ความกังวล มีได้แต่ อย่ามาก

กระทู้สนทนา
บางทีเราก็เห็น คนอายุยืน มากกว่า 80 พวก 90 ขึ้น ถือว่ายืนมากแล้ว 

คนอายุ 80 ถือว่า มาตรฐานสูงอยู่
คนอายุ 70 ก็แล้วแต่ว่าสุขภาพ ณ เวลานั้น เป็นอย่างไร
คนอายุ 60 ถ้าไม่มีโรคภัย ก็คงยังมองไกลกับการใช้วันเวลาบนโลก อาจมอง 10 - 20 ปี 
คนอายุ 50 ถ้าสุขภาพทั่วไปไม่ย่ำแย่ ก็คงนึกถึง ชีวีตหลังวัยเกษียณ ว่ามั้ยครับ

คนอายุ 40 ลงมา ถึง 20 ถ้าสุขภาพแข็งแรงเขาไม่มีทางนึกออกเลยว่า คำว่า ตาย นี่ มันช่างใกล้ตัวแค่ไหน มองเป็นเรื่องไกลตัวไปหมด ใช่ ผมเองก็เป็นแบบนั้น แต่ไม่ตลอดเวลา 

อายุ 20 เพื่อนผมที่เรียนด้วยกัน ตรวจพบว่าเป็นโรคร้าย เดือน มกราคม และ เมษายน เขาก็จากไป ในวัย 21 เขาโตกว่าผม 1 ปี ก็เพื่อนรักกันคนนึงในเวลานั้น 

อายุ 36 เพื่อนรักอีกคน เส้นเลือดในสมองแตก ได้ข่าวว่า หน้าห้องประชุมเลย เคยถามหมอ หมอบอกว่า ไม่มีทางป้องกัน ถ้ามันจะแตก ก็คือนั่นแหล่ะครับ ผมรับสายตอนเช้าจากลูกน้องเก่าเขา พูดให้ขำๆว่า สงสัยพี่เขาไม่อยากอยู่แล้ว ( ลูกน้องเก่าโทรมาบอกแบบนั้น )

พอเข้าวัย 40 กลางๆก็มีเพื่อนตายไปอีก 2 คนในปีเดียวกัน คนนึงภูมแพ้ อีกคน มะเร็ง ไปใกล้ๆกัน และสองคนก็บ้านใกล้กันด้วย กลับบ้านพร้อมกัน

ตกลง ความตายนี่ ไม่ได้ระบุอายุเลยนะครับว่า จะมาเมื่อไหร่ แถมอีกราย 

ลูกค้าผม อายุ 25 ไม่ได้ป่วยอะไรเลย รถชนกันหน่อยนึง น้องเขาลงไปรอ ประกันเคลียร์ ข้างทางแท้ๆ ยืนๆอยู่ มีรถเสียหลัก มาชน ตายในวันครบรอบ 25 ปีพอดี เป๊ะ บางคนเขาคงเรียกว่า ชะตาขาด ตอนอายุ 25 จะว่าไปก็โอกาสแบบนี้มีน้อย แต่เขาเรียกว่า ถึงฆาต เราก็ไปงานศพน้องเขากัน และก็ธรรมดาที่ เรื่องของอายุ กับ การตายในวันครบรอบ 25 ปี เป็นเรื่องที่เราก็แค่เคยได้ฟัง แต่ไม่เคยเจอ และเชื่อว่ายากจะเจอ กับคนรู้จัก

เคยมีช่วงนึง ผมป่วย จนนึกว่า เออ คงแย่แน่ๆแล้ว มันเหมือนกับว่า เราไม่มีอนาคตน่ะครับ เราซม เราต้องพัก ต้องรักษาตัว แต่ก็ยังพอมีโชคที่ ตรวจไม่เจออะไรร้ายแรง  ค่อยๆเยียวยากลับมาได้ แต่ผ่านช่วงนั้นมา มันก็เป็นจุดที่ มีความฝังใจอยู่กับตัวเสมอว่า คนเรา มันไม่แน่เว่ย เราที่ว่าแข็งแรงยังรู้สึกแบบนั้นครับ

นี่เราไม่รวมพวกที่ เจอ เรื่องไม่ธรรมดา แบบ อุบัตเหตุทางรถ ( ถ้าคุณอยู่บนถนน มันก็เสี่ยงตลอดเวลาละครับว่าไปแล้วนะ ) หรือ เหตุไม่ธรรมดา แบบไปอยู่ตรงที่ คนเขาตีกัน โดนลูกหลง ตาย และอีกมากมาย ตกท่อ ตกกระได อยู่บ้านยังเจ็บ ยังตาย มีเพื่อนคนนึง ล้มฟาดพื้นหน้าฟาด ตาย ก็มี

เขียนมา 2000 กว่าอักษร คนอ่านคงนึก อ้าว แล้วมาเรียงเบอร์คนตายทำไมหว่า ? ว่าไปก็เหมือนสมัยก่อน คนโชว์ งูกัดกับพังพอน รอสองชั่วโมง ขายยาอย่างเดียว อา ไม่ใช่แบบนั้น เมียงู ยังได้เห็นอะไรบ้าง เอ๊ยไม่ใช่ เข้าเรื่องเลยก็จะดี

ถ้าความตายคือสุดท้ายของชีวีต ความกังวลก็ไม่จำเป็นต้องมี คือว่า ไม่ถ้าหรอก ความตายคือสุดท้ายของชีวีต แน่นอน 
และจากที่ผมเล่า ผมเคยผ่านประสบการณ์ หลายอย่างทั้งตัวเอง และ เพื่อน รุ่นเดียวกัน ก็มานั่งนึกว่า คนเราต้องตาย จะตายอายุ 20 36 40 กว่า หรือมากกว่านั้น มันไม่ต่างกันรึเปล่า เพราะแต่ละคน ไม่ได้รู้ตัวกันเลย วางแผนใช้เวลากันไว้ บางคนก็ทำได้แค่ช่วงต้น บางคน กลางทาง วัยเหล่านี้ยังไม่มีใคร ลงเอย แบบที่เรียกว่า โอเค อยู่มาจนหมดห่วงแล้ว สักคนนะผมว่า

เรื่องร้าย คือส่วนนึงของชีวีต เหมือนกับ คนบอก ปัญหาคือเรื่องนึงของชีวีต มันก็ใช่ จะมาบ่อย หรือ นานๆ มาที ก็ตาม 

และเมื่อทุกครั้ง มีเหตุร่าย หรือ ทำท่าจะมี ซึ่งคนฉลาดบางคน หาทางป้องกันไว้ก่อน แต่การหาทางป้องกัน ก็คือ ต้องมีความกังวลพอควร และ การป้องกัน บางครั้งได้ผล บางครั้ง หลีกเลี่ยงหลบหลีกป้องกันอย่างไร มันก็ไม่พ้น หวยรางวัลที่ 1 น่ะไม่ใช่ของเรา แต่ความซวยทำไมตรงมาหาเรา แบบ 1 ใน ล้าน จน บางครั้ง ก็อดนึกไม่ได้ว่า ทำไม ถึงต้อง เป็นเรา 

และ ในเมื่อถ้าเราป้องกันแล้ว นั่นคือทำดีสุดแล้ว เราควรจบความกังวล ไป ด้วยความรู้ที่ว่า ได้ผลก็ตามนั้น หากไม่ได้ผล ก็คงต้องแล้วแต่ดวง 

ถ้าคุณนอนๆอยู่ โจรขึ้นบ้านตอนคุณหลับ กลางดึก แล้ว มาเจอคุณ แล้วคุณว่า คุณจะรอดไหม ? ก็ถ้าเราจะรอด จากโจรมันไม่ทำ แต่ถ้าเราจะไม่รอด โจรมันปล่อยไป แต่ เราอาจตกกระไดไปโลกหน้าเองมันก็เป็นได้

ถ้าคุณกำลัง กังวล เรื่องที่กำลังจะมาถึง หรือกลัวว่าจะมีขึ้น หรือ กลัวว่าจะไม่ได้ดังหวัง ก็อยากจะบอกว่า การเตรียมใจไว้ เป็นเรื่องสำคัญ ไม่ได้หมายถึงเตรียมตัวตายนะ เรื่องนั้นเราไม่รู้ บางคนก็อยุ่จนแก่ บางคนก็อยู่ๆมีโรคร้าย บางคนก็ไม่คาดฝัน ก็ไปได้ เราไม่มีทางรู้หรอกว่า เราน่ะจะไปเข้า หมวดหมู่ ไหน เพราะไม่มีใครรู้อนาคต ตอนเช้า เรายังไม่รู้เลยว่า ตอนเย็นจะเป็นอย่างไร ก็อย่างที่บอก หาทำดีเต็มที่แล้ว ที่เหลือ ก็ช่างมันเถอะครับ

ผมมองแบบนั้นแล้วละครับ หากพรุ่งนี้ยังอยู่ เราก็อยู่กันต่อไป
ปัญหาของเรา เชื่อเถอะว่า ไม่มีใครเอาไปได้ เราต้องเจอมันคนเดียว

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่