1. เป็นสัญชาติไทยต้องมีใบครู ถ้าไม่ได้จบครุมาต้องไปเรียนเพิ่มอีกสองปีโดยใช้หลักสูตรครุไทย ไม่มียกเว้นให้สำหรับคนสอนภาษาต่างประเทศ คาดว่าครูสัญชาติอื่นไม่น่าจะต้องมี
2. เงินเดือนครูทั้งประเทศน้อยถึงน้อยมาก งานก็เยอะ เด็กโตมาน้อยคนที่จะอยากเป็นครู
3. ตั้งแต่ประถมยันมัธยม ทุกเทอมต้องส่งคะแนนเก็บ รวมแล้วแยกเป็น listening 10, speaking 10, reading 10, writing 10 เคยถามรร.ว่า ในชั้นประถมน่าจะให้คะแนนฟังพูดมากกว่าอ่านเขียน และคะแนนอ่านเขียนมากกว่าอ่านพูดในชั้นมัธยมได้มั้ย คำตอบคือไม่ได้ จบ
4. ไม่มีเกรดความพยายามแยกออกมาให้เห็น มีจิตพิสัย 10 คะแนนรวมอยู่ จะแปลว่าอะไรก็แล้วแต่ครู
5. ห้ามตก ต้องซ่อมแก้ให้ผ่านในช่วงชั้น แต่โรงเรียนมักไม่ค่อยยอม ต้องการให้ผ่านในหนึ่งอาทิตย์หลังสอบเสร็จ
6. ถ้าวิธีเข้ารร.รัฐหรือมหาวิทยาลัย คือการใช้คะแนนสอบเป็นหลัก วิธีสอนในรร.ก็ไม่รู้จะเปลี่ยนได้ยังไง เพราะสุดท้ายแล้ว ก็ต้องวัดที่คะแนนสอบเข้าอยู่ดี
สรุป
ถ้าทั้งพ่อแม่ ครู โรงเรียน และกระทรวงมีการตั้งเป้าว่า
-ประชาชนที่อยากให้ชาติเรามีเป็นคนแบบไหน มีทักษะอะไรที่ควรมี เพราะการรู้ภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆคือการเปิดโลก และเข้าถึงข้อมูลความรู้อื่นๆที่มีมากกว่าในภาษาไทย
-ต้อง ethical แค่ไหนในการทำงานและดำเนินชีวิต เพื่อให้เรามีสังคมที่ไม่แก่งแย่งกันเกินไป ไม่โกงกินกันจนประเทศด้อยพัฒนาขนาดนี้
-Critical thinking เหมือนอยากให้มีกันมาก แต่ครูและพ่อแม่ฟังเป็น-สอนเป็นไหม เด็กถามอะไรก็บอกว่าเด็กก้าวร้าว
ถ้ามีจุดมุ่งหมายที่พึงประสงค์แล้ว ก็คงจะ address ปัญหาเพื่อที่จะแก้ได้
จะได้เริ่มนับหนึ่งซะที
#onegreatstory #onegreatstorywrites #ogswrites #เรื่องเล่าจากโรงเรียน #โรงเรียนของเรา #กระทรวงศึกษา #สอนอังกฤษ #สอนภาษา #ห้องเรียนภาษา #ogsopinions #เรียนอังกฤษ #ครูไทย