อิสราเอล โจมตีทางอากาศสังหารลูกชายแกนนำกลุ่มฮิซบอลเลาะห์
https://www.pptvhd36.com/news/ต่างประเทศ/210979
การโจมตีทางอากาศของอิสราเอลทางตอนใต้ของเลบานอนสังหาร “
โมฮัมเหม็ด ราด” บุตรชายของผู้นำฝ่ายการเมืองกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอน
กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ เปิดเผยว่า นักรบของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ 5 คนถูกสังหาร หนึ่งในนั้นคือ
อับบาส โมฮัมเหม็ด ราด เป็นบุตรชายของผู้นำสมาชิกรัฐสภาฯของฮิซบอลเลาะห์
นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า อิสราเอลได้โจมตีทางอากาศต่อบ้านหลังหนึ่งในเมือง เบท ยาฮูน (Beit Yahoun) เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ( 22 พ.ย.) ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 รายและบาดเจ็บ 1 ราย แต่ยังไม่มีความเห็นจากกองทัพอิสราเอลต่อเหตุดังกล่าว
ขณะที่ กลุ่มฮามาส ประกาศว่า คาลิล คาราราซ ผู้บัญชาการกองพลน้อยกัสซัม ซึ่งเป็นกองกำลังติดอาวุธของกลุ่มฮามาสในเลบานอน ถูกสังหารจากการโจมตีทางอากาศของอิสราเอล นอกจากนี้ ยังมีนักข่าว 2 คนจากสถานีโทรทัศน์กลุ่มอาหรับอัลมายาดีน เสียชีวิตจากการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลด้วย ขณะที่พวกเขากำลังรายงานข่าวทางตอนใต้ของเลบานอน
สำหรับชายแดนเลบานอน-อิสราเอล มีการยิงปะทะกันระหว่างกลุ่มฮิซบอลเลาะห์และทหารอิสราเอล นับตั้งแต่เริ่มสงครามอิสราเอล-ฮามาส แม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่จำกัดอยู่บริเวณชายแดน แต่การปะทะกันทำให้เกิดความหวาดกลัวว่าจะเกิดสงครามในวงกว้าง
ที่มา:AP
‘แอมเนสตี้’ร้อง‘กมธ.ความมั่นคงฯ-กมธ.กฎหมายฯ’ เร่งช่วยเหลือผู้ต้องขังคดีการเมือง
https://www.dailynews.co.th/news/news_group/politics-news/
‘แอมเนสตี้’ ร้อง‘กมธ.ความมั่นคงฯ-กมธ.กฎหมายฯ’ เร่งช่วยเหลือผู้ต้องขังคดีการเมือง ให้ได้สิทธิการปล่อยตัวชั่วคราวสิทธิการพักโทษตามหลักสากล
เมื่อวันที่ 23 พ.ย. ที่รัฐสภา ตัวแทนแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย นำโดย น.ส.
ปิยนุช โคตรสาร ผอ.แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนถึงคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ โดยมีนาย
รังสิมันต์ โรม ประธานคณะกรรมาธิการฯ เป็นผู้รับหนังสือ และยื่นภายหลังต่อคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน เพื่อขอให้ช่วยเหลือกรณีผู้ต้องขังคดีการเมืองไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราว และกรณีไม่ให้สิทธิในการพักโทษแก่นักโทษเด็ดขาดในคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์
โดยน.ส.
ปิยนุช กล่าวว่า แอมเนสตี้ฯ เป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนเรื่องสิทธิในด้านต่างๆ โดยเฉพาะสิทธิในการปกป้อง คุ้มครอง และส่งเสริมการแสดงออกในการชุมนุมอย่างมีเสรีภาพ และการชุมนุมโดยสงบ แต่จากข้อมูลที่แอมเนสตี้ฯ ได้ทำร่วมกับโครงการอินเทอร์เน็ตกฎหมายเพื่อประชาชน หรือ iLaw ในโครงการ MOB DATA พบว่าในช่วงปี 2563-2566 เกิดการชุมนุมในประเทศไทย กว่า3,800 ครั้ง ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ถูกดำเนินคดี อย่างน้อย 1,930 คน และมีเด็กและเยาวชน ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ถูกดำเนินคดี จำนวน 286 คนอยู่ในจำนวนนี้ด้วย
ทั้งนี้ คดีที่เกิดขึ้นถูกนำขึ้นพิจารณาในศาลยุติธรรม และเป็นเหตุให้มีผู้ต้องหาคดีการเมืองไม่ได้รับการประกันตัว หรือปล่อยชั่วคราว (คดีการเมืองช่วงปี 2563 ถึงปี 2566) จนต้องเข้าสู่เรือนจำ มากถึง 145 คน ( ณ วันที่15 พ.ย.2566) และมีผู้ที่ไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว อย่างน้อย 24 คน ในจำนวนนี้ 15 คน เป็นผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 อีกทั้งยังมีผู้ถูกคุมขังเนื่องจากคดีถึงที่สุดแล้วอย่างน้อย 11 คน รวมถึงกรณีของ ‘อัญชัญ ปรีเลิศ’ นักโทษเด็ดขาดที่ถูกตัดสินให้จำคุกด้วยความผิดตามมาตราดังกล่าวกว่า 43 ปี 6 เดือน และยังอยู่ในขั้นตอนที่ยังไม่ได้รับการพักโทษ เนื่องจากยังไม่เข้าเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ตามพ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ.2560
น.ส.
ปิยนุช กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังมีผู้ถูกดำเนินคดีที่เกี่ยวกับการใช้หรือพกพาอาวุธ หรือการใช้ความรุนแรงในระหว่างการชุมนุม อย่างน้อย 173 คน ในจำนวนนี้เป็นเด็กและเยาวชน จำนวน 65 คน ที่ยังไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยชั่วคราว และยังมีผู้ต้องหา อย่างน้อย 7 คน ที่ไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ดังนั้น จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แอมเนสตี้ฯ จึงขอเรียกร้องต่อคณะกรรมาธิการ ทั้ง 2 คณะ ดังนี้
1. พิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาขอบเขต และข้อจำกัดทางกฎหมาย เกี่ยวกับการรับรองสิทธิในการปล่อยชั่วคราว โดยศึกษาสถานการณ์การบังคับใช้กฎหมายและแนวปฏิบัติภายในประเทศและความสอดคล้องกับหลักการระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะคำสั่งของศาลในคดีที่เกี่ยวกับการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุม ช่วงระหว่างปี 2563-2565
2. สำรวจและทบทวนสถานการณ์การบังคับใช้กฎหมาย ในหมวดความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร รวมถึงความผิดตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา และจัดทำชุดข้อเสนอแนะเพื่อให้มีผลในการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและกฎหมายที่สอดรับกับหลักการระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
3. สำรวจและศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการกำหนดแนวทางการพิจารณาการให้พักโทษแก่นักโทษทางการเมืองให้เป็นไปในมาตรฐานเดียวกันเเละวางอยู่บนหลักการไม่เลือกปฏิบัติ รวมถึงผู้ซึ่งถูกดำเนินคดีด้วยความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ และจัดทำชุดข้อเสนอแนะเพื่อให้มีผลในการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและกฎหมายที่สอดรับกับหลักการระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
น.ส.
ปิยนุช กล่าวต่อว่า ตามกฎหมายผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญา ตามหลักการในกฎหมายทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการประกันตัวและปล่อยตัวชั่วคราว ที่สำคัญคดีที่ยังไม่พิพากษาถึงที่สุดตามหลักการแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาต้องไม่ถูกทำให้เหมือนว่าเป็นผู้ที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดแล้ว ทั้งที่อยู่ระหว่างการต่อสู้คดี
น.ส.
ปิยนุช กล่าวด้วยว่า สิทธิในการประกันตัวเป็นสิทธิตามมาตรฐานระหว่างประเทศ ปัจจุบันรัฐบาลไทยได้เข้าเป็นภาคีของกติการะหว่างประเทศ นั่นหมายความว่ารัฐบาลไทยต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของทุกคนที่ใช้สิทธิในการแสดงออกและสิทธิในการชุมนุมประท้วงโดยสงบ ไม่ให้ถูกจับกุมตัว ควบคุมตัวโดยพลการ และต้องทำและพิสูจน์ให้เห็นว่าได้ทำให้ทุกคนได้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่มีความเป็นธรรมจริงๆ หนึ่งในนั้นคือการให้สิทธิประกันตัวและปล่อยตัวชั่วคราว
“
สิทธิในการประกันตัวไม่เพียงแค่เป็นข้อบังคับทางกฎหมายเท่านั้น มันเป็นฐานรากที่สำคัญของความยุติธรรม ที่สร้างความเท่าเทียมและเคารพอย่างสูงต่อทุกคน การยอมรับและปฏิบัติตามสิทธิในการประกันตัวช่วยปกป้องตัวบุคคล ประชาชนและการยืนยันหลักการสันนิษฐานว่าบุคคลบริสุทธิ์จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์โดยปราศจากข้อสงสัยว่ามีความผิด รวมถึงการยึดถือหลักการพื้นฐานของความเท่าเทียมและสิทธิมนุษยชน” น.ส.
ปิยนุช กล่าว
ส.ส.ก้าวไกล ชี้ เหตุเด็กยกพวกตีกัน ต้องแก้ที่รุ่นพี่ อย่าโยนภาระให้ผู้ปกครอง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4296617
“กาย ณัฐชา” แนะต้นสังกัด สางปมยกพวกตีกัน ยัน ต้องแก้ไขที่ “รุ่นพี่” มองไม่ควรโยนภาระให้ผู้ปกครอง หลังมีข้อเสนอแก้กฎหมายเอาผิด
เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ที่รัฐสภา นาย
ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล กล่าวถึงการยกพวกตีกันของนักศึกษาที่ปัจจุบันเป็นข่าวแทบทุกวัน โดยสังคมมองว่าการตีกันของกลุ่มเด็กวัยรุ่นกลายเป็นองค์กรอาชญากรรมไปแล้ว ว่า เรื่องนักเรียนนักศึกษาทะเลาะวิวาทยกพวกตีกันมีมาหลายยุคหลายสมัยแล้ว
ตนในฐานะอดีตนักศึกษาช่างกลแห่งหนี่งใน กทม. มองว่า เรื่องราวเหล่านี้เกิดขึ้นมาหลายครั้ง เราปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้ใหญ่หลายคนที่ดูแลรับผิดชอบในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บางครั้งอาจจะหลับตาข้างหนึ่ง บางครั้งอาจจะหลับตา 2 ข้าง คือปล่อยให้เกิดเหตุแบบนี้ขึ้นมา และพอเกิดเหตุการณ์รุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นมา ก็มีการพูดคุยว่าจะแก้ไขปรับปรุงอย่างไร จะต้องพิจารณาหน่วยงานองค์กรใดเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่ แต่ในความจริงแล้วมันเกิดขึ้นตลอดเวลา เราควรจะใส่ใจเรื่องนี้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเข้ามา หยิบยกเรื่องนี้มาแก้ไขให้เป็นรูปธรรมและแก้ไขที่รากฐานของเหตุนั้น
“
เด็กรุ่นนี้มีความอยากลองผิดลองถูก พร้อมจะเผชิญทุกเหตุการณ์ ด้วยวัยที่เรียกว่าเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ด้วยฮอร์โมน ด้วยอะไร แต่ไม่มีการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานต้นสังกัดที่ดีพอ จนทำให้มีการปลูกฝังเรื่องราวต่างๆที่อาจจะไม่ดี เป็นการแก้แค้นแทนรุ่นพี่ หรือแก้แค้นเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมา เป็นเรื่องที่ทะเลาะตบตีกันในครั้งอดีตและรุ่นน้องก็ต้องมาแก้แค้นแทน ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้น” นาย
ณัฐชา กล่าว
นายณัฐชา กล่าวต่อว่า หน่วยงานภาครัฐควรศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง และแก้ไข ส่วนจะกล่าวหาว่าเป็นองค์กรอาชญากรรมหรือไม่ ตนคิดว่ายังไม่ถึงขนาดนั้น แต่แค่เหตุความรุนแรงมันรุนแรงทวีคูณมากขึ้น จากการปล่อยปะละเลยของพวกเรา
เมื่อถามว่ารุนแรงมากขึ้นถึงความเมื่อก่อนอย่างไรบ้าง นาย
ณัฐชา กล่าวว่า ตามข่าวที่เกิดขึ้น มีช่องทางทางการเงินเข้ามา มีการจัดเตรียมอาวุธซื้ออาวุธ สมัยก่อนที่ตนเรียน เพื่อนๆ ในกลุ่มที่เป็นกลุ่มออกมาปะทะ จะมีการลงขันเก็บเงินจากรุ่นน้องคนละประมาณ 400-500 บาท รุ่นพี่คนละ 1,000 บาท ได้เงินกองกลางมาจำนวนหนึ่ง สมัยก่อนก็จะไปซื้อไม้กับมีด สมัยนี้ยุคสมัยเปลี่ยนไป ก็จะไปซื้อปืน มีช่วงสมัยที่ฮิตก็มีไปซื้อระเบิดปิงปอง
“
แต่ยุคนี้มีการซื้อปืนเกิดขึ้น ซึ่งมีอำนาจในการทำลายล้างสูง ทำให้ถูกมองว่าเป็นอาชญากรรมที่ใหญ่ มีอาวุธครบมือ มีองค์กรหน่วยงานที่สนับสนุนเงิน แต่ความจริงแล้วมันปฎิเสธไม่ได้ว่าเรื่องราวเหล่านี้ เกิดขึ้นเพราะหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรงเจ้าของสถานศึกษา หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษา หรือแม้กระทั่งผู้บริหารสูงสุดที่ดูแลเรื่องราวเหล่านี้ปล่อยปละละเลยมาโดยตลอด รุ่นที่ 1 แรง รุ่นที่ 2 แรงกว่า รุ่นที่ 3 แรงมาก รุ่นที่ 4 ก็เลยเลยเถิดไปไกลเลย” นาย
ณัฐชา กล่าว
เมื่อถามว่ามีการเสนอให้ออกกฏหมายเอาผิดผู้ปกครองด้วยในฐานะที่เป็นผู้ดูแล นาย
ณัฐชา ตั้งข้อสงสัยว่า วันนี้เราโยนภาระทุกอย่างให้พี่น้องประชาชน เราเห็นการกระทำความผิดก็ไปเขียนกฎหมายแล้วใครผิดใครถูก ถ้าเกิดออกกฏหมายให้ผู้ปกครองผิดแล้วเกิดเหตุอีก ก็ต้องออกกฏหมายให้ปู่ย่าตายายผิดด้วย มันก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้
แต่วันนี้สิ่งที่ควรทำคือรัฐต้องไปศึกษาว่าวัยนี้ที่จะต้องไปเรียน บางคนต้องการไปเรียนสายอาชีพ แต่ไม่ต้องการทะเลาะตบตีกัน แต่ดูสถานศึกษามันบีบบังคับให้รวมกลุ่มกัน ในการปลูกฝังว่าสถาบันนั้นสถาบันนี้คือคู่อริเรา ทั้งที่เขาเองยังไม่รู้จักว่าโรงเรียนนั้นอยู่ที่ไหน จุดไหน
“
ต้องไปแก้ไขที่รุ่นพี่ด้วย เพราะรุ่นพี่คือส่วนหนึ่งที่ปลูกฝังลงไป รุ่นน้องคือส่วนที่พร้อมที่จะรับและลองผิดลองถูก แต่เมื่อเขาพร้อมที่จะลองผิดลองถูก ลองถูกกลับไม่มีเข้ามา มีแต่ลองผิดออกไป จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ จะไปโยนให้ผู้ปกครองอย่างเดียวไม่ได้ โยนความผิดให้สังคมไม่ได้ ต้องไปตั้งสติ ที่เด็กวันนี้เป็นอยู่ผู้ใหญ่ทำอะไรหรือยัง” นาย
ณัฐชา กล่าว
นาย
ณัฐชา ย้ำว่า เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นหลายครั้ง รอบหนังที่เป็นประเด็นทางสังคมก็มีการหยิบยกมาแก้ไข แต่พอเรื่องเงียบไป
JJNY : สังหารลูกชายแกนนำฮิซบอลเลาะห์│‘แอมเนสตี้’ร้องกมธ.│ก้าวไกลชี้เหตุเด็กตีกันต้องแก้ที่รุ่นพี่│ชาวเบนซินเตรียมตัวทำใจ
https://www.pptvhd36.com/news/ต่างประเทศ/210979
การโจมตีทางอากาศของอิสราเอลทางตอนใต้ของเลบานอนสังหาร “โมฮัมเหม็ด ราด” บุตรชายของผู้นำฝ่ายการเมืองกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอน
กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ เปิดเผยว่า นักรบของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ 5 คนถูกสังหาร หนึ่งในนั้นคือ อับบาส โมฮัมเหม็ด ราด เป็นบุตรชายของผู้นำสมาชิกรัฐสภาฯของฮิซบอลเลาะห์
นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า อิสราเอลได้โจมตีทางอากาศต่อบ้านหลังหนึ่งในเมือง เบท ยาฮูน (Beit Yahoun) เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ( 22 พ.ย.) ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 รายและบาดเจ็บ 1 ราย แต่ยังไม่มีความเห็นจากกองทัพอิสราเอลต่อเหตุดังกล่าว
ขณะที่ กลุ่มฮามาส ประกาศว่า คาลิล คาราราซ ผู้บัญชาการกองพลน้อยกัสซัม ซึ่งเป็นกองกำลังติดอาวุธของกลุ่มฮามาสในเลบานอน ถูกสังหารจากการโจมตีทางอากาศของอิสราเอล นอกจากนี้ ยังมีนักข่าว 2 คนจากสถานีโทรทัศน์กลุ่มอาหรับอัลมายาดีน เสียชีวิตจากการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลด้วย ขณะที่พวกเขากำลังรายงานข่าวทางตอนใต้ของเลบานอน
สำหรับชายแดนเลบานอน-อิสราเอล มีการยิงปะทะกันระหว่างกลุ่มฮิซบอลเลาะห์และทหารอิสราเอล นับตั้งแต่เริ่มสงครามอิสราเอล-ฮามาส แม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่จำกัดอยู่บริเวณชายแดน แต่การปะทะกันทำให้เกิดความหวาดกลัวว่าจะเกิดสงครามในวงกว้าง
ที่มา:AP
‘แอมเนสตี้’ร้อง‘กมธ.ความมั่นคงฯ-กมธ.กฎหมายฯ’ เร่งช่วยเหลือผู้ต้องขังคดีการเมือง
https://www.dailynews.co.th/news/news_group/politics-news/
‘แอมเนสตี้’ ร้อง‘กมธ.ความมั่นคงฯ-กมธ.กฎหมายฯ’ เร่งช่วยเหลือผู้ต้องขังคดีการเมือง ให้ได้สิทธิการปล่อยตัวชั่วคราวสิทธิการพักโทษตามหลักสากล
เมื่อวันที่ 23 พ.ย. ที่รัฐสภา ตัวแทนแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย นำโดย น.ส.ปิยนุช โคตรสาร ผอ.แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนถึงคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ โดยมีนายรังสิมันต์ โรม ประธานคณะกรรมาธิการฯ เป็นผู้รับหนังสือ และยื่นภายหลังต่อคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน เพื่อขอให้ช่วยเหลือกรณีผู้ต้องขังคดีการเมืองไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราว และกรณีไม่ให้สิทธิในการพักโทษแก่นักโทษเด็ดขาดในคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์
โดยน.ส.ปิยนุช กล่าวว่า แอมเนสตี้ฯ เป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนเรื่องสิทธิในด้านต่างๆ โดยเฉพาะสิทธิในการปกป้อง คุ้มครอง และส่งเสริมการแสดงออกในการชุมนุมอย่างมีเสรีภาพ และการชุมนุมโดยสงบ แต่จากข้อมูลที่แอมเนสตี้ฯ ได้ทำร่วมกับโครงการอินเทอร์เน็ตกฎหมายเพื่อประชาชน หรือ iLaw ในโครงการ MOB DATA พบว่าในช่วงปี 2563-2566 เกิดการชุมนุมในประเทศไทย กว่า3,800 ครั้ง ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ถูกดำเนินคดี อย่างน้อย 1,930 คน และมีเด็กและเยาวชน ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ถูกดำเนินคดี จำนวน 286 คนอยู่ในจำนวนนี้ด้วย
ทั้งนี้ คดีที่เกิดขึ้นถูกนำขึ้นพิจารณาในศาลยุติธรรม และเป็นเหตุให้มีผู้ต้องหาคดีการเมืองไม่ได้รับการประกันตัว หรือปล่อยชั่วคราว (คดีการเมืองช่วงปี 2563 ถึงปี 2566) จนต้องเข้าสู่เรือนจำ มากถึง 145 คน ( ณ วันที่15 พ.ย.2566) และมีผู้ที่ไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว อย่างน้อย 24 คน ในจำนวนนี้ 15 คน เป็นผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 อีกทั้งยังมีผู้ถูกคุมขังเนื่องจากคดีถึงที่สุดแล้วอย่างน้อย 11 คน รวมถึงกรณีของ ‘อัญชัญ ปรีเลิศ’ นักโทษเด็ดขาดที่ถูกตัดสินให้จำคุกด้วยความผิดตามมาตราดังกล่าวกว่า 43 ปี 6 เดือน และยังอยู่ในขั้นตอนที่ยังไม่ได้รับการพักโทษ เนื่องจากยังไม่เข้าเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ตามพ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ.2560
น.ส.ปิยนุช กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังมีผู้ถูกดำเนินคดีที่เกี่ยวกับการใช้หรือพกพาอาวุธ หรือการใช้ความรุนแรงในระหว่างการชุมนุม อย่างน้อย 173 คน ในจำนวนนี้เป็นเด็กและเยาวชน จำนวน 65 คน ที่ยังไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยชั่วคราว และยังมีผู้ต้องหา อย่างน้อย 7 คน ที่ไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ดังนั้น จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แอมเนสตี้ฯ จึงขอเรียกร้องต่อคณะกรรมาธิการ ทั้ง 2 คณะ ดังนี้
1. พิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาขอบเขต และข้อจำกัดทางกฎหมาย เกี่ยวกับการรับรองสิทธิในการปล่อยชั่วคราว โดยศึกษาสถานการณ์การบังคับใช้กฎหมายและแนวปฏิบัติภายในประเทศและความสอดคล้องกับหลักการระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะคำสั่งของศาลในคดีที่เกี่ยวกับการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุม ช่วงระหว่างปี 2563-2565
2. สำรวจและทบทวนสถานการณ์การบังคับใช้กฎหมาย ในหมวดความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร รวมถึงความผิดตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา และจัดทำชุดข้อเสนอแนะเพื่อให้มีผลในการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและกฎหมายที่สอดรับกับหลักการระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
3. สำรวจและศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการกำหนดแนวทางการพิจารณาการให้พักโทษแก่นักโทษทางการเมืองให้เป็นไปในมาตรฐานเดียวกันเเละวางอยู่บนหลักการไม่เลือกปฏิบัติ รวมถึงผู้ซึ่งถูกดำเนินคดีด้วยความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ และจัดทำชุดข้อเสนอแนะเพื่อให้มีผลในการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและกฎหมายที่สอดรับกับหลักการระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
น.ส.ปิยนุช กล่าวต่อว่า ตามกฎหมายผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญา ตามหลักการในกฎหมายทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการประกันตัวและปล่อยตัวชั่วคราว ที่สำคัญคดีที่ยังไม่พิพากษาถึงที่สุดตามหลักการแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาต้องไม่ถูกทำให้เหมือนว่าเป็นผู้ที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดแล้ว ทั้งที่อยู่ระหว่างการต่อสู้คดี
น.ส.ปิยนุช กล่าวด้วยว่า สิทธิในการประกันตัวเป็นสิทธิตามมาตรฐานระหว่างประเทศ ปัจจุบันรัฐบาลไทยได้เข้าเป็นภาคีของกติการะหว่างประเทศ นั่นหมายความว่ารัฐบาลไทยต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของทุกคนที่ใช้สิทธิในการแสดงออกและสิทธิในการชุมนุมประท้วงโดยสงบ ไม่ให้ถูกจับกุมตัว ควบคุมตัวโดยพลการ และต้องทำและพิสูจน์ให้เห็นว่าได้ทำให้ทุกคนได้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่มีความเป็นธรรมจริงๆ หนึ่งในนั้นคือการให้สิทธิประกันตัวและปล่อยตัวชั่วคราว
“สิทธิในการประกันตัวไม่เพียงแค่เป็นข้อบังคับทางกฎหมายเท่านั้น มันเป็นฐานรากที่สำคัญของความยุติธรรม ที่สร้างความเท่าเทียมและเคารพอย่างสูงต่อทุกคน การยอมรับและปฏิบัติตามสิทธิในการประกันตัวช่วยปกป้องตัวบุคคล ประชาชนและการยืนยันหลักการสันนิษฐานว่าบุคคลบริสุทธิ์จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์โดยปราศจากข้อสงสัยว่ามีความผิด รวมถึงการยึดถือหลักการพื้นฐานของความเท่าเทียมและสิทธิมนุษยชน” น.ส.ปิยนุช กล่าว
ส.ส.ก้าวไกล ชี้ เหตุเด็กยกพวกตีกัน ต้องแก้ที่รุ่นพี่ อย่าโยนภาระให้ผู้ปกครอง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4296617
“กาย ณัฐชา” แนะต้นสังกัด สางปมยกพวกตีกัน ยัน ต้องแก้ไขที่ “รุ่นพี่” มองไม่ควรโยนภาระให้ผู้ปกครอง หลังมีข้อเสนอแก้กฎหมายเอาผิด
เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ที่รัฐสภา นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล กล่าวถึงการยกพวกตีกันของนักศึกษาที่ปัจจุบันเป็นข่าวแทบทุกวัน โดยสังคมมองว่าการตีกันของกลุ่มเด็กวัยรุ่นกลายเป็นองค์กรอาชญากรรมไปแล้ว ว่า เรื่องนักเรียนนักศึกษาทะเลาะวิวาทยกพวกตีกันมีมาหลายยุคหลายสมัยแล้ว
ตนในฐานะอดีตนักศึกษาช่างกลแห่งหนี่งใน กทม. มองว่า เรื่องราวเหล่านี้เกิดขึ้นมาหลายครั้ง เราปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้ใหญ่หลายคนที่ดูแลรับผิดชอบในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บางครั้งอาจจะหลับตาข้างหนึ่ง บางครั้งอาจจะหลับตา 2 ข้าง คือปล่อยให้เกิดเหตุแบบนี้ขึ้นมา และพอเกิดเหตุการณ์รุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นมา ก็มีการพูดคุยว่าจะแก้ไขปรับปรุงอย่างไร จะต้องพิจารณาหน่วยงานองค์กรใดเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่ แต่ในความจริงแล้วมันเกิดขึ้นตลอดเวลา เราควรจะใส่ใจเรื่องนี้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเข้ามา หยิบยกเรื่องนี้มาแก้ไขให้เป็นรูปธรรมและแก้ไขที่รากฐานของเหตุนั้น
“เด็กรุ่นนี้มีความอยากลองผิดลองถูก พร้อมจะเผชิญทุกเหตุการณ์ ด้วยวัยที่เรียกว่าเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ด้วยฮอร์โมน ด้วยอะไร แต่ไม่มีการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานต้นสังกัดที่ดีพอ จนทำให้มีการปลูกฝังเรื่องราวต่างๆที่อาจจะไม่ดี เป็นการแก้แค้นแทนรุ่นพี่ หรือแก้แค้นเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมา เป็นเรื่องที่ทะเลาะตบตีกันในครั้งอดีตและรุ่นน้องก็ต้องมาแก้แค้นแทน ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้น” นายณัฐชา กล่าว
นายณัฐชา กล่าวต่อว่า หน่วยงานภาครัฐควรศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง และแก้ไข ส่วนจะกล่าวหาว่าเป็นองค์กรอาชญากรรมหรือไม่ ตนคิดว่ายังไม่ถึงขนาดนั้น แต่แค่เหตุความรุนแรงมันรุนแรงทวีคูณมากขึ้น จากการปล่อยปะละเลยของพวกเรา
เมื่อถามว่ารุนแรงมากขึ้นถึงความเมื่อก่อนอย่างไรบ้าง นายณัฐชา กล่าวว่า ตามข่าวที่เกิดขึ้น มีช่องทางทางการเงินเข้ามา มีการจัดเตรียมอาวุธซื้ออาวุธ สมัยก่อนที่ตนเรียน เพื่อนๆ ในกลุ่มที่เป็นกลุ่มออกมาปะทะ จะมีการลงขันเก็บเงินจากรุ่นน้องคนละประมาณ 400-500 บาท รุ่นพี่คนละ 1,000 บาท ได้เงินกองกลางมาจำนวนหนึ่ง สมัยก่อนก็จะไปซื้อไม้กับมีด สมัยนี้ยุคสมัยเปลี่ยนไป ก็จะไปซื้อปืน มีช่วงสมัยที่ฮิตก็มีไปซื้อระเบิดปิงปอง
“แต่ยุคนี้มีการซื้อปืนเกิดขึ้น ซึ่งมีอำนาจในการทำลายล้างสูง ทำให้ถูกมองว่าเป็นอาชญากรรมที่ใหญ่ มีอาวุธครบมือ มีองค์กรหน่วยงานที่สนับสนุนเงิน แต่ความจริงแล้วมันปฎิเสธไม่ได้ว่าเรื่องราวเหล่านี้ เกิดขึ้นเพราะหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรงเจ้าของสถานศึกษา หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษา หรือแม้กระทั่งผู้บริหารสูงสุดที่ดูแลเรื่องราวเหล่านี้ปล่อยปละละเลยมาโดยตลอด รุ่นที่ 1 แรง รุ่นที่ 2 แรงกว่า รุ่นที่ 3 แรงมาก รุ่นที่ 4 ก็เลยเลยเถิดไปไกลเลย” นายณัฐชา กล่าว
เมื่อถามว่ามีการเสนอให้ออกกฏหมายเอาผิดผู้ปกครองด้วยในฐานะที่เป็นผู้ดูแล นายณัฐชา ตั้งข้อสงสัยว่า วันนี้เราโยนภาระทุกอย่างให้พี่น้องประชาชน เราเห็นการกระทำความผิดก็ไปเขียนกฎหมายแล้วใครผิดใครถูก ถ้าเกิดออกกฏหมายให้ผู้ปกครองผิดแล้วเกิดเหตุอีก ก็ต้องออกกฏหมายให้ปู่ย่าตายายผิดด้วย มันก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้
แต่วันนี้สิ่งที่ควรทำคือรัฐต้องไปศึกษาว่าวัยนี้ที่จะต้องไปเรียน บางคนต้องการไปเรียนสายอาชีพ แต่ไม่ต้องการทะเลาะตบตีกัน แต่ดูสถานศึกษามันบีบบังคับให้รวมกลุ่มกัน ในการปลูกฝังว่าสถาบันนั้นสถาบันนี้คือคู่อริเรา ทั้งที่เขาเองยังไม่รู้จักว่าโรงเรียนนั้นอยู่ที่ไหน จุดไหน
“ต้องไปแก้ไขที่รุ่นพี่ด้วย เพราะรุ่นพี่คือส่วนหนึ่งที่ปลูกฝังลงไป รุ่นน้องคือส่วนที่พร้อมที่จะรับและลองผิดลองถูก แต่เมื่อเขาพร้อมที่จะลองผิดลองถูก ลองถูกกลับไม่มีเข้ามา มีแต่ลองผิดออกไป จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ จะไปโยนให้ผู้ปกครองอย่างเดียวไม่ได้ โยนความผิดให้สังคมไม่ได้ ต้องไปตั้งสติ ที่เด็กวันนี้เป็นอยู่ผู้ใหญ่ทำอะไรหรือยัง” นายณัฐชา กล่าว
นายณัฐชา ย้ำว่า เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นหลายครั้ง รอบหนังที่เป็นประเด็นทางสังคมก็มีการหยิบยกมาแก้ไข แต่พอเรื่องเงียบไป