เวียนหัว บ้านหมุน ที่มีสาเหตุมาจาก โรคทางหู

โรคทางหู ที่นำมาซึ่ง อาการ เวียนหัว บ้านหมุน แม้ว่าอาจหายได้เอง
แต่ในบางท่านอาจมีอาการอยู่นานทำให้มีปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน
เนื่องจากไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด จึงไม่มีการการป้องกันการเกิดได้ question

วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะพามาให้ความรู้  ideaเวียนหัว บ้านหมุน ที่มีสาเหตุมาจาก โรคทางหูidea

 “หู” เป็นอวัยวะสำคัญ มีหน้าที่หลักในการได้ยินเสียงและการทรงตัวของร่างกาย
หากการทำงานของหูผิดปกติย่อมส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน 
บั่นทอนคุณภาพชีวิตทำให้เกิดความเครียดและวิตกกังวล จิตตก ท้อแท้
 
หูมีส่วนประกอบ 3 ส่วน ทำงานร่วมกันเป็นอวัยวะในการฟังเสียงและการทรงตัว
หูชั้นนอก
เป็นส่วนที่มองเห็นได้ชัด ประกอบด้วยใบหูและช่องหู ทำหน้าที่รวมเสียงและส่งคลื่นเสียงไปยังแก้วหู 
ซึ่งจะสั่นสะเทือน รวบรวมพลังเสียง ส่งต่อไปยังหูชั้นกลางและหูชั้นใน ในหูชั้นนอกมีต่อมขี้หู และต่อมไขมัน

หูชั้นกลาง
ประกอบด้วยกระดูก 3 ชิ้น ได้แก่ ค้อน ทั่ง โกลน ลอยตัวอยู่ในอากาศทำหน้าที่คล้ายเครื่องทุ่นแรง 
กระดูกทั้ง 3 ชิ้นนี้ช่วยรับการสั่นสะเทือนจากแก้วหูไปยังหูชั้นในโดยอาศัยพลังกลและด้วยอัตราส่วนต่างระหว่างพื้นที่ของแก้วหู 
และฐานกระดูกโกลนในอัตรา 20:1 ระดับความดันอากาศในหูชั้นกลางปรับโดยท่อต่อระหว่างหูชั้นกลางและหลังโพรงจมูกให้เท่าบรรยากาศเสมอ

หูชั้นใน
ประกอบด้วยกระดูกรูปหอยโข่ง (Cochlea) ขดกันสองรอบครึ่ง เป็นที่อยู่ของปลายประสาทรับการได้ยิน 
รับความถี่ของเสียงตั้งแต่เสียงแหลมไปเสียงทุ้ม และติดต่อกับอวัยวะรับรู้การทรงตัวรูปครึ่งวงกลม 3 อัน 
ตั้งฉากซึ่งกันและกัน รับรู้การเคลื่อนไหวของศีรษะในท่าต่างๆ 
ปลายประสาทการได้ยินและการทรงตัวส่งกระแสไปตามก้านสมองไปสู่สมองเพื่อรับรู้



คนไข้โรคทางหูมีอาการที่แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ 
ผู้ที่มีปัญหาทางด้านการได้ยินที่ลดลง เช่น รูหูตีบ แก้วหูทะลุ การอักเสบติดเชื้อในหู 
ระบบประสาทหูชั้นในเสื่อม ฯลฯ ทำให้หูอื้อ หูตึง จนถึงขั้นหูดับเฉียบพลัน
ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว เช่น มีอาการเวียนหัว บ้านหมุน เดินโคลงเคลง ฯลฯ

ideaทั้งสองกลุ่มอาการบ่งชี้โรคทางหูที่พบได้บ่อย 4 โรค ได้แก่idea
1. น้ำในหูไม่เท่ากัน
เกิดจากการที่ร่างกายสร้างน้ำในหูชั้นในมากผิดปกติหรือมีการระบายน้ำในหูได้น้อยลง 
ส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ที่เป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากันจะมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน 
เป็นเวลา 20 นาทีขึ้นไปแต่ไม่เกิน 12 ชั่วโมง และมีอาการบ้านหมุนมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป 
มีระดับการได้ยินลดลงในหูข้างที่เป็นโรค โดยจะสูญเสียการได้ยินเสียงที่ความถี่ต่ำ (เสียงทุ้ม) 
มีเสียงรบกวนในหูในลักษณะต่างๆ เสียงรบกวนในหูอาจจะดังบ้าง เบาบ้าง มีอาการแน่นหู หูอื้อ ระดับการได้ยินขึ้นๆ ลงๆ

2. ตะกอนหินปูนในหูหลุด
พบมากกว่าอาการน้ำในหูไม่เท่ากันเกิดจากผลึกหินปูนในหูชั้นใน ซึ่งมีส่วนประกอบเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต 
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาการทรงตัวของร่างกาย มีการเคลื่อนหลุดออกจากตำแหน่งเดิม 
ทำให้เวลาที่เราเคลื่อนไหวร่างกายในท่าต่างๆ หินปูนที่หลุดออกมาจะกลิ้งไปตามการขยับของศีรษะ 
ส่งผลให้เกิดอาการเวียนหัว บ้านหมุนสัมพันธ์กับการขยับศีรษะระยะเวลาในการเกิดอาการบ้านหมุนส่วนใหญ่ไม่เกิน 1 นาที       
  
3. การสูญเสียการได้ยินแบบประสาทหูเสื่อม
เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ระดับการได้ยินลดลง ส่วนหนึ่งเป็นความเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัยและยากที่จะฟื้นตัวกลับมาเหมือนเดิม 
เกิดจากความเสื่อมสภาพของเซลล์ประสาทหูชั้นในทำให้การได้ยินลดลง และบางรายอาจมีอาการเสียงรบกวนในหู (Tinnitus) 
คนไข้ที่ได้ยินเสียงรบกวนในหูซึ่งเป็นเสียงที่ไม่มีความหมาย เช่น เสียงวี้ด เสียงซ่า เสียงคล้ายจิ้งหรีด ฯลฯ 
กลไกการได้ยินปกติเกิดจากเมื่อเสียงภายนอกเข้ามาในหู หูชั้นในจะเปลี่ยนพลังงานเสียง 
ให้เป็นกระแสประสาทส่งไปยังสมองส่วนที่เกี่ยวกับการได้ยิน สมองจะรับรู้และแปลความหมายเสียงนั้น   
ถ้าหูชั้นในมีการเสื่อมสภาพจะไม่สามารถเปลี่ยนพลังงานเสียงให้เป็นกระแสประสาทที่ดีได้ 
ทำให้สมองส่วนที่เกี่ยวกับการได้ยินได้รับกระแสประสาทที่มีผิดเพี้ยนหรือไม่ครบถ้วนไป
เมื่อสมองรับรู้ว่าเกิดความผิดปกติขึ้น สมองจะทำงานเพิ่มขึ้น (Hyperactivity) เพื่อแก้ปัญหา 
ส่งผลให้เกิดการสร้างเสียงรบกวนสะท้อนกลับมาให้ได้ยิน ซึ่งบางคนได้ยินเสียงรบกวนดังในหูตลอดเวลา 
บางคนได้ยินเป็นครั้งคราว

4. ประสาทหูดับฉับพลัน
มักจะเกิดกับหูข้างใดข้างหนึ่งที่ได้ยินเสียงเบาลงทันทีในระยะเวลา 72 ชั่วโมง 
ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด มีทั้งทฤษฎีเกี่ยวกับการอุดตันของหลอดเลือดเส้นเล็กๆ 
ที่ไปเลี้ยงที่หูหรือเกิดจากไวรัสโจมตีเส้นประสาทเกี่ยวกับการได้ยิน ถ้ามีประวัติศีรษะกระแทกพื้น 
อาจเกิดการฉีกขาดของโครงสร้างในหูชั้นใน ผู้ป่วยไม่ถึง 10% เกิดจากเนื้องอกในหูส่วนที่เกี่ยวกับการได้ยินและการทรงตัว 
ผู้ที่ประสาทหูดับฉับพลันมีโอกาสหายได้ถ้ามาพบแพทย์โรคหูและได้รับการรักษาในเวลาที่รวดเร็ว


 
การวินิจฉัยและแนวทางการรักษาโรคเกี่ยวกับความผิดปกติในหู
ขั้นตอนการรักษา สอบถามลักษณะอาการและซักประวัติโดยละเอียดถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค
แพทย์ก็จะทำการตรวจหู คอ จมูก หากมีปัญหาการได้ยินอาจมีการตรวจการได้ยิน ตรวจดูการทำงานของหูชั้นกลาง
คนไข้มีอาการเวียนศีรษะหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัวก็จะต้องมีการตรวจระบบประสาทและระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

แนวทางการรักษาแตกต่างกันไปขึ้นกับโรคของคนไข้
สำหรับการรักษาคนไข้ประสาทหูดับฉับพลันคือการให้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ในรูปแบบต่างๆ
เช่น ยากิน การฉีดยาเข้าเส้นเลือดหรือฉีดเข้าไป  ในหู จะช่วยเพิ่มโอกาสในการได้ยินให้กลับมาเป็นปกติหรือใกล้เคียง

ข้อควรปฏิบัติ เพื่อป้องกันการสูญเสียการได้ยิน
หลีกเลี่ยงการรับเสียงดัง หากจำเป็นควรใช้เครื่องมือป้องกันเสียง เช่น ปลั๊กอุดหู
ไม่แคะหู ระมัดระวังการบาดเจ็บบริเวณศีรษะ การติดเชื้อหวัด สิ่งแปลกปลอมเข้าหู
ดูแลรักษาสุขภาพทั่วไป ออกกำลังกายและควบคุมโรคประจำตัว (ถ้ามี) อย่างสม่ำเสมอ
หากมีอาการผิดปกติทางหู เช่น หนองไหลจากหู ปวดหู การได้ยินลดลง เสียงรบกวนในหู 
หรือเวียนศีรษะบ้านหมุน ควรมาพบแพทย์หู คอ จมูก
หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่เปน็ พิษต่อหู ควรตรวจสอบยาที่ใช้หรือแจ้งแพทย์ก่อนจ่ายยาให้ท่าน

ความรู้เพิ่มเติม
https://www.thonburihospital.com/specialisecenter/ear-throat-nose-center/
https://www.youtube.com/watch?v=v8GOBQksNwM

lovelove
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่